ห้องสมุดโรงเรียนเทบดินทร์วิทยาเชียงใหม่

5

6

 

ห้องสมุดสิทธิโชค โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่
ตั้งอยู่ ณ ชั้น 5 อาคารเทพบดินทร์

ห้องสมุดสิทธิโชค โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่ ให้บริการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • การยืม – คืน หนังสือให้กับนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียน โดยแยกหนังสือไว้ตามหมวดหมู่ เลขหมู่ของหนังสือ ตามมาตรฐานห้องสมุด ตามชั้นไว้อย่างเป็นระเบียบ
  • งานด้านวารสาร, กฤตภาค และหนังสือพิมพ์
  • การดำเนินการห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน โดยอาจารย์ในแต่ละรายวิชาสามารถนำนักเรียนเข้ามาศึกษาค้นคว้าในรายวิชา ในคาบเรียนของตนเองได้
  • การบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ ให้กับนักเรียนจะดำเนินการโดยนักเรียนชมรมห้องสมุด
  • การแนะนำหนังสือใหม่ และ จัดซื้อหนังสือที่มีความทันสมัยและตรงกับความต้องการของนักเรียน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาการของนักเรียนและเพิ่มความรู้นอกเหนือจากหนังสือเรียน
  • การส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของนักเรียนระเบียบการใช้ห้อวสมุด
    เวลาทำการ   จันทร์ – ศุกร์  (07.00 – 17.30 )
    ผู้มีสิทธิใช้ห้องสมุด
    1. ครู – อาจารย์ของโรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่
    2. นักเรียนปัจจุบัน
    3. เจ้าหน้าที่นักการภารโรง
    ระเบียบปฏิบัติในการยืม – คืน
    1. นำบัตรสมาชิกห้องสมุดเป็นหลักฐานในการยืมทุกครั้ง
    2. หนังสือ         ยืมได้ครั้งละไม่เกิน 2 เล่ม ส่งคืนภายใน 7 วัน
    วีดีทัศน์         ยืมได้ครั้งละ 1 ม้วน  ส่งคืนภายใน 2 วัน
    ซีดี – รอม      ยืมได้ครั้งละ 1 แผ่น  ส่งคืนภายใน 2 วัน
    3. การปรับ
    3.1 กรณีส่งคืนเกินกำหนดเวลา
    – หนังสือ         ปรับวันละ 5 บาท ต่อ 1 เล่ม
    –  วีดีทัศน์         ปรับวันละ 5 บาท ต่อ 1 ม้วน
    – ซีดี – รอม      ปรับวันละ 5 บาท ต่อ 1 แผ่น
    3.2 กรณีชำรุดเสียหาย ต้องเสีียค่าปรับเป็น 2 เท่าของราคาหน้าปก
    4. หนังสือที่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุดได้ คือ หนังสือ หมวด 000-900 นวนิยาย เรื่องสั้น
    คู่มือ  เตรียมสอบ ส่วนหนังสือประเภทอื่นสามารถยืมไปถ่ายเอกสารได้ และ ต้องนำส่งคืนภายในวันเดียวกัน

อ้างอิงจาก ห้องสมุดโรงเรียนเทบดินทร์วิทยาเชียงใหม่

ห้องสมุดโรงเรียนวารีเชียงใหม่

 

2

 

มารยาทในการใช้ห้องสมุด โรงเรียน

1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
2. สำรวมและไม่ส่งเสียงดังในห้องสมุดเนื่องจากอาจรบกวนสมาชิกท่านอื่นได้
3. ห้ามนำอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามาในห้องสมุด
4. วางกระเป๋าหนังสือหรือสัมภาระต่าง ๆ ไว้ที่ล็อคเกอร์ที่ทางห้องสมุดจัดเตรียมไว้
5. เมื่อลุกจากเก้าอี้ควรเลื่อนเก้าอี้เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
6. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วให้นักเรียนวางหนังสือเหล่านั้น ไว้ในที่พักหนังสือที่ทางห้องสมุดจัดเตรียมไว้
7. รักษามารยาทการมาก่อน-หลังในการให้บริการยืมคืนหนังสือ
8.ไม่ฉีก ขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายใด ๆ ลงในหนังสือห้องสมุด
9. ไม่นำหนังสือ วารสารหรือหนังสือพิมพ์ออกจากห้องสมุดโดยไม่ได้รับอนุญาต
10. ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการทำลายทรัพย์สมบัติของห้องสมุด
11. เมื่อมีปัญหาในการใช้ห้องสมุด สามารถสอบถามได้ที่คุณครูบรรณารักษ์

ระเบียบห้องสมุดโรงเรียน

หมายถึง กฎ ข้อบังคับหรือข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยของทรัพยากรห้องสมุด ป้องกันการชำรุด สูญหายรวมทั้งช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดปฏิบัติอย่าง เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยสม่ำเสมอ

ระเบียบห้องสมุดโรงเรียน

หมายถึง กฎ ข้อบังคับหรือข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยของทรัพยากรห้องสมุด ป้องกันการชำรุด สูญหายรวมทั้งช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดปฏิบัติ อย่างเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยสม่ำเสมอ

ระเบียบของห้องสมุดโรงเรียน

1. สมาชิกของห้องสมุดโรงเรียนวารีเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย นักเรียน คณะครูอาจารย์โรงเรียนวารีเชียงใหม่
2. เวลาเปิด-ปิดห้องสมุด

ช่วงเปิดภาคเรียน 07.40 – 17.00 น.
ช่วงซัมเมอร์ (เดือนเมษายน) 08.00 – 16.30 น.

3. สมาชิกห้องสมุดสามารถยืมหนังสือได้ ดังนี้

คณะครูอาจารย์ 50 เล่ม/ ภาคการศึกษา
นักเรียนมัธยมศึกษา 5 เล่ม/ สัปดาห์
นักเรียนประถมศึกษา 3 เล่ม/ สัปดาห์

วิธียืม – คืนหนังสือ

สมาชิกเข้าแถวตามลำดับการมาก่อน-หลัง
ยื่นบัตรห้องสมุด (บัตรนักเรียน) หรือบอกเลขที่สมาชิกกับทางบรรณารักษ์
หมายเหตุ สมาชิกสามารถยืมหนังสือได้ทุกประเภท ยกเว้น หนังสืออ้างอิง
วิธีคืนหนังสือ ให้นักเรียนนำหนังสือที่ต้องการคืนมาให้แก่ทางบรรณารักษ์

ระบบทศนิยมดิวอี้

ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกย่อ ๆ ว่า D.C. หรือ D.D.C
เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกันชื่อ เมลวิล ดิวอี้

 

หมวดหมู่ย่อย

การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่าง ๆ

อ้างอิงจาก  ห้องสมุดโรงเรียนวารีเชียงใหม่

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

4

3

 

            ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน ในระยะแรกไม่ได้เป็นห้องสมุดที่เป็นสัดส่วนเอกเทศ เป็นเพียงแต่ตู้เก็บรวบรวมหนังสือในห้องครูใหญ่หรือตั้งอยู่ในห้องเรียนห้องใดห้องหนึ่งเท่านั้น มีหนังสือต่างๆที่ได้จากการซื้อหาและการบริจาคจากเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยสามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆได้ดังนี้

  1.  ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะแรก (พ.ศ.2448-2458) ในระยะนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวโรรสข้างวัดดวงดีทางด้านทิศใต้(หรือสี่แยกกลางเวียงปัจจุบัน) ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าได้ใช้ส่วนใดห้องใดของอาคารเรียน จัดเป็นห้องสมุด แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีห้องสมุดแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2451
  2.  ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะที่ 2 (พ.ศ.2548-2516) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่เลขที่ 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง หรือตั้งในปัจจุบันนี้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 โดยได้เริ่มสร้างตึกยุพราชเป็นอาคารเรียนหลังแรกตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ห้องสมุดของโรงเรียนในระยะนี้จึงอาศัยอยู่บนตึกยุพราชก่อน จนถึงปี พ.ศ.2467 จึงมีการสร้างห้องสมุดเป็นสัดส่วนเฉพาะโดยปรากฎหลักฐานว่า มีห้องสมุดเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นสโมสรของลูกเสือชั้นบนมี 4 ห้อง ห้องกลาง 2 ห้องใช้เป็นห้องสมุด ห้องริม 2 ห้องจัดเป็นห้องเรียนและได้ทำบุญฉลองหอสมุดที่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2467 และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ใช้ห้องสมุดนั้นเรื่อยมา ต่อมาในปีพ.ศ.2469 ได้มีพระราชพิธีสมโภช “พระเศวตคชเดชดิลก” ช้างสำคัญของเมืองเชียงใหม่และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7  เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการมณฑลพายัพและประชาชนชาวเมืองนครเชียงใหม่ได้ร่วมกันสร้างโรงช้างต้นขึ้น หลังจากประกอบพิธีเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2469 แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้ใช้อาคารนี้เกื่ยวข้องกับช้างสำคัญอีกเลย จึงได้มีการดัดแปลงอาคารโรงช้างต้น เป็นห้องสมุด และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้อาศัยโรงช้างต้นเป็นห้องสมุดของโรงเรียนเรื่อยมา จนกระทั่งได้ย้ายมาที่ตึกยุพราชอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2501 ห้องสมุดย้ายไปอยู่ที่อาคารเรือนวิเชียร และในปี พ.ศ.2504 ได้ย้ายกลับมาใช้ด้านล่างของตึกยุพราชเป็นที่ตั้งของห้องสมุด เรื่องราวของห้องสมุดของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะปี พ.ศ.2501 – 2516 นั้น มีปรากฏในสมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนหลายเรื่องที่สำคัญ ดังเช่น1. มีการตั้งชุมนุมห้องสมุดโดยมีนักเรียนสมัครเข้าเป็นสมาชิกรวมกลุ่มดำเนินการมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา
    2.มีการส่งครูไปอบรมวิชาบรรณารักษ์เพิ่มเติม
    3. ห้องสมุดถือเป็นจุดสำคัญที่แขกผู้มาเยือนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยต้องไปเยี่ยมชมเสมอ จัดเป็นแหล่งศึกษาดูงาน
  3.  ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะ ที่ 3 (พ.ศ.2516 – 2534)  ในปี พ.ศ.2516 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็ฯโรงเรียนในโครงการ คมส.และได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ชื่อ      อาคารรัตนมณี  จึงได้มีการกำหนดให้ชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ห้องเรียนเป็นที่ทำการของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของห้องสมุดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการให้บริการแก่บุคลากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้อาคารรัตนมณีชั้นที่ 2 เป็นห้องบริการหนังสืออ้างอิงและวารสารเย็บเล่ม ใช้ห้องเรียนเป็นที่ทำงานอีก 2 ห้องเรียน  ในระยะที่ 3 นี้ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับการยกย่องและมีการพัฒนาที่สำคัญ

4.ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในปัจจุบัน (พ.ศ.2534 – ปัจจุบัน) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารนวรัตน์ในปีพ.ศ.2530  อาคารนวรัตน์จัดเป็นอาคารอเนกประสงค์ ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นที่สองเป็นห้องสมุดขนาด 10 ห้องเรียน และชั้นที่สามเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ ห้องสมุดได้พัฒนาอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งทางด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม จำนวนหนังสือ  การให้บริการ การปรับปรุงงานเทคนิค การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ภายในห้องสมุด มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง จัดแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วนตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและในปีการศึกษา 2536 ห้องสมุดได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา ได้รับเกียรติบัตรของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

อ้างอิงจาก ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

ห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาในสมัยของ

พ่อครูดร.วิลเลียม แฮรีส จวบจนมาถึงสมัยของท่านอาจารย์หมวก ไชยลังการณ์ ซึ่ง

ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ผู้จัดการ ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของห้องสมุด ซึ่ง

ควรเป็นศูนย์รวมแหล่งค้นคว้าหาความรู้ให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้

กว้างไกล รักการอ่าน รู้จักศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเองและใช้เวลาว่าง ให้เป็น

ประโยชน์ จึงได้ปรับปรุงห้องสมุด ของโรงเรียนปรินส์ฯ ตลอดมา

ปัจจุบันห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย แบ่งออกเป็น 3 ห้องสมุด

เพื่อความเหมาะสมและสะดวกกับผู้ใช้บริการ  คือ

1. หอสมุดมาลามาศ

1.1

ประวัติหอสมุดมาลามาศ 

ห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาในสมัยของ

พ่อครูดร.วิลเลียม แฮรีส จวบจนมาถึงสมัยของท่านอาจารย์หมวก  ไชยลังการณ์

ซึ่งดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ ผู้จัดการ ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของห้องสมุด

ซึ่งควรเป็นศูนย์รวมแหล่งค้นคว้าหาความรู้ ให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้

กว้างไกล รักการอ่าน รู้จักศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเองและใช้เวลาว่าง ให้เป็น

ประโยชน์ จึงได้ปรับปรุงห้องสมุดของโรงเรียนปรินส์ฯ ตลอดมา

เมื่อมาถึงสมัยของ ดร.จำรูญ  ไชยลังการณ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย ทาง ส.น.ป. ได้ จัดงานครบรอบวันเกิด 72 ปี

ให้แก่อาจารย์หมวก ไชยลังการณ์ ซึ่งศิษย์เก่า พี.อาร์.ซี. ทั้งสิ้น มีแนวคิดเดียวกัน

ว่า ควรจะสร้างห้องสมุดขึ้น เพื่อเป็นการแสดงมุฑิตาจิตต่อท่านจึงได้ทำห้องสมุด

ขึ้น ณ บริเวณชั้น 2อาคารร่มเกล้า

จนกระทั่งปี พ.ศ.2531 ทาง ส.น.ป.ได้มีโอกาสจัดงานครบรอบวันเกิด 84 ปี

ของอาจารย์หมวก  ไชยลังการณ์ อีกครั้งหนึ่ง คณะศิษย์เก่าเห็นว่าห้องสมุด

โรงเรียนเล็กเกินไปสำหรับจำนวนของนักเรียนและคณะครู ดังนั้น จึงมีการรณรงค์

แจ้งข่างสาร ไปยังศิษย์เก่าคณะครู อาจารย์ นักเรียนเพื่อที่จะได้หาทุนร่วมสร้างหอ

สมุดซึ่งจัดสร้างเป็น อาคารเอกเทศ มี นามว่า “หอสมุดมาลามาศ” ตามนามปากกา

ของท่านอาจารย์หมวก  ไชยลังการณ์

ดังนั้น หอสมุดมาลามาศจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2535

และแล้วเสร็จ ในเวลา 9 เดือน ได้ทำพิธีเปิดอาคารหอสมุดมาลามาศ เมื่อวันที่ 10

เมษายน 2536 โดยท่านอาจารย์หมวก  ไชยลังการณ์เป็นประธานในพิธี ลักษณะ

เป็นอาคารเอกเทศ 3 ชั้น ขนาดภายในกว้าง 8 เมตร ยาว 21 เมตร รวมค่าก่อสร้าง

และตกแต่งภายในประมาณ 8 ล้านบาท

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัยจึงได้หอสมุดมาลามาศที่สง่างาม สมดัง

เจตนารมณ์ ของท่านอาจารย์หมวก  ไชยลังการณ์ ที่ต้องการให้

“หอสมุดมาลามาศ”เป็นแหล่งบริการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ แก่คณะ ครู-นักเรียน

พี.อาร์.ซี. ตลอดไป

จุดประสงค์ของหอสมุดมาลามาศ 

1.เพื่อจัดเป็นศูนย์การทางวิชาการในรูปของหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์

2.เพื่อรวบรวมเอกสาร สิ่งพิมพ์ ตลอดจนโสตทัศนวัสดุทุกประเภท

3.เพื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการปรับปรุงศักยภาพในการดำเนิน

งานการเรียนการสอน

4.เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง

5.เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

 

หอสมุดมาลามาศเป็นอาคารเอกเทศ 3 ชั้น แบ่งการบริการ

ดังต่อไปนี้  

ชั้น 1 บริการยืมคืนหนังสือ

บริการหนังสือพิมพ์วารสาร

บริการ จุลสาร กฤตภาค

บริการ หนังสือเยาวชน

บริการถ่ายเอกสาร

บริการอินเตอร์เน็ต

ชั้น 2 บริการหนังสือความรู้ทั่วไป หมวด 000-900

บริการหนังสืออ้างอิง

บริการหนังสือเตรียมสอบชั้นมัธยมปีที่ 1-3

บริการหนังสืออนุสรณ์

บริการหนังสือภาษาอังกฤษ

บริการสืบค้นหนังสือ

ชั้น 3 เป็นห้องซ่อมหนังสือ ,สำนักงานเสียงตามสาย

ห้องกิจกรรม     แนะแนวและทักษะชีวิต

เวลาให้บริการ  

เปิดเวลาให้บริการ 7.00น.-17.00 น. (เว้นวันหยุดราชการ)

การยืมทรัพยากรสารนิเทศ  

สำหรับครู อาจารย์ และบุคลากร

หนังสือทั่วไป

คู่มือเตรียมสอบ

วารสารฉบับเย็บเล่ม

วารสารฉบับย้อนหลัง

ยืมได้คนละ 5 เล่ม / 2 สัปดาห์

วารสารฉบับล่วงเวลาหรือวารสารเย็บเล่ม

ยืมได้ 3 เล่ม / 2 สัปดาห์

สำหรับนักเรียนชั้น ม.1  —  ม.6

หนังสือทั่วไป

คู่มือเตรียมสอบ

ยืมได้คนละ 3 เล่ม / 1 สัปดาห์

วารสารฉบับล่วงเวลา หรือฉบับย้อนหลัง

 

2. ห้องสมุดPowers’ Hall

1.2

ประวัติห้องสมุด Powers’ Hall   

ห้องสมุดระดับประถมศึกษาเริ่มขึ้นเมื่ออาคารเพชรรัตน-สุวัทนาสร้างแล้วเสร็จ

และเปิดทำการสอน ปี 2530

 

ในปี พ.ศ. 2530 ทางโรงเรียนให้อยู่ห้องสุดท้ายที่ชั้น 3 ของอาคาร มีขนาด

1 ห้องเรียน และได้ขยายเพิ่มเป็น 2 ห้องเรียนได้ แต่เดิมเรียกว่า ห้องอ่าน โดยเริ่ม

จากกล่องหนังสือการ์ตูนที่มอบติดผนังซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับประตูทางเข้า-ออก ที่

นักเรียนสามารถมองเห็นและเข้ามาใช้บริการได้ เริ่มเปิดบริการ ยืม-คืน หนังสือ ชั้น

วางหนังสือ ตลอดจนวารสารและสิ่งพิมพ์อื่นๆ และงดการอ่านหนังสือการ์ตูน

–   เนื่องจากสภาพชำรุดและมีสิ่งพิมพ์ที่เหมาะสมสามารถให้บริการได้

ห้องอ่านจึงถูกย้ายลงมาอยู่ชั้น 2 ปัจจุบันเป็นที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ระดับมัธยม

ศึกษาตอนปลายแต่ฝนตกในช่วงวันหยุดปรากฏว่ามีน้ำซึมลงมาทำให้หนังสือ

เสียหายไปกับน้ำฝนหลังผึ่งแดดแล้วพบว่าหนังสือบวมเป็นเชื้อรา จึงย้ายห้องอ่าน

มาอยู่ชั้น 1 ร่วมกับห้องพักครู

ปี 2538 การให้บริการหยุดชะงักไป 1 ปี

ปี2540 เริ่มให้บริการโดยให้บริการเฉพาะการอ่านเพียงอย่างเดียว

ปี2541 – ปัจจุบัน ย้ายห้องอ่านมาที่อาคารพาวเวอร์สฮอลล์ เริ่มให้บริการ

ยืม-คืน หนังสือ อีกครั้ง และปรับเปลี่ยนชื่อจากห้องอ่านเป็นห้องสมุดระดับประถม

ศึกษา (Powers Hall) มีบุคลากรดำเนินงาน 2 คน คือ บรรณารักษ์, ผู้ช่วย

บรรณารักษ์ ขนาดห้องสมุด 4 ห้องเรียน ลักษณะที่ตั้งเป็นอาคารเอกเทศ

 

การแบ่งหมวดหมู่หนังสือ ระบบทศนิยมดิวอี้

 

 

สัญลักษณ์แทนเลขหมู่

 

อ , R        หนังสือออ้างอิง

ร              เรื่องสั้น

น             นวนิยาย

ย             เยาวชน

 

การเปิดให้บริการ 

วันจันทร์ – ศุกร์  เปิดเวลา 7.30 – 18.00 น.

(เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

การยืม-คืนสิ่งพิมพ์ 

 

สิทธิการยืม

ครู-อาจารย์ และบุคลากร

ยืมหนังสือทั่วไป คู่มือเตรียมสอบ  ได้ 3 เล่ม 14 วัน  วารสาร/นิตยสาร

ฉบับย้อนหลัง ยืมได้ 2 เล่ม 14 วัน

นักเรียนชั้นประถม 4-6

ยืมหนังสือหนังสือทั่วไป

 

นักเรียนชั้นประถม 3

ยืมหนังสือหนังสือทั่วไป คู่มือเตรียมสอบ  ได้ 1 เล่ม 3 วัน

 

**หนังสือเกินกำหนดส่ง คิดอัตราค่าปรับ

 

ผู้มีสิทธิ์ใช้ห้องสมุด Powers Hall 

1. นักเรียนโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

2.   ครู-อาจารย์โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

3.   บุคลากรและลูกจ้างประจำ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

4.   ศิษย์เก่าและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

 

มารยาทในการใช้ห้องสมุด 

 

    • วางกระเป๋าและสิ่งของต่างๆ เก็บไว้ในชั้นที่เตรียมไว้ให้หน้าห้องสมุด

 

    • อยู่ในความสงบ ไม่วิ่งหรือส่งเสียงรบกวนผู้อื่น

 

    • รักษาความสะอาดในห้องสมุด

 

  • ดูแลรักษาหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ในห้องสมุดให้อยู่ในสภาพที่ดี
  • หากมีปัญหาในการใช้ห้องสมุด ติดต่อสอบถามครูห้องสมุด
  • หนังสือใหม่ หากอ่านแล้วให้นำกลับมาวางไว้ที่โต๊ะหนังสือใหม่ (หนังสือใหม่

จะยืมได้หลังจากวางบนโต๊ะแล้ว  2 อาทิตย์)

บริการของห้องสมุด  

1. บริการยืม – คืนหนังสือ

2. บริการตอบคำถาม และช่วยค้นคว้า

3. บริการสื่อการสอนภาษาอังกฤษ

4. บริการสื่อมัลติมีเดีย

5. บริการค้นหนังสือออนไลน์

6. บริการค้นสารสนเทศ

 

3. ห้องสมุดแผนกมัธยมปลาย (D.G. Collins)

 

1.3

 

ประวัติห้องสมุดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยเริ่มมีตั้งแต่สมัยพ่อครู ดร.วิลเลียม

แฮรีส และได้ถูกย้ายสถานที่ ทำให้เอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สูญหายไป ในสมัย

ดร.จำรูญ  ไชยลังการณ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

มีห้องสมุดสองแห่ง คือ บริเวณชั้น 2 ของอาคารร่มเกล้า  มีบรรณารักษ์ดำเนินการ

ห้องสมุด กับห้องสมุดป่าน ตึกสีเทา (นักเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ

เอง) ไว้บริการสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา  ต่อมาทาง ส.น.ป. ได้สร้างหอสมุด

มาลามาศเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านบรมครู อาจารย์หมวก  ไชยลังการณ์  หนังสือ

จากห้องสมุดทั้งสองแห่งจึงถูกย้ายมายังหอสมุดมาลามาศในปี พ.ศ.2536

พ.ศ.2539-2540

เมื่อนักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6  ได้ย้ายอาคารเรียนมาเรียนที่อาคาร

เพชรรัตน-สุวัทนา  การใช้บริการจากหอสมุดมาลามาศจึงไม่สะดวกเท่าที่ควรเนื่อง

จากระยะทางไกล ประกอบกับมีเวลาน้อย ดังนั้น ทางโรงเรียนจึงได้จัดห้องอ่านเพื่อ

เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลสำหรับนักเรียน  โดยได้รับหนังสือบริจาค หนังสือคู่มือ

เตรียมสอบ แบบฝึกหัด จากหมวดวิชาคณิตศาสตร์  หมวดวิชาวิทยาศาสตร์เป็น

หลัก และหมวดวิชาอื่น ๆ รวมทั้งศิษย์เก่าให้การสนับสนุน  นอกจาการบริการการ

อ่านแล้วยังมีบริการยืม-คืนหนังสือ ณ อาคารเพชรรัตน-สุวัทนา  ห้องอ่านมีขนาด 2

ห้องเรียน

พ.ศ.2541-2541

ต่อมาทางโรงเรียนได้ดำเนินการขยายห้องเรียน ดังนั้น จึงได้มีการย้ายสถานที่

ห้องอ่านจากอาคารเพชรรัตน-สุวัทนา โดยจัดสร้างห้องอ่านใหม่เป็นเอกเทศ

ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว ณ บริเวณด้านหลังโรงยิมเนเซียมของโรงเรียน โดยมี

ขนาด 3 ห้องเรียน  ลักษณะการดำเนินงาน ทางโรงเรียนได้มอบให้ทางบรรณารักษ์

หอสมุดมาลามาศ  ดำเนินการจัดซื้อจัดหาหนังสือ-วารสารเข้าห้องอ่านแผนก

มัธยมและให้เลขทะเบียนหนังสือก่อนส่งเข้าห้องอ่านแผนกมัธยมศึกษา

พ.ศ.2543

เนื่องจากแหล่งค้นคว้าข้อมูลนอกจากเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว การให้บริการทาง

Internet สำหรับครูและนักเรียนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนการสอนในปัจจุบัน ดังนั้น

จึงได้มีการปรับห้องอ่านเพื่อเป็นห้องสมุดและแยกการดำเนินงานเป็นเอกเทศจาก

การดำเนินงานแต่เดิม มีบรรณารักษ์ห้องสมุด  นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกันระหว่าง

หอสมุดมาลามาศกับห้องสมุดแผนกมัธยม ในการบริการยืม-คืนเอกสารสิ่งพิมพ์

เฉพาะนักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6 สามารถใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนได้ทั้งสองแห่ง

พ.ศ.2544-2545

ทางโรงเรียนได้เพิ่มบุคลากรสำหรับทำหน้าที่ช่วยงานบรรณารักษ์เพิ่มอีก 1 คน

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเพื่อรองรับมาตรฐานการศึกษา ใน

มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และ

พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตัวบ่งชี้ที่ 2 สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ รอบ

ตัว ใช้ห้องสมุดแหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ ได้ทั้งในและนอกสถานศึกษา

พ.ศ.2546

ห้องสมุดได้ย้ายเข้าไปอยู่ในโรงยิมเนเซียมชั่วคราว เนื่องจากได้รื้ออาคารเดิม

เพื่อสร้างอาคารใหม่

พ.ศ.2547 – 2552

ห้องสมุดได้ย้ายมายังตึก ดี. จี. คอลลินส์ ชั้น 1 ของอาคาร  มี ห้อง

E-classroom ให้บริการเพื่อการเรียนการสอน และบริการ Internet  มีครูฝ่ายโสตฯ

คอยให้บริการ  ส่วนห้องสมุดมีขนาด 3 ห้องเรียน  พ.ศ.2551 เจ้าหน้าที่ช่วยงาน

ห้องสมุดได้ย้ายออกไป บุคลากรของห้องสมุดจึงมีบรรณารักษ์ 1 คน และครูฝ่าย

โสตฯ 1 คน  และได้ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับโปรแกรมห้องสมุดไว้บริการในด้านต่าง

ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552

พ.ศ.2553-ปัจจุบัน

ห้องสมุด ม.ปลาย ณ ตึก ดี. จี. คอลลินส์ ชั้น 1  ปี พ.ศ.2553 ได้ขยายขนาด

ห้องสมุดเป็น 4 ห้องเรียน โดยห้อง E-classroom ได้ย้ายออกไป และ พ.ศ. 2554

มีบุคลากรเป็นบรรณารักษ์จำนวน  2 คน

วัตถุประสงค์ของห้องสมุดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 

1. เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ทั้งจากเอกสารสิ่ง

พิมพ์และเทคโนโลยี

2. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของครูและนักเรียน

3. เพื่อให้การสนับสนุนเครือข่ายห้องสมุดภายในโรงเรียน

เวลาเปิดให้บริการ 

วันจันทร์- พุธ และศุกร์ 7.30 น. – 18.00 น.   เฉพาะวันพฤหัสบดี 7.30 น. – 16.30 น.

(เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

 

มารยาทในการใช้ห้องสมุด 

    • วางรองเท้าไว้ที่ชั้นวางรองเท้า  ไม่วางเกะกะหน้าห้องสมุด

 

    • วางกระเป๋าและสิ่งของไว้ที่ชั้นหน้าห้องสมุด

 

  • คีย์เลขประจำตัวนักเรียนที่เครื่องบันทึกสถิติทุกครั้งที่เข้าใช้ เช้า-กลางวัน-เย็น
  • ไม่พูดคุย ส่งเสียงดัง
  • ไม่นำขนม เครื่องดื่มเข้าห้องสมุด
  • ไม่ทำความสกปรกในห้องสมุด
  • เก็บหนังสือ-วารสารหลังอ่านจบไว้ที่เดิม
  • เลื่อนเก้าอี้ชิดโต๊ะเมื่อเลิกใช้
    • ปิดคอมพิวเตอร์หลังเลิกใช้

 

งานบริการห้องสมุด 

ช่วงซัมเมอร์ – เดือนพฤษภาคม นักเรียนต้องทำบัตรสมาชิกห้องสมุด  โดย

    • นำรูปถ่ายนักเรียนหน้าตรง 1 รูปมาสมัคร

มิถุนายน – กุมภาพันธ์ ใช้บัตรนักเรียนปัจจุบัน

 

บริการยืม-คืนหนังสือ

ยืมได้คนละ 3 เล่ม/ 7 วัน  ยืมติดต่อกันได้ 3 ครั้ง

  • บริการจองหนังสือ
  • บริการอินเทอร์เน็ต

 

การจัดหมวดหมู่หนังสือ 

เป็นแบบทศนิยมของดิวอี้  โดยแบ่งเป็น 10 หมวด

 

แนะนำการจัดชั้นหนังสือ

หนังสืออ้างอิง  หมวด 000-9000  จะมีอักษร อ/ R  เหนือเลขเรียกหนังสือ

หนังสืออ่านทั่วไป หมวด 000-900

 

หนังสือที่ไม่มีเลขเรียกหนังสือคือหนังสือในหมวด 800 ภาษาและวรรณคดี

เฉพาะหนังสือประเภทนวนิยาย   เรื่องสั้น   วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน  จะ

เรียงตามตัวอักษรของชื่อหนังสือ เช่น      น มาจากคำว่า นวนิยาย Fic

ร มาจากคำว่า เรื่องสั้น S

ย มาจากคำว่าวรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน J

หนังสือรอลงทะเบียน ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด

 

หนังสือที่แยกบริการต่างหาก

  • Textbook
  • หนังสือคู่มือเตรียมสอบ  ได้แก่

– หนังสือข้อสอบสังคมศึกษา   ข้อสอบวัดความถนัด   โควตา

– Admission  O-net  A-net  Pat  Gat

– คณิตศาสตร์  ฟิสิกส์  เคมี  ชีววิทยา  เรียงตามระดับชั้น

  • มุมหนังสือพิมพ์
  • มุมวารสาร   วารสารฉบับปัจจุบันจะอยู่ในปกพลาสติก   วารสารฉบับย้อนหลังจะอยู่ในตู้หนังสือ
  • มุมศาสนกิจ
  • Textbooks
  • มุมหนังสือทั่วไปภาษาต่างประเทศ (General Books)
  • มุมอาเซียน
  • มุม PRC
  • มุมครู
  • มุมหนังสือที่ระลึก

อ้างอิงจาก ห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

 

ห้องสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย

1

หอสมุดเริ่มเปิดให้บริการบางส่วนในเดือนมิถุนายน 2552 หลังจากการคัดกรอง

หนังสือจำนวนหนึ่งเพื่อให้บริการในหอสมุด บางส่วนมอบให้กลุ่มสาระการเรียนรู้นำไปใช้

ประกอบการสอน หนังสือบางส่วนที่มีสภาพการใช้งานมานานจัดจำหน่ายในราคาประหยัดในระยะแรกเปิดให้บริการเฉพาะการอ่านวารสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ บริการยืม–คืน

หนังสืออ่านประกอบการเรียน หนังสือเรื่องสั้นเยาวชน จากนั้นเมื่อจัดหนังสือครบทุก

หมวดหมู่แล้ว จึงเปิดให้บริการยืม-คืนทุกหมวดหมู่ ขณะนี้หอสมุดเปิดให้บริการอ่าน ยืม – คืน  และเป็นห้องเรียนเพื่อการค้นคว้าห้องเรียนเพื่อการสอนโดยสื่อมัลติมีเดีย โดยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.30 น. ทุกวันเปิดเรียน ให้บริการทั้งนักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปกครอง

อ้างอิงจาก ห้องสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย

 

ห้องสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

cmnlt-3

 

เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารนิเทศประเภทต่างๆ ไว้ให้บริการและเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่จัดเก็บ รวบรวม สงวนรักษา และอนุรักษ์มรดกทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาการ ศิลปกรรม และวัฒนธรรมของชาติ ในรูปของหนังสือตัวพิมพ์เอกสารโบราณ ได้แก่ ศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทย รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิคส์ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ให้บริการความรู้และข่าวสารแก่คนในชาติซึ่งเอกสารที่จัดเก็บนั้นมีคุณค่าควรแก่การค้นคว้า

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เหมาะกับคนประเภทไหน

 1.หนอนหนังสือทุกประเภทIMG_7565

2.คนที่รักการอ่าน แต่ไม่มีเงินพอจะหาซื้อหนังสือมาอ่านเอง

3.คนที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลยากๆ และน่าเชื่อถือ โดยไม่สามารถหาได้ทางอินเตอร์เน็ต

4.คนที่รักในการตามล่าหาอ่านหนังสือเก่าๆ

5.ถูกทุกข้อ

IMG_7566

ที่ตั้ง : 20/1 ถนนบุญเรืองฤทธิ์ ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

ติดต่อ : โทรศัพท์ 053 278-3223, 053 808-550 โทรสาร 053 808-550 ต่อ 25

เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: วันอังคาร- ศุกร์ เวลา 9.00 – 17.00 น.

  วันเสาร์ เวลา 8.30 – 18.00 น.  หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์

 

อ้างอิงจาก  ห้องสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่

106_n_1409805787 (1)

บริการห้องสมุด

ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
ยืม-คืน ระหว่างห้องสมุด (เฉพาะห้องสมุดที่มีข้อตกลงระหว่างกัน)
ถ่ายสำเนาเอกสาร
บริการอินเทอร์เน็ต
ต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชม ดูงาน

 

ทรัพยากรสารสนเทศ

หนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุ หนังสือพิมพ์
สิ่งพิมพ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
สิ่งพิมพ์ของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
สิ่งพิมพ์ขององค์กรระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจการเงิน เช่น International Monetary Fund (IMF), World Bank,
Bank for International Settlements (BIS) ฯลฯ
ข้อมูลสถาบันการเงิน

 

 ระเบียบการเข้ามาใช้บริการ

แต่งกายสุภาพ
สำหรับบุคคลทั่วไปแสดง บัตรประจำตัวประชาชน บัตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ บัตรนักศึกษา ก่อนเข้าอาคารตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย

เวลาเปิดบริการ

ติดต่อ             ทีมบริการห้องสมุด หอสมุด จดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์
ธนาคารแห่งประเทศไทย  อาคาร 1 ชั้น 1

เปิดบริการ        วันจันทร์ – วันศุกร์  เวลา 08:30 – 16:30 น.
ปิดบริการ         วันเสาร์ – วันอาทิตย์ และ วันหยุดธนาคาร
โทรศัพท์          0-2283-5693
โทรสาร           0-2283-5656
e-Mail            LibrayService@bot.or.th

 

อ้างอิงจาก  ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่

ห้องสมุดกองบิน41

ห้องสมุดกองบิน 41 จ.เชียงใหม่

ห้องสมุดกองบิน 41จังหวัดเชียงใหม่ ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ข้าราชการลูกจ้าง และครอบครัว ของกองบิน 41
ในอดีตห้องสมุดของเราอยู่ที่อาคารสวัสดิการซึ่งไม่สะดวกในการให้บริการได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากอยู่ห่างไกล จึงย้ายมาตั้งที่อาคารแฟลตรับรอง 4 ชั้น โดยมีห้องสมุดและห้อง Internet Adslให้บริการที่ชั้น 1 และให้บริการจนถึงปัจจุบัน

1188309010

1188309054

1188309468

 

อ้างอิงจาก ห้องสมุดกองบิน41

หอจดหมายเหตุเชียงใหม่

ct_chm

​หอจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

หอจดหมายเหตุ ธปท. ให้บริการจดหมายเหตุที่เปิดเผยได้ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540 ในพื้นที่บริการที่กำหนดเท่านั้น หากผู้ใช้บริการประสงค์จะคัดลอกหรือทำสำเนาเอกสารต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้าหรือวิจัย อันมิใช่เพื่อแสดงหาผลประโยชน์หรือกำไรเชิงพาณิชย์ และต้องลงนามไว้เป็นหลักฐานในการขอสำเนาแต่ละครั้ง ทั้งนี้ หอจดหมายเหตุ ธปท. ไม่มีหน้าที่รับรองความถูกต้องในเนื้อหาของจดหมายเหตุ ธปท.

บุคคลหรือองค์กรสามารถขอใช้บริการหอจดหมายเหตุ ธปท. โดยแจ้งความประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมวัตถุประสงค์ในการขอใช้จดหมายเหตุของ ธปท. ถึงผู้อำนวยการหอสมุด จดหมายเหตุ และพิ​พิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

​ผู้ขอรับบริการ

​ ​​​​ส่วนงานเจ้าของเอกสาร
หากเป็นส่วนงานอื่นที่มิใช่เจ้าของเอกสารมีความประสงค์จะใช้เอกสารจะต้องได้รับอนุญาตจากส่วนงานเจ้าของเอกสารนั้นก่อ
ผู้ค้นคว้าและนักวิจัยจากภายนอก
​​​​ ให้บริการภายในหอจดหมายเหตุเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ยืมเอกสารออกนอก ธปท. ซึ่งการให้บริการเป็นไปตามกฎหมายและ
พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง​
​สถานที่ติดต่อ

หอจดหมายเหตุธนาคารแห่งประเทศไทย อาคาร 7 ชั้น 1

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา

เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทร 02-356-7541

เปิดบริการ : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.30-16.30 ยกเว้นวันหยุดธนาคาร

email : archives@bot.or.th

อ้างอิงจาก หอจดหมายเหตุเชียงใหม่

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ

 

ประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ

archives-payap

การจัดตั้งหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ มีพื้นฐานและมีความผูกพันกับคริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยกล่าวคือหลังจากที่มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนท์สองท่านแรกคือศจ.กุสลาฟ และ ศจ.ทอมลิน ได้เข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ครั้งแรกที่กรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2371ก็มีมิชชั่นคณะต่าง ๆ ได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนา โดยมีคณะมิชชั่นที่สำคัญ เช่น อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น ดิไซเปิลออฟไครสท์ และเซย์เวนเดย์แอดแวนติสท์เป็นต้น การเผยแพร่คริสตศาสนาในช่วงแรกทำเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร จากนั้นได้มีการขยายตัวออกไปทั่วประเทศ มีการประกาศเผยแพร่ความเชื่อของคริสตศาสนามีการตั้งคริสตจักร ตั้งโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนทั้งชายและหญิง และเป็นการเตรียมและพัฒนาผู้เชื่อให้ผู้นำคริสตจักร ตั้งโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2477 คริสตจักรต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการประกาศเผยแพร่ของมิชชันนารี คณะอเมริกัน-เพรสไบทีเรียน อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้รวมตัวกันตั้ง เป็นสภาคริสตจักรในสยาม หรือที่เรียกว่า สภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปัจจุบันntic-payap

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2500 และ 2505 อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้ปิดสำนักงานในประเทศไทยลงตามลำดับ มีการยกทรัพย์สิน และกิจการทั้งหมดให้แก่สภาคริสตจักรในประเทศไทย มิชชันนารีที่ยังคงทำงานในประเทศไทย ได้ปรับฐานะเป็นภราดรผู้ร่วมงานกับสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2521 องค์กรคริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยได้รวมตัวกันจัดงานฉลองครบรอบ 150 ปี คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทย ในการเตรียมจัดงานฉลองนั้น ได้มีการศึกษาค้นคว้าเอกสารและหนังสือต่าง ๆ เพื่อจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์สภาคริสตจักรในประเทศไทย การดำเนินการดังกล่าวทำให้มีค้นพบเอกสารเก่าของสภาคริสตจักรฯ ตั้งแต่สมัยมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนเข้ามาประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณในประเทศไทย โดยเอกสารดังกล่าวถูกเก็บไว้ในโกดังที่เก็บของของสภาคริสตจักรฯ คณะผู้บริหารสภาคริสตจักรฯ ในเวลานั้นได้ตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารที่มีค่าเหล่านั้น แต่ก็ไม่ทราบว่าควรจะดำเนินการอย่างไรในการรักษาดูแลเอกสารอย่างเหมาะสม จึงได้ติดต่อวิทยาลัยพายัพ(มหาวิทยาลัยพายัพในปัจจุบัน)ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมแห่งแรกของสภาคริสตจักรฯ และในเวลานั้นศาสนาจารย์ เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน อาจารย์สอนประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ของวิทยาลัยพายัพ ท่านเคยผ่านการฝึกงานด้านงานจดหมายเหตุในประเทศสหรัฐอเมริกามาก่อนได้เสนอให้มหาวิทยาลัยพายัพนำเอกสารเหล่านั้นมาเก็บรักษา และได้มีการจัดตั้งแผนกจดหมายเหตุ หรือหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดยมีศาสนาจารย์เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน เป็นผู้อำนวยการคนแรก มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เขตบ้านธารแก้ว ต่อมาในปีพ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้มีการพัฒนาโดยมีการขยายวิทยาเขตจากเดิมที่มีอยู่ 2 เขต (บ้านธารแก้วและแก้วนวรัฐ) เป็น 3 เขต คือ มีวิทยาเขตแม่คาวเพิ่มอีกหนึ่งเขตหอจดหมายเหตุได้ย้ายสำนักงานจากบ้านธารแก้ว มาอยู่ที่เขตแก้วนวรัฐในอาคารที่เคยเป็นหอพักพยาบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการย้ายที่ทำการไปยังอาคารศรีสังวาลย์ บริเวณชั้นที่ 3 และชั้น 4

ปัจจุบันหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ ได้ย้ายมาดำเนินการ ณ บริเวณชั้น 3 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สิรินธร มหาวิทยาลัยพายัพ เขตแม่คาว ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 และได้มีการนมัสการพระเจ้าเนื่องในโอกาศเปิดหอจดหมายเหตุในที่ทำการใหม่ เมื่อวันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

 

อ้างอิงจาก หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ