โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน ในระยะแรกไม่ได้เป็นห้องสมุดที่เป็นสัดส่วนเอกเทศ เป็นเพียงแต่ตู้เก็บรวบรวมหนังสือในห้องครูใหญ่หรือตั้งอยู่ในห้องเรียนห้องใดห้องหนึ่งเท่านั้น มีหนังสือต่างๆที่ได้จากการซื้อหาและการบริจาคจากเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆได้ดังนี้

1.  ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะแรก (พ.ศ.2448-2458) ในระยะนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวโรรสข้างวัดดวงดีทางด้านทิศใต้(หรือสี่แยกกลางเวียงปัจจุบัน) ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าได้ใช้ส่วนใดห้องใดของอาคารเรียน จัดเป็นห้องสมุด แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีห้องสมุดแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2451

2.  ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะที่ 2 (พ.ศ.2548-2516) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่เลขที่ 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง หรือตั้งในปัจจุบันนี้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 โดยได้เริ่มสร้างตึกยุพราชเป็นอาคารเรียนหลังแรกตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ห้องสมุดของโรงเรียนในระยะนี้จึงอาศัยอยู่บนตึกยุพราชก่อน จนถึงปี พ.ศ.2467 จึงมีการสร้างห้องสมุดเป็นสัดส่วนเฉพาะโดยปรากฎหลักฐานว่า มีห้องสมุดเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นสโมสรของลูกเสือชั้นบนมี 4 ห้อง ห้องกลาง 2 ห้องใช้เป็นห้องสมุด ห้องริม 2 ห้องจัดเป็นห้องเรียนและได้ทำบุญฉลองหอสมุดที่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2467 และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ใช้ห้องสมุดนั้นเรื่อยมา ต่อมาในปีพ.ศ.2469 ได้มีพระราชพิธีสมโภช “พระเศวตคชเดชดิลก” ช้างสำคัญของเมืองเชียงใหม่และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7  เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการมณฑลพายัพและประชาชนชาวเมืองนครเชียงใหม่ได้ร่วมกันสร้างโรงช้างต้นขึ้น  หลังจากประกอบพิธีเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2469 แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้ใช้อาคารนี้เกื่ยวข้องกับช้างสำคัญอีกเลย จึงได้มีการดัดแปลงอาคารโรงช้างต้น เป็นห้องสมุด และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้อาศัยโรงช้างต้นเป็นห้องสมุดของโรงเรียนเรื่อยมา จนกระทั่งได้ย้ายมาที่ตึกยุพราชอีกครั้งหนึ่ง  ในปี พ.ศ.2501 ห้องสมุดย้ายไปอยู่ที่อาคารเรือนวิเชียร และในปี พ.ศ.2504 ได้ย้ายกลับมาใช้ด้านล่างของตึกยุพราชเป็นที่ตั้งของห้องสมุด เรื่องราวของห้องสมุดของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะปี พ.ศ.2501 – 2516 นั้น มีปรากฏในสมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนหลายเรื่องที่สำคัญ ดังเช่น

1)  มีการตั้งชุมนุมห้องสมุดโดยมีนักเรียนสมัครเข้าเป็นสมาชิกรวมกลุ่มดำเนินการมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา

2) มีการส่งครูไปอบรมวิชาบรรณารักษ์เพิ่มเติม

3)  ห้องสมุดถือเป็นจุดสำคัญที่แขกผู้มาเยือนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยต้องไปเยี่ยมชมเสมอ จัดเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้วย

 

3. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะ ที่ 3 (พ.ศ.2516 – 2534)  ในปี พ.ศ.2516 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็ฯโรงเรียนในโครงการ คมส.และได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ชื่อ      อาคารรัตนมณี  จึงได้มีการกำหนดให้ชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ห้องเรียนเป็นที่ทำการของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของห้องสมุดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการให้บริการแก่บุคลากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้อาคารรัตนมณีชั้นที่ 2 เป็นห้องบริการหนังสืออ้างอิงและวารสารเย็บเล่ม ใช้ห้องเรียนเป็นที่ทำงานอีก 2 ห้องเรียน  ในระยะที่ 3 นี้ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับการยกย่องและมีการพัฒนาที่สำคัญดังนี้

-  ปีการศึกษา 2528 ได้รับรางวัลห้องสมุดที่จัดบริการและงานเทคนิคดีเด่นประจำเขตการศึกษา 8

- ปีการศึกษา 2531 ได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

และตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นมา ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ริเริ่มนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้พัฒนางานเทคนิคของห้องสมุด ซึ่งทำให้งานบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4.ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในปัจจุบัน (พ.ศ.2534 – ปัจจุบัน) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารนวรัตน์ในปีพ.ศ.2530  อาคารนวรัตน์จัดเป็นอาคารอเนกประสงค์ ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นที่สองเป็นห้องสมุดขนาด 10 ห้องเรียน และชั้นที่สามเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ ห้องสมุดได้พัฒนาอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งทางด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม จำนวนหนังสือ  การให้บริการ การปรับปรุงงานเทคนิค การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ภายในห้องสมุด มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง จัดแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วนตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและในปีการศึกษา 2536 ห้องสมุดได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา ได้รับเกียรติบัตรของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

บริการห้องสมุด
1.บริการจัดหาและรวบรวมวัสดุสารนิเทศทุกประเภท
2.บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน
3.บริการให้ยืมวัสดุสารนิเทศ
4.บริการจองวัสดุสารนิเทศ
5.บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า
6.บริการแนะแนวการอ่าน
7.บริการยืมวัสดุสารนิเทศระหว่างห้องสมุด
8.บริการห้องสมุดเคลื่อนที่
9.บริการหนังสือหมุนเวียน
10.บริการถ่ายสำเนาเอกสาร
11.บริการเสียงตามสาย
12.บริการซ่อมวัสดุสารนิเทศ
13.บริการเย็บเล่มวารสาร
14.บริการสืบค้นฐานข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
15.บริการห้องสมุดเพื่อชุมชน
16.บริการภาพและกฤตภาค
17.บริการสืบค้นข้อมูลด้วย internet cd-rom และวีดิทัศน์
18.บริการช่วยการอ่านแก่นักเรียนพิเศษบกพร่องทางสายตา
19.บริการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

การจำแนกหมวดหมู่วัสดุสารนิเทศในห้องสมุด
1.หนังสือ              จำแนกตามหลักดิวอี้
2.วารสาร              จำแนกตามชื่อวารสาร
3.หนังสือพิมพ์       จำแนกตามวันที่ออก
4.ซีดีรอม              จำแนกตามชื่อเรื่อง

การแบ่งหมวดหมู่หนังสือตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ๆ 10 หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้
000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities)
100 ปรัชญา (Philosophy)
200 ศาสนา (Religion)
300 สังคมศาสตร์ (Social sciences)
400 ภาษาศาสตร์ (Language)
500 วิทยาศาสตร์ (Science)
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology)
700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation)
800 วรรณคดี (Literature)
900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography)

รายชื่อวารสาร 24 ฉบับ
1.ศิลปวัฒนธรรม
2.สารคดี
3.อ.ส.ท.
4.แม่บ้าน
5.เทคโนโลยีชาวบ้าน
6.หมอชาวบ้าน
7.ชีวจิต
8.เนชั่นสุดสัปดาห์
9.มติชนสุดสัปดาห์
10.The Nation Junior
11.งานฝีมือ
12.ค.คน
13.เดอะเนชั่นจีโอกราฟฟิค
14.อเดย์
15.สกุลไทย
16.ขวัญเรือน
17.กุลสตรี
18.I like
19.คู่สร้าง – คู่สม

รายชื่อหนังสือพิมพ์ 11 ฉบับ
1.ไทยรัฐ
2.มติชน
3.เดลินิวส์
4.ข่าวสด
5.คมชัดลึก
6.ไทยนิวส์
7.เชียงใหม่นิวส์
8.สยามกีฬา
9.ฐานเศรษฐกิจ
10.Bankok post
11.Student weekly

ระเบียบการใช้ห้องสมุด

๑.  เวลาทำการ

๑.๑.  วันจันทร์ – วันศุกร์  เวลา  ๐๗.๓๐ – ๑๗.๐๐ น.

๑.๒. วันเสาร์  เวลา  ๐๘.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

๒.  บริการยืม – คืนวัสดุสารนิเทศ

๒.๑.  ผู้มีสิทธิยืม

๒.๑.๑.  นักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  นำบัตรประจำตัวนักเรียนของตนเองเท่านั้นหลักฐานในการใช้บริการยืม – คืน  ไม่อนุญาตให้ใช้บัตรของผู้อื่น

๒.๑.๒  ผู้บริหาร  ครู  เจ้าหน้าที่  และลูกจ้างของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

๒.๑.๓.  บุคคลภายนอกนำบัตรประจำตัวไว้เป็นหลักฐานในการใช้บริการยืม – คืน

๒.๒.  ประเภทสื่อสารนิเทศที่ให้บริการ

๒.๒.๑.  ประเภทหนังสือ

-   หนังสือทั่วไป  ยืมได้ครั้งละ ๕  เล่ม  ไม่ซ้ำกันมีกำหนดยืมครั้งละ  ๗  วัน

-   หนังสือจอง  ยืมได้ครั้งละ   ๒  เล่ม  ไม่ซ้ำกัน  มีกำหนดยืมครั้งละ  3  วัน

-   หนังสือทั่วไป  เกินกำหนดส่งเสียค่าปรับ  เล่มละ  ๑  บาท  ต่อ  ๑  วัน

-   หนังสือจอง *      เกินกำหนดส่งเสียค่าปรับ  เล่มละ  ๕  บาท  ต่อ  ๑  วัน

๒.๒.๒.  ประเภทโสตทัศนวัสดุ

-   ยืมได้ครั้งละ  ๒  ม้วน/ แผ่น/ ตลับ  มีกำหนดยืมครั้งละ  3  วัน

-   เกินกำหนดส่งเสียค่าปรับ  ม้วน/ แผ่น/ ตลับ  ละ  ๕  บาท  ต่อ  ๑  วัน

-   การใช้บริการโสตทัศนวัสดุได้แก่โทรทัศน์เพื่อการศึกษา  การสืบค้นทาง อินเทอร์เน็ต  อนุญาตให้ใช้บริการได้  ๑  เครื่องต่อ  ๑  คนเท่านั้น

-   บันทึกการใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษา  การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตทุกครั้งที่ใช้บริการ

๒.๒.๓.  วารสาร  นิตยสาร  หนังสือพิมพ์  และหนังสืออ้างอิง

-  ใช้บริการเฉพาะในห้องสมุดเท่านั้น

-  บันทึกการยืมที่เจ้าหน้าที่ทุกครั้ง  เมื่อต้องการนำไปถ่ายสำเนาเอกสาร  และต้องนำส่งคืนทันทีภายในวันเดียว

๓.  การทำบัตรสมาชิกห้องสมุด

ให้นักเรียนใช้บัตรประจำตัวนักเรียนที่ทางโรงเรียนจัดทำขึ้น  เป็นบัตรสมาชิกห้องสมุด  กรณีบัตรหายให้ติดต่อของทำบัตรใหม่ที่ฝ่ายปกครอง

*  หนังสือจอง  หมายถึง  หนังสือที่มีผู้ใช้ต้องการใช้จำนวนมาก  แต่ปริมาณหนังสือในห้องสมุดมีน้อย

มารยาทในการใช้ห้องสมุด

๑.     แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

๒.    ไม่นำกระเป๋า  ถุง  ถุงย่ามเข้าห้องสมุด

๓.    บันทึกการเข้าใช้ห้องสมุดทุกครั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์

๔.    ไม่ส่งเสียงดัง  วิ่งเล่น  หรือทำกิจกรรมใด ๆ  ที่เป็นการรบกวนสมาธิผู้อื่น

๕.    ไม่นำอาหาร  เครื่องดื่มทุกชนิดเข้าไปรับประทาน

๖.     สิ่งพิมพ์ทุกชนิด  และสื่อโสตทัศนวัสดุ  เมื่อใช้เสร็จให้เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยถูกต้อง

๗.    ไม่ตัด  ฉีก  ทำลาย  วัสดุสารนิเทศห้องสมุดทุกชนิด

๘.    ไม่นำวัสดุสารนิเทศห้องสมุดทุกชนิดออกจากห้องสมุดก่อนได้รับอนุญาต

๙.     เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องสมุด

๑๐.   ควรใช้โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์สืบค้นทางอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา

10393686_884057591644627_7465792637619779547_n 10610543_884057604977959_5669844372359845298_n 10955709_884057598311293_1982265585617468824_n

อ้างอิงจาก : ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

แผนที่

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>