กุมภาพันธ์ 2015 จ อ พ พฤ ศ ส อา 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 -
เรื่องล่าสุด
ความเห็นล่าสุด
คลังเก็บ
Meta
หมวดหมู่
ป้ายกำกับ
กาดสวนแก้ว พายัพ พิพิธ พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม พิพิธภัณฑ์ภาพ 3 มิติ (Art in Paradise) ฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่ มงฟอร์ตฯ มช. มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ม.พายัพ ม.ราชภัฎเชียงใหม่ ล้านนา วัดเกตการาม ศูนย์สนเทศ ศูนย์สนเทศภาคเหนือ มช. ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์สารสนเทศภาคเหนือ ม.พายัพ สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ หอจดหมายเหตุ หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ ห้อ ห้องสมุด ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดโรงเรียน เชียงใหม่ เทคโนตีนดอย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรือนโบราณล้านนา โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่ โฮงเฮือนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา art in paradise เชียงใหม่ Information center ITSC CMU library museum Public Library
Daily Archives: กุมภาพันธ์ 15, 2015
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความเป็นมา ตามที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551 นั้น นับเป็นโอกาสในการรวมหน่วยงานเดิมสององค์กร คือ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ที่ได้ดำเนินการมากว่า 25 ปี และสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2545 มารวมเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ” ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรแห่งการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านการให้บริการตามมาตรฐานสากล ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา การบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยและชุมชนอย่างยั่งยืน” พันธกิจ 1. สนับสนุนให้มีเทคโนโลยีระบบเครือข่ายเพื่อการสื่อสารและเชื่อมต่อระบบเครือข่าย รวมถึงจัดหาช่องทางการเข้าถึงระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2. สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน การวิจัย และการจัดทำสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ในรูปแบบต่างๆ 3. ส่งเสริมการพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลาง ฐานข้อมูลและข้อมูลสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ … Continue reading
Posted in ศูนย์สารสนเทศ
Tagged Information center, ITSC CMU, ศูนย์สนเทศ, ศูนย์สารสนเทศ, สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
Leave a comment
ศูนย์สนเทศภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ความเป็นมา ศูนย์สนเทศภาคเหนือ ได้ถือกำเนิดขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการเรียนการสอน และการวิจัยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นล้านนา ซึ่งจำเพาะถึงจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด และการขยายขอบเขตให้กว้างขวางมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งภูมิภาคภาคเหนือ คือ 17 จังหวัด ในเวลาต่อมา สำนักหอสมุดในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริการของมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นในการเสาะแสวงหา รวบรวม สะสมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับล้านนาและภูมิภาคภาคเหนือโดยรวม สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นภาคเหนือ โดยในระยะเริ่มแรก ได้จัดตั้ง “โครงการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปลานนา″ ขึ้นเมื่อพ.ศ.2524 จากการริเริ่มของผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพ สุจินดา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ในขณะนั้น ต่อมาโครงการดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยพิพิธภัณฑ์และศิลปล้านนา″ และ “หน่วยเอกสารล้านนา″ ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2534 อาจารย์ ดร. ม.ร.ว. … Continue reading
Posted in ศูนย์สารสนเทศ
Tagged Information center, มช., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์สนเทศ, ศูนย์สนเทศภาคเหนือ มช., ศูนย์สารสนเทศ
Leave a comment
ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์
ความเป็นมา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2538 เป็นคณะที่ 17 ของมหาวิทยาลัยและเป็นคณะในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2543 โดนมีบัณฑิตจบการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาโดยตลอด โดยมีหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และการประยุกต์งานสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและมีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ อย่างเหมาะสม จากเหตุผลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บจัดแสดงและศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค ปัจจุบันศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเป็นหน่วยงานภายใต้งานศิลปวัฒนธรรมและชุมชน คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัย จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีที่ทำการ … Continue reading
ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ
ข้อมูลทั่วไปของศูนย์ข้อมูลภาคเหนือแห่งนี้ สถานที่ : ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแม่คาว ถนนซูเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ : 0-5324-1255, 0-5385-1478 เว็บไซต์ : http://lib.payap.ac.th/ntic/ เกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ ที่นี่มีขอบเขตในการจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเหมือนกัน โดยที่นี่เลือกเก็บข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ 8 จังหวัดเท่านั้น ซึ่งต่างจาก ม.เชียงใหม่ ที่มีศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นและจัดเก็บ 17 จังหวัดภาคเหนือ ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ ได้ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ โดยภายในห้องมีการจัดสัดส่วนที่ค่อนข้างลงตัว แยกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ – ส่วนแสดงนิทรรศการสารสนเทศท้องถิ่น – ส่วนแสดงหนังสือสารสนเทศท้องถิ่น – ส่วนแสดงสื่อมัลติมีเดียสารสนเทศท้องถิ่น เรื่องการจัดการ … Continue reading
Posted in ศูนย์สารสนเทศ
Tagged Information center, พายัพ, ศูนย์สนเทศ, ศูนย์สารสนเทศ, ศูนย์สารสนเทศภาคเหนือ ม.พายัพ
Leave a comment
หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ หรือ ศาลากลางหลังเก่า ตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และใกล้กับวัดอินขีลสะดือเมือง ในบริเวณสะดือเมือง หรือกลางเวียง อันเป็นศูนย์กลางการปกครองของเมืองเชียงใหม่มาแต่อดีต หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เป็นหอคำเก่าที่ใช้ว่าราชการตั้งแต่สมัย พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ จนถึงสมัย เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงาม เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ในแบบโคโลเนียล ซึ่งเป็นรูปแบบนิยมในสมัยยุคล่าอาณานิคม ผนังอาคารประดับปูนปั้นที่เรีบง่ายแต่ดูสวยงาม? ภายในมีโถงกว้างที่ล้อมรอบด้วยตัวอาคาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2467 ภายหลังในสมัยเจ้าดารารัศมี ได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2539 ศาลากลางแห่งใหม่ได้ย้ายไปตั้งบริเวณถนนโชตนา โดยศาลากลางหลังเก่านั้น เทศบาลนครเชียงใหม่ได้ร่วมกับองค์กรภาคเอกชนทำการปรับปรุงให้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ สืบสานศิลปะและอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนาให้คงอยู่ต่อไป ภายในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ มีการจัดแสดงกิจกรรมทางวัฒนธรรม นิทรรศการศิลปกรรมล้านนา นิทรรศการหมุนเวียน ห้องสารสนเทศ ห้องภัณฑารักษ์ และห้องจำหน่ายของที่ระลึก หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ … Continue reading
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา
ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ติดถนนเรียบคลองชลประทาน ใกล้สี่แยกตลาดต้นพะยอม อยู่ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมเรือนโบราณที่ทั้งได้รับจากการบริจาคและขายให้กับพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยกลุ่มเรือนโบราณที่ควรค่าแก่การรักษาและอนุรักษ์ จำนวน 8 หลัง ได้แก่ เรือนไทยลื้อ (หม่อนตุด) เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง มีลักษณะสองหลังหน้าเปียง ด้านตะวันออกเป็นเรือนนอนโล่งกว้าง ด้านตะวันตกเป็นเรือนครัว ระหว่างชายคาของเรือน ทั้งสองเชื่อมต่อกันเป็นรางน้ำฝนเรียกว่า “ฮ่องลิน” หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด เรือนลุงคิวเป็นอาคารรูปทรงอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกหรือทรงอาณานิคมหรือแบบโคโลเนียล สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2465 เรือนกาแล (อุ๊ยผัด) เรือนหลังนี้มีลักษณะเด่นของเรือนกาแลคือ มีหัมยนต์ติดบริเวณด้านบนของประตูห้องนอนเพื่อทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์คอยป้องกันและขับไล่อันตรายต่างๆจากภายนอก เรือนพื้นบ้านล้านนาอุ๊ยแก้ว เป็นรูปแบบเรือนของคนที่อาศัยใกล้เวียงเชียงใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะ การจัดพื้นที่ใช้สอยยังเป็นแบบบ้านชนบทแต่ทำฝาและประตูหน้าต่างแบบใหม่ เรือนกาแล (พญาวงศ์) … Continue reading
พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม
วัดเกตการาม จ.เชียงใหม่ หรือ วัดสระเกษ เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าสามฝั่งแกน โดยโปรดฯ ให้พระยาเมือง พระยาคำ และพระยาลือ สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1971 ภายในวัดมีพระเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี ซึ่งเป็นที่สักการะของชุมชน เนื่องด้วยตั้งอยู่ในชุมชนการค้าเก่าของชาวจีน ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง สิ่งก่อสร้างในยุคหลังที่ได้บูรณะขึ้น จึงมีศิลปะจีนปนอยู่ ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องใช้โบราณต่างๆ และรูปเก่าที่หาชมยาก บอกเล่าเรื่องราวเก่าของเมืองเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี ศาสนสถานและปูชนียวัตถุภายในวัดเกตการาม ประกอบด้วย พระเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี เป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา ซึ่งจำลองจากพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อให้สาธุชนได้สักการะ ฐานเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบย่อเก็จ มีซุ้มจระนำประดิษฐานองค์พระทั้งสี่ทิศ ส่วนบนตั้งแต่ปากระฆังถึงปลียอด ประดับด้วยทองจังโกดุนลาย โดยรอบมีเจดีย์บริวารทั้งสี่มุม พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงล้านนา หน้าบันประดับไม้แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา บัวหัวเสาประดับด้วยแก้วอังวะ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นประธาน พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนรูปทรงล้านนา เชิงบันไดประดับปูนปั้นรูปนาค ผนังด้านหน้าพระอุโบสถประดับปูนปั้นรูปกิเลน สิงโต ปลา และลวดลายศิลปะจีน ประตูไม้แกะสลักเป็นรูปเทวดา หน้าบันประดับด้วยลายพรรณพฤกษา … Continue reading
พิพิธภัณฑ์ภาพ 3 มิติ (Art in Paradise)
Art in Paradise : Illusion Art Museum จิตรกรรม 3 มิติ แห่งแรกในเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่รวบรวมเอาภาพวาด 3 มิติ เอาไว้มากมาย และเริ่มเปิดประตูให้ทุกท่านได้สัมผัสกับภาพจิตรกรรมเสมือนจริงเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 ซึ่งก่อตั้งโดย จาง คยู ซอก (Mr. Jang Kyu Suk) ชาวเกาหลีใต้ และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยจิตรกรชาวเกาหลีมืออาชีพ ที่มีผลงานชนะเลิศระดับประเทศกว่า 10 ท่าน และได้ร่วมกันเนรมิตพิพิธภัณฑ์แห่งจินตนาการ สร้างจิตรกรรมบนฝาผนังเสมือนจริง ที่ต้องใช้เทคนิคการวาดภาพให้สามารถลวงตาผู้ชมได้ (Illustion Art) สามารถทำให้ผู้ชมสัมผัส และมีส่วนร่วมกับผลงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด (Interactive Art) ให้ความรู้สึกที่เหมือนจริง ประหนึ่งว่าผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของภาพจิตรกรรม (Realistic … Continue reading
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
การเข้าชม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ยินดีต้อนรับ คณะบุคคล ทั่วไปในระหว่าง เวลา 9.00 – 12.00น. และ 13.00 – 16.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ ถึง ศุกร์ เว้นวันหยุดธนาคาร โดยติดต่อขอเข้าชมได้ที่ โทร : 053 931182-3 โทรสาร : 053 224168 อีเมล์ : jirawang@bot.or.th เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีนโยบายส่งเสริม ให้สำนักงานภาค ของธนาคาร แห่งประเทศไทยมีบทบาท ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจท้องถิ่น นอกเหนือจากหน้าที่ดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีนโยบาย … Continue reading
พิพิธภัณฑ์ : แหล่งความรู้พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์คืออะไร “พิพิธภัณฑ์” แปลรวมได้ความว่า สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ นานาที่เก็บรวบรวมไว้เพื่อการชื่นชมและศึกษาหาความรู้ เช่น โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเป็นต้น “สถาน” หมายถึง สถานที่แหล่งที่ตั้งปราการ เป็นคำเติมท้ายสถานที่สำคัญ สำหรับคำว่า “พิพิธภัณฑ์” ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า “Museum อ้างอิงจาก : เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์