ประวัติและความเป็นมา
ธนาคารแห่งประเทศไทย มีนโยบายส่งเสริม ให้สำนักงานภาค ของธนาคาร แห่งประเทศไทยมีบทบาท ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจท้องถิ่น นอกเหนือจากหน้าที่ดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีนโยบาย รวมถึงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าของท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อส่งเสริม และ สนับสนุน การอนุรักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานภาค มีประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตผู้คน ธรรมชาติ ตลอดจน ศิลปวัฒนธรรม ที่สูงค่า และเป็นเอกลักษณ์ สั่งสมมา เป็นเวลายาวนานถึง 700 กว่าปี ด้วยตระหนัก ในคุณค่าเหล่านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมสืบสาน มรดกอันล้ำค่านี้ด้วยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือเพื่อเป็นศูนย์กลาง การเผยแพร่ความรู้ด้าน เงินตราและผ้าไท แก่บุคคลทั่วไป ในรูปแบบของ พิพิธภัณฑ์เงินตรา และผ้าโบราณ ทั้งนี้เพื่อให้ชนรุ่นหลังตระหนักถึง คุณค่าแห่งมรดก ทางวัฒนธรรมของชาติ และร่วมอนุรักษณ์สิ่งมีค่าเหล่านี้ มิให้สูญหายไปจากแผ่นดิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้า โปรดกระหม่อม จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน เปิดพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ อย่างเป็น ทางการ เมื่อวันพุธที่ 1 มีนาคม พศ.2543การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1
เป็นการจัดแสดง เรื่องเกี่ยวกับ เงินตรา ของโลกและของประเทศไทย ในยุคสมัยต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมา และพัฒนาการในการนำโลหะมีค่า มาผลิตเป็นเงินตรา ซึ่งนำมาใช้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน
ส่วนที่ 2
ห้องผ้า เป็นการจัดแสดง เรื่องเกี่ยวกับ ผ้าโบราณ เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของผ้า ในฐานะที่เป็น เครื่องชี้ความเป็นมาแห่งเชื้อชาติ สะท้อนสภาพ เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจน พัฒนาการ ทางภูมิปัญญา
วัตถุประสงค์
น อกเหนือจากหน้าที่หลัก ในด้านการดูแล เศรษฐกิจการเงิน ของประเทศแล้ว ธนาคาร แห่งประเทศไทย ยังมีบทบาท ในฐานะองค์กรหนึ่ง ที่ให้การ สนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ด้วยการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งที่ สำนักงานใหญ่ และที่สำนักงานภาคเหนือ สำหรับ พิพิธภัณฑ์ธนาคาร แห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือนั้น ธนาคารจัดให้ เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ด้าน เงินตรา และ ผ้าไท แก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่า แห่งมรดก ทางวัฒนธรรมของชาติ
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ อาคารอเนกประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เลขที่ 68/3 ถนนโชตนา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดแสดงที่เชื่อมโยง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเงินตรา กับผ้าซึ่งต่างก็มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และระบบเศรษฐกิจตามลำดับและ ในฐานะที่เป็น สื่อกลางแสดงการแลกเปลี่ยนมาตั้งแต่ครั้งอดีต
ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ 0-5393-1182/3 โทรสาร 0-5322-4168 อีเมล์ : jirawang@bot.or.th
แหล่งที่มา : http://www2.bot.or.th/museum/thai/contact.asp
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์สนเทศภาคเหนือ ได้ถือกำเนิดขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการเรียนการสอน และการวิจัยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นล้านนา ซึ่งจำเพาะถึงจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด และการขยายขอบเขตให้กว้างขวางมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งภูมิภาคภาคเหนือ คือ 17 จังหวัด ในเวลาต่อมา สำนักหอสมุดในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริการของมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นในการเสาะแสวงหา รวบรวม สะสมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับล้านนาและภูมิภาคภาคเหนือโดยรวม สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นภาคเหนือ โดยในระยะเริ่มแรก ได้จัดตั้ง “โครงการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปลานนา″ ขึ้นเมื่อพ.ศ.2524 จากการริเริ่มของผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพ สุจินดา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ในขณะนั้น ต่อมาโครงการดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยพิพิธภัณฑ์และศิลปล้านนา″ และ “หน่วยเอกสารล้านนา″ ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2534 อาจารย์ ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดได้มีนโยบายในการพัฒนาหน่วยเอกสารล้านนาให้มีขอบเขตภาระงานที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือนอกจากมีการขยายกรอบของการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับล้านนาให้กว้างขวางออกไปถึงภูมิภาคภาคเหนือแล้วยังขยายต่อไปถึง “ไทศึกษา″ เป็นประการสำคัญอีกด้วย โดยสำนักหอสมุดได้ปรับเปลี่ยนหน่วยเอกสารล้านนามาเป็น “ศูนย์สนเทศภาคเหนือ” มีฐานะเป็นงานหนึ่งของฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
วัตถุประสงค์
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งศูนย์สนเทศภาคเหนือภายใต้วัตถุประสงค์ดังนี้
ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ 0-5394-4517, 0-5394-4514
แหล่งที่มา : http://library.cmu.ac.th/ntic/