หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

brochure_Back
ประวัติความเป็นมา

เป็นอาคารเก่าแก่ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมอันงดงามสร้างเมื่อ ปี 2467 เคยใช้เป็นหอคำ ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพศาลากลางจังวัดเชียงใหม่ อาคารตั้งยู่บริเวณสะดือเมืองในอดีต ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง ก่อนที?จะย้ายไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นมรดกตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าการวิโรรสสุริยวงศ์ ถึงเจ้าเทพไกรสรพระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 7 ผู้ใช้หอคำซึ่งอยู่ในบริเวณคุ้มกลางเวียงเป็นศูนย์กลางการบริหารนครเชียงใหม่ เมื่อเจ้าอิทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นของเจ้าดารารัศมีพระธิดา ต่อมาเมื่อ จัดการปฏิรูป การปกครองตามระบบเทศาภิบาลเจ้าดารารัศมีจึงใช้คุ้มกลางเวียงแห่งนี้เป็น“ศาลารัฐบาล”หรือที่ทำการรัฐบาล

95986446ต่อมาเมื่อจังวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้ศาลากลางลังใหม่ บนถนนโชตนาเป็นศูนย์ราชการจังหวัด และได้ย้ายหน่วยงาน ออกหมดในปี 2539 อาคารหลังนี้จึงถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปใช้ประโยชน์จนถึงปลายปี 2540 เทศบาล นครเชียงใหม่ได้ขอปรับปรุงาคารเพื่อใช้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี2542 ประเภทที่ทำการอาคารสาธารณะจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์

เชียงใหม่นอกจากจะเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติอันงดงามจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ในอดีตนครแห่งนี้เคยเป็น ศูนย์กลางในทุกๆด้านขออาณาจักรล้านนาทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและวรรณกรรม แต่ที่ผ่านมายังขาดแหล่งที่เป็นศูนย์กลางให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้ ลูกหลานชาวเชียงใหม่นักท่องเที่ยง ตลอดจนผู้สนใจได้ศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้องและครอบคลุมในทุกด้าน
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่จึงเกิดขึ้น เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้รากเหง้าของตนเองและบ้านเมืองรู้จักวิถีชีวิตตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของตนเองอันจะสร้างความภาคภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงานให้คงอยู่สิบไป นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในเชิงนุรักษ์ในเขตเมืองเก่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจ นครเชียงใหม่ตลอดจนผู้คนในท้องถิ่น อันเป็นหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนุรักษ์

ภายในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้จัดแบ่งพื้นที่อาคารด้านหน้าเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร อาคารด้านหลังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมนิทรรศการหมุนเวียน ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ห้องนิทรรศการศิลปกรรมล้านนาห้องสารสนเทศ และห้องภัณฑารักษ์

แผนที่

ใส่ความเห็น

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>