Archive: ห้องสมุดโรงเรียน

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

1420209521-DSC04623JP-o

 

ประวัติความเป็นมา

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน ในระยะแรกไม่ได้เป็นห้องสมุดที่เป็นสัดส่วนเอกเทศ เป็นเพียงแต่ตู้เก็บรวบรวมหนังสือในห้องครูใหญ่หรือตั้งอยู่ในห้องเรียนห้องใดห้องหนึ่งเท่านั้น มีหนังสือต่างๆที่ได้จากการซื้อหาและการบริจาคจากเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆได้ดังนี้

1.  ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะแรก (พ.ศ.2448-2458) ในระยะนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวโรรสข้างวัดดวงดีทางด้านทิศใต้(หรือสี่แยกกลางเวียงปัจจุบัน) ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าได้ใช้ส่วนใดห้องใดของอาคารเรียน จัดเป็นห้องสมุด แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีห้องสมุดแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2451



2.  ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะที่ 2 (พ.ศ.2548-2516) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่เลขที่ 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง หรือตั้งในปัจจุบันนี้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 โดยได้เริ่มสร้างตึกยุพราชเป็นอาคารเรียนหลังแรกตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ห้องสมุดของโรงเรียนในระยะนี้จึงอาศัยอยู่บนตึกยุพราชก่อน จนถึงปี พ.ศ.2467 จึงมีการสร้างห้องสมุดเป็นสัดส่วนเฉพาะโดยปรากฎหลักฐานว่า มีห้องสมุดเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นสโมสรของลูกเสือชั้นบนมี 4 ห้อง ห้องกลาง 2 ห้องใช้เป็นห้องสมุด ห้องริม 2 ห้องจัดเป็นห้องเรียนและได้ทำบุญฉลองหอสมุดที่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2467 และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ใช้ห้องสมุดนั้นเรื่อยมา ต่อมาในปีพ.ศ.2469 ได้มีพระราชพิธีสมโภช “พระเศวตคชเดชดิลก” ช้างสำคัญของเมืองเชียงใหม่และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7  เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการมณฑลพายัพและประชาชนชาวเมืองนครเชียงใหม่ได้ร่วมกันสร้างโรงช้างต้นขึ้น  หลังจากประกอบพิธีเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2469 แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้ใช้อาคารนี้เกื่ยวข้องกับช้างสำคัญอีกเลย จึงได้มีการดัดแปลงอาคารโรงช้างต้น เป็นห้องสมุด และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้อาศัยโรงช้างต้นเป็นห้องสมุดของโรงเรียนเรื่อยมา จนกระทั่งได้ย้ายมาที่ตึกยุพราชอีกครั้งหนึ่ง  ในปี พ.ศ.2501 ห้องสมุดย้ายไปอยู่ที่อาคารเรือนวิเชียร และในปี พ.ศ.2504 ได้ย้ายกลับมาใช้ด้านล่างของตึกยุพราชเป็นที่ตั้งของห้องสมุด เรื่องราวของห้องสมุดของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะปี พ.ศ.2501 – 2516 นั้น มีปรากฏในสมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนหลายเรื่องที่สำคัญ

 

3. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะ ที่ 3 (พ.ศ.2516 – 2534)  ในปี พ.ศ.2516 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็ฯโรงเรียนในโครงการ คมส.และได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ชื่อ      อาคารรัตนมณี  จึงได้มีการกำหนดให้ชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ห้องเรียนเป็นที่ทำการของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของห้องสมุดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการให้บริการแก่บุคลากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้อาคารรัตนมณีชั้นที่ 2 เป็นห้องบริการหนังสืออ้างอิงและวารสารเย็บเล่ม ใช้ห้องเรียนเป็นที่ทำงานอีก 2 ห้องเรียน  ในระยะที่ 3 นี้ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับการยกย่องและมีการพัฒนาที่สำคัญ

 

4.ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในปัจจุบัน (พ.ศ.2534 – ปัจจุบัน) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารนวรัตน์ในปีพ.ศ.2530  อาคารนวรัตน์จัดเป็นอาคารอเนกประสงค์ ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นที่สองเป็นห้องสมุดขนาด 10 ห้องเรียน และชั้นที่สามเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ ห้องสมุดได้พัฒนาอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งทางด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม จำนวนหนังสือ  การให้บริการ การปรับปรุงงานเทคนิค การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ภายในห้องสมุด มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง จัดแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วนตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและในปีการศึกษา 2536 ห้องสมุดได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา ได้รับเกียรติบัตรของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

 

ระเบียบการใช้ห้องสมุด

๑.     แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
๒.    ไม่นำกระเป๋า  ถุง  ถุงย่ามเข้าห้องสมุด
๓.    บันทึกการเข้าใช้ห้องสมุดทุกครั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์
๔.    ไม่ส่งเสียงดัง  วิ่งเล่น  หรือทำกิจกรรมใด ๆ  ที่เป็นการรบกวนสมาธิผู้อื่น
๕.    ไม่นำอาหาร  เครื่องดื่มทุกชนิดเข้าไปรับประทาน
๖.     สิ่งพิมพ์ทุกชนิด  และสื่อโสตทัศนวัสดุ  เมื่อใช้เสร็จให้เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยถูกต้อง
๗.    ไม่ตัด  ฉีก  ทำลาย  วัสดุสารนิเทศห้องสมุดทุกชนิด
๘.    ไม่นำวัสดุสารนิเทศห้องสมุดทุกชนิดออกจากห้องสมุดก่อนได้รับอนุญาต
๙.     เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องสมุด
๑๐.   ควรใช้โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์สืบค้นทางอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา

 

เวลาเปิด-ปิด

วันจันทร์ – วันศุกร์  เวลา  07.30 – 17.00 น.
วันเสาร์  เวลา  08.00 – 12.00 น.

 

 

แหล่งที่มา : http://yupparaj-library.myreadyweb.com/home

 

 

 

ห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ดวิทยาลัย

monfodkl;daklds

 

ห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม แบ่งออกเป็นห้องสมุดกลาง และห้องสมุด English Program  โดยห้องสมุดกลาง  ตั้งอยู่อาคารAmbrosio ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องประชุมขนาดกลาง ห้องศูนย์สื่อกลุ่มสาระต่างๆ ห้องศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา ชั้นล่างเป็นห้องสมุดให้บริการที่นั่งอ่านหนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือทั่วไป นวนิยาย เรื่องสั้น เยาวชน หนังสือคู่มือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย ตลอดจนวารสารและหนังสือพิมพ์ไว้บริการ นอกจากนี้ยังมีบริการคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวน 10 เครื่อง ยังเปิด โอกาสให้นักเรียนใช้บริการยืม-คืนสื่อ ประเภทซีดีรอมชั้น 2 อาคารอันโตนิโอ สื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสื่อซีดีรอม

 

ระเบียบการใช้ห้องสมุด

  1. ขอสงวนสิทธิ์การยืม-คืนหนังสือ สำหรับนักเรยนที่ใช้บัตรประจำตัวของตนเองเท่านั้น
  2. แสดงบัตรประจำตัวนักเรียนทุกครั้งเมื่อใช้บริการห้องสมุด
  3. นักเรียน ม.ต้น ยืมได้ 3 เล่ม นักเรียน ม.ปลาย ยืมได้ 5 เล่ม / 7 วัน ส่งช้าปรับเล่มละ 1 บาท / 1 วัน
  4. กรณีที่หนังสือ ชำรุด สูญหาย นักเรียนต้องแจ้งให้ครูบรรณารักษ์ เพื่อชดใช้ตามราคาหนังสือ ค่าดำเนินการทางเทคนิคอีก 25 บาท
  5. หนังสือและสิ่งพิมพ์ที่ยืมได้ครั้งละ 7 วัน ได้แก่ หนังสือทั่วไป คู่มือ นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือสำหรับเยาวชน และวารสารเย็บเล่ม
  6. หนังสือและสิ่งพิมพ์ที่ไมม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด ได้แก่ หนังสือ อ้างอิง วารสารใหม่ และหนังสือพิมพ์ฉบับปัจจุบัน

 

 

แหล่งที่มา : http://library.montfort.ac.th/mylib/login.php

ห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

 

ปัจจุบันห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย แบ่งออกเป็น 3 ห้องสมุด

เพื่อความเหมาะสมและสะดวกกับผู้ใช้บริการ  คือ

1.ห้องสมุดมาลามาศ

jajajakikakak

2.ห้องสมุด powers’ hall

powerlakdlskafd

3.ห้องสมุดแผนกมัธยมปลาย

gdkllsla;s;lsls

เกี่ยวกับห้องสมุด

ห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาในสมัยของ

พ่อครูดร.วิลเลียม แฮรีส จวบจนมาถึงสมัยของท่านอาจารย์หมวก ไชยลังการณ์ ซึ่ง

ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ผู้จัดการ ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของห้องสมุด ซึ่ง

ควรเป็นศูนย์รวมแหล่งค้นคว้าหาความรู้ให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้

กว้างไกล รักการอ่าน รู้จักศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเองและใช้เวลาว่าง ให้เป็น

ประโยชน์ จึงได้ปรับปรุงห้องสมุด ของโรงเรียนปรินส์ฯ ตลอดมา

 

 

 

แหล่งที่มา : http://www.prc.ac.th/PRCLibrary/index.php?option=com_content&view=section&id=1&Itemid=2

ห้องสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย

fdjkla;fjdkl;afjdska;

 

 

ประวัติห้องสมุด

หอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย แหล่งเรียนรู้ที่ริเริ่มขึ้นในปีการศึกษา 2552 โดยย้าย

ห้องสมุด 2 แห่งในโรงเรียน คือ ห้องสมุดมัธยมศึกษาตอนต้น และห้องสมุดมัธยมศึกษา

ตอนปลาย (ห้องสมุด 3 และห้องสมุด 4) มาไว้รวมกันที่ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน

ดาราวิทยาลัย

 

ที่ตั้งของหอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย คือ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน

สร้างขึ้นโดยมิสซิสจูเลีย ( แฮทช์ ) เทเลอร์ ( Mrs. Julia ( Hetch ) Taylor ) เมื่อปี พ.ศ.

2464 ( คศ.1921 ) อาคารหลังนี้จึงมีอายุ 88 ปี ในปี พ.ศ. 2552  ตั้งแต่เริ่มสร้างจนปัจจุบัน

อาคารเรียนหลังแรกนี้ได้ปรับเปลี่ยนให้บริการทางการศึกษามาหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ใช้เป็นหอพักของนักเรียนหญิง และครูหอพักมาอย่างต่อเนื่อง บางห้องภายในอาคารเคย

ดัดแปลงเป็นห้องสมุดครู ห้องวิจัย ห้อง Self Study ห้องพยาบาล ห้องฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน

และเป็นพิพิธภัณฑ์โรงเรียน

 

ในปี พ.ศ. 2550อาคารแห่งนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาของ

สถาปนิกล้านนา ต้นกล้าสถาปัตยกรรม 50 จากข้อมูลดังกล่าวอาคารหอสมุดโรงเรียนจึงเป็น

อาคารที่เก่าแก่ทรงคุณค่าด้านสถาปัตยกรรม แหล่งสะสมประวัติศาสตร์เป็นที่เล่าขานตำนาน

ความผูกพันระหว่าง นักเรียน ครู บุคลากรโรงเรียนดาราวิทยาลัย  ที่สำคัญยิ่ง คือ อาคารแห่งนี้

เมื่อครั้งที่องค์ประมุขพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี

พระบรมราชินี เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2469 มิสซิสจูเลีย (แฮทช์)

เทเลอร์ ผู้จัดการโรงเรียนขณะนั้นได้นำเสด็จเยี่ยมชมอาคารหอสมุดโรงเรียน ซึ่งขณะนั้นใช้

เป็นหอพักของโรงเรียน

 

เวลาเปิด-ปิด

จ-ศ ตั้งแต่ 07.00 – 17.00น.

แหล่งที่มา : http://www.dara.ac.th/blog/library/?name=article&file=readarticle&id=31

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

head

 

ประวัติห้องสมุด

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น หน่วยงานหนึ่งในฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ เป็นห้องสมุดของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็น ศูนย์รวมวิทยาการความรู้ทุกสาขาวิชาในรูปแบบของเอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และโสตทัศนวัสดุ สำหรับนักเรียน อาจารย์นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ประกอบการเรียนการสอน และเพื่อเป็นแหล่งหาความรู้ตามความสนใจนอกจากนี้ห้องสมุด ศูนย์วิชาการฯ ยังเป็นศูนย์รวม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การสอนของห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ และสายวิชาต่างๆของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อปี พ . ศ . 2512 โดยมีลักษณะเป็นมุมหนังสือ ต่อมาในปี พ . ศ . 2513 ได้จัดให้ เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ ตั้งอยู่บน ชั้น 3 อาคารคณะศึกษาศาสตร์ ในปี พ. ศ. 2516 ได้ย้ายที่ทำการ และเป็นห้องสมุดสมบูรณ์แบบ ขนาด2 ห้องเรียน ตั้งอยู่บนสำนัก งานธุรการโรงเรียน และในปี พ . ศ . 2522 ได้ย้ายมาอยู่ ชั้น 2 อาคารสาธิต 1 ของโรงเรียนสาธิตฯ และเปลี่ยนชื่อเป็น“ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ” จนถึงปัจจุบัน

 

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาดำเนิน การงานห้องสมุดเพื่อพัฒนาการให้บริการ และระบบการทำงานของบุคลากรให้ เป็นไปในระบบเดียวกันและห้องสมุดศูนย์วิชาการฯซึ่งเป็นห้องสมุดหนึ่งของ สำนักหอสมุดได้รับความช่วยเหลือจากสำนักหอสมุดโดยอนุญาตให้นำระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ มาดำเนินงานห้องสมุด และให้บริการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538ผ่านระบบเครือข่ายห้องสมุด (LibNet) โดยใช้โมเดมสามารถสิบค้นข้อมูลจากฐานของมูลหนังสือ วารสาร และ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนฐานข้อมูลเฉพาะของสำนักหอสมุด (CMUL OPAC และ ISIS OPAC) และในปี พ . ศ . 2544 ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ได้ให้บริการการยืม – คืนทรัพยากรสารนิเทศด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น

 

ใน ปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้อนุมัติิงบประมาณให้ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ิเครือข่ายสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (LibNet) ผ่านระบบเครือข่ายหลักของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Backbone) และจัดหา คอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ชุดสำหรับให้บริการสืบค้นข้อมูล และพัฒนาระบบการทำงานทั้งจากสำนักหอสมุดและข้อมูลออนไลน์ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ไม่จำกัดเวลา และสถานที่

 

ปัจจุบันห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ มีพื้นที่ให้บริการ ประมาณ 108 ตารางเมตร มีที่นั่งอ่าน 200 ที่นั่ง ซึ่งแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ดังนี้

1. ห้องหนังสือทั่วไป
2. ห้องหนังสือแบบเรียน
3. ห้องหนังสืออ้างอิง สิ่งพิมพ์ภาคเหนือ และสิ่งพิมพ์รัฐบาล
4. ห้องวารสารและสารสนเทศ และห้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
5. ห้องโถงด้านนอก

 

เวลาเปิด-ปิด

เปิดภาคเรียน จ-ศ  08.30 – 17.00 น.

เปิดภาคเรียน 1 ชั้นม.6 จ-ศ 08.30 – 16.30 น.

ปิดภาคเรียน จ-ศ  08.30 – 16.30 น.

 แหล่งที่มา : http://library.cmu.ac.th/faculty/satit/main_index2.htm

 

Back to Top