บ้านไม้ที่มีใต้ถุนบ้านสูงๆ มีเสามากมายนับไม่ถ้วน มีต้นไม้เลื้อยผสมผสานกับตัวบ้าน
ไม้กระดานบางแห่งหนาทึบแข็งแรง
บางแห่งตีตะปู เว้นระยะห่างเป็นซี่ๆ ทำให้มองเห็นพื้นด้านล่าง
ฝาไม้บานเลื่อน ( หน้าต่าง ) ง่ายได้สื่อถึง ภูมิผาญาสะหล่าไม้คนเมือง
ระเบียงไม้ตีง่ายๆ มีต้นไผ่ขึ้นเคียงกับไม้ระแนง ด้วยพื้นที่เป็นไม้เวลาเดินจะมีเสียงดังของไม้
ทำให้ต้องค่อยๆย่อง อิอิ เหมือนแมว
บางจุดก็ยกพื้นสูงเล่นระดับให้เหมาะกับการใช้สอย นั่งเล่น นอน พักผ่อน และรับแขก
ทุกพื้นที่มีประโยชน์ใช้สอย
ข้าวของเครื่องใช้เก่าๆที่ไม่ได้พบเห็นมานานมากแล้ว
ถูกเก็บรักษาอย่างดี ทำให้เข้าใจในจิตอนุรักษ์ของเจ้าบ้าน
…อาจารย์รำพัด โกฏแก้ว….ผู้หญิงเกร่งในดวงใจ
ส่วนใหญ่ทุกคนจะรู้จักกันในนาม..ม่อนฝ้าย…
บ้านม่อนฝ้ายเป็นแบบเรือนไทยประยุกต์ใต้ถุนสูง ปลูกติดกัน 3 หลัง เรือนด้านหน้า ทางทิศใต้จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในอดีตและบางชิ้นยังใช้จนปัจจุบัน เช่น สลุงเงิน เชี่ยนหมาก เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน ภาพพระบฏ ในห้องทางทิศเหนือของศาลาโถงกลาง จัดแสดงเครื่องแต่งกายพื้นเมืองล้านนา พับวางซ้อนเป็นชั้นๆ วางคลี่ซ้อนๆ กัน และวางพาดราวด้านบน เรียงเต็มห้อง ทั้งสะไบ ซิ่น ผ้า ชุดแต่งกายโบราณแต่งกายบางชุด จัดตกแต่งโชว์ไว้ในหุ่นอย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังนำอุปกรณ์ในการตกแต่งกายอื่นๆ เช่นผ้าโพกศีรษะ เชือก ผ้าคาดเอว รวมทั้งเครื่องประดับที่ใช้ประกอบการแต่งกายแบบพื้นเมืองแสดงไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนชั้นล่างเป็นที่เก็บวัตถุพื้นบ้านชิ้นใหญ่ๆ เช่น สุ่ม ครก ไม้กวาด
ความเป็นมา:
อาจารย์รำพัดเริ่มความสนใจรวบรวมสะสมผ้าทอพื้นเมือง เนื่องจากเมื่อเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูเครื่องแต่งกายพื้นเมืองของโรงเรียนวัดป่าตัน แต่ไม่สามารถหาเสื้อผ้าพื้นเมืองมาใส่ให้สวยงามเหมาะสมได้ จึงเริ่มเข้าไปในหมู่บ้าน พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เลิกทอผ้า ทิ้งหูกทิ้งกี่ไปแล้ว อาจารย์จึงพยายามหาตัวอย่าง “แม่ย่า “ (ตัวอย่างสำหรับเป็นแบบในการทอ) เพื่อเอาเข้าไปในหมู่บ้านอีกครั้ง ขอให้ช่างทำให้เหมือนตัวอย่างเพื่อรับซื้อ และช่วยหาตลาดให้ชาวบ้านด้วย
ตัวอย่าง “แม่ย่า ” สะสมตั้งแต่ พ.ศ.2529 จนมีจำนวนหลายพันชิ้นในปัจจุบัน นอกจากใช้เป็นตัวอย่างการทอผ้าแบบเก่าแล้ว ยังนำไปใช้จัดแสดงการแต่งกายในขบวนแห่หรือกิจกรรมอื่นๆ ด้วย นอกจากอาจารย์รำพัดจะอนุรักษ์ผ้าทอพื้นเมืองล้านนาแล้ว ยังเก็บศึกษา และอนุรักษ์ผ้าในกลุ่มอื่นๆ ด้วย อาทิ ผ้าไทลื้อ ไทยเขิน ไทยอง เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ภาพข้างฝาล้วนเก่าแก่ แสดงถึงอดีตของเมืองเชียงใหม่
ตลอดจน ผ้านุ่ง ผ้าซิ่นที่อนุรักษ์ไว้ก็แฝงไว้ในงานศิลปะซึ่งสามารถถ่ายทอดถึงศิลปินในตัวผู้ทอ
รอบๆอาณาบริเวณมีงานปั้น งานแกะสลักลวดลายบนไม้ภายในบ้าน
ที่ละเอียด ละเมียดละไม งดงาม แม้ผ่านกาลเวลาและแสงแดดที่แผดเผา
ก็ไม่อาจทำให้งานที่ทรงคุณค่าลดลงได้เลย
โทรศัพท์ | 0-5311-0145 |
อีเมล | This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. |
เว็บไซต์ | http://www.maonfai.com |
สินค้าและบริการ
พิพิธภัณฑ์ที่มีการใช้งานจริง มีเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายโบราณ