TCDC

TCDCChiangMaiTCDC1

TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

รูปแบบการให้บริการ

  1. ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ในบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ด้วยหนังสือกว่า 6,000 เล่ม นิตยสารกว่า 70 ชื่อเรื่อง และสื่อมัลติมีเดียกว่า 500 รายการ พร้อมฐานข้อมูลด้านการออกแบบ WGSN และฐานข้อมูลด้านการตลาด GMID เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
  2. ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 7,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 250 ชนิด และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัสดุล้ำยุค เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสกับวัสดุที่นักออกแบบระดับโลกใช้ในการสร้าง สรรค์ผลงาน และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของวัสดุเพื่อการออกแบบ
  3. กิจกรรมสัมมนาและฝึกอบรมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยความหลากหลายของกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์
  4. การจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้ ทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ จินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าชม พร้อมทั้งการจัดการประกวด การแข่งขัน ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอย่างต่อเนื่อง
  5. พื้นที่จัดแสดงผลงาน สำหรับผลงานของนักออกแบบรุ่นใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการทดลองตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย
  6. การให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ให้กับผู้ประกอบการและนักออกแบบในพื้นที่

อ้างอิงจาก TCDC

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนราชมงคลล้านนา

1252948382

 

ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สิ่งพิมพ์ที่ให้บริการจะเป็นหนังสือในสาขาพาณิชยกรรม และสาขาช่างต่างๆ เช่น ช่างก่อสร้าง ในจำนวนที่ไม่มาก นอกจากนี้ยังบริการหนังสือพิมพ์และวารสาร ต่อมาได้มีการจัดซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งหมดประมาณ 15,000 เล่ม

ปี พ.ศ. 2516 ได้ย้ายห้องสมุดมายังชั้น 1 อาคารคณะวิชาสามัญ (คณะวิชาศึกษาทั่วไป) มีเนื้อที่ขนาด 11.50 – 25.50 เมตร และมีชั้นลอยเนื้อที่ขนาด 4.50 – 30.50 เมตร และปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายห้องสมุดมายังอาคารหอสมุดราชมงคล ซึ่งเป็นอาคารเอกเทศที่สร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณ จำนวน 23,000,000 บาท เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน           ต่อมามีการประกาศจัดตั้งศูนย์วิทยบริการขึ้น สังกัดฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ จึงเป็นหน่วยงานระดับแผนก สังกัดศูนย์วิทยบริการ ฝ่ายกิจการพิเศษ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของวิทยาเขตทั้งด้านการเรียนการ สอนและการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของชาติ

ปี พ.ศ. 2550 มีการปรับโครงสร้างตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ห้องสมุดฯ จึงเป็นหน่วยงานขึ้นกับฝ่ายวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของเขตพื้นที่ ทั้งด้านการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตามภารกิจหลัก ของมหาวิทยาลัยต่อไป

อ้างอิงจาก ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนราชมงคลล้านนา


ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Around-Mcgillvary-015IMG_1457

 

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544

อ้างอิงจาก ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

<a href=”http://202.28.248.175/57/u57254/wordpress/wp-content/uploads/2015/02/12.jpg”><img class=” wp-image-2462 aligncenter” src=”http://202.28.248.175/57/u57254/wordpress/wp-content/uploads/2015/02/12-300×199.jpg” alt=”12″ width=”552″ height=”366″ /></a>

&nbsp;

ห้องสมุดได้ก่อตั้งพร้อมกับโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูล จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2485

พ.ศ. 2503 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และได้พัฒนาห้องสมุด เป็นหอสมุดวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ในอาคารเรียนรวมหมายเลข 3 ชั้น 2 โดยใช้ห้องเรียน 4 ห้อง จัดเป็นหอสมุด
พ.ศ. 2517 หอสมุดได้ย้ายมายังอาคาร 6 ซึ่งเป็นเอกเทศ 4 ชั้น ปัจจุบัน คือ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครู 36 แห่งทั่วประเทศ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเป็น “สถาบันราชภัฏ” หอสมุดจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดสถาบันราชภัฏเชียงใหม่
พ.ศ. 2538 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ให้สถาบันราชภัฏเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
พ.ศ. 2539 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา อาจารย์ และพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบันอย่างเต็มรูปแบบ (ที่มา : รายงานประจำปี 2542)
พ.ศ. 2540 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดิมสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและจัดอบรม เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ของสถาบัน
พ.ศ. 2543 หอสมุดได้ปรับฐานะและลักษณะงานบริการเป็น ศูนย์วิทยบริการ และย้ายมายังอาคารวิทยบริการ (อาคาร 26) ในเดือนมิถุนายน 2543 เพื่อความทันสมัย
พ.ศ. 2544 ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตและศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ได้ย้ายมายังอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวและรองรับการเรียนการสอนและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปีเดียวกัน สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่การศึกษาไปยังพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็ก และพื้นที่แม่สา ศูนย์วิทยบริการ จึงจัดตั้งห้องสมุดในพื้นที่การศึกษาดังกล่าว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการในพื้นที่ที่ไกลออกไป
พ.ศ. 2546 สถาบันได้ยุบรวมศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตให้เป็นหน่วยงานเดียวกับศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
พ.ศ. 2547 จัดตั้งวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ณ ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บนเนื้อที่ 109 ไร่ 6 ตารางวา
ในปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 อันมีผลให้สถาบันราชภัฏเชียงใหม่เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ และในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้รวมโครงสร้างของศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และศูนย์วิทยบริการ เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็น “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์รำไพ แสงเรือง ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2552 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี อาจารย์ ดร. ศุภกฤษ เมธีโภคพงษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน

อ้างอิงจาก <a href=”http://www.arit.cmru.ac.th/webarit/arit_resume.php”>ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่</a>

<iframe style=”border: 0;” src=”https://www.google.com/maps/embed?pb=!1m18!1m12!1m3!1d3776.8314135318033!2d98.986926!3d18.80566500000001!2m3!1f0!2f0!3f0!3m2!1i1024!2i768!4f13.1!3m3!1m2!1s0x0000000000000000%3A0xf6860b55fa973dfe!2z4Lit4Liy4LiE4Liy4LijIDcwIOC4m-C4tSDguKHguKvguLLguKfguLTguJfguKLguLLguKXguLHguKLguKPguLLguIrguKDguLHguI_guYDguIrguLXguKLguIfguYPguKvguKHguYg!5e0!3m2!1sth!2sth!4v1423754949277″ width=”600″ height=”450″ frameborder=”0″></iframe>

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

book1

 

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ เป็นหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ ให้บริการด้านการศึกษาค้นคว้าแก่อาจารย์ นักศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources Center) ที่ทันสมัยรวบรวมสื่อหลากหลายประเภทที่ครอบคลุมทุกสาขาวิชา เช่น หนังสือ วารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ และอื่นๆ รวมทั้งยังให้บริการด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อมัลติมีเดียผ่านระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง (Fast Access) ตลอดจนระบบเครือข่ายไร้สาย เพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูลจากระบบ Internet ได้สะดวก รวดเร็ว จากทุกที่ทุกเวลา สำนักหอสมุดได้พัฒนารูปแบบ การให้บริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่นๆ ดังนี้

1.บริการ Electronic and Digital Librarybook2

2.บริการ Online Databases

3.บริการหนังสือและวารสาร

4.บริการมุมความรู้

5. E-services

6.บริการห้องค้นคว้าเดี่ยว และกลุ่ม

7.บริการสารสนเทศท้องถิ่นภาคเหนือ

 

 

อ้างอิงจาก ห้องสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ


ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เชียงใหม่

65497

ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เปิดบริการครั้งแรกเมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2527 โดยใช้ห้องเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดสวนดอก 1 ห้อง ขนาด 36 ตารางเมตร โดยในระยะแรกผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งเรือง บุญโญรส อาจารย์จากภาควิชา ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ลานนา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่) ได้นำหนังสือส่วนตัวจำนวนหนึ่ง ( ประมาณ 1,000 เล่ม ) มาจัดตั้งห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่พระนิสิตรุ่นแรก พร้อมทั้งชักชวนผู้มีจิตศรัทธาให้ร่วมบริจาควัสดุอุปกรณ์และ หนังสือให้ ห้องสมุด อีกจำนวนมาก

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2534 คณะผู้บริหาร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนขนาด 3 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อ เดือนกันยายน 2536 ห้องสมุดจึงได้ทำการย้ายเข้าอยู่ชั้นที่ 2 ของอาคารหลังใหม่เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2536 เป็นต้นมา ห้องสมุดมีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว18 เมตร มีพื้นที่นั่งอ่านประมาณ 60 ที่นั่ง

 

ปีการศึกษา 2539 คุณธีระศักดิ์ ไพโรจน์สถาพร ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสถาบันวิทยบริการเพื่อใช้เป็นอาคารห้องสมุด จำนวนรวม 3 อาคารติดต่อกัน มีพื้นที่ใช้สอยรวม 1,943 ตารางเมตร ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 15 ล้านบาท เมื่อเสร็จสมบูรณ์ แล้วห้องสมุด ได้ย้ายจาก อาคารเดิมมายังอาคารสถาบันวิทยบริการ เมื่อวันที่ 24-30 กันยายน 2540 และทำพิธีรับมอบอาคาร สถาบันวิทยบริการ ( อาคารธีระศักดิ์ – ไพโรจน์สถาพร) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 และเปิดอาคารห้องสมุดเพื่อให้บริการแก่ คณาจารย์ พระนิสิตและ บุคคลทั่วไปในภาคการศึกษาที่ 2/2540 จนถึงปัจจุบัน

ห้องสมุดฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่

11

 

โครงการ ‘ฟื้นบ้าน ย่าน เวียง เชียงใหม่’ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวมีความเข้าใจกับเมือง ทั้งความเป็นมา ความเปลี่ยนแปลง และสภาพปัจจุบันในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง พร้อมทั้งเห็นคุณค่า จนกระทั่งตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของเมืองขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศนี้ไว้ด้วยกัน และห้องสมุดนี้ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่เกิดจากความร่วมมือกันของกลุ่มคนเล็กๆ ในเชียงใหม่ที่เชื่อว่าห้องสมุดดีๆ สามารถช่วยสร้างเมืองและสังคมดีๆ ให้เกิดขึ้นได้

ห้องสมุดฟื้นบ้าน ย่าน เวียง เชียงใหม่นี้เริ่มต้นด้วยเงินทุนศูนย์บาท กับแนวคิด A book I like for the city I love เปิดรับบริจาคหนังสือที่ใครก็ได้ ให้หนังสืออะไรก็ได้ที่ชอบมาเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด และเมื่อข่าวถูกแพร่กระจายออกไป ในทางสื่อออนไลน์และปากต่อปาก ก็ได้รับการตอบรับที่เป็นเงินทุนบ้าง เฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้ภายในห้องสมุดบ้าง และแน่นอนว่าหนังสือส่วนหนึ่งก็ถูกจัดส่งเข้ามา จนกระทั่งห้องสมุดฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่นี้ได้ทำการเปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ให้ทั้งชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรม Book Club จัดเป็นชมรมนัดพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์การอ่าน แสดงความคิดเกี่ยวกับหนังสือ โดยมีแขกรับเชิญคนแรกคือ ‘แสนเมือง’ บรรณาธิการ นิตยสาร Compass เชียงใหม่122

    ห้องสมุดฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 8.30 – 20.00 น. ตั้ง     อยู่บริเวณด้านหลังของหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ หรือหลังอนุสาวรีย์สาม          กษัตริย์ และยังคงเปิดรับบริจาคหนังสืออยู่เรื่อยๆ พร้อมกับสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรม   การอ่านเช่นกัน ใครไปเที่ยวเชียงใหม่แวะไปนั่งเล่น นอนเล่น พักผ่อน

  อ่านหนังสือเพลินๆ กันได้ค่ะเพราะพวกเขาเชื่อว่าห้องสมุดดีๆ สามารถช่วยสร้างเมืองและสังคมดีๆ ให้เกิดขึ้นได้

123

สามารถส่งหนังสือที่คุณชอบไปได้ที่ ห้องสมุดฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ถนนพระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
 50200
โทร./แฟกซ์ 0-5321-7793

อ้างอิงจาก
ห้องสมุดฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขากาดสวนแก้ว

cm-kadsuankaew01

 

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขากาดสวนแก้ว

ที่อยู่ : ชั้น 2 ห้างสรรพสินค้าเซ้นทรัล กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

 “กาดสวนแก้ว Living Library ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่”

พื้นที่ด้านหน้าห้องสมุดจะเป็นพื้นที่ขายกาแฟ และเครื่องดื่มต่างๆ

ถึงแม้ว่าพื้นที่อาจจะมีขนาดเล็ก แต่การบริการค่อนข้างครอบคลุมบริการต่างๆ ของห้องสมุดเลย

สรุปบริการต่างๆ ของห้องสมุดแห่งนี้ ว่าประกอบด้วย

- บริการที่นั่งอ่านหนังสือ

– บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น

– บริการตอบคำถามและช่วยการสืบค้น

นอกจากนี้ห้องสมุดยังมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ด้วย เช่น

- การสอนวาดภาพ และระบายสี

– การเล่านิทาน

– การประกวดคำขวัญ

หนังสือที่ให้บริการในห้องสมุดแห่งนี้ ส่วนหนึ่งจะเน้นไปทางหนังสือเด็ก

และหนังสืออีกส่วนหนึ่งจะถูกหมุนเวียนจากห้องสมุดประชาชนหลัก

ซึ่งที่นี่มีหนังสือที่น่าสนใจ และหนังสือใหม่เวียนกันมาให้อ่านกันเต็มที่

แต่ไม่มีบริการยืมคืนทางบรรณารักษ์จะแนะนำว่าถ้าต้องการหนังสือเล่มไหน

ให้ผู้ใช้ติดต่อกับห้องสมุดประชาชนสาขาหลักเพื่อการยืมคืนจะดีกว่า

(ห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักก็อยู่บริเวณที่ไม่ไกลจากที่นี่สักเท่าไหร่

สามารถที่จะเดินข้ามถนน และเข้ามาใช้บริการห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักได้)

เอาเป็นว่าก็ถือว่าเป็นไอเดียนึงที่ห้องสมุดประชาชนหลายๆ ที่ น่าจะเลียนแบบดู

เผื่อว่าผู้ใช้บริการจะได้ประทับใจต่อการบริการของห้องสมุดมากยิ่งขึ้น

อ้างอิงจาก  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขากาดสวนแก้ว

 

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

cmlib10

 

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดแห่งนี้
สถานที่ : ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
ที่อยู่ : ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
เบอร์โทรศัพท์ : 0-5322-1159
เว็บไซต์ : http://www.cmlib.orgcmlib06

ได้ข้อมูลเบื้องต้นกันไปแล้วทีนี้ ตามผมมาเลยครับ
เราจะเข้าไปซอกแซกทุกซอกทุกมุมในห้องสมุดกัน

บริเวณด้านนอกอาคารห้องสมุด
– มีสถานที่สำหรับจอดรถจักยานยนต์ และรถยนต์สำหรับผู้ใช้บริการห้องสมุด
– มีมุมกาแฟสำหรับบริการผู้ใช้ห้องสมุด
– มีลานเด็กเล่น พร้อมด้วยเครื่องเล่นสำหรับเด็ก
– ต้นไม้ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้บรรยากาศการอ่านแบบสงบ
– ด้านหลังอาคารห้องสมุดมีโรงอาหารบริการ
– สถานที่ตั้งของห้องสมุด อยู่ใกล้แหล่งการค้า (เซ็นทรัลกาดสวนแก้ว)

cmlib01

การจัดการด้านในห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
- มีการจัดสรรพื้นที่ และแบ่งสัดส่วนได้ดี เช่น มุมเด็ก มุมวารสาร มุมหนังสือ
– มีการเน้น และจัดสรรส่วนของห้องสมุดมีชีวิต
– บรรยากาศโดยทั่วไปดี เหมาะแก่การนั่งอ่านหนังสือ แสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทดี
– จุดสืบค้นหนังสือชัดเจน และค้นหาได้ง่าย
– เฟอร์นิเจอร์ภายในห้องสมุดบางจุดดูเด่นมาก เช่น เก้าอี้สีแดง ชุดโซฟา
– ชั้นสองมีการจัดมุมหนังสือพระราชนิพนธ์

บรรยากาศภายในอาคารชั่วคราว (ห้องสมุดชั่วคราวใช้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องย้าย)
– อากาศเย็นสบายเนื่องจากอาคารตั้งอยู่บนบึงน้ำ เปิดพัดลมก็เย็นเหมือนเปิดแอร์เลย
– ด้านในมีการจัดสัดส่วนให้บริการผู้ใช้เรียบร้อย ทั้งโซนห้องสมุดมีชีวิต และห้องบริการคอมพิวเตอร์
– มีโต๊ะนั่งอ่านหนังสือเพียงพอต่อการบริการ

ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
ด้านทรัพยากรสารสนเทศ
– มีการแนะนำทรัพยากรสารสนเทศมาใหม่
– ทรัพยากรสารสนเทศเน้นเนื้อหาทั่วไป
– ทรัพยากรที่มีอยู่ในห้องสมุดมีจำนวนน้อย และทันไม่สมัย

ด้านพฤติกรรมผู้ใช้
– สถิติผู้ใช้งานโดยเฉลี่ยต่อวันจำนวนประมาณ 800 คน
– ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เข้ามาใช้บริการหนังสือพิมพ์ และวารสารล่วงเวลาจำนวนมาก
– ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ระดับกลาง มานั่งอ่าน หรือ รอรับลูก

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
– ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้ในห้องสมุด คือ ระบบห้องสมุดที่พัฒนาโดย อาจารย์ฐิติ บุญยศ ซึ่งใช้กับห้องสมุดของ กศน. ทุกที่
– มีบริการคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น
– มีเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นของตัวเอง (http://www.cmlib.org)

อ้างอิงจาก ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

ห้องสมุด

ความหมายของห้องสมุด

ห้องสมุด คือแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการคัดเลือกและจัดหาเข้ามาอย่างทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้ใช้ มีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงานและจัดบริการต่างๆอย่างเป็นระบบ

ความสำคัญของห้องสมุด

การศึกษาในปัจจุบัน มุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ มาประกอบความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในชั้น ผู้เรียนจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมโดยการเข้าใช้ห้องสมุด เพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มขึ้น ความสำคัญของห้องสมุดอาจประมวลได้ ดังนี้

1. ห้องสมุดเป็นที่รวมของทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าหาความรู้ทุกสาขาวิชา ที่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษานั้น
2. ห้องสมุดเป็นที่ที่ทุกคนจะเลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ต่างๆได้โดยอิสระ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
3. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดพอใจที่จะอ่านหนังสือต่างๆโดยไม่รู้จักจบสิ้น เป็นการช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
4. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ
5. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีนิสัยรักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
6. ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
7. ห้องสมุดจะช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดรับรู้ในสมบัติสาธารณะ รู้จักใช้และระวังรักษาอย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

ห้องสมุดทั่วไปมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ดังนี้

1. เพื่อการศึกษา ห้องสมุดทุกแห่งจะรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ความรู้ เพื่อบริการแก่ผู้ใช้ในการแสวงหาความรู้ ค้นคว้าด้วยตนเองได้ตามต้องการ

2. เพื่อความรู้ข่าวสาร ห้องสมุดจัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้มีความรู้ใหม่ๆและทันสมัยเสมอ

3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย เป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในสาขาวิชาต่างๆ

4. เพื่อความจรรโลงใจ ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภททำให้ผู้ใช้มีความซาบซึ้งประทับใจที่ได้รับจากการอ่าน ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจในทางสร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

5. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจหรือนันทนาการ ห้องสมุดจะมีทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ความสนุก บันเทิงใจไว้บริการ เช่น นิตยสาร นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ได้รับความเพลิดเพลิน

ประโยชน์ของห้องสมุด

ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายและมีประโยชน์ ดังนี้

1. ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
2. กระตุ้นให้รักการอ่านและการศึกษาค้นคว้า
3. ก่อให้เกิดการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
4. เป็นสื่อกลางในกระบวนการเรียนการสอน
5. ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เฉพาะบุคคล