ประวัติความเป็นมา
ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน ในระยะแรกไม่ได้เป็นห้องสมุดที่เป็นสัดส่วนเอกเทศ เป็นเพียงแต่ตู้เก็บรวบรวมหนังสือในห้องครูใหญ่หรือตั้งอยู่ในห้องเรียนห้องใดห้องหนึ่งเท่านั้น มีหนังสือต่างๆที่ได้จากการซื้อหาและการบริจาคจากเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆได้ดังนี้
1. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะแรก (พ.ศ.2448-2458) ในระยะนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวโรรสข้างวัดดวงดีทางด้านทิศใต้(หรือสี่แยกกลางเวียงปัจจุบัน) ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าได้ใช้ส่วนใดห้องใดของอาคารเรียน จัดเป็นห้องสมุด แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีห้องสมุดแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2451
2. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะที่ 2 (พ.ศ.2548-2516) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่เลขที่ 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง หรือตั้งในปัจจุบันนี้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 โดยได้เริ่มสร้างตึกยุพราชเป็นอาคารเรียนหลังแรกตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ห้องสมุดของโรงเรียนในระยะนี้จึงอาศัยอยู่บนตึกยุพราชก่อน จนถึงปี พ.ศ.2467 จึงมีการสร้างห้องสมุดเป็นสัดส่วนเฉพาะโดยปรากฎหลักฐานว่า มีห้องสมุดเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นสโมสรของลูกเสือชั้นบนมี 4 ห้อง ห้องกลาง 2 ห้องใช้เป็นห้องสมุด ห้องริม 2 ห้องจัดเป็นห้องเรียนและได้ทำบุญฉลองหอสมุดที่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2467 และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ใช้ห้องสมุดนั้นเรื่อยมา ต่อมาในปีพ.ศ.2469 ได้มีพระราชพิธีสมโภช “พระเศวตคชเดชดิลก” ช้างสำคัญของเมืองเชียงใหม่และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการมณฑลพายัพและประชาชนชาวเมืองนครเชียงใหม่ได้ร่วมกันสร้างโรงช้างต้นขึ้น หลังจากประกอบพิธีเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2469 แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้ใช้อาคารนี้เกื่ยวข้องกับช้างสำคัญอีกเลย จึงได้มีการดัดแปลงอาคารโรงช้างต้น เป็นห้องสมุด และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้อาศัยโรงช้างต้นเป็นห้องสมุดของโรงเรียนเรื่อยมา จนกระทั่งได้ย้ายมาที่ตึกยุพราชอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2501 ห้องสมุดย้ายไปอยู่ที่อาคารเรือนวิเชียร และในปี พ.ศ.2504 ได้ย้ายกลับมาใช้ด้านล่างของตึกยุพราชเป็นที่ตั้งของห้องสมุด เรื่องราวของห้องสมุดของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะปี พ.ศ.2501 – 2516 นั้น มีปรากฏในสมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนหลายเรื่องที่สำคัญ
3. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะ ที่ 3 (พ.ศ.2516 – 2534) ในปี พ.ศ.2516 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็ฯโรงเรียนในโครงการ คมส.และได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ชื่อ อาคารรัตนมณี จึงได้มีการกำหนดให้ชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ห้องเรียนเป็นที่ทำการของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของห้องสมุดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการให้บริการแก่บุคลากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้อาคารรัตนมณีชั้นที่ 2 เป็นห้องบริการหนังสืออ้างอิงและวารสารเย็บเล่ม ใช้ห้องเรียนเป็นที่ทำงานอีก 2 ห้องเรียน ในระยะที่ 3 นี้ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับการยกย่องและมีการพัฒนาที่สำคัญ
4.ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในปัจจุบัน (พ.ศ.2534 – ปัจจุบัน) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารนวรัตน์ในปีพ.ศ.2530 อาคารนวรัตน์จัดเป็นอาคารอเนกประสงค์ ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นที่สองเป็นห้องสมุดขนาด 10 ห้องเรียน และชั้นที่สามเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ ห้องสมุดได้พัฒนาอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งทางด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม จำนวนหนังสือ การให้บริการ การปรับปรุงงานเทคนิค การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ภายในห้องสมุด มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง จัดแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วนตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและในปีการศึกษา 2536 ห้องสมุดได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา ได้รับเกียรติบัตรของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
๑. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
๒. ไม่นำกระเป๋า ถุง ถุงย่ามเข้าห้องสมุด
๓. บันทึกการเข้าใช้ห้องสมุดทุกครั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์
๔. ไม่ส่งเสียงดัง วิ่งเล่น หรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นการรบกวนสมาธิผู้อื่น
๕. ไม่นำอาหาร เครื่องดื่มทุกชนิดเข้าไปรับประทาน
๖. สิ่งพิมพ์ทุกชนิด และสื่อโสตทัศนวัสดุ เมื่อใช้เสร็จให้เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยถูกต้อง
๗. ไม่ตัด ฉีก ทำลาย วัสดุสารนิเทศห้องสมุดทุกชนิด
๘. ไม่นำวัสดุสารนิเทศห้องสมุดทุกชนิดออกจากห้องสมุดก่อนได้รับอนุญาต
๙. เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องสมุด
๑๐. ควรใช้โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์สืบค้นทางอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
เวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 07.30 – 17.00 น.
วันเสาร์ เวลา 08.00 – 12.00 น.
แหล่งที่มา : http://yupparaj-library.myreadyweb.com/home
ห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม แบ่งออกเป็นห้องสมุดกลาง และห้องสมุด English Program โดยห้องสมุดกลาง ตั้งอยู่อาคารAmbrosio ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องประชุมขนาดกลาง ห้องศูนย์สื่อกลุ่มสาระต่างๆ ห้องศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา ชั้นล่างเป็นห้องสมุดให้บริการที่นั่งอ่านหนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือทั่วไป นวนิยาย เรื่องสั้น เยาวชน หนังสือคู่มือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย ตลอดจนวารสารและหนังสือพิมพ์ไว้บริการ นอกจากนี้ยังมีบริการคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวน 10 เครื่อง ยังเปิด โอกาสให้นักเรียนใช้บริการยืม-คืนสื่อ ประเภทซีดีรอมชั้น 2 อาคารอันโตนิโอ สื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสื่อซีดีรอม
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
แหล่งที่มา : http://library.montfort.ac.th/mylib/login.php
ปัจจุบันห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย แบ่งออกเป็น 3 ห้องสมุด
เพื่อความเหมาะสมและสะดวกกับผู้ใช้บริการ คือ
1.ห้องสมุดมาลามาศ
2.ห้องสมุด powers’ hall
3.ห้องสมุดแผนกมัธยมปลาย
เกี่ยวกับห้องสมุด
ห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาในสมัยของ
พ่อครูดร.วิลเลียม แฮรีส จวบจนมาถึงสมัยของท่านอาจารย์หมวก ไชยลังการณ์ ซึ่ง
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ผู้จัดการ ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของห้องสมุด ซึ่ง
ควรเป็นศูนย์รวมแหล่งค้นคว้าหาความรู้ให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้
กว้างไกล รักการอ่าน รู้จักศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเองและใช้เวลาว่าง ให้เป็น
ประโยชน์ จึงได้ปรับปรุงห้องสมุด ของโรงเรียนปรินส์ฯ ตลอดมา
แหล่งที่มา : http://www.prc.ac.th/PRCLibrary/index.php?option=com_content&view=section&id=1&Itemid=2
ประวัติห้องสมุด
หอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย แหล่งเรียนรู้ที่ริเริ่มขึ้นในปีการศึกษา 2552 โดยย้าย
ห้องสมุด 2 แห่งในโรงเรียน คือ ห้องสมุดมัธยมศึกษาตอนต้น และห้องสมุดมัธยมศึกษา
ตอนปลาย (ห้องสมุด 3 และห้องสมุด 4) มาไว้รวมกันที่ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน
ดาราวิทยาลัย
ที่ตั้งของหอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย คือ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน
สร้างขึ้นโดยมิสซิสจูเลีย ( แฮทช์ ) เทเลอร์ ( Mrs. Julia ( Hetch ) Taylor ) เมื่อปี พ.ศ.
2464 ( คศ.1921 ) อาคารหลังนี้จึงมีอายุ 88 ปี ในปี พ.ศ. 2552 ตั้งแต่เริ่มสร้างจนปัจจุบัน
อาคารเรียนหลังแรกนี้ได้ปรับเปลี่ยนให้บริการทางการศึกษามาหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ใช้เป็นหอพักของนักเรียนหญิง และครูหอพักมาอย่างต่อเนื่อง บางห้องภายในอาคารเคย
ดัดแปลงเป็นห้องสมุดครู ห้องวิจัย ห้อง Self Study ห้องพยาบาล ห้องฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
และเป็นพิพิธภัณฑ์โรงเรียน
ในปี พ.ศ. 2550อาคารแห่งนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาของ
สถาปนิกล้านนา ต้นกล้าสถาปัตยกรรม 50 จากข้อมูลดังกล่าวอาคารหอสมุดโรงเรียนจึงเป็น
อาคารที่เก่าแก่ทรงคุณค่าด้านสถาปัตยกรรม แหล่งสะสมประวัติศาสตร์เป็นที่เล่าขานตำนาน
ความผูกพันระหว่าง นักเรียน ครู บุคลากรโรงเรียนดาราวิทยาลัย ที่สำคัญยิ่ง คือ อาคารแห่งนี้
เมื่อครั้งที่องค์ประมุขพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินี เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2469 มิสซิสจูเลีย (แฮทช์)
เทเลอร์ ผู้จัดการโรงเรียนขณะนั้นได้นำเสด็จเยี่ยมชมอาคารหอสมุดโรงเรียน ซึ่งขณะนั้นใช้
เป็นหอพักของโรงเรียน
เวลาเปิด-ปิด
จ-ศ ตั้งแต่ 07.00 – 17.00น.
แหล่งที่มา : http://www.dara.ac.th/blog/library/?name=article&file=readarticle&id=31
ประวัติห้องสมุด
ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น หน่วยงานหนึ่งในฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ เป็นห้องสมุดของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็น ศูนย์รวมวิทยาการความรู้ทุกสาขาวิชาในรูปแบบของเอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และโสตทัศนวัสดุ สำหรับนักเรียน อาจารย์นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ประกอบการเรียนการสอน และเพื่อเป็นแหล่งหาความรู้ตามความสนใจนอกจากนี้ห้องสมุด ศูนย์วิชาการฯ ยังเป็นศูนย์รวม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การสอนของห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ และสายวิชาต่างๆของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อปี พ . ศ . 2512 โดยมีลักษณะเป็นมุมหนังสือ ต่อมาในปี พ . ศ . 2513 ได้จัดให้ เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ ตั้งอยู่บน ชั้น 3 อาคารคณะศึกษาศาสตร์ ในปี พ. ศ. 2516 ได้ย้ายที่ทำการ และเป็นห้องสมุดสมบูรณ์แบบ ขนาด2 ห้องเรียน ตั้งอยู่บนสำนัก งานธุรการโรงเรียน และในปี พ . ศ . 2522 ได้ย้ายมาอยู่ ชั้น 2 อาคารสาธิต 1 ของโรงเรียนสาธิตฯ และเปลี่ยนชื่อเป็น“ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ” จนถึงปัจจุบัน
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาดำเนิน การงานห้องสมุดเพื่อพัฒนาการให้บริการ และระบบการทำงานของบุคลากรให้ เป็นไปในระบบเดียวกันและห้องสมุดศูนย์วิชาการฯซึ่งเป็นห้องสมุดหนึ่งของ สำนักหอสมุดได้รับความช่วยเหลือจากสำนักหอสมุดโดยอนุญาตให้นำระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ มาดำเนินงานห้องสมุด และให้บริการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538ผ่านระบบเครือข่ายห้องสมุด (LibNet) โดยใช้โมเดมสามารถสิบค้นข้อมูลจากฐานของมูลหนังสือ วารสาร และ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนฐานข้อมูลเฉพาะของสำนักหอสมุด (CMUL OPAC และ ISIS OPAC) และในปี พ . ศ . 2544 ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ได้ให้บริการการยืม – คืนทรัพยากรสารนิเทศด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น
ใน ปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้อนุมัติิงบประมาณให้ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ิเครือข่ายสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (LibNet) ผ่านระบบเครือข่ายหลักของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Backbone) และจัดหา คอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ชุดสำหรับให้บริการสืบค้นข้อมูล และพัฒนาระบบการทำงานทั้งจากสำนักหอสมุดและข้อมูลออนไลน์ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ไม่จำกัดเวลา และสถานที่
ปัจจุบันห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ มีพื้นที่ให้บริการ ประมาณ 108 ตารางเมตร มีที่นั่งอ่าน 200 ที่นั่ง ซึ่งแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ดังนี้
1. ห้องหนังสือทั่วไป |
2. ห้องหนังสือแบบเรียน |
3. ห้องหนังสืออ้างอิง สิ่งพิมพ์ภาคเหนือ และสิ่งพิมพ์รัฐบาล |
4. ห้องวารสารและสารสนเทศ และห้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน |
5. ห้องโถงด้านนอก |
เวลาเปิด-ปิด
เปิดภาคเรียน จ-ศ 08.30 – 17.00 น.
เปิดภาคเรียน 1 ชั้นม.6 จ-ศ 08.30 – 16.30 น.
ปิดภาคเรียน จ-ศ 08.30 – 16.30 น.
แหล่งที่มา : http://library.cmu.ac.th/faculty/satit/main_index2.htm
สถานที่ : ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
ที่ตั้ง : ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
เบอร์โทรศัพท์ : 0-5322-1159
ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
ด้านทรัพยากรสารสนเทศ
ด้านพฤติกรรมผู้ใช้
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อคิดที่ได้จากการมาดูงานครั้งนี้
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาพิเษก