
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยบริการประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมให้ประชาชนรักการอ่าน และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เปิดบริการ : วันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 08.30 – 17.00 น.
ปิดบริการ : วันหยุดนักขัตฤกษ์
สถานที่ : ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
ที่อยู่ : ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
เบอร์โทรศัพท์ : 0-5322-1159
เว็บไซต์ : http://202.143.130.91/Lib_Muang1/index.php
บริเวณด้านนอกอาคารห้องสมุด
- มีสถานที่สำหรับจอดรถจักยานยนต์ และรถยนต์สำหรับผู้ใช้บริการห้องสมุด
– มีมุมกาแฟสำหรับบริการผู้ใช้ห้องสมุด
– มีลานเด็กเล่น พร้อมด้วยเครื่องเล่นสำหรับเด็ก
– ต้นไม้ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้บรรยากาศการอ่านแบบสงบ
– ด้านหลังอาคารห้องสมุดมีโรงอาหารบริการ
– สถานที่ตั้งของห้องสมุด อยู่ใกล้แหล่งการค้า (เซ็นทรัลกาดสวนแก้ว)
บรรยากาศด้านในห้องสมุด
- อากาศเย็นสบายเนื่องจากอาคารตั้งอยู่บนบึงน้ำ เปิดพัดลมก็เย็นเหมือนเปิดแอร์เลย
– ด้านในมีการจัดสัดส่วนให้บริการผู้ใช้เรียบร้อย ทั้งโซนห้องสมุดมีชีวิต และห้องบริการคอมพิวเตอร์
– มีโต๊ะนั่งอ่านหนังสือเพียงพอต่อการบริการ
ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
ด้านทรัพยากรสารสนเทศ
- มีการแนะนำทรัพยากรสารสนเทศมาใหม่
– ทรัพยากรสารสนเทศเน้นเนื้อหาทั่วไป
– ทรัพยากรที่มีอยู่ในห้องสมุดมีจำนวนน้อย และทันไม่สมัย
ด้านพฤติกรรมผู้ใช้
- สถิติผู้ใช้งานโดยเฉลี่ยต่อวันจำนวนประมาณ 800 คน
– ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เข้ามาใช้บริการหนังสือพิมพ์ และวารสารล่วงเวลาจำนวนมาก
– ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ระดับกลาง มานั่งอ่าน หรือ รอรับลูก
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้ในห้องสมุด คือ ระบบห้องสมุดที่พัฒนาโดย อาจารย์ฐิติ บุญยศ ซึ่งใช้กับห้องสมุดของ กศน. ทุกที่
– มีบริการคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น
– มีเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นของตัวเอง
ข้อคิดที่ได้จากการมาดูงานครั้งนี้
- การประชาสัมพันธ์ถือว่ามีความสำคัญระดับหนึ่ง ประชาสัมพันธ์ต้องดี คนจะได้รู้จักห้องสมุดมากๆ
– ในห้องสมุดไม่ควรมีสำนักงานสำหรับบรรณารักษ์ เนื่องจากจะทำให้บรรณารักษ์ไม่สนใจงานบริการ
– การเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้ทำได้ยาก ดังนั้นต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป
– ห้องสมุดทุกแห่งควรมีเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อการรายงานกิจกรรมของห้องสมุด