แหล่งสารสนเทศใน อ.เมือง จ.เชียงใหม่

INFORMATION SOURCES

แหล่งสารสนเทศ (Information Sources)

แหล่งสารสนเทศ หมายถึง สถานที่ที่มีสารสนเทศสะสมอยู่ และเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้สารสนเทศเหล่านั้นได้ แบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้

1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน จำแนกได้ดังนี้

m
· ห้องสมุด (Library) คือสถานที่รวมทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปของวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ รวมทั้งฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารงาน และดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด

v

·  ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) แหล่งสารสนเทศประเภทนี้แต่ละแหล่งมีชื่อต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อบริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา เช่น ศูนย์สารสนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ศูนย์เอกสารประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยี และศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร

 

2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่

x

ได้แก่ อนุสาวรีย์ โบราณสถาน อุทยานแห่งชาติรวมถึงสถานที่จำลองด้วย เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปราสาท  หินพิมาย เมืองโบราณ เป็นต้น แหล่งสารสนเทศเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก ข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ก็คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

 

3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล

s

ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาต่างๆ ผู้ต้องการ สารสนเทศจากบุคคลต้องไปพบปะสนทนาหรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดย  ตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ

 

4. แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์

g

ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การประชุมการสัมมนาในเรื่องต่าง ๆ นิทรรศการหรืองานแสดงต่างๆ รวมทั้งเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ เช่น “14 ตุลา″ในปี พ.ศ. 2516 “พฤษภาทมิฬ” ในปี พ.ศ. 2535 เป็นต้น

 

5. ศูนย์บริการสารสนเทศแบบซีดีรอม และแบบออนไลน์ ศูนย์บริการประเภทนี้มีวิวัฒนาการ สืบเนื่องมาจากศูนย์สารสนเทศที่ได้อธิบายไปข้างต้น เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ก้าวหน้ามากขึ้น ศูนย์ฯ จึงนำ IT มาเป็นเครื่องมือ ในการให้บริการแก่ลูกค้า เพราะสามารถให้บริการได้สะดวกและรวดเร็วกว่า  IT ที่ ศูนย์บริการสารสนเทศนำมาใช้มีทั้งการจัดทำเป็นซีดีรอมให้ผู้ขอซื้อบริการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ บรรดาห้องสมุดต่างๆ และการจัดบริการออนไลน์ ให้ห้องสมุดต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาบทความ ในฐานข้อมูลที่ศูนย์ได้จัดทำขึ้น  อย่างไรก็ตาม การใช้ซีดีรอมนั้น มีปัญหาในเรื่อง ความสมบูรณ์ และทันสมัยของเนื้อหา ดังนั้นจึงนิยมใช้การค้นแบบออนไลน์มากกว่า แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

2-IMG_0003

 

6. อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย สำนักข่าวสาร และสมาคมวิชาชีพ ต่างก็จัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์ออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศมากมาย การที่จะได้มาซึ่ง
ข้อมูลที่ต้องการจึงต้องรู้ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการ โดยเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์ในการค้นหาที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการคือ Search Engine ซึ่งมีหลายลักษณะ คือ
· Major Search Engine – Search Engine ที่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง เป็น Search Engine ชั้นนำ เพื่อค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ เช่น
Google.com,Yahoo.com
· Meta Search Engine – Search Engine ที่ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่อาศัยฐานข้อมูลจาก Search Engine อื่น ๆ หลายแห่งมาแสดง
· Directory Search Engine – Search Engine ประเภทหนึ่ง ที่มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นหมวดหมู่

ob_1_

 

แหล่งที่มา : http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2025.htm

 

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

1308660495

 

 

ประวัติและความเป็นมา

ธนาคารแห่งประเทศไทย มีนโยบายส่งเสริม ให้สำนักงานภาค ของธนาคาร แห่งประเทศไทยมีบทบาท ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจท้องถิ่น นอกเหนือจากหน้าที่ดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีนโยบาย รวมถึงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าของท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อส่งเสริม และ สนับสนุน การอนุรักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานภาค มีประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตผู้คน ธรรมชาติ ตลอดจน ศิลปวัฒนธรรม ที่สูงค่า และเป็นเอกลักษณ์ สั่งสมมา เป็นเวลายาวนานถึง 700 กว่าปี ด้วยตระหนัก ในคุณค่าเหล่านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมสืบสาน มรดกอันล้ำค่านี้ด้วยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือเพื่อเป็นศูนย์กลาง การเผยแพร่ความรู้ด้าน เงินตราและผ้าไท แก่บุคคลทั่วไป ในรูปแบบของ พิพิธภัณฑ์เงินตรา และผ้าโบราณ ทั้งนี้เพื่อให้ชนรุ่นหลังตระหนักถึง คุณค่าแห่งมรดก ทางวัฒนธรรมของชาติ และร่วมอนุรักษณ์สิ่งมีค่าเหล่านี้ มิให้สูญหายไปจากแผ่นดิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้า โปรดกระหม่อม จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน เปิดพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ อย่างเป็น ทางการ เมื่อวันพุธที่ 1 มีนาคม พศ.2543การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1
เป็นการจัดแสดง เรื่องเกี่ยวกับ เงินตรา ของโลกและของประเทศไทย ในยุคสมัยต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมา และพัฒนาการในการนำโลหะมีค่า มาผลิตเป็นเงินตรา ซึ่งนำมาใช้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน

ส่วนที่ 2
ห้องผ้า เป็นการจัดแสดง เรื่องเกี่ยวกับ ผ้าโบราณ เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของผ้า ในฐานะที่เป็น เครื่องชี้ความเป็นมาแห่งเชื้อชาติ สะท้อนสภาพ เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจน พัฒนาการ ทางภูมิปัญญา

 

วัตถุประสงค์

น อกเหนือจากหน้าที่หลัก ในด้านการดูแล เศรษฐกิจการเงิน ของประเทศแล้ว ธนาคาร แห่งประเทศไทย ยังมีบทบาท ในฐานะองค์กรหนึ่ง ที่ให้การ สนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ด้วยการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งที่ สำนักงานใหญ่ และที่สำนักงานภาคเหนือ สำหรับ พิพิธภัณฑ์ธนาคาร แห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือนั้น ธนาคารจัดให้ เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ด้าน เงินตรา และ ผ้าไท แก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่า แห่งมรดก ทางวัฒนธรรมของชาติ

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ อาคารอเนกประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เลขที่ 68/3 ถนนโชตนา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดแสดงที่เชื่อมโยง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเงินตรา กับผ้าซึ่งต่างก็มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และระบบเศรษฐกิจตามลำดับและ ในฐานะที่เป็น สื่อกลางแสดงการแลกเปลี่ยนมาตั้งแต่ครั้งอดีต

 

msm_mpic prs_img02

 

ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ 0-5393-1182/3 โทรสาร 0-5322-4168 อีเมล์ : jirawang@bot.or.th

 

 

 

แหล่งที่มา : http://www2.bot.or.th/museum/thai/contact.asp

 

หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่

IMG_6194

 

 

ประวัติและความเป็นมา

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เมืองเชียงใหม่มีช่วงผ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 700 ปี และมีความสำคัญต่อพัฒนาการของไทยในเขตภาคเหนือตอนบน หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ได้จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ นับแต่สร้างเมืองเชียงใหม่จนเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาสามารถขยายอาณาเขตของอาณาจักรล้านนาออกไปกว้างขวางและพัฒนาบ้านเมืองให้รุ่งเรืองทั้งด้านการค้า และการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมจนถึงยุคสมัยที่เชียงใหม่อ่อนแอลงจนพ่ายแพ้และกลายเป็นเมืองขึ้นต่อพม่า สุดท้ายได้ต่อสู้จนเป็นอิสระจากพม่า และเข้าสู่ยุคสมัยของการเป็นประเทศราชของสยาม จนรวมเป็นส่วนหนึ่งของ ประเทศไทยในปัจจุบัน

 

หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในบริเวณกลางเมืองประวัติศาสตร์ด้านหลังหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์พบหลักฐานในแผนที่เก่าทำให้สันนิษฐานได้ว่า เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งของหอพระแก้ว (ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงกาลางพุทธศตวรรษที่ 25 ) ซึ่งเป็นศาสนสถานสำคัญของเมือง

 

เวลาเปิด-ปิด : 08.00 – 17.00 น. วันอังคาร ถึง วันอาทิตย์ (ไม้เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)(ปิดทำการวันจันทร์และวันหยุดเทศกาลสงกรานต์)

 

IMG_6147 IMG_6143

 

 

แหล่งที่มา : http://www.cmocity.com/history/indexhall03.html

 

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

bf9gk9ib7beb7g86kckg7

 

ประวัติและความเป็นมา    

ล้านนามีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปฎบัติสืบเนื่องมายาวนาน มีรูปแบบที่หลากหลาย โดดเด่น และงดงามสะท้อนความหมายที่แฝงเร้นมากับคติความเชื่อของบรรพชนผูกพันกับศรัทธาในพุทธศาสนา และกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และงานหัตถศิลป์ของล้านนา สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของดินแดนแห่งนี้มาแต่อดีตจนปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา จึงได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในล้านนา และลักษณะทางศิลปะที่ปรากฎในงานพุทธศิลป์ ทั้งเครื่องใช้ทางพิธีกรรม สถาปัตยกรรม ประเพณี งานจิตรกรรม และงานหัตถศิลป์ของล้านนาที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพื่อสืบสาน และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้คนทั่วไป พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ตั้งอยู่ในบริเวณตรงข้ามอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ในบริเวณกลางเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่

 

เวลาเปิดปิด : 08.30 – 17.00น. วันอังคาร ถึง วันอาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดทำการวันจันทร์และวันหยุดเทศกาลสงกรานต์)

 

 

แหล่งที่มา : http://www.cmocity.com/lanna/indexhall02.html

 

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

DSCF8363

 

 

ประวัติและความเป็นมา

เป็นอาคารเก่าแก่ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมอันงดงามสร้างเมื่อ ปี 2467 เคยใช้เป็นหอคำ ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพศาลากลางจังวัดเชียงใหม่ อาคารตั้งยู่บริเวณสะดือเมืองในอดีต ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง ก่อนที่จะย้ายไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นมรดกตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าการวิโรรสสุริยวงศ์ ถึงเจ้าเทพไกรสรพระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 7 ผู้ใช้หอคำซึ่งอยู่ในบริเวณคุ้มกลางเวียงเป็นศูนย์กลางการบริหารนครเชียงใหม่ เมื่อเจ้าอิทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นของเจ้าดารารัศม?พระธิดา ต่อมาเมื่อ จัดการปฏิรูป การปกครองตามระบบเทศาภิบาลเจ้าดารารัศมีจึงใช้คุ้มกลางเวียงแห่งนี้เป็น“ศาลารัฐบาล”หรือที่ทำการรัฐบาล

ต่อมาเมื่อจังวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้ศาลากลางลังใหม่ บนถนนโชตนาเป็นศูนย์ราชการจังหวัด และได้ย้ายหน่วยงาน ออกหมดในปี 2539 อาคารหลังนี้จึงถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปใช้ประโยชน์จนถึงปลายปี 2540 เทศบาล นครเชียงใหม่ได้ขอปรับปรุงาคารเพื่อใช้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี2542 ประเภทที่ทำการอาคารสาธารณะจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์

เชียงใหม่นอกจากจะเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติอันงดงามจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ในอดีตนครแห่งนี้เคยเป็น ศูนย์กลางในทุกๆด้านของอาณาจักรล้านนาทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและวรรณกรรม แต่ที่ผ่านมายังขาดแหล่งที่เป็นศูนย์กลางให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้ ลูกหลานชาวเชียงใหม่นักท่องเที่ยว ตลอดจนผู้สนใจได้ศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้องและครอบคลุมในทุกด้าน
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่จึงเกิดขึ้นเพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้รากเหง้าของตนเองและบ้านเมืองรู้จักวิถีชีวิตตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของตนเองอันจะสร้างความภาคภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงานให้คงอยู่สิบไปนอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ในเขตเมืองเก่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจ นครเชียงใหม่ตลอดจนผู้คนในท้องถิ่นอันเป็นหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนุรักษ์

ภายในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้จัดแบ่งพื้นที่อาคารด้านหน้าเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการอาคารด้านหลังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมนิทรรศการหมุนเวียน ห้องจำหน่ายของที่ระลึก

 

 

แหล่งที่มา : http://www.cmocity.com/room/Architecture.html

 

Art In Paradise พิพิธภัณฑ์ภาพสามมิติ

IMG_1410

 

 

“Art in Paradise (Chiang Mai)” พิพิธภัณฑ์ภาพวาดลวงตา (Illusion Art Museum) แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอศิลปะภาพวาดลวงตา หรือ Illusion Art ศิลปะการวาดภาพที่อาศัยเทคนิค และความเชี่ยวชาญในการวาดภาพลงบนพื้นผิวเรียบให้กลายเป็น “ภาพ 3 มิติ” และให้ความรู้สึกที่เหมือนจริง (Realistic Art) นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังนำเสนอผลงานศิลปะในรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด (Interactive Art) ผู้ชมสามารถถ่ายภาพโดยสร้างสรรค์จินตนาการ ออกแบบท่าทาง และแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพวาดแต่ละภาพตามความชอบของตนเอง เสมือนว่าผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาด Art in Paradise (Chiang Mai) จึงเป็นสถานที่ที่ทำให้ศิลปะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้สำหรับทุกคน และยังมอบความสุข สนุกสนานให้แก่ผู้มาเยือนอีกด้วย

“Art in Paradise (Chiang Mai)” ก่อตั้งโดยชาวเกาหลี คุณ จาง กิว ซ็อก (Jang Kyu Suk) และสร้างสรรค์ภาพวาดโดยจิตรกรระดับมืออาชีพจากประเทศเกาหลีทั้งหมด 14 ท่าน ภาพวาดภายในพิพิธภัณฑ์กว่า 130 ภาพ สามารถแบ่งออกเป็น 6 โซนใหญ่ๆ คือ โซนโลกใต้ท้องทะเล รวบรวมสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดรวมทั้งเหล่านางเงือก เป็นโซนที่ผู้ชมสามารถออกแบบท่าทางในการถ่ายภาพได้ตามความชอบของตนเอง โซนสัตว์ป่า ภาพวาดสัตว์ป่าในอิริยาบถต่างๆ โซนคลาสสิกอาร์ต (Classic Art) ภาพวาดของจิตรกรระดับโลกนำมาเพิ่มเติมความสนุกในแบบของ Art in Paradise (Chiang Mai) ทั้งยังมีภาพเมืองแถบยุโรปที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสถานที่จริง โซนตะวันออก ประกอบด้วยภาพสถาปัตยกรรมทั้งของเกาหลี ไทย และเขมร โซนอียิปต์โบราณ สัมผัสบรรยากาศแห่งทะเลทราย และสุสานฟาโรห์ โซนศิลปะเหนือจริง และสัตว์โลกล้านปี รวบรวมภาพวาดหลากหลายแบบที่ผู้ชมสามารถจินตนาการถ่ายภาพในแบบของแต่ละคนได้อย่างอิสระ เพื่อความสนุกสนาน และเสมือนจริง

 

ภาพลวงตาคืออะไร?

ภาพวาดลวงตา คือ ภาพวาดที่ส่งผลทำให้การรับรู้ทางการมองเห็น บิดเบือนหรือผิดเพี้ยนไปจากภาพความจริง ซึ่งผู้ชมสามารถรับรู้และตีความออกมาได้หลายความหมาย

การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมหรืองานศิลปะบนพื้นผิวเรียบ ( สองมิติ ) ให้ดูมีมิติ มีความตื้นลึกของแสงและเงา ต้องอาศัยเทคนิคและความเชี่ยวชาญอย่างสูงในการออกแบบ การจัดองค์ประกอบของภาพ และเลือกใช้ส่วนประกอบทางศิลปะในการเปลี่ยนภาพวาดธรรมดาให้กลายเป็น งานศิลปะสามมิติ

นอกจากนี้การจัดวางรูปภาพให้อยู่ในมุมมองที่ถูกต้องก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดลวงตา เช่น รูปภาพหนึ่งรูป ผู้ชมแต่ละคนสามารถมองและตีความหมายออกมาได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล

พิพิธภัณฑ์ อาร์ตอินพาราไดซ์ เชียงใหม่ ยินดีอย่างยิ่งที่จะนำทุกท่านไปพบกับความมหัศจรรย์ของโลกแห่งศิลปะภาพวาดลวงตา สถานที่ที่ทุกท่านสามารถปลดปล่อยจินตนาการ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาดสามมิติ ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้

 

ติดต่อสอบถาม : Tel.: 053-274-100 Fax: 053-273-491 Email: artinparadise.cnx@gmail.com

 

 

 

แหล่งที่มา : http://www.chiangmai-artinparadise.com/contact-us.php

 

 

 

Information Technology Service Center

2010new-itsc_01

 

 

ประวัติและความเป็นมา

           ตามที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551 นั้น นับเป็นโอกาสในการรวมหน่วยงานเดิมสององค์กร คือ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ที่ได้ดำเนินการมากว่า 25 ปี และสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2545 มารวมเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ” ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา

 

วัตถุประสงค์

“เป็นองค์กรแห่งการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านการให้บริการตามมาตรฐานสากล ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา การบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยและชุมชนอย่างยั่งยืน”

 

eng-fact-120613225301

 

 

ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ 0-5394-3811  เว็บไซต์ : http://itsc.cmu.ac.th e-mail : itsc@cmu.ac.th

 

 

แหล่งที่มา : http://itsc.cmu.ac.th/view.aspx?id=Ng==

 

 

โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

cropped-Banner_Resize

 

 

ประวัติและความเป็นมา

       ชุมชนล้านนามีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์อยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลกันและกันยาวนานรวมทั้งได้ร่วมกันสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในเรื่องอาหาร ยารักษาโรค งานหัตถกรรมการเกษตรพื้นบ้าน การจัดการทรัพยากรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีและมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างต่อเนื่อง แต่จากการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิต ภูมิปัญญาถูกละเลยจนน่าเป็นห่วง ขาดการสืบทอดจากผู้รู้และพอครูแม่ครู โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่หลงใหลไปกับวัฒนธรรมภายนอกและไม่ได้มีการสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญาจากพ่อครูแม่ครูเหล่านี้เลย

      ในราวต้นปี ๒๕๔๐ องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ นักเขียน ศิลปิน กลุ่มศิลปวัฒนธรรม องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชน ได้ปรึกษาหารือตกลงใจร่วมกันว่าควรประสานงานกับคน ทุกกลุ่ม ได้เข้ามาร่วมจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยร่วมกันจัดงาน”สืบสานล้านนา”ในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ติดต่อกันมาเป็นเวลา ๕ ปี หวังว่าจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นที่อยู่พื้นฐานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่นร่วมกันในอนาคต

       อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้มีความพยายามขององค์กร ชุมชน กลุ่มคนในท้องถิ่น ภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสืบทอดอย่างต่อเนื่องในบางชุมชนและมีการจัดงาน “สืบสานล้านนา” ขึ้นในช่วงเดือนเมษายนติดต่อกันมาทุกปีตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ก็ยังไม่สามารถก่อให้เกิดการ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีความต่อเนื่องและมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายได้

       พระเดชพระคุณเจ้าหลวงพ่อพระพุทธพจนวราภรณ์ (พระธรรมดิลก) วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ได้ให้แนวคิดว่า “การจะสืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาล้านนาให้เกิดผลนั้น การจัดงานสืบสานล้านนาเพียงปีละครั้ง ๆ ละ ๔ วัน ไม่สามารถทำให้เกิดผลได้จริง ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าทุกลมหายใจเลย จึงจะเป็นจริง”

คณะกรรมการจัดงานสืบสานล้านนาได้นำมาปรึกษาหารือมีความเห็นร่วมกันว่าจะต้องทำโครงการที่จะให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา” ขึ้นในปี ๒๕๔๓ และได้ดำเนินกิจกรรมในการรวบรวมองค์ความรู้ พ่อครู แม่ครู และปราชญ์ชาวบ้านเพื่อทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาให้กับลูกหลานและผู้สนใจในท้องถิ่น ได้เกิดการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถสืบสานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในระยะแรกทางคณะกรรมการและผู้ดำเนินงานได้มีการประสานงานกับพ่อครูแม่ครู ผู้รู้ในท้องถิ่นเปิดสอนวิชาภูมิปัญญาแขนงต่าง ๆ และเปิดรับสมัครนักเรียนและผู้สนใจเข้าเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านแขนงต่าง ๆ อาทิ การทอผ้า การตัดกระดาษตัดตุง ทำโคม ดนตรีพื้นบ้าน ฟ้อนรำพื้นบ้าน การวาดรูปล้านนา อาหารพื้นบ้าน แกะสลัก จักสาน งานปั้น เป็นต้น มีผู้ให้ความสนใจเข้าเรียนรู้เป็นจำนวนมาก

luangpu_lanna01

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

  1. เพื่อรวบรวมผู้รู้ พ่อครู แม่ครู ช่างพื้นบ้านในแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนล้านนา
  2. ศึกษารวบรวยมข้อมูล องค์ความรู้พื้นบ้านออกมาในรูป ของตำราที่คนรุ่นใหม่ศึกษาได้
  3. จัดทำหลักสูตร จัดอบรมระยะสั้น
  4. เผยแพร่ให้ความรู้แก่สาธารณชนให้เห็นความ สำคัญของการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
  5. ประสานเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่าง

 

ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ ๐๕๓-๒๔๔๒๓๑ โทรสาร ๐๕๓-๓๐๖๖๑๒ อีเมลล์: sslanna@hotmail.com

 

 

 

แหล่งที่มา : http://www.lannawisdoms.com/blog/?page_id=64

 

ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

d082d855477f6adceffb4068d9119c7d

 

 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2538 เป็นคณะที่ 17 ของมหาวิทยาลัยและเป็นคณะในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2543 โดนมีบัณฑิตจบการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาโดยตลอด โดยมีหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และการประยุกต์งานสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและมีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ อย่างเหมาะสม จากเหตุผลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บจัดแสดงและศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค

 

ปัจจุบันศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเป็นหน่วยงานภายใต้งานศิลปวัฒนธรรมและชุมชน คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัย จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีที่ทำการ ณ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ซึ่งเป็นอาคารเก่าอายุประมาณ 120 ปี ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับบริจาคจากคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล และอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2544

 

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ หรือบางท่านเรียกว่า คุ้มกลางเวียง เดิมเป็นของ เจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ หลานของเจ้าหลวงคำฝั้น (เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่3) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2432-2436 ต่อมาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ บุตรชายเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ได้รับมรดกและเป็นผู้ครอบครองอาคารในระหว่างปี พ.ศ. 2437-2489

 

นางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพยมณฑล) ได้ซื้อต่อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่) และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงญาติคนปัจจุบันคือคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล (บุตรีนางบัวผันและเป็นน้าสาว ของอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร) วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตระกูลกิติบุตรและทิพยมณฑล ได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้เป็นที่ทำการของศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ภายใต้การดูแล และดำเนินงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

 

DSC01575 pic1

 

 

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

  1. เป็นแหล่งศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนาแห่งหนึ่งของภูมิภาค
  2. เป็นศูนย์กลางในการค้นคว้าและวิจัยทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนาและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เกี่ยวข้อง
  3. เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ และบูรณะซ่อมแซมงานสถาปัตยกรรมล้านนา
  4. เป็นอาคารตัวอย่างที่ได้รับแนวทางการอนุรักษ์และบูรณะอย่างถูกต้องตามหลัก วิชาการอนุรักษ์ เป็นการเก็บรักษาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เห็นและยังเป็นตัวอย่างการอนุรักษ์ให้ แก่หน่วยงานอื่นๆ ของประเทศไทย
  5. เป็นแหล่งพบปะของสถาปนิกและบุคคลทั่วไปในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น รวมถึงร่วมมือกันกำหนดแนวทางในการประยุกต์หรือสร้างสรรค์เอกลักษณ์ของงาน สถาปัตยกรรมล้านนา
  6. เพื่อสร้างความเข้าใจหรือปลุกจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่นให้ตระหนักถึงคุณ ค่าของประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรม และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
  7. เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่

 

ติดต่อสอบถาม : โทร: 0 5327 7855 โทรสาร: 0 5327 7855 

 

 

 

แหล่งที่มา : http://www.lanna-arch.net/

 

 

 

 

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

slide3-lanna-traditions

 

 

ประวัติความเป็นมา

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ ได้ถือกำเนิดขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการเรียนการสอน และการวิจัยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นล้านนา ซึ่งจำเพาะถึงจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด และการขยายขอบเขตให้กว้างขวางมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งภูมิภาคภาคเหนือ คือ 17 จังหวัด ในเวลาต่อมา สำนักหอสมุดในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริการของมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นในการเสาะแสวงหา รวบรวม สะสมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับล้านนาและภูมิภาคภาคเหนือโดยรวม สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นภาคเหนือ โดยในระยะเริ่มแรก ได้จัดตั้ง “โครงการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปลานนา″ ขึ้นเมื่อพ.ศ.2524 จากการริเริ่มของผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพ สุจินดา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ในขณะนั้น ต่อมาโครงการดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยพิพิธภัณฑ์และศิลปล้านนา″ และ “หน่วยเอกสารล้านนา″ ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2534 อาจารย์ ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดได้มีนโยบายในการพัฒนาหน่วยเอกสารล้านนาให้มีขอบเขตภาระงานที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือนอกจากมีการขยายกรอบของการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับล้านนาให้กว้างขวางออกไปถึงภูมิภาคภาคเหนือแล้วยังขยายต่อไปถึง “ไทศึกษา″ เป็นประการสำคัญอีกด้วย โดยสำนักหอสมุดได้ปรับเปลี่ยนหน่วยเอกสารล้านนามาเป็น “ศูนย์สนเทศภาคเหนือ” มีฐานะเป็นงานหนึ่งของฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 

วัตถุประสงค์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งศูนย์สนเทศภาคเหนือภายใต้วัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อแสวงหา รวบรวม และให้บริการทรัพยากรสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือ
  2. เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับภาคเหนือ
  3. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลภาคเหนือในรูปแบบต่างๆ แก่ชุมชน มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้รับบริการในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมภายใต้ขอบเขตและพันธกิจของสำนักหอสมุด
  4. เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือ โดยรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือในด้านข้อมูล

 

slide1-lanna-photo

 

 

ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ 0-5394-4517, 0-5394-4514

 

 

แหล่งที่มา : http://library.cmu.ac.th/ntic/

 

Back to Top