สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายใต้ชื่อ ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการในผู้ป่วยเด็กโรคขาดสารอาหารโรคโลหิต จางในเด็กและหญิงมีครรภ์ และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะทุโภชนาการและโลหิตจางกับการเกิดโรคติดเชื้อต่อ มาได้เสนอโครงการขยาย และปรับปรุงยกฐานะโดยได้รับความ เห็นชอบในปี พ.ศ. 2521 ให้สถาปนาขึ้นเป็น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพเป็นหน่วยงานอิสระที่มีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีภาระ กิจในการดำเนินงาน วิจัยและเป็นศูนย์กลางให้ความร่วมมือประสานงาน และส่งเสริมการดำเนินการ ค้นคว้าวิจัยในสาขา วิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลพื้นฐาน อันเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาสาเหตุประกอบการวินิจฉัย ของการเกิดโรคได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะยังผลให้สามารถกำหนดมาตรการที่ถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพและอนามัยของประชาชน โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือของประเทศต่อไป
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดำเนินการวิจัยในด้านโภชนาการ ด้านโรคโลหิตจาง ด้านโรคเมืองร้อน ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและด้านโรคติดเชื้อ ซึ่งในปัจจุบันโรคติดเชื้อเป็นปัญหาที่สำคัญ และเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข คือปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งสถาบันฯได้ทำการศึกษาและวิจัยอย่างจริงจัง และต่อเนื่องมีผลงานเผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ในด้านโภชนาการ ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหารต่าง ๆ ในทั้งอาหารดิบและอาหาร ปรุงสำเร็จ ศึกษาการเสริมวิตามินเอในเด็กในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้มีการ ศึกษาเกี่ยวกับการปนเปื้อน ของยาฆ่าแมลงและโลหะหนักในอาหาร ในน้ำและอื่น ๆ เป็นต้น
นอกเหนือจากการดำเนินการวิจัย แล้ว สถาบันฯ ยังให้การสนับสนุนและร่วมมือกับคณะต่าง ๆ ในการดำเนินการผลิตบัณฑิตโดยมอบหมายให้บุคลากรที่มีความรู้และ ประสบการณ์เข้าร่วมสนับสนุน การเรียนการสอน ทั้งในระดับปริญญาและบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์พิเศษ ในบัณฑิตวิทยาลัยร่วมสอนและบริหารในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต นอกจากนี้สถาบันฯยังมีบทบาทร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมการบริการวิชาการเพื่อ สังคม การทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติโดยเฉพาะของภาคเหนืออีกด้วย
วัตถุประสงค์และนโยบายในการดำเนินงาน
ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ 66 5322 1966, 665394 5055 ,โทรสาร 66 5322 1849,66 5394 5053
แหล่งที่มา : http://www.rihes.cmu.ac.th/2014/
โครงการ ‘ฟื้นบ้าน ย่าน เวียง เชียงใหม่’ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวมีความเข้าใจกับเมือง ทั้งความเป็นมา ความเปลี่ยนแปลง และสภาพปัจจุบันในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง พร้อมทั้งเห็นคุณค่า จนกระทั่งตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของเมืองขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศนี้ไว้ด้วยกัน และห้องสมุดนี้ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่เกิดจากความร่วมมือกันของกลุ่มคนเล็กๆ ในเชียงใหม่ที่เชื่อว่าห้องสมุดดีๆ สามารถช่วยสร้างเมืองและสังคมดีๆ ให้เกิดขึ้นได้
ห้องสมุดฟื้นบ้าน ย่าน เวียง เชียงใหม่นี้เริ่มต้นด้วยเงินทุนศูนย์บาท กับแนวคิด A book I like for the city I love เปิดรับบริจาคหนังสือที่ใครก็ได้ ให้หนังสืออะไรก็ได้ที่ชอบมาเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด และเมื่อข่าวถูกแพร่กระจายออกไป ในทางสื่อออนไลน์และปากต่อปาก ก็ได้รับการตอบรับที่เป็นเงินทุนบ้าง เฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้ภายในห้องสมุดบ้าง และแน่นอนว่าหนังสือส่วนหนึ่งก็ถูกจัดส่งเข้ามา จนกระทั่งห้องสมุดฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่นี้ได้ทำการเปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ให้ทั้งชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรม Book Club จัดเป็นชมรมนัดพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์การอ่าน แสดงความคิดเกี่ยวกับหนังสือ โดยมีแขกรับเชิญคนแรกคือ ‘แสนเมือง’ บรรณาธิการ นิตยสาร Compass เชียงใหม่
เปิดให้บริการ : ตั้งแต่ 8.30 – 20.00 น.
แหล่งที่มา : http://www.creativemove.com/creative/fuenbanlibrary-chiang-mai/#ixzz3Rn2DupDr
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุได้ที่ ให้บริการหนังสือประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสารคดีและเอกสารจดหมายเหตุ
ตั้งอยู่ที่ : ถนนสุเทพ (แยกประตูสวนดอก) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เปิดให้บริการ : วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
ติดต่อสอบถาม : 0 5328 1424 โทรสาร 0 5328 1425
แหล่งที่มา : http://www.m-culture.in.th/
ห้องสมุดกองบิน 41จังหวัดเชียงใหม่
ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ข้าราชการลูกจ้าง และครอบครัว ของกองบิน 41
ในอดีตห้องสมุดของเราอยู่ที่อาคารสวัสดิการซึ่งไม่สะดวกในการให้บริการได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากอยู่ห่างไกล จึงย้ายมาตั้งที่อาคารแฟลตรับรอง 4 ชั้น โดยมีห้องสมุดและห้อง Internet Adsl ให้บริการที่ชั้น 1 และให้บริการจนถึงปัจจุบัน
แหล่งที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nooneo&month=08-2007&date=28&group=14&gblog=1