Published on Thursday, 12 March 2015 11:57
Written by Super User

varee_chiangmai_school_logo

มารยาทในการใช้ห้องสมุด โรงเรียน

1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
2. สำรวมและไม่ส่งเสียงดังในห้องสมุดเนื่องจากอาจรบกวนสมาชิกท่านอื่นได้
3. ห้ามนำอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามาในห้องสมุด
4. วางกระเป๋าหนังสือหรือสัมภาระต่าง ๆ ไว้ที่ล็อคเกอร์ที่ทางห้องสมุดจัดเตรียมไว้
5. เมื่อลุกจากเก้าอี้ควรเลื่อนเก้าอี้เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
6. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วให้นักเรียนวางหนังสือเหล่านั้น ไว้ในที่พักหนังสือที่ทางห้องสมุดจัดเตรียมไว้
7. รักษามารยาทการมาก่อน-หลังในการให้บริการยืมคืนหนังสือ
8.ไม่ฉีก ขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายใด ๆ ลงในหนังสือห้องสมุด
9. ไม่นำหนังสือ วารสารหรือหนังสือพิมพ์ออกจากห้องสมุดโดยไม่ได้รับอนุญาต
10. ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการทำลายทรัพย์สมบัติของห้องสมุด
11. เมื่อมีปัญหาในการใช้ห้องสมุด สามารถสอบถามได้ที่คุณครูบรรณารักษ์

ระเบียบห้องสมุดโรงเรียน

หมายถึง กฎ ข้อบังคับหรือข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยของทรัพยากรห้องสมุด ป้องกันการชำรุด สูญหายรวมทั้งช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดปฏิบัติอย่าง เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยสม่ำเสมอ

ระเบียบห้องสมุดโรงเรียน

หมายถึง กฎ ข้อบังคับหรือข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยของทรัพยากรห้องสมุด ป้องกันการชำรุด สูญหายรวมทั้งช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดปฏิบัติ อย่างเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยสม่ำเสมอ

ระเบียบของห้องสมุดโรงเรียน

  1. สมาชิกของห้องสมุดโรงเรียนวารีเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย นักเรียน คณะครูอาจารย์โรงเรียนวารีเชียงใหม่
2. เวลาเปิด-ปิดห้องสมุด

 

  ช่วงเปิดภาคเรียน 07.40 – 17.00 น.
  ช่วงซัมเมอร์ (เดือนเมษายน) 08.00 – 16.30 น.

3. สมาชิกห้องสมุดสามารถยืมหนังสือได้ ดังนี้

  คณะครูอาจารย์ 50 เล่ม/ ภาคการศึกษา
  นักเรียนมัธยมศึกษา 5 เล่ม/ สัปดาห์
  นักเรียนประถมศึกษา 3 เล่ม/ สัปดาห์

วิธียืม – คืนหนังสือ

 
  สมาชิกเข้าแถวตามลำดับการมาก่อน-หลัง
  ยื่นบัตรห้องสมุด (บัตรนักเรียน) หรือบอกเลขที่สมาชิกกับทางบรรณารักษ์
    หมายเหตุ สมาชิกสามารถยืมหนังสือได้ทุกประเภท ยกเว้น หนังสืออ้างอิง
  วิธีคืนหนังสือ ให้นักเรียนนำหนังสือที่ต้องการคืนมาให้แก่ทางบรรณารักษ์

ระบบทศนิยมดิวอี้

  ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกย่อ ๆ ว่า D.C. หรือ D.D.C
เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกันชื่อ เมลวิล ดิวอี้

 

หมวดหมู่ย่อย

  การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่าง ๆ

หมวดใหญ่

  การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 1 แบ่งตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ ๆ 10 หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้

 

  • 000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป
  • 100 ปรัชญา
  • 200 ศาสนา
  • 300 สังคมศาสตร์
  • 400 ภาษาศาสตร์
  • 500 วิทยาศาสตร์
  • 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี
  • 700 ศิลปกรรมและการบันเทิง
  • 800 วรรณคดี
  • 900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์

หมวดย่อย

  การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 2 แบ่งออกเป็นอีก 10 หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบเป็นตัวบ่งชี้ รวมเป็น 100 หมวดย่อย ดังนี้

 

  หมวด 000
    • 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และความรู้ทั่วไป
• 010 บรรณานุกรม แคตตาล็อก
• 020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
• 030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม
• 040 ยังไม่กำหนดใช้
• 050 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง วารสาร และดรรชนี
• 060 องค์การและพิพิธภัณฑวิทยา
• 070 สื่อใหม่ วารสารศาสตร์ การพิมพ์
• 080 ชุมนุมนิพนธ์
• 090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก
  หมวด 100
    • 100 ปรัชญา
• 110 อภิปรัชญา
• 120 ญาณวิทยา ความเป็นเหตุผล ความเป็นมนุษย์
• 130 จิตวิทยานามธรรม
• 140 แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม
• 150 จิตวิทยา
• 160 ตรรกศาสตร์ ตรรกวิทยา
• 170 จริยศาสตร์ ศีลธรรม
• 180 ปรัชญาสมัยโบราณ สมัยกลาง ตะวันออก
• 190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
  หมวด 200
    • 200 ศาสนา
• 210 ศาสนาธรรมชาติ
• 220 ไบเบิล
• 230 เทววิทยาตามแนวคริสต์ศาสนา
• 240 ศีลธรรมชาวคริสต์ การอุทิศเพื่อศาสนา
• 250 คริสต์ศาสนาในท้องถิ่นและระเบียบแบบแผนปฏิบัติ
• 260 สังคมชาวคริสต์ เทววิทยาทางศาสนา
• 270 ประวัติคริสต์ศาสนา
• 280 นิกายต่างๆ ในคริสต์ศาสนา
• 290 ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆ
  หมวด 300
    • 300 สังคมศาสตร์
• 310 สถิติศาสตร์
• 320 รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง
• 330 เศรษฐศาสตร์
• 340 กฎหมาย
• 350 รัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาการทหาร
• 360 การบริการสังคม และสมาคม
• 370 การศึกษา
• 380 การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง
• 390 ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา
  หมวด 400
    • 400 ภาษา
• 410 ภาษาศาสตร์
• 420 ภาษาอังกฤษ
• 430 ภาษาเยอรมัน
• 440 ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์
• 450 ภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน
• 460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส
• 470 ภาษาละติน
• 480 ภาษากรีก
• 490 ภาษาอื่นๆ
 
  หมวด 500
    • 500 วิทยาศาสตร์
• 510 คณิตศาสตร์
• 520 ดาราศาสตร์
• 530 ฟิสิกส์
• 540 เคมี
• 550 วิทยาศาสตร์โลก
• 560 บรรพชีวินวิทยา
• 570 ชีววิทยา
• 580 พฤกษศาสตร์
• 590 สัตววิทยา
  หมวด 600
    • 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี
• 610 แพทยศาสตร์
• 620 วิศวกรรมศาสตร์
• 630 เกษตรศาสตร์
• 640 คหกรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัว
• 650 การจัดการธุรกิจ
• 660 วิศวกรรมเคมี
• 670 โรงงานอุตสาหกรรม
• 680 สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักร
• 690 การก่อสร้าง
  หมวด 700
    • 700 ศิลปกรรม การบันเทิง
• 710 ภูมิสถาปัตย์
• 720 สถาปัตยกรรม
• 730 ประติมากรรม
• 740 การวาดเขียน มัณฑนศิลป์
• 750 จิตรกรรม ภาพเขียน
• 760 ศิลปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟิก
• 770 การถ่ายรูป ภาพถ่าย
• 780 ดนตรี
• 790 การบันเทิง นันทนาการ กีฬา
  หมวด 800
    • 800 วรรณกรรม วรรณคดี
• 810 วรรณคดีอเมริกันในภาษาอังกฤษ
• 820 วรรณคดีภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษโบราณ
• 830 วรรณคดีภาษาเยอรมัน
• 840 วรรณคดีภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์
• 850 วรรณคดีภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน
• 860 วรรณคดีภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส
• 870 วรรณคดีภาษาละติน
• 880 วรรณคดีภาษากรีก
• 890 วรรณคดีภาษาอื่นๆ
  หมวด 900
    • 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
• 910 ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว
• 920 ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
• 930 ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ
• 940 ประวัติศาสตร์ยุโรป โลกตะวันตก
• 950 ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก
• 960 ประวัติศาสตร์แอฟริกา
• 970 ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ
• 980 ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
• 990 ประวัติศาสตร์ส่วนอื่นๆ ของโลก

เว็บไซต์ : http://www.varee.ac.th/th/knowledge-article.php?head=306

Category: