News Calendar

May 2025
Mo Tu We Th Fr Sa Su
28 29 30 1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 1

AcePolls

ท่านเข้าชม web นี้บ่อยแค่ไหน

ทุกวัน - 0%
อาทิตย์ละครั้ง - 0%
เดือนละครั้ง - 0%
ปีละครั้ง - 0%

Total votes: 0
The voting for this poll has ended on: 22 Mar 2015 - 09:51

จำนวนผู้เข้าชมเว็ปไซต์

003912
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
52
22
129
3721
162
191
3912

Your IP: 3.140.242.43
Server Time: 2025-05-09 12:43:12

Login Form

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

ที่ตั้ง : 20/1 ถนนบุญเรืองฤทธิ์ ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
ติดต่อ : โทรศัพท์ 053 278-3223, 053 808-550 โทรสาร 053 808-550 ต่อ 25
เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: วันอังคาร- ศุกร์ เวลา 9.00 - 17.00 น.
                                       วันเสาร์ เวลา 8.30 - 18.00 น.  หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์
เว็บไซต์ : http://www.cmnlt.com

             http://www.finearts.go.th/chiangmailibrary

ฐานข้อมูลสืบค้นข้อมูลทรัพยากรhttp://www.cmnlt.com/d-library

facebook : http://www.facebook.com/cmnlt2012

อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it..th  (งานเทคโนโลยี)

          This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  (งานบริหาร)

 

 

เกี่ยวกับองค์กร

ประวัติความเป็นมา

     หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่  เกิดขึ้นจากดำริของ ฯพณฯท่านพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 16  (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ)  ที่ต้องการ จัดตั้งหอสมุดแห่งชาติประจำภาคเหนือขึ้น  เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมฉลองปีรัชมังคลาภิเษก  2531 

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31  สิงหาคม  พ.ศ.2532  และได้เปิดให้บริการเมื่อวันศุกร์ที่  1  กันยายน  พ.ศ.2532  ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8  เชียงใหม่  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม

วิสัยทัศน์

     แหล่งรวบรวมมรดกภูมิปัญญาด้านทรัพยากรสารสนเทศที่สมบูรณ์และทันสมัย มุ่งให้บริการอย่างดีเด่น พร้อมเป็นผู้นำในด้านวิชาชีพห้องสมุด

ภาระหน้าที่

     หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่  เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวม  สงวนรักษา จัดระบบและให้บริการมรดกทางสติปัญญา วิทยาการและวัฒนธรรมของชาติที่ปรากฎในรูปของหนังสือ  วารสาร หนังสือพิมพ์  โสตทัศนวัสดุ และข่าวสารเรื่องทันสมัยต่างๆ  รวมถึงหนังสือตัวเขียน  เอกสารโบราณ  คัมภีร์ใบลาน  สมุดไทย  โดยมีภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานดังนี้

1)  บริหารจัดการและดำเนินงานทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นคลังสิ่งพิมพ์ในภูมิภาค โดยการจัดหา รวบรวม  จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทและทุกสาขาวิชาให้ครบถ้วนสมบูรณ์

2)  ศึกษาค้นคว้าและดำเนินงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตามหลักมาตรฐานสากล  เพื่อการเข้าถึงสารสนเทศได้โดยง่ายและใช้เป็นคู่มือในการให้คำปรึกษา แนะนำ  ฝึกอบรมการปฏิบัติงานห้องสมุด  แก่บุคคลและหน่วยงานภายนอก

 3)  ให้บริการสารสนเทศและส่งเสริมการอ่าน  การศึกษาค้นคว้า  วิจัย  แก่ประชาชน  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย

4)  ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  และดำเนินงานสำรวจ  รวบรวมเอกสารโบราณ และหนังสือหายาก  เพื่อการสงวนรักษามรดกทรัพย์สินภูมิปัญญาของภูมิภาค

5)  ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  ในการเผยแพร่และกำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ  (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  และข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ (CIP)

 

ห้องบริการ

 

ห้องหนังสือทั่วไป 1

             ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไป (ภาษาไทย)  โดยจัดแบ่งหมวดหมู่ตามระบบทศนิยมดิวอี้ (DC) ได้แก่  หมวด 000(เบ็ดเตล็ด)  หมวด 100 (ปรัชญา)  หมวด 200  (ศาสนา)  หมวด 300  (สังคมศาสตร์)  หมวด 400  (ภาษาศาสตร์)  หมวด 500 (วิทยาศาสตร์)  หมวด 600  (วิทยาศาสตร์ประยุกต์)  นอกจากนี้ยังให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแบบเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง  หนังสือ  วารสารและนิตยสารกรมศิลปากร  วิทยานิพนธ์  การศึกษาอิสระ  มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ)

 

ห้องหนังสือทั่วไป 2

             ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไป (ภาษาไทย)  ได้แก่  หมวด 700 (ศิลปะ  วิจิตรศิลป์และมัณฑณศิลป์)  หมวด 800 (วรรณคดี)  หมวด 900 (ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์)  หนังสือภาษาต่างประเทศ  หมวด  000-900  หนังสืออ้างอิงต่างๆ  (พจนานุกรม  สารานุกรม  บรรณานุกรม  หนังสือรายปี  สิ่งพิมพ์รัฐบาล)  นวนิยาย  นอกจากนี้ยังให้บริการราชกิจจานุเษกษา  โดยแยกตามประเภท  ปีที่พิมพ์  เรียงตามลำดับที่  และตอนที่  สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ให้ช่วยค้นคว้าและใช้บริการได้

 

ห้องหนังสือท้องถิ่น

            ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ 17 จังหวัดภาคเหนือ  ได้แก่  หนังสือ  รายงานวิจัย  วิทยานิพนธ์  วารสารและนิตยสาร  หนังสือพิมพ์  กฤตภาค  จุลสาร  และแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง  ดรรชนีค้นเรื่อง  สารบัญค้นเรื่อง  และบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ภาคเหนือ  นอกจากนี้ยังให้บริการหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์จักรี  พระราชนิพนธ์  หนังสือหายาก  หนังสืออนุสรณ์งานศพ  โดยจัดแยกให้บริการตามประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

 

ห้องหนังสือเยาวชน

            ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือเยาวชน  ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่มีเนื้อหาเหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน  นอกจากนี้ยังได้มีการจัดมุมของเล่น  เกมเสริมทักษะด้านพัฒนาการ  ส่งเสริมการอ่านของเด็กและเยาวชนไว้บริการเป็นสัดส่วน  นอกจากนี้ภายในบริเวณห้องหนังสือเยาวชนได้มีการจัดแบ่งออกให้บริการเป็นมุม หนังสือเกาหลี  (Korea Book Corner)  โดยมีหนังสือภาษาไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศเกาหลีและหนังสือภาษาเกาหลี ที่ได้รับมอบจากชาวเกาหลีไว้ให้บริการ

 

ห้องวารสารและหนังสือพิมพ์

            ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง  วารสาร  นิตยสาร  หนังสือพิมพ์  ทั้งฉบับภาษาไทยภาษาต่างประเทศ  โดยจัดเก็บไว้ให้บริการทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับล่วงเวลา  บริการข้อมูลจากกฤตภาค  จุลสาร  แฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง  คู่มือช่วยการค้นคว้า  ดรรชนีค้นเรื่องวารสาร  สารบัญวารสาร  นอกจากนี้ยังได้มีการจัดมุมหนังสือสำหรับผู้พิการทางสายตา (อักษรเบรลล์) ให้บริการเช่นกัน

 

ห้องโสตทัศนวัสดุ

           ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อโสตทัศนวัสดุต่างๆ  ได้แก่  แถบบันทึกเสียง  เทปบันทึกเสียง  เทปบันทึกภาพ  แผ่นเสียง  ซีดีรอม  วีซีดี  ดีวีดี  สไลด์  ภาพนิ่ง รูปภาพ  แผนภูมิ  แผนที่  นิทรรศการ  นอกจากนี้ยังจัดบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลแบบไม่เสีย ค่าใช้จ่าย

 

ห้องภาษาโบราณ

          ให้บริการเอกสารประเภทต้นฉบับตัวเขียน  เอกสารปฐมภูมิแสดงหลักฐานที่เป็นภาษาและตัวหนังสือแต่เก่าก่อนซึ่งสำเร็จ ด้วยหัตถกรรม  เป็นเอกสารที่บันทึกสรรพวิชาของบรรพชนชาวภาคเหนือ  ได้แก่ คัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย  โดยเอกสารโบราณที่จัดเก็บสำหรับบริการจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับทางด้านประวัติ ศาสตร์  พระพุทธศาสนา  อารายธรรมของสังคมกลุ่มต่างๆ ในภาคเหนือ  วรรณกรรม  วัฒนธรรม  จริยธรรมและคุณธรรม  ตำรายาและโหราศาสตร์  มีระบบการจัดเก็บให้บริการเรียงตามลำดับที่ลงทะเบียนไว้ตั้งแต่ต้นจนถึง ปัจจุบัน  โดยมีบัญชีรายชื่อเอกสารโบราณเป็นเครื่องมือช่วยสืบค้น

 

หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ 

        ให้บริการลักษณะห้องจัดแสดงศิลปวัตถุ  สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ภาพถ่ายของชาวล้านนาในอดีต  ที่ประชาชนได้มอบให้พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  เนื่องในโอกาสวันเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่  และท่านได้มอบให้หอสมุดแห่งชาติฯ เชียงใหม่  เป็นผู้ดูแลต่อไป

แผนที่

Nice Social Bookmark

FacebookMySpaceTwitterDiggDeliciousStumbleuponGoogle BookmarksRedditNewsvineTechnoratiLinkedinRSS FeedPinterest
Pin It

Survey