คลังเก็บผู้เขียน: u57261

เอกสารยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

เอกสารยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  1. แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สป/001 และ สผ/001-ก มีจำนวน 7 หน้า จำนวน 1 ชุด โดยผู้ขอจะต้องกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับการขอรับสิทธิบัตร และลงรายมือชื่อผู้ขอ เว้นแต่หากมีการแต่งตั้งตัวแทนสิทธิบัตรซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วในกองสิทธิบัตร ตัวแทนก็สามารถลงลายมือชื่อแทนผู้ขอในคำขอและเอกสารอื่นๆได้ทุกกรณี
  2. รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ รูปเขียน และบทสรุปการประดิษฐ์เป็นเอกสารที่ผู้ขอจะต้องจัดทำขึ้เองโดยผู้ขอจะต้องบรรยายรายละเอียดของการประดิษฐ์ให้สมบูรณ์ รัดกุม และชัดแจ้ง โดยรายละเอียดจะต้องมีดังนี้

-           ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ เพื่อที่จะให้ทราบว่าการประดิษฐ์ของผู้ขอเป็นอะไร อันจะทำให้เห็นลักษณะของการประดิษฐ์เป็นเช่นไร

-           ลักษณะของความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ จะต้องระบุลักษณะสำคัญของการประดิษฐ์โดยย่อรวมทั้งระบุจุดประสงค์ในการประดิษฐ์ให้ชัดเจนว่าการประดิษฐ์นั้นทำขึ้นเพื่ออะไร

-           สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ จะต้องระบุว่าการประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรจัดอยู่ในสาขาวิชาการด้านใด

-           ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ในหัวข้อนี้ผู้ขอจะต้องบรรยายถึงสื่งที่มีอยู่ในการประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรและการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้มีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเดิมอย่างไรบ้าง หรืออาจเกิดแนวความคิดใหม่ขึ้นโดยการแก้ปัญหาจากสิ่งที่มีอยู่แล้เกิดผลดีขึ้น

-           การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ จะต้องระบุรายละเอียดที่จะสามารถประดิษฐ์ได้โดยแสดงวิธีการผลิต หรือกรรมวิธีต่างๆหรือการใช้วัสดุหรือการประกอบเข้าด้วยกัน หรือกระบวนวิธีเพื่อให้สามารถที่จะทำการประดิษฐ์สิ่งนั้นขึ้นมาได้จนเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จ

-           คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ หากในกรณีมีรูปแสดงก็ให้แสดงถึงส่วนต่างๆของการประดิษฐ์เพื่อที่จะช่วยให้เข้าใจถึงรายละเอียดการประดิษฐ์ยิ่งขึ้น

-           การนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชกรรม คือการระบุว่าการประดิษฐ์นั้นสามารถนำไปใช้ทางใดบ้างและมีประโยชน์เพียงใด

  1. ข้อถือสิทธิ คือสิ่งที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรต้องการที่จะขอความคุ้มครอง ดังนั้นผู้ขอจะต้องระบุให้ชัดเจน รัดกุม สมบูรณ์ และสอดคล้องกับรายละเอียดของการประดิษฐ์ ข้อถือมี 2 ลักษณะ คือ ข้อถือสิทธิหลัก และข้อถือสิทธิ รอง
  2. รูปเขียน จะต้องเป็นรูปเขียนที่ได้เขียนขึ้นตามหลักการของการเขียนแบบ โดยแสดงสัดส่วนให้ชัดเจน ใช้หมึกดำและมีหมายเลขกำกับส่วนต่างๆ มีความสูงไม่น้อยกว่า .32 เซนติเมตร ไม่มีเส้นล้อมรอบตัวเลข และการใช้สัญลักษณ์จะต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด
  3. บทสรุปการประดิษฐ์ เป็นการระบุสาระสำคัญของการประดิษฐ์ว่าเป็นการประดิษฐ์อะไร อันจะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและมองเห็นลักษณะการประดิษฐ์นั้นได้ชัดเจนขึ้น โดยจะต้องมีถ้อยคำไม่เกิน 200 คำ

การยื่นขอรับสิทธิบัตร

การยื่นขอรับสิทธิบัตร

                การยื่นขอรับสิทธิบัตร ผู้ที่จะขอยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อที่จะขอการคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จะต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรตามที่กฏหมายกำหนดที่ฝ่ายสนเทศและทะเบียนสิทธิบัตร กองสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะต้องจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับคำขอรับสิทธิบัตร

หน้าแรก

สิทธิบัตร

หมายความว่า หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดโดยบทแห่งพระราชชบัญญัตินี้

  1. สิทธิบัตร คือหนังสือสำคัญที่ออกให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งตามคำสั่งของอธิบดีกรมทะเบียนการค้า และผู้ได้รับสิทธิบัตรย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2522
  2. สิทธิบัตรที่ออกเพื่อคุ้มครอง “การประดิษฐ์” ประการหนึ่ง และสิทธิบัตรที่ออกให้เพื่อคุ้มครอง “การออกแบบผลิตภัณฑ์”  อีกประการหนึ่ง

ทั้งหมดที่พอจะกล่าวได้รวมๆ กันว่า สิทธิบัตรคือหนังสือคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ”

 

ลักษณะพิเศษของสิทธิบัตร

  1. เป็นเอกสารมหาชน เพื่อใช้และให้บุคคลทั่วไปได้ตรวจสอบทำนองเดียวกับโฉนดที่ดินและสัมประทานเหมืองแร่
  2. ผู้ทรงสิทธิบัตรแต่ผู้เดียวมีสิทธิผลิตภัณฑ์ ใช้กรรมวิธี หรือขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรนั้น ตลอดอายุของสิทธิบัตรนั้นๆ เมื่อหมดอายุแห่งสิทธิบัตรนั้นๆแล้ว สิทธิผลิตภัณฑ์หรือสิทธิกรรมวิธีหรือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นๆ ก็ตกเป็นของสารธารณชนต่อไป ซึ่งหลังจากนั้นใครๆก็มีสิทธิผลิตและใช้ได้โดยปลอดพ้นจากการละเมิดสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรอีกต่อไป
  3. เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิได้ทำนองเดียวกับโฉนดที่ดิน