Published on Thursday, 12 March 2015 12:37
Written by Super User

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.  โปรดแต่งกายสุภาพเข้าห้องสมุด

 

2.  ห้ามนำกระเป๋า หรือสิ่งของเข้าห้องสมุด ให้วางกระเป๋าหรือสิ่งของไว้ที่ชั้นวางกระเป๋าและสิ่งของนอกห้องสมุด       

 

3.   ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดื่ม และขนม เข้ามารับประทานในห้องสมุด

 

4.   ห้ามพูดคุยกันเสียงดัง หรือ ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น

 

5.   ทุกครั้งที่ลุกจากเก้าอี้ควรเลื่อนเก้าอี้เก็บให้เรียบร้อย

 

6.   หนังสืออ่านเสร็จแล้วให้นำหนังสือไปเก็บที่รถเข็นพักหนังสือเจ้าหน้าที่จะนำหนังสือไปขึ้นชั้นหนังสือ

 

7.   การนำหนังสือออกจากห้องสมุดโดยไม่ได้ผ่านการยืมหรือตัดหรือฉีกหนังสือวารสาร  นิตยสาร  หนังสือพิมพ์  เป็นการทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบผู้กระทำจะต้องได้รับโทษ  โดยให้พักการเรียน  หรือให้ออกจากโรงเรียนฃ

 

8.  ห้ามนำบัตรนักศึกษาที่มิใช่ของตนเองมายืมหนังสือ หรือให้ผู้อื่นมายืมแทนไม่ได้นอกจากเจ้าของบัตรนักศึกษาเท่านั้น ถ้าหากตรวจพบเจ้าหน้าที่จะยึดบัตรนักศึกษาทันที และระงับการยืมหนังสือของเจ้าของบัตรนักศึกษานั้น ๆ ด้วย

 

9.  ห้องสมุดอนุญาตให้ฝากหนังสือได้ แต่ไม่อนุญาตให้ฝากยืม นอกจากเจ้าของบัตรนักศึกษาจะเป็นผู้มายืมหนังสือเองเท่านั้น

 

10.  ก่อนออกจากห้องสมุด กรุณาแสดงหนังสือ  สิ่งพิมพ์ต่างๆ ต่อเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เพื่อตรวจเช็คหนังสือว่าได้รับการยืมอย่างถูกต้องก่อนออกจากห้องสมุด

 

แหล่งที่มาของข้อมูล :http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2025.htm

:http://lib.stc.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=85&Itemid=55

 

Published on Thursday, 12 March 2015 12:33
Written by Super User

แหล่งสารสนเทศ หมายถึง สถานที่ที่มีสารสนเทศสะสมอยู่ และเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้สารสนเทศเหล่านั้นได้ แบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้

1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน จำแนกได้ดังนี้

m
· ห้องสมุด (Library) คือสถานที่รวมทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปของวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ รวมทั้งฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารงาน และดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด

v

·  ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) แหล่งสารสนเทศประเภทนี้แต่ละแหล่งมีชื่อต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อบริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา เช่น ศูนย์สารสนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ศูนย์เอกสารประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยี และศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร

 

2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่

x

ได้แก่ อนุสาวรีย์ โบราณสถาน อุทยานแห่งชาติรวมถึงสถานที่จำลองด้วย เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปราสาท  หินพิมาย เมืองโบราณ เป็นต้น แหล่งสารสนเทศเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก ข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ก็คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

 

3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล

s

ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาต่างๆ ผู้ต้องการ สารสนเทศจากบุคคลต้องไปพบปะสนทนาหรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดย  ตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ

 

4. แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์

g

ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การประชุมการสัมมนาในเรื่องต่าง ๆ นิทรรศการหรืองานแสดงต่างๆ รวมทั้งเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ เช่น “14 ตุลา″ในปี พ.ศ. 2516 “พฤษภาทมิฬ” ในปี พ.ศ. 2535 เป็นต้น

 

5. ศูนย์บริการสารสนเทศแบบซีดีรอม และแบบออนไลน์ ศูนย์บริการประเภทนี้มีวิวัฒนาการ สืบเนื่องมาจากศูนย์สารสนเทศที่ได้อธิบายไปข้างต้น เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ก้าวหน้ามากขึ้น ศูนย์ฯ จึงนำ IT มาเป็นเครื่องมือ ในการให้บริการแก่ลูกค้า เพราะสามารถให้บริการได้สะดวกและรวดเร็วกว่า  IT ที่ ศูนย์บริการสารสนเทศนำมาใช้มีทั้งการจัดทำเป็นซีดีรอมให้ผู้ขอซื้อบริการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ บรรดาห้องสมุดต่างๆ และการจัดบริการออนไลน์ ให้ห้องสมุดต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาบทความ ในฐานข้อมูลที่ศูนย์ได้จัดทำขึ้น  อย่างไรก็ตาม การใช้ซีดีรอมนั้น มีปัญหาในเรื่อง ความสมบูรณ์ และทันสมัยของเนื้อหา ดังนั้นจึงนิยมใช้การค้นแบบออนไลน์มากกว่า แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

2-IMG_0003

 

6. อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย สำนักข่าวสาร และสมาคมวิชาชีพ ต่างก็จัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์ออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศมากมาย การที่จะได้มาซึ่ง
ข้อมูลที่ต้องการจึงต้องรู้ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการ โดยเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์ในการค้นหาที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการคือ Search Engine ซึ่งมีหลายลักษณะ คือ
· Major Search Engine – Search Engine ที่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง เป็น Search Engine ชั้นนำ เพื่อค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ เช่น
Google.com,Yahoo.com
· Meta Search Engine – Search Engine ที่ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่อาศัยฐานข้อมูลจาก Search Engine อื่น ๆ หลายแห่งมาแสดง
· Directory Search Engine – Search Engine ประเภทหนึ่ง ที่มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นหมวดหมู่

ob_1_

Published on Thursday, 12 March 2015 12:29
Written by Super User

view_resizing_images

ประวัติและความเป็นมา    

ล้านนามีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปฎบัติสืบเนื่องมายาวนาน มีรูปแบบที่หลากหลาย โดดเด่น และงดงามสะท้อนความหมายที่แฝงเร้นมากับคติความเชื่อของบรรพชนผูกพันกับศรัทธาในพุทธศาสนา และกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และงานหัตถศิลป์ของล้านนา สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของดินแดนแห่งนี้มาแต่อดีตจนปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา จึงได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในล้านนา และลักษณะทางศิลปะที่ปรากฎในงานพุทธศิลป์ ทั้งเครื่องใช้ทางพิธีกรรม สถาปัตยกรรม ประเพณี งานจิตรกรรม และงานหัตถศิลป์ของล้านนาที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพื่อสืบสาน และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้คนทั่วไป พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ตั้งอยู่ในบริเวณตรงข้ามอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ในบริเวณกลางเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่

 

เวลาเปิดปิด : 08.30 – 17.00น. วันอังคาร ถึง วันอาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดทำการวันจันทร์และวันหยุดเทศกาลสงกรานต์)

Published on Thursday, 12 March 2015 12:29
Written by Super User

original_DSCF3245

บ้านไม้ที่มีใต้ถุนบ้านสูงๆ มีเสามากมายนับไม่ถ้วน มีต้นไม้เลื้อยผสมผสานกับตัวบ้าน

ไม้กระดานบางแห่งหนาทึบแข็งแรง

บางแห่งตีตะปู เว้นระยะห่างเป็นซี่ๆ ทำให้มองเห็นพื้นด้านล่าง

ฝาไม้บานเลื่อน ( หน้าต่าง ) ง่ายได้สื่อถึง ภูมิผาญาสะหล่าไม้คนเมือง

ระเบียงไม้ตีง่ายๆ  มีต้นไผ่ขึ้นเคียงกับไม้ระแนง  ด้วยพื้นที่เป็นไม้เวลาเดินจะมีเสียงดังของไม้

ทำให้ต้องค่อยๆย่อง  อิอิ  เหมือนแมว

บางจุดก็ยกพื้นสูงเล่นระดับให้เหมาะกับการใช้สอย  นั่งเล่น นอน พักผ่อน และรับแขก

ทุกพื้นที่มีประโยชน์ใช้สอย

ข้าวของเครื่องใช้เก่าๆที่ไม่ได้พบเห็นมานานมากแล้ว

ถูกเก็บรักษาอย่างดี  ทำให้เข้าใจในจิตอนุรักษ์ของเจ้าบ้าน

…อาจารย์รำพัด โกฏแก้ว….ผู้หญิงเกร่งในดวงใจ

ส่วนใหญ่ทุกคนจะรู้จักกันในนาม..ม่อนฝ้าย

บ้านม่อนฝ้ายเป็นแบบเรือนไทยประยุกต์ใต้ถุนสูง ปลูกติดกัน 3 หลัง เรือนด้านหน้า ทางทิศใต้จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในอดีตและบางชิ้นยังใช้จนปัจจุบัน เช่น สลุงเงิน เชี่ยนหมาก เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน ภาพพระบฏ ในห้องทางทิศเหนือของศาลาโถงกลาง จัดแสดงเครื่องแต่งกายพื้นเมืองล้านนา พับวางซ้อนเป็นชั้นๆ วางคลี่ซ้อนๆ กัน และวางพาดราวด้านบน เรียงเต็มห้อง ทั้งสะไบ ซิ่น ผ้า ชุดแต่งกายโบราณแต่งกายบางชุด จัดตกแต่งโชว์ไว้ในหุ่นอย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังนำอุปกรณ์ในการตกแต่งกายอื่นๆ เช่นผ้าโพกศีรษะ เชือก ผ้าคาดเอว รวมทั้งเครื่องประดับที่ใช้ประกอบการแต่งกายแบบพื้นเมืองแสดงไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนชั้นล่างเป็นที่เก็บวัตถุพื้นบ้านชิ้นใหญ่ๆ เช่น สุ่ม ครก ไม้กวาด

ความเป็นมา:
อาจารย์รำพัดเริ่มความสนใจรวบรวมสะสมผ้าทอพื้นเมือง เนื่องจากเมื่อเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูเครื่องแต่งกายพื้นเมืองของโรงเรียนวัดป่าตัน แต่ไม่สามารถหาเสื้อผ้าพื้นเมืองมาใส่ให้สวยงามเหมาะสมได้ จึงเริ่มเข้าไปในหมู่บ้าน พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เลิกทอผ้า ทิ้งหูกทิ้งกี่ไปแล้ว อาจารย์จึงพยายามหาตัวอย่าง “แม่ย่า “ (ตัวอย่างสำหรับเป็นแบบในการทอ) เพื่อเอาเข้าไปในหมู่บ้านอีกครั้ง ขอให้ช่างทำให้เหมือนตัวอย่างเพื่อรับซื้อ และช่วยหาตลาดให้ชาวบ้านด้วย

ตัวอย่าง “แม่ย่า ” สะสมตั้งแต่ พ.ศ.2529 จนมีจำนวนหลายพันชิ้นในปัจจุบัน นอกจากใช้เป็นตัวอย่างการทอผ้าแบบเก่าแล้ว ยังนำไปใช้จัดแสดงการแต่งกายในขบวนแห่หรือกิจกรรมอื่นๆ ด้วย นอกจากอาจารย์รำพัดจะอนุรักษ์ผ้าทอพื้นเมืองล้านนาแล้ว ยังเก็บศึกษา และอนุรักษ์ผ้าในกลุ่มอื่นๆ ด้วย อาทิ ผ้าไทลื้อ ไทยเขิน ไทยอง เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว ภาพข้างฝาล้วนเก่าแก่ แสดงถึงอดีตของเมืองเชียงใหม่

ตลอดจน ผ้านุ่ง ผ้าซิ่นที่อนุรักษ์ไว้ก็แฝงไว้ในงานศิลปะซึ่งสามารถถ่ายทอดถึงศิลปินในตัวผู้ทอ

รอบๆอาณาบริเวณมีงานปั้น  งานแกะสลักลวดลายบนไม้ภายในบ้าน

ที่ละเอียด ละเมียดละไม งดงาม แม้ผ่านกาลเวลาและแสงแดดที่แผดเผา

ก็ไม่อาจทำให้งานที่ทรงคุณค่าลดลงได้เลย

reDSC02215 original_DSCF3242 original_DSCF3243 original_DSCF3249original_DSCF3255 original_DSCF3257 original_DSCF3260 P1030303

 
โทรศัพท์ 0-5311-0145
อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บไซต์ http://www.maonfai.com

 

สินค้าและบริการ

พิพิธภัณฑ์ที่มีการใช้งานจริง มีเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายโบราณ

Published on Thursday, 12 March 2015 12:28
Written by Super User

DSCF8363

ประวัติและความเป็นมา

เป็นอาคารเก่าแก่ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมอันงดงามสร้างเมื่อ ปี 2467 เคยใช้เป็นหอคำ ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพศาลากลางจังวัดเชียงใหม่ อาคารตั้งยู่บริเวณสะดือเมืองในอดีต ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง ก่อนที่จะย้ายไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นมรดกตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าการวิโรรสสุริยวงศ์ ถึงเจ้าเทพไกรสรพระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 7 ผู้ใช้หอคำซึ่งอยู่ในบริเวณคุ้มกลางเวียงเป็นศูนย์กลางการบริหารนครเชียงใหม่ เมื่อเจ้าอิทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นของเจ้าดารารัศม?พระธิดา ต่อมาเมื่อ จัดการปฏิรูป การปกครองตามระบบเทศาภิบาลเจ้าดารารัศมีจึงใช้คุ้มกลางเวียงแห่งนี้เป็น“ศาลารัฐบาล”หรือที่ทำการรัฐบาล

ต่อมาเมื่อจังวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้ศาลากลางลังใหม่ บนถนนโชตนาเป็นศูนย์ราชการจังหวัด และได้ย้ายหน่วยงาน ออกหมดในปี 2539 อาคารหลังนี้จึงถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปใช้ประโยชน์จนถึงปลายปี 2540 เทศบาล นครเชียงใหม่ได้ขอปรับปรุงาคารเพื่อใช้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี2542 ประเภทที่ทำการอาคารสาธารณะจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์

เชียงใหม่นอกจากจะเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติอันงดงามจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ในอดีตนครแห่งนี้เคยเป็น ศูนย์กลางในทุกๆด้านของอาณาจักรล้านนาทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและวรรณกรรม แต่ที่ผ่านมายังขาดแหล่งที่เป็นศูนย์กลางให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้ ลูกหลานชาวเชียงใหม่นักท่องเที่ยว ตลอดจนผู้สนใจได้ศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้องและครอบคลุมในทุกด้าน
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่จึงเกิดขึ้นเพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้รากเหง้าของตนเองและบ้านเมืองรู้จักวิถีชีวิตตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของตนเองอันจะสร้างความภาคภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงานให้คงอยู่สิบไปนอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ในเขตเมืองเก่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจ นครเชียงใหม่ตลอดจนผู้คนในท้องถิ่นอันเป็นหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนุรักษ์

ภายในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้จัดแบ่งพื้นที่อาคารด้านหน้าเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการอาคารด้านหลังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมนิทรรศการหมุนเวียน ห้องจำหน่ายของที่ระลึก