มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Category: Uncategorised
Published on Sunday, 22 February 2015 06:52
Written by Super User
Hits: 19

02

ประวัติความเป็นมา

ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สิ่งพิมพ์ที่ให้บริการจะเป็นหนังสือในสาขาพาณิชยกรรม และสาขาช่างต่างๆ เช่น ช่างก่อสร้าง ในจำนวนที่ไม่มาก นอกจากนี้ยังบริการหนังสือพิมพ์และวารสาร ต่อมาได้มีการจัดซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งหมดประมาณ 15,000 เล่ม

ปี พ.ศ. 2516 ได้ย้ายห้องสมุดมายังชั้น 1 อาคารคณะวิชาสามัญ (คณะวิชาศึกษาทั่วไป) มีเนื้อที่ขนาด 11.50 – 25.50 เมตร และมีชั้นลอยเนื้อที่ขนาด 4.50 – 30.50 เมตร และปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายห้องสมุดมายังอาคารหอสมุดราชมงคล ซึ่งเป็นอาคารเอกเทศที่สร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณ จำนวน 23,000,000 บาท เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน ต่อมามีการประกาศจัดตั้งศูนย์วิทยบริการขึ้น สังกัดฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ จึงเป็นหน่วยงานระดับแผนก สังกัดศูนย์วิทยบริการ ฝ่ายกิจการพิเศษ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของวิทยาเขตทั้งด้านการเรียนการ สอนและการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของชาติ ปี พ.ศ. 2550 มีการปรับโครงสร้างตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ห้องสมุดฯ จึงเป็นหน่วยงานขึ้นกับฝ่ายวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของเขตพื้นที่ ทั้งด้านการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตามภารกิจหลัก ของมหาวิทยาลัยต่อไป

บริการห้องสมุด

ห้องสมุดให้บริการทรัพยากรสารนิเทศแก่อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย ตลอดจนประชาชนทั่วไป ดังนี้
  - บริการการอ่าน
  - บริการสารนิเทศ
  - บริการช่วยการค้นคว้า / ตอบคำถาม
  - บริการยืม-คืนสารนิเทศ
  - บริการยืม-คืนสื่อมัลติมีเดีย
  - บริการยืมระหว่างห้องสมุด
  - บริการวารสาร เอกสาร และหนังสือพิมพ์
  - บริการแนะนำการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม
  - บริการฝึกอบรมและแนะนำการใช้ห้องสมุด
  - บริการอินเตอร์เน็ต
  -บริการห้องศึกษาแบบกลุ่ม (Study Room)
  - บริการห้อง Mini theater
  - บริการห้อง Knowledge theater

  ข้อควรปฏิบัติในการใช้ห้องสมุด (1) แต่งกายสุภาพ
(2) ให้นำกระเป๋าใส่หนังสือ แฟ้มเอกสาร ถุงใส่ของ วางไว้ในที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะ
(3) ห้องสมุดจะไม่รับฝากสิ่งของมีค่า และจะไม่รับผิดชอบต่อสิ่งของมีค่าที่สูญหายหรือเสียหายเพราะผู้มาใช้บริการวางทิ้งไว้ในห้องสมุด
(4) ห้ามนำอาหาร ขนม และเครื่องดื่มเข้าห้องสมุด
(5) ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณห้องสมุด
(6) ใช้ห้องสมุดด้วยความสำรวม ไม่ส่งเสียงดังหรือกระทำการใดๆ อันอาจเป็นที่รำคาญของผู้อื่น ๆ
(7) การอ่านหนังสือภายในห้องสมุด ผู้อ่านจะต้องอ่าน ณ ที่ซึ่งจัดไว้โดยเฉพาะ
(8) ผู้ใช้สามารถหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการจากชั้นได้เอง เมื่ออ่านเสร็จให้วางไว้ที่ชั้นพักหนังสือที่ใกล้ชั้นวางหนังสือมากที่สุด
(9) หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวารสารเมื่ออ่านเสร็จแล้วให้เก็บคืนตามป้ายชื่อของสิ่งพิมพ์ที่ติดอยู่บนชั้นวาง
(10) ห้ามขีด เขียน ตัด ฉีก ทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุด
(11) ห้ามนำทรัพยากรสารนิเทศใดๆของห้องสมุดออกจากห้องสมุดโดยไม่ได้รับอนุญาต

การสมัครและการทำสมาชิก ผู้ที่ประสงค์จะเป็นสมาชิกห้องสมุดต้องติดต่อขอสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุดด้วยตนเองที่ห้องสมุด ชั้น 2 อาคารศูนย์วิทยบริการ ดังนี้

1. นักศึกษา ให้นำใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญแสดงการลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้น พร้อมทั้งบัตรประจำตัวนักศึกษามายื่นที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 2 และกรอกแบบฟอร์ม ห้องสมุดจะออกบัตรสมาชิกห้องสมุดให้ โดยบัตรสมาชิกห้องสมุดจะมีอายุสมาชิก 1 ภาคเรียน ในภาคเรียนต่อไปให้นำใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญแสดงการลงทะเบียนเรียนในภาค เรียนนั้นๆพร้อมทั้งบัตรสมาชิกห้องสมุดเดิมมาต่ออายุสมาชิก

2. คณาจารย์/พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างของมหาวิทยาลัย ให้นำบัตรประจำตัวอาจารย์ /พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างมหาวิทยาลัย มายื่นที่ห้องสมุด ในกรณีไม่มีบัตรประจำตัวดังกล่าว ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาในระดับต้นมาแสดง

3. สมาชิกห้องสมุด ที่ประสงค์จะทำบัตรสมาชิกใหม่เนื่องจากบัตรเก่าชำรุดหรือสูญหายให้ดำเนินการตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี

ระเบียบการยืมสารนิเทศ

ประเภททรัพยากร

สมาชิก/ประเภท

จำนวน (เล่ม)

ระยะเวลาในการยืม

ค่าปรับ / 1 เล่ม/วัน (บาท)
หนังสือทั่วไป คณาจารย์

10

1 ภาคเรียน

5

พนักงานมหาวิทยาลัย

5

1 สัปดาห์

5

ลูกจ้าง

5

1 สัปดาห์

5

นศ.วทส.

5

1 สัปดาห์

2

นศ.ปวส. และป.ตรี

5

1 สัปดาห์

2

หนังสืออ้างอิง และวารสารเย็บเล่ม ทุกประเภท

ใช้ภายใน ห้องสมุดเท่านั้น

-

-

วารสารล่วงเวลาฉบับปลีก และหนังสือพิมพ์ฉบับล่วงเวลา คณาจารย์

2

1 สัปดาห์

5

พนักงานมหาวิทยาลัย

2

1 สัปดาห์

5

ลูกจ้าง

2

1 สัปดาห์

5

นักศึกษา

ใช้ภายใน ห้องสมุดเท่านั้น

-

-

หมายเหตุ
  • เมื่อครบกำหนดยืม ผู้ยืมอาจได้รับอนุญาตให้ยืมต่อได้อีก 1 ครั้ง เท่ากำหนดระยะเวลาที่ตนมีสิทธิ หากทรัพยากรรายการนั้นไม่มีผู้จอง
 
 
 
 
ทรัพยากรห้องสมุด
1. เครื่องมืออำนวยความสะดวก
– เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้น จำนวน 6 เครื่อง
– เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับยืม-คืน จำนวน 2 เครื่อง
– เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับอินเตอร์เน็ต จำนวน 107 เครื่อง
– เครื่องสแกน จำนวน 8 เครื่อง
  2. ทรัพยกรสารนิเทศ        
  - หนังสือ 67,885   เล่ม  
  - เอกสาร มอก. 2,820   เล่ม  
  - หนังสือในโครงการเงินกู้ธนาคารโลก 2,750   เล่ม  
  - วารสารบอกรับ 63   ชื่อ  
  - วารสารได้เปล่า 57   ชื่อ  
  - หนังสือพิมพ์ 12   ชื่อ  
  - สื่อโสต/สื่ออิเล็คทรอนิกส์ 7,662   แผ่น  
  - ฐานข้อมูลเอกสารงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม ของห้องสมุดในเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัย (ThaiLIS) 1   ชื่่อ  
  - ฐานข้อมูล (สกอ.จัดซื้อให้ห้องสมุดในเครือข่าย ThaiLIS) 13   ฐานข้อมูล  
  3. บริการห้อง        
  - ห้อง Study Room 4   ห้อง  
  - ห้อง Mini Theater 2   ห้อง  
  - ห้อง Knowledge Theater
 
 
 
 
อ้างอิงจาก : ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
 
แผนที่