เมษายน 2025 จ อ พ พฤ ศ ส อา « ก.พ. 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 -
เรื่องล่าสุด
ความเห็นล่าสุด
คลังเก็บ
Meta
หมวดหมู่
ป้ายกำกับ
กาดสวนแก้ว พายัพ พิพิธ พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย พิพิธภัณฑ์ภาพ 3 มิติ (Art in Paradise) พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม ฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่ มงฟอร์ตฯ มช. มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ม.พายัพ ม.ราชภัฎเชียงใหม่ ล้านนา วัดเกตการาม ศูนย์สนเทศ ศูนย์สนเทศภาคเหนือ มช. ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์สารสนเทศภาคเหนือ ม.พายัพ สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ หอจดหมายเหตุ หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ ห้อ ห้องสมุด ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดโรงเรียน เชียงใหม่ เทคโนตีนดอย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรือนโบราณล้านนา โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่ โฮงเฮือนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา art in paradise เชียงใหม่ Information center ITSC CMU library museum Public Library
Tag Archives: ห้องสมุดเฉพาะ
ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย เชียงใหม่
รู้จักห้องสมุด ห้องสมุด ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นห้องสมุดเฉพาะ (Special library) ให้บริการพนักงานภายในและบุคคลทั่วไปด้วยสารนิเทศที่เน้นด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยและข้อมูลและสารนิเทศจากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ห้องสมุดเริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2489 จากหนังสือส่วนพระองค์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ซึ่งเป็นผู้ว่าการพระองค์แรกของธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2496 เริ่มมีการดำเนินงานห้องสมุดเต็มรูป มีบรรณารักษ์ทำหน้าที่ประจำห้องสมุดมีการปรับปรุงพัฒนางานผ่านช่วงเวลาต่าง ๆ เรื่อยมาจนปัจจุบัน ให้บริการในนาม หอสมุด จดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ นอกจากห้องสมุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสถานที่ตั้ง ณ อาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ผู้สนใจศึกษา ค้นคว้าข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร ในส่วนภูมิภาค สามารถใช้บริการห้องสมุดได้จาก ห้องสมุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สำนักงานสาขาภาคต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน ที่ตั้ง สำนักงานภาคเหนือ … Continue reading
Posted in ห้องสมุด
Tagged library, ห้องสมุด, ห้องสมุดเฉพาะ, ห้องสมุดแบงค์ชาติ, แบงค์ชาติ เชียงใหม่
Leave a comment
ห้องสมุดกองบิน 41 เชียงใหม่
ห้องสมุดกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ข้าราชการลูกจ้าง และครอบครัว ของกองบิน 41 ในอดีตห้องสมุดของเราอยู่ที่อาคารสวัสดิการซึ่งไม่สะดวกในการให้บริการได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากอยู่ห่างไกล จึงย้ายมาตั้งที่อาคารแฟลตรับรอง 4 ชั้น โดยมีห้องสมุดและห้อง Internet Adsl ให้บริการที่ชั้น 1 และให้บริการจนถึงปัจจุบัน อ้างอิงจาก : ห้องสมุดกองบิน 41
Posted in ห้องสมุด
Tagged กองบิน 41, ห้องสมุด, ห้องสมุดกองบินเชียงใหม่, ห้องสมุดเฉพาะ
Leave a comment
หอจดหมายเหตุเชียงใหม่
งานจดหมายเหตุ ของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาสืบย้อนขึ้นไปได้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างน้อย โดยอาศัยตามข้อทรงสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า “เรื่องจดหมายเหตุมีธรรมเนียมเก่าเป็นหน้าที่ของมหาดเล็กจะต้องจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เก็บไว้ในหอศาสตราคม และงานจดหมายเหตุในราชสำนักก็ยังเป็นประเพณีสืบต่อมาหลายสมัย ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎหลักฐานเรื่องการจัดงบประมาณกรมพระอาลักษณ์ เมื่อ ร.ศ. 115 ขอรับพระราชทานยกการบันทึกเหตุการณ์ประจำวันรวมกับราชกิจจานุเบกษายกเป็นกองจดหมายเหตุ ใน ร.ศ. 118 ปรากฏหลักฐานประกาศตั้งตำแหน่งข้าราชการกรมรัฐมนตรีและกรมพระอาลักษณ์ มีหลวงนรราชจำนงดำรงตำแหน่งปลัดกรม ยังคงปรากฏมีกองจดหมายเหตุอยู่” ส่วนหอจดหมายเหตุ ในความหมายที่เป็นหน่วยงานเก็บเอกสารไว้เป็นเอกสารจดหมายเหตุ ตรงกับคำว่า ARCHIVESของภาษาอังกฤษ มิใช่เพียงแต่หมายถึงการจดบันทึกเหตุการณ์ประจำวันที่เกิดขึ้นแล้วเก็บไว้นั้นเริ่มในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของหนังสือราชการเป็นอย่างยิ่งและมีพระราชกระแสให้นำเอกสารสำคัญไปเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุ ดังตัวอย่างพระราชกระแสที่จะอัญเชิญต่อไปนี้ “เรื่องตราเป็นอันได้ความถูกต้องตามที่พระยามหาอำมาตยแจ้งความ แต่มีความเสียใจที่เปนตราแกะใหม่ทั้ง 2 ดวงรุ่นเดียวกันกับนารายน์ทรงราหูตราเก่าเป็นจะหายหกตกหล่นเพราะเจ้าแผ่นดินไม่ได้อยู่ติดเมืองสักคนหนึ่งศุภอักษรนี้อ่านคันใจเต็มที เพราะเจ้าใจโดยมาก ด้วยเป็นคำมคธคำไทยเจืออยู่แต่คำเขมรไม่เข้าใจเลย ขอให้ล่ามเขมรเขียนอักษรขอมบรรทัดหนึ่ง อักษรไทยอ่านเปนสำเนียงเขมรบรรทัดหนึ่ง … Continue reading
หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ
ประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ การจัดตั้งหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ มีพื้นฐานและมีความผูกพันกับคริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยกล่าวคือหลังจากที่มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนท์สองท่านแรกคือศจ.กุสลาฟ และ ศจ.ทอมลิน ได้เข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ครั้งแรกที่กรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2371ก็มีมิชชั่นคณะต่าง ๆ ได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนา โดยมีคณะมิชชั่นที่สำคัญ เช่น อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น ดิไซเปิลออฟไครสท์ และเซย์เวนเดย์แอดแวนติสท์เป็นต้น การเผยแพร่คริสตศาสนาในช่วงแรกทำเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร จากนั้นได้มีการขยายตัวออกไปทั่วประเทศ มีการประกาศเผยแพร่ความเชื่อของคริสตศาสนามีการตั้งคริสตจักร ตั้งโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนทั้งชายและหญิง และเป็นการเตรียมและพัฒนาผู้เชื่อให้ผู้นำคริสตจักร ตั้งโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2477 คริสตจักรต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการประกาศเผยแพร่ของมิชชันนารี คณะอเมริกัน-เพรสไบทีเรียน อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้รวมตัวกันตั้ง เป็นสภาคริสตจักรในสยาม หรือที่เรียกว่า สภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปัจจุบัน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2500 และ … Continue reading
Posted in ห้องสมุด
Tagged library, ม.พายัพ, หอจดหมายเหตุ, หอจดหมายเหตุ พายัพ, ห้องสมุด, ห้องสมุดเฉพาะ
Leave a comment
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center – TCDC)
TCDC เชียงใหม่ TCDC เชียงใหม่ ศูนย์กลางความรู้ด้านการออกแบบและบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ครบวงจรแห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบการให้บริการ ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ในบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ด้วยหนังสือกว่า 6,000 เล่ม นิตยสารกว่า 70 ชื่อเรื่อง และสื่อมัลติมีเดียกว่า 500 รายการ พร้อมฐานข้อมูลด้านการออกแบบ WGSN และฐานข้อมูลด้านการตลาด GMID เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 7,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 250 … Continue reading