ประวัติความเป็นมา
ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เปิดบริการครั้งแรกเมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2527 โดยใช้ห้องเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดสวนดอก 1 ห้อง ขนาด 36 ตารางเมตร โดยในระยะแรกผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งเรือง บุญโญรส อาจารย์จากภาควิชา ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ลานนา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่) ได้นำหนังสือส่วนตัวจำนวนหนึ่ง ( ประมาณ 1,000 เล่ม ) มาจัดตั้งห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่พระนิสิตรุ่นแรก พร้อมทั้งชักชวนผู้มีจิตศรัทธาให้ร่วมบริจาควัสดุอุปกรณ์และ หนังสือให้ ห้องสมุด อีกจำนวนมาก
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2534 คณะผู้บริหาร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนขนาด 3 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อ เดือนกันยายน 2536 ห้องสมุดจึงได้ทำการย้ายเข้าอยู่ชั้นที่ 2 ของอาคารหลังใหม่เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2536 เป็นต้นมา ห้องสมุดมีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว18 เมตร มีพื้นที่นั่งอ่านประมาณ 60 ที่นั่ง
ปีการศึกษา 2539 คุณธีระศักดิ์ ไพโรจน์สถาพร ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสถาบันวิทยบริการเพื่อใช้เป็นอาคารห้องสมุด จำนวนรวม 3 อาคารติดต่อกัน มีพื้นที่ใช้สอยรวม 1,943 ตารางเมตร ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 15 ล้านบาท เมื่อเสร็จสมบูรณ์ แล้วห้องสมุด ได้ย้ายจาก อาคารเดิมมายังอาคารสถาบันวิทยบริการ เมื่อวันที่ 24-30 กันยายน 2540 และทำพิธีรับมอบอาคาร สถาบันวิทยบริการ ( อาคารธีระศักดิ์ – ไพโรจน์สถาพร) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 และเปิดอาคารห้องสมุดเพื่อให้บริการแก่ คณาจารย์ พระนิสิตและ บุคคลทั่วไปในภาคการศึกษาที่ 2/2540 จนถึงปัจจุบัน
แหล่งที่มา : http://www.cmmcu.com/offices/library/index.php?name=guide
ประวัติความเป็นมา
ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สิ่งพิมพ์ที่ให้บริการจะเป็นหนังสือในสาขาพาณิชยกรรม และสาขาช่างต่างๆ เช่น ช่างก่อสร้าง ในจำนวนที่ไม่มาก นอกจากนี้ยังบริการหนังสือพิมพ์และวารสาร ต่อมาได้มีการจัดซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งหมดประมาณ 15,000 เล่ม
ปี พ.ศ. 2516 ได้ย้ายห้องสมุดมายังชั้น 1 อาคารคณะวิชาสามัญ (คณะวิชาศึกษาทั่วไป) มีเนื้อที่ขนาด 11.50 – 25.50 เมตร และมีชั้นลอยเนื้อที่ขนาด 4.50 – 30.50 เมตร และปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายห้องสมุดมายังอาคารหอสมุดราชมงคล ซึ่งเป็นอาคารเอกเทศที่สร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณ จำนวน 23,000,000 บาท เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน ต่อมามีการประกาศจัดตั้งศูนย์วิทยบริการขึ้น สังกัดฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ จึงเป็นหน่วยงานระดับแผนก สังกัดศูนย์วิทยบริการ ฝ่ายกิจการพิเศษ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของวิทยาเขตทั้งด้านการเรียนการ สอนและการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของชาติ
ปี พ.ศ. 2550 มีการปรับโครงสร้างตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ห้องสมุดฯ จึงเป็นหน่วยงานขึ้นกับฝ่ายวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของเขตพื้นที่ ทั้งด้านการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตามภารกิจหลัก ของมหาวิทยาลัยต่อไป
พันธกิจห้องสมุด
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 0-5392-1444 ต่อ 1330-4 โทรสาร : 053-213183
แหล่งที่มา : http://library.rmutl.ac.th/index.php/2014-11-24-13-00-38
ประวัติความเป็นมา
ห้องสมุดได้ก่อตั้งพร้อมกับโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูล จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2485
พ.ศ. 2503 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และได้พัฒนาห้องสมุด เป็นหอสมุดวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ในอาคารเรียนรวมหมายเลข 3 ชั้น 2 โดยใช้ห้องเรียน 4 ห้อง จัดเป็นหอสมุด
พ.ศ. 2517 หอสมุดได้ย้ายมายังอาคาร 6 ซึ่งเป็นเอกเทศ 4 ชั้น ปัจจุบัน คือ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครู 36 แห่งทั่วประเทศ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเป็น “สถาบันราชภัฏ” หอสมุดจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดสถาบันราชภัฏเชียงใหม่
พ.ศ. 2538 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ให้สถาบันราชภัฏเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
พ.ศ. 2539 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา อาจารย์ และพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบันอย่างเต็มรูปแบบ (ที่มา : รายงานประจำปี 2542)
พ.ศ. 2540 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดิมสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและจัดอบรม เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ของสถาบัน
พ.ศ. 2543 หอสมุดได้ปรับฐานะและลักษณะงานบริการเป็น ศูนย์วิทยบริการ และย้ายมายังอาคารวิทยบริการ (อาคาร 26) ในเดือนมิถุนายน 2543 เพื่อความทันสมัย
พ.ศ. 2544 ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตและศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ได้ย้ายมายังอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวและรองรับการเรียนการสอนและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปีเดียวกัน สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่การศึกษาไปยังพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็ก และพื้นที่แม่สา ศูนย์วิทยบริการ จึงจัดตั้งห้องสมุดในพื้นที่การศึกษาดังกล่าว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการในพื้นที่ที่ไกลออกไป
พ.ศ. 2546 สถาบันได้ยุบรวมศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตให้เป็นหน่วยงานเดียวกับศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
พ.ศ. 2547 จัดตั้งวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ณ ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บนเนื้อที่ 109 ไร่ 6 ตารางวา
ในปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 อันมีผลให้สถาบันราชภัฏเชียงใหม่เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ และในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้รวมโครงสร้างของศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และศูนย์วิทยบริการ เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็น “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์รำไพ แสงเรือง ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2552 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี อาจารย์ ดร. ศุภกฤษ เมธีโภคพงษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน
ติดต่อสอบถาม
โทร. 0-5388-5903, โทรสาร. 0-5388-590
แหล่งที่มา : http://www.arit.cmru.ac.th/webarit/arit_Manual.php
ประวัติความเป็นมา
สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2517 พร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยพายัพ โดยรวมห้องสมุดของโรงเรียนพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์ แมคคอร์มิคและห้องสมุดวิทยาลัยพระคริสตธรรมเข้าด้วยกันใช่ชื่อว่า “ห้องสมุดวิทยาลัยพายัพ” โดยระยะแรกตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร ศรีสังวาลย์ เขตแก้วนวรัฐ
ในปี พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้ขยายเขตใหม่ที่เขตแม่คาว และสร้างอาคาร “หอสมุดกลาง” ขึ้น โดยเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น มีเนื้อที่ 2,664 ตารางเมตร ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น “สํานักหอสมุด” เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ จนถึงปี พ.ศ. 2541 อาคารหอสมุดหลังเดิมไม่สามารถให้บริการ แก่อาจารย์ และนักศึกษาได้อย่างเพียงพอ มหาวิทยาลัยพายัพได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารหอสมุดใหม่ และได้มีการรณรงค์หาทุน โดยมหาวิทยาลัยพายัพได้รับ เงินช่วยเหลือบางส่วนจาก American School and Hospitals Abroad (ASHA) และ ผู้บริจาครายอื่น ๆ ทั้งภายใน และ ภายนอกมหาวิทยาลัย
อาคารหอสมุดใหม่เป็นอาคาร 4 ชั้น มีพื้นที่ให้บริการ 12,500 ตารางเมตร มหาวิทยาลัยพายัพมุ่งหวังจะพัฒนาให้อาคารหลังนี้เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียน รู้ (Learning Resource Center) ที่ทันสมัยพร้อมด้วยสิ่งอํานวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า และการทํางานวิจัย ด้วยระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Library ) อาคารหอสมุดได้เริ่มเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2548 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดําเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมทั้งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามอาคาร “ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู์สิรินธร ” เพื่อเป็นสิริมงคล ให้แก่มหาวิทยาลัยพายัพอีกด้วย
สํานักหอสมุดยังมีห้องสมุดสาขาที่เขตแก้วนวรัฐ เพื่อให้บริการแก่คณะ และภาควิชาที่เปิด สอนที่เขตแก้วนวรัฐ โดยระยะแรกใช้อาคารวิทยาลัยพระคริสตธรรม และอาคารศรีสังวาลย์ตามลําดับ จนถึงปี พ.ศ. 2533 ได้ย้ายไปยังอาคารใหม่ คณะศาสนศาสตร์ ชั้น 3 โดยใช้ชื่อว่า “The Dewald Memorial Library” ในปี พ.ศ. 2547-2548 ห้องสมุดดิวอลด์ ได้รับทุนสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุดโดยขยายพื้นที่ให้บริการเป็น 840 ตารางเมตร และ มีพิธีเปิดห้องสมุด เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549
เวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ – วันศุกร์ 08.00 – 18.00 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์ 10.00 – 18.00 น.
แหล่งที่มา : http://lib.payap.ac.th/webin/historylib.html
ประวัติความเป็นมา
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544
เวลาเปิด-ปิด
จันทร์-ศุกร์ : 8.00-21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 10.00-18.00 น.
ปิดภาคการศึกษา : จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ ปิดบริการ
วันหยุดนักขัตฤกษ์ : ปิดบริการ
แหล่งที่มา : http://library.cmu.ac.th/cmul/en
ประวัติความเป็นมา
ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน ในระยะแรกไม่ได้เป็นห้องสมุดที่เป็นสัดส่วนเอกเทศ เป็นเพียงแต่ตู้เก็บรวบรวมหนังสือในห้องครูใหญ่หรือตั้งอยู่ในห้องเรียนห้องใดห้องหนึ่งเท่านั้น มีหนังสือต่างๆที่ได้จากการซื้อหาและการบริจาคจากเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆได้ดังนี้
1. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะแรก (พ.ศ.2448-2458) ในระยะนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวโรรสข้างวัดดวงดีทางด้านทิศใต้(หรือสี่แยกกลางเวียงปัจจุบัน) ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าได้ใช้ส่วนใดห้องใดของอาคารเรียน จัดเป็นห้องสมุด แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีห้องสมุดแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2451
2. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะที่ 2 (พ.ศ.2548-2516) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่เลขที่ 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง หรือตั้งในปัจจุบันนี้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 โดยได้เริ่มสร้างตึกยุพราชเป็นอาคารเรียนหลังแรกตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ห้องสมุดของโรงเรียนในระยะนี้จึงอาศัยอยู่บนตึกยุพราชก่อน จนถึงปี พ.ศ.2467 จึงมีการสร้างห้องสมุดเป็นสัดส่วนเฉพาะโดยปรากฎหลักฐานว่า มีห้องสมุดเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นสโมสรของลูกเสือชั้นบนมี 4 ห้อง ห้องกลาง 2 ห้องใช้เป็นห้องสมุด ห้องริม 2 ห้องจัดเป็นห้องเรียนและได้ทำบุญฉลองหอสมุดที่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2467 และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ใช้ห้องสมุดนั้นเรื่อยมา ต่อมาในปีพ.ศ.2469 ได้มีพระราชพิธีสมโภช “พระเศวตคชเดชดิลก” ช้างสำคัญของเมืองเชียงใหม่และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการมณฑลพายัพและประชาชนชาวเมืองนครเชียงใหม่ได้ร่วมกันสร้างโรงช้างต้นขึ้น หลังจากประกอบพิธีเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2469 แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้ใช้อาคารนี้เกื่ยวข้องกับช้างสำคัญอีกเลย จึงได้มีการดัดแปลงอาคารโรงช้างต้น เป็นห้องสมุด และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้อาศัยโรงช้างต้นเป็นห้องสมุดของโรงเรียนเรื่อยมา จนกระทั่งได้ย้ายมาที่ตึกยุพราชอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2501 ห้องสมุดย้ายไปอยู่ที่อาคารเรือนวิเชียร และในปี พ.ศ.2504 ได้ย้ายกลับมาใช้ด้านล่างของตึกยุพราชเป็นที่ตั้งของห้องสมุด เรื่องราวของห้องสมุดของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะปี พ.ศ.2501 – 2516 นั้น มีปรากฏในสมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนหลายเรื่องที่สำคัญ
3. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะ ที่ 3 (พ.ศ.2516 – 2534) ในปี พ.ศ.2516 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็ฯโรงเรียนในโครงการ คมส.และได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ชื่อ อาคารรัตนมณี จึงได้มีการกำหนดให้ชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ห้องเรียนเป็นที่ทำการของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของห้องสมุดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการให้บริการแก่บุคลากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้อาคารรัตนมณีชั้นที่ 2 เป็นห้องบริการหนังสืออ้างอิงและวารสารเย็บเล่ม ใช้ห้องเรียนเป็นที่ทำงานอีก 2 ห้องเรียน ในระยะที่ 3 นี้ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับการยกย่องและมีการพัฒนาที่สำคัญ
4.ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในปัจจุบัน (พ.ศ.2534 – ปัจจุบัน) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารนวรัตน์ในปีพ.ศ.2530 อาคารนวรัตน์จัดเป็นอาคารอเนกประสงค์ ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นที่สองเป็นห้องสมุดขนาด 10 ห้องเรียน และชั้นที่สามเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ ห้องสมุดได้พัฒนาอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งทางด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม จำนวนหนังสือ การให้บริการ การปรับปรุงงานเทคนิค การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ภายในห้องสมุด มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง จัดแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วนตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและในปีการศึกษา 2536 ห้องสมุดได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา ได้รับเกียรติบัตรของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
๑. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
๒. ไม่นำกระเป๋า ถุง ถุงย่ามเข้าห้องสมุด
๓. บันทึกการเข้าใช้ห้องสมุดทุกครั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์
๔. ไม่ส่งเสียงดัง วิ่งเล่น หรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นการรบกวนสมาธิผู้อื่น
๕. ไม่นำอาหาร เครื่องดื่มทุกชนิดเข้าไปรับประทาน
๖. สิ่งพิมพ์ทุกชนิด และสื่อโสตทัศนวัสดุ เมื่อใช้เสร็จให้เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยถูกต้อง
๗. ไม่ตัด ฉีก ทำลาย วัสดุสารนิเทศห้องสมุดทุกชนิด
๘. ไม่นำวัสดุสารนิเทศห้องสมุดทุกชนิดออกจากห้องสมุดก่อนได้รับอนุญาต
๙. เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องสมุด
๑๐. ควรใช้โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์สืบค้นทางอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
เวลาเปิด-ปิด
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 07.30 – 17.00 น.
วันเสาร์ เวลา 08.00 – 12.00 น.
แหล่งที่มา : http://yupparaj-library.myreadyweb.com/home
ห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม แบ่งออกเป็นห้องสมุดกลาง และห้องสมุด English Program โดยห้องสมุดกลาง ตั้งอยู่อาคารAmbrosio ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องประชุมขนาดกลาง ห้องศูนย์สื่อกลุ่มสาระต่างๆ ห้องศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา ชั้นล่างเป็นห้องสมุดให้บริการที่นั่งอ่านหนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือทั่วไป นวนิยาย เรื่องสั้น เยาวชน หนังสือคู่มือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย ตลอดจนวารสารและหนังสือพิมพ์ไว้บริการ นอกจากนี้ยังมีบริการคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวน 10 เครื่อง ยังเปิด โอกาสให้นักเรียนใช้บริการยืม-คืนสื่อ ประเภทซีดีรอมชั้น 2 อาคารอันโตนิโอ สื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสื่อซีดีรอม
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
แหล่งที่มา : http://library.montfort.ac.th/mylib/login.php
ปัจจุบันห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย แบ่งออกเป็น 3 ห้องสมุด
เพื่อความเหมาะสมและสะดวกกับผู้ใช้บริการ คือ
1.ห้องสมุดมาลามาศ
2.ห้องสมุด powers’ hall
3.ห้องสมุดแผนกมัธยมปลาย
เกี่ยวกับห้องสมุด
ห้องสมุดโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาในสมัยของ
พ่อครูดร.วิลเลียม แฮรีส จวบจนมาถึงสมัยของท่านอาจารย์หมวก ไชยลังการณ์ ซึ่ง
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ผู้จัดการ ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของห้องสมุด ซึ่ง
ควรเป็นศูนย์รวมแหล่งค้นคว้าหาความรู้ให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้
กว้างไกล รักการอ่าน รู้จักศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเองและใช้เวลาว่าง ให้เป็น
ประโยชน์ จึงได้ปรับปรุงห้องสมุด ของโรงเรียนปรินส์ฯ ตลอดมา
แหล่งที่มา : http://www.prc.ac.th/PRCLibrary/index.php?option=com_content&view=section&id=1&Itemid=2
ประวัติห้องสมุด
หอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย แหล่งเรียนรู้ที่ริเริ่มขึ้นในปีการศึกษา 2552 โดยย้าย
ห้องสมุด 2 แห่งในโรงเรียน คือ ห้องสมุดมัธยมศึกษาตอนต้น และห้องสมุดมัธยมศึกษา
ตอนปลาย (ห้องสมุด 3 และห้องสมุด 4) มาไว้รวมกันที่ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน
ดาราวิทยาลัย
ที่ตั้งของหอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย คือ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน
สร้างขึ้นโดยมิสซิสจูเลีย ( แฮทช์ ) เทเลอร์ ( Mrs. Julia ( Hetch ) Taylor ) เมื่อปี พ.ศ.
2464 ( คศ.1921 ) อาคารหลังนี้จึงมีอายุ 88 ปี ในปี พ.ศ. 2552 ตั้งแต่เริ่มสร้างจนปัจจุบัน
อาคารเรียนหลังแรกนี้ได้ปรับเปลี่ยนให้บริการทางการศึกษามาหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ใช้เป็นหอพักของนักเรียนหญิง และครูหอพักมาอย่างต่อเนื่อง บางห้องภายในอาคารเคย
ดัดแปลงเป็นห้องสมุดครู ห้องวิจัย ห้อง Self Study ห้องพยาบาล ห้องฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
และเป็นพิพิธภัณฑ์โรงเรียน
ในปี พ.ศ. 2550อาคารแห่งนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาของ
สถาปนิกล้านนา ต้นกล้าสถาปัตยกรรม 50 จากข้อมูลดังกล่าวอาคารหอสมุดโรงเรียนจึงเป็น
อาคารที่เก่าแก่ทรงคุณค่าด้านสถาปัตยกรรม แหล่งสะสมประวัติศาสตร์เป็นที่เล่าขานตำนาน
ความผูกพันระหว่าง นักเรียน ครู บุคลากรโรงเรียนดาราวิทยาลัย ที่สำคัญยิ่ง คือ อาคารแห่งนี้
เมื่อครั้งที่องค์ประมุขพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินี เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2469 มิสซิสจูเลีย (แฮทช์)
เทเลอร์ ผู้จัดการโรงเรียนขณะนั้นได้นำเสด็จเยี่ยมชมอาคารหอสมุดโรงเรียน ซึ่งขณะนั้นใช้
เป็นหอพักของโรงเรียน
เวลาเปิด-ปิด
จ-ศ ตั้งแต่ 07.00 – 17.00น.
แหล่งที่มา : http://www.dara.ac.th/blog/library/?name=article&file=readarticle&id=31
ประวัติห้องสมุด
ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น หน่วยงานหนึ่งในฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ เป็นห้องสมุดของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็น ศูนย์รวมวิทยาการความรู้ทุกสาขาวิชาในรูปแบบของเอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และโสตทัศนวัสดุ สำหรับนักเรียน อาจารย์นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ประกอบการเรียนการสอน และเพื่อเป็นแหล่งหาความรู้ตามความสนใจนอกจากนี้ห้องสมุด ศูนย์วิชาการฯ ยังเป็นศูนย์รวม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การสอนของห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ และสายวิชาต่างๆของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อปี พ . ศ . 2512 โดยมีลักษณะเป็นมุมหนังสือ ต่อมาในปี พ . ศ . 2513 ได้จัดให้ เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ ตั้งอยู่บน ชั้น 3 อาคารคณะศึกษาศาสตร์ ในปี พ. ศ. 2516 ได้ย้ายที่ทำการ และเป็นห้องสมุดสมบูรณ์แบบ ขนาด2 ห้องเรียน ตั้งอยู่บนสำนัก งานธุรการโรงเรียน และในปี พ . ศ . 2522 ได้ย้ายมาอยู่ ชั้น 2 อาคารสาธิต 1 ของโรงเรียนสาธิตฯ และเปลี่ยนชื่อเป็น“ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ” จนถึงปัจจุบัน
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาดำเนิน การงานห้องสมุดเพื่อพัฒนาการให้บริการ และระบบการทำงานของบุคลากรให้ เป็นไปในระบบเดียวกันและห้องสมุดศูนย์วิชาการฯซึ่งเป็นห้องสมุดหนึ่งของ สำนักหอสมุดได้รับความช่วยเหลือจากสำนักหอสมุดโดยอนุญาตให้นำระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ มาดำเนินงานห้องสมุด และให้บริการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538ผ่านระบบเครือข่ายห้องสมุด (LibNet) โดยใช้โมเดมสามารถสิบค้นข้อมูลจากฐานของมูลหนังสือ วารสาร และ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนฐานข้อมูลเฉพาะของสำนักหอสมุด (CMUL OPAC และ ISIS OPAC) และในปี พ . ศ . 2544 ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ได้ให้บริการการยืม – คืนทรัพยากรสารนิเทศด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น
ใน ปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้อนุมัติิงบประมาณให้ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ิเครือข่ายสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (LibNet) ผ่านระบบเครือข่ายหลักของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Backbone) และจัดหา คอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ชุดสำหรับให้บริการสืบค้นข้อมูล และพัฒนาระบบการทำงานทั้งจากสำนักหอสมุดและข้อมูลออนไลน์ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ไม่จำกัดเวลา และสถานที่
ปัจจุบันห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ มีพื้นที่ให้บริการ ประมาณ 108 ตารางเมตร มีที่นั่งอ่าน 200 ที่นั่ง ซึ่งแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ดังนี้
1. ห้องหนังสือทั่วไป |
2. ห้องหนังสือแบบเรียน |
3. ห้องหนังสืออ้างอิง สิ่งพิมพ์ภาคเหนือ และสิ่งพิมพ์รัฐบาล |
4. ห้องวารสารและสารสนเทศ และห้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน |
5. ห้องโถงด้านนอก |
เวลาเปิด-ปิด
เปิดภาคเรียน จ-ศ 08.30 – 17.00 น.
เปิดภาคเรียน 1 ชั้นม.6 จ-ศ 08.30 – 16.30 น.
ปิดภาคเรียน จ-ศ 08.30 – 16.30 น.
แหล่งที่มา : http://library.cmu.ac.th/faculty/satit/main_index2.htm