Archive: กุมภาพันธ์, 2015

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Rihes1-1

 

 

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายใต้ชื่อ ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการในผู้ป่วยเด็กโรคขาดสารอาหารโรคโลหิต จางในเด็กและหญิงมีครรภ์ และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะทุโภชนาการและโลหิตจางกับการเกิดโรคติดเชื้อต่อ มาได้เสนอโครงการขยาย และปรับปรุงยกฐานะโดยได้รับความ เห็นชอบในปี พ.ศ. 2521 ให้สถาปนาขึ้นเป็น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพเป็นหน่วยงานอิสระที่มีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีภาระ กิจในการดำเนินงาน วิจัยและเป็นศูนย์กลางให้ความร่วมมือประสานงาน และส่งเสริมการดำเนินการ ค้นคว้าวิจัยในสาขา วิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลพื้นฐาน อันเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาสาเหตุประกอบการวินิจฉัย ของการเกิดโรคได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะยังผลให้สามารถกำหนดมาตรการที่ถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพและอนามัยของประชาชน โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือของประเทศต่อไป

        สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดำเนินการวิจัยในด้านโภชนาการ ด้านโรคโลหิตจาง ด้านโรคเมืองร้อน ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและด้านโรคติดเชื้อ ซึ่งในปัจจุบันโรคติดเชื้อเป็นปัญหาที่สำคัญ และเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข คือปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งสถาบันฯได้ทำการศึกษาและวิจัยอย่างจริงจัง และต่อเนื่องมีผลงานเผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

        ในด้านโภชนาการ ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหารต่าง ๆ ในทั้งอาหารดิบและอาหาร ปรุงสำเร็จ ศึกษาการเสริมวิตามินเอในเด็กในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้มีการ ศึกษาเกี่ยวกับการปนเปื้อน ของยาฆ่าแมลงและโลหะหนักในอาหาร ในน้ำและอื่น ๆ เป็นต้น

       นอกเหนือจากการดำเนินการวิจัย แล้ว สถาบันฯ ยังให้การสนับสนุนและร่วมมือกับคณะต่าง ๆ ในการดำเนินการผลิตบัณฑิตโดยมอบหมายให้บุคลากรที่มีความรู้และ ประสบการณ์เข้าร่วมสนับสนุน การเรียนการสอน ทั้งในระดับปริญญาและบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์พิเศษ ในบัณฑิตวิทยาลัยร่วมสอนและบริหารในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต นอกจากนี้สถาบันฯยังมีบทบาทร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมการบริการวิชาการเพื่อ สังคม การทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติโดยเฉพาะของภาคเหนืออีกด้วย

Rihes1-2

วัตถุประสงค์และนโยบายในการดำเนินงาน

    1. ดำเนินการสนับสนุน และเป็นแหล่งดำเนินงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนและปัญหาสาธารณสุขของ ประเทศ โดยเฉพาะชุมชนในเขตภาคเหนือ
    2. ร่วมมือและประสานงานการวิจัยระหว่างสถาบันฯ กับคณะต่าง ๆ ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในลักษณะของการวิจัยร่วมสาขากับนักวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
    3. พัฒนาแนวทางการวิจัยให้สอดคล้องกับแนวนโยบายการวิจัย ของมหาวิทยาลัยและของชาติ โดยทำการศึกษา และวิจัยเพื่อให้ได้ผลงานที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชน และเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งจากภายในและต่างประเทศเพื่อร่วม ดำเนินการวิจัยในการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เผชิญอยู่ใน ปัจจุบันในด้านความพร้อม สำหรับการดำเนินงานวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้มีการพัฒนาทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์จำเป็นต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
    4. ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนางานทางด้านวิชาการและด้านวิจัย จัดให้มีการประชุมสัมมนา เพื่อเปิดโอกาส ให้คณาจารย์และนักวิจัยด้านต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศมีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ ร่วมกันเพื่อให้สามารถนำไปสู่การจัดการและร่วมมือกันในการศึกษาและวิจัยได้ ในอนาคต
    5. เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลสถิติจากผล งานวิจัย ปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสถิติต่าง ๆ อย่างมีระบบเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล อย่างรวดเร็วและทันสมัยระหว่างนักวิชาการ ทั้งในและนอกประเทศได้
    6. เผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อยังประโยชน์แก่สังคม จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยที่สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อชุมชน
    7. สนับสนุนการวิจัยขั้นบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สนับสนุนให้มีผู้เชี่ยวชาญประจำสถาบันฯ เพื่อรองรับและพร้อมให้การสนับสนุนการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
    8. ให้คำปรึกษา สอน ฝึกอบรมในด้านการวิจัย การควบคุมคุณภาพงาน การวิเคราะห์สารเคมีสถาบันฯ มีความพร้อมในด้านบุคลากรและfacilitiesพร้อมให้ความร่วมมือ ในการฝึกอบรมงานด้านการวิจัย ตลอดจนงานตรวจวิเคราะห์สารเคมีและงานควบคุมคุณภาพงานวิเคราะห์ให้แก่บุคลากร ทุกระดับ จากทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย

 

ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ 66 5322 1966, 665394 5055  ,โทรสาร 66 5322 1849,66 5394 5053

 

 

แหล่งที่มา : http://www.rihes.cmu.ac.th/2014/

 

ห้องสมุดฟื้นบ้านย่านเวียง

66919_443908432345001_1135191060_n-600x450

 

 

โครงการ ‘ฟื้นบ้าน ย่าน เวียง เชียงใหม่’ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวมีความเข้าใจกับเมือง ทั้งความเป็นมา ความเปลี่ยนแปลง และสภาพปัจจุบันในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง พร้อมทั้งเห็นคุณค่า จนกระทั่งตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของเมืองขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศนี้ไว้ด้วยกัน และห้องสมุดนี้ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่เกิดจากความร่วมมือกันของกลุ่มคนเล็กๆ ในเชียงใหม่ที่เชื่อว่าห้องสมุดดีๆ สามารถช่วยสร้างเมืองและสังคมดีๆ ให้เกิดขึ้นได้

ห้องสมุดฟื้นบ้าน ย่าน เวียง เชียงใหม่นี้เริ่มต้นด้วยเงินทุนศูนย์บาท กับแนวคิด A book I like for the city I love เปิดรับบริจาคหนังสือที่ใครก็ได้ ให้หนังสืออะไรก็ได้ที่ชอบมาเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด และเมื่อข่าวถูกแพร่กระจายออกไป ในทางสื่อออนไลน์และปากต่อปาก ก็ได้รับการตอบรับที่เป็นเงินทุนบ้าง เฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้ภายในห้องสมุดบ้าง และแน่นอนว่าหนังสือส่วนหนึ่งก็ถูกจัดส่งเข้ามา จนกระทั่งห้องสมุดฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่นี้ได้ทำการเปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ให้ทั้งชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรม Book Club จัดเป็นชมรมนัดพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์การอ่าน แสดงความคิดเกี่ยวกับหนังสือ โดยมีแขกรับเชิญคนแรกคือ ‘แสนเมือง’ บรรณาธิการ นิตยสาร Compass เชียงใหม่

เปิดให้บริการ :  ตั้งแต่ 8.30 – 20.00 น.

580669_440468269355684_1749389689_n-600x450 537208_427019074033937_862295013_n-600x450

แหล่งที่มา : http://www.creativemove.com/creative/fuenbanlibrary-chiang-mai/#ixzz3Rn2DupDr

 

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ

96271

 

 

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุได้ที่ ให้บริการหนังสือประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสารคดีและเอกสารจดหมายเหตุ


ตั้งอยู่ที่ : ถนนสุเทพ (แยกประตูสวนดอก) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่


เปิดให้บริการ : วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.


ติดต่อสอบถาม : 0 5328 1424 โทรสาร 0 5328 1425

 

 

แหล่งที่มา : http://www.m-culture.in.th/

 

ห้องสมุดเฉพาะกองบิน 41

1188308851

 

 ห้องสมุดกองบิน 41จังหวัดเชียงใหม่

ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ข้าราชการลูกจ้าง และครอบครัว ของกองบิน 41

ในอดีตห้องสมุดของเราอยู่ที่อาคารสวัสดิการซึ่งไม่สะดวกในการให้บริการได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากอยู่ห่างไกล จึงย้ายมาตั้งที่อาคารแฟลตรับรอง 4 ชั้น โดยมีห้องสมุดและห้อง Internet Adsl ให้บริการที่ชั้น 1 และให้บริการจนถึงปัจจุบัน

 

1188308923

 

1188309054

 

1188309212

 

1188309521

 

 

แหล่งที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nooneo&month=08-2007&date=28&group=14&gblog=1

 

TCDC Resource Center ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ

23438bf60e363407c6f3a10602623d2d

 

 

TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มี ความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

รูปแบบการให้บริการ

  1. ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ในบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ด้วยหนังสือกว่า 6,000 เล่ม นิตยสารกว่า 70 ชื่อเรื่อง และสื่อมัลติมีเดียกว่า 500 รายการ พร้อมฐานข้อมูลด้านการออกแบบ WGSN และฐานข้อมูลด้านการตลาด GMID เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
  2. ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 7,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 250 ชนิด และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัสดุล้ำยุค เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสกับวัสดุที่นักออกแบบระดับโลกใช้ในการสร้าง สรรค์ผลงาน และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของวัสดุเพื่อการออกแบบ
  3. กิจกรรมสัมมนาและฝึกอบรมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยความหลากหลายของกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์
  4. การจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้ ทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ จินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าชม พร้อมทั้งการจัดการประกวด การแข่งขัน ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอย่างต่อเนื่อง
  5. พื้นที่จัดแสดงผลงาน สำหรับผลงานของนักออกแบบรุ่นใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการทดลองตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย
  6. การให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ให้กับผู้ประกอบการและนักออกแบบในพื้นที่

 

 

 

 

แหล่งที่มา : http://www.tcdc.or.th/chiangmai/

 

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

universityfdsaf

 

ประวัติความเป็นมา

 

ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เปิดบริการครั้งแรกเมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2527 โดยใช้ห้องเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดสวนดอก 1 ห้อง ขนาด 36 ตารางเมตร โดยในระยะแรกผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งเรือง บุญโญรส อาจารย์จากภาควิชา ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ลานนา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่) ได้นำหนังสือส่วนตัวจำนวนหนึ่ง ( ประมาณ 1,000 เล่ม ) มาจัดตั้งห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่พระนิสิตรุ่นแรก พร้อมทั้งชักชวนผู้มีจิตศรัทธาให้ร่วมบริจาควัสดุอุปกรณ์และ หนังสือให้ ห้องสมุด อีกจำนวนมาก

 

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2534 คณะผู้บริหาร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนขนาด 3 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อ เดือนกันยายน 2536 ห้องสมุดจึงได้ทำการย้ายเข้าอยู่ชั้นที่ 2 ของอาคารหลังใหม่เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2536 เป็นต้นมา ห้องสมุดมีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว18 เมตร มีพื้นที่นั่งอ่านประมาณ 60 ที่นั่ง

 

ปีการศึกษา 2539 คุณธีระศักดิ์ ไพโรจน์สถาพร ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสถาบันวิทยบริการเพื่อใช้เป็นอาคารห้องสมุด จำนวนรวม 3 อาคารติดต่อกัน มีพื้นที่ใช้สอยรวม 1,943 ตารางเมตร ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 15 ล้านบาท เมื่อเสร็จสมบูรณ์ แล้วห้องสมุด ได้ย้ายจาก อาคารเดิมมายังอาคารสถาบันวิทยบริการ เมื่อวันที่ 24-30 กันยายน 2540 และทำพิธีรับมอบอาคาร สถาบันวิทยบริการ ( อาคารธีระศักดิ์ – ไพโรจน์สถาพร) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 และเปิดอาคารห้องสมุดเพื่อให้บริการแก่ คณาจารย์ พระนิสิตและ บุคคลทั่วไปในภาคการศึกษาที่ 2/2540 จนถึงปัจจุบัน

 

 

แหล่งที่มา : http://www.cmmcu.com/offices/library/index.php?name=guide

 

หอสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

179455_143922159000646_7569330_n

 

ประวัติความเป็นมา

 

ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สิ่งพิมพ์ที่ให้บริการจะเป็นหนังสือในสาขาพาณิชยกรรม และสาขาช่างต่างๆ เช่น ช่างก่อสร้าง ในจำนวนที่ไม่มาก นอกจากนี้ยังบริการหนังสือพิมพ์และวารสาร ต่อมาได้มีการจัดซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งหมดประมาณ 15,000 เล่ม

        ปี พ.ศ. 2516 ได้ย้ายห้องสมุดมายังชั้น 1 อาคารคณะวิชาสามัญ (คณะวิชาศึกษาทั่วไป) มีเนื้อที่ขนาด 11.50 – 25.50 เมตร และมีชั้นลอยเนื้อที่ขนาด 4.50 – 30.50 เมตร และปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายห้องสมุดมายังอาคารหอสมุดราชมงคล ซึ่งเป็นอาคารเอกเทศที่สร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณ จำนวน 23,000,000 บาท เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน           ต่อมามีการประกาศจัดตั้งศูนย์วิทยบริการขึ้น สังกัดฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ จึงเป็นหน่วยงานระดับแผนก สังกัดศูนย์วิทยบริการ ฝ่ายกิจการพิเศษ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของวิทยาเขตทั้งด้านการเรียนการ สอนและการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของชาติ
ปี พ.ศ. 2550 มีการปรับโครงสร้างตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ห้องสมุดฯ จึงเป็นหน่วยงานขึ้นกับฝ่ายวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของเขตพื้นที่ ทั้งด้านการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตามภารกิจหลัก ของมหาวิทยาลัยต่อไป

พันธกิจห้องสมุด

  • จัดหาทรัพยากรสารนิเทศประเภทต่าง ๆ  คือ หนังสือ วารสาร เอกสาร หนังสือพิมพ์      สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สื่อโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออื่น ๆ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของ   วิทยาเขต และตรงกับความต้องการของผู้ใช้
  • จัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ทันต่อความต้องการ
  • ให้บริการทรัพยากรสารนิเทศภายในห้องสมุดอย่างมีคุณค่า
  • จัดเก็บและบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีความพร้อมในการใช้งาน

 

ติดต่อสอบถาม

โทรศัพท์ : 0-5392-1444 ต่อ 1330-4 โทรสาร : 053-213183

 

 

แหล่งที่มา : http://library.rmutl.ac.th/index.php/2014-11-24-13-00-38

 

 

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

fdsaasss

 

ประวัติความเป็นมา

ห้องสมุดได้ก่อตั้งพร้อมกับโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูล จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2485



                       พ.ศ. 2503 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และได้พัฒนาห้องสมุด เป็นหอสมุดวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ในอาคารเรียนรวมหมายเลข 3 ชั้น 2 โดยใช้ห้องเรียน 4 ห้อง จัดเป็นหอสมุด


                        พ.ศ. 2517 หอสมุดได้ย้ายมายังอาคาร 6 ซึ่งเป็นเอกเทศ 4 ชั้น ปัจจุบัน คือ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ


                        พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครู 36 แห่งทั่วประเทศ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเป็น “สถาบันราชภัฏ” หอสมุดจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ 


                        พ.ศ. 2538 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ให้สถาบันราชภัฏเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู


                        พ.ศ. 2539 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา อาจารย์ และพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบันอย่างเต็มรูปแบบ (ที่มา : รายงานประจำปี 2542)


                        พ.ศ. 2540 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดิมสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและจัดอบรม เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ของสถาบัน


                        พ.ศ. 2543 หอสมุดได้ปรับฐานะและลักษณะงานบริการเป็น ศูนย์วิทยบริการ และย้ายมายังอาคารวิทยบริการ (อาคาร 26) ในเดือนมิถุนายน 2543 เพื่อความทันสมัย


                        พ.ศ. 2544 ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตและศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ได้ย้ายมายังอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวและรองรับการเรียนการสอนและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


ในปีเดียวกัน สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่การศึกษาไปยังพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็ก และพื้นที่แม่สา ศูนย์วิทยบริการ จึงจัดตั้งห้องสมุดในพื้นที่การศึกษาดังกล่าว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการในพื้นที่ที่ไกลออกไป


                        พ.ศ. 2546 สถาบันได้ยุบรวมศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตให้เป็นหน่วยงานเดียวกับศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล


                        พ.ศ. 2547 จัดตั้งวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ณ ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บนเนื้อที่ 109 ไร่ 6 ตารางวา
ในปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 อันมีผลให้สถาบันราชภัฏเชียงใหม่เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ และในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 


                        พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้รวมโครงสร้างของศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และศูนย์วิทยบริการ เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็น “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์รำไพ แสงเรือง ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 


                        พ.ศ. 2552 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี อาจารย์ ดร. ศุภกฤษ เมธีโภคพงษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน

 

ติดต่อสอบถาม

โทร. 0-5388-5903, โทรสาร. 0-5388-590

 

 

แหล่งที่มา : http://www.arit.cmru.ac.th/webarit/arit_Manual.php

 

 

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

book1

 

ประวัติความเป็นมา

 

สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2517 พร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยพายัพ โดยรวมห้องสมุดของโรงเรียนพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์ แมคคอร์มิคและห้องสมุดวิทยาลัยพระคริสตธรรมเข้าด้วยกันใช่ชื่อว่า “ห้องสมุดวิทยาลัยพายัพ” โดยระยะแรกตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร ศรีสังวาลย์ เขตแก้วนวรัฐ

ในปี พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้ขยายเขตใหม่ที่เขตแม่คาว และสร้างอาคาร “หอสมุดกลาง” ขึ้น โดยเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น มีเนื้อที่ 2,664 ตารางเมตร ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น “สํานักหอสมุด” เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ จนถึงปี พ.ศ. 2541 อาคารหอสมุดหลังเดิมไม่สามารถให้บริการ แก่อาจารย์ และนักศึกษาได้อย่างเพียงพอ มหาวิทยาลัยพายัพได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารหอสมุดใหม่ และได้มีการรณรงค์หาทุน โดยมหาวิทยาลัยพายัพได้รับ เงินช่วยเหลือบางส่วนจาก American School and Hospitals Abroad (ASHA) และ ผู้บริจาครายอื่น ๆ ทั้งภายใน และ ภายนอกมหาวิทยาลัย

อาคารหอสมุดใหม่เป็นอาคาร 4 ชั้น มีพื้นที่ให้บริการ 12,500 ตารางเมตร มหาวิทยาลัยพายัพมุ่งหวังจะพัฒนาให้อาคารหลังนี้เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียน รู้ (Learning Resource Center) ที่ทันสมัยพร้อมด้วยสิ่งอํานวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า และการทํางานวิจัย ด้วยระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Library ) อาคารหอสมุดได้เริ่มเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2548 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดําเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมทั้งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามอาคาร “ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู์สิรินธร ” เพื่อเป็นสิริมงคล ให้แก่มหาวิทยาลัยพายัพอีกด้วย

สํานักหอสมุดยังมีห้องสมุดสาขาที่เขตแก้วนวรัฐ เพื่อให้บริการแก่คณะ และภาควิชาที่เปิด สอนที่เขตแก้วนวรัฐ โดยระยะแรกใช้อาคารวิทยาลัยพระคริสตธรรม และอาคารศรีสังวาลย์ตามลําดับ จนถึงปี พ.ศ. 2533 ได้ย้ายไปยังอาคารใหม่ คณะศาสนศาสตร์ ชั้น 3 โดยใช้ชื่อว่า “The Dewald Memorial Library” ในปี พ.ศ. 2547-2548 ห้องสมุดดิวอลด์ ได้รับทุนสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุดโดยขยายพื้นที่ให้บริการเป็น 840 ตารางเมตร และ มีพิธีเปิดห้องสมุด เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549

เวลาเปิด-ปิด

วันจันทร์ – วันศุกร์  08.00 – 18.00 น.

วันเสาร์ – วันอาทิตย์ 10.00 – 18.00 น.

 

 

แหล่งที่มา : http://lib.payap.ac.th/webin/historylib.html

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

107357421

 

ประวัติความเป็นมา

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544

 

เวลาเปิด-ปิด

จันทร์-ศุกร์  : 8.00-21.00 น.  เสาร์-อาทิตย์ 10.00-18.00 น.
ปิดภาคการศึกษา : จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ ปิดบริการ
วันหยุดนักขัตฤกษ์ : ปิดบริการ

 

 

แหล่งที่มา : http://library.cmu.ac.th/cmul/en

 

 

Back to Top