กุมภาพันธ์ 2015

9 posts

ประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ  การจัดตั้งหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ มีพื้นฐานและมีความผูกพันกับคริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยกล่าวคือหลังจากที่มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนท์สองท่านแรกคือศจ.กุสลาฟ และ ศจ.ทอมลิน ได้เข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ครั้งแรกที่กรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2371ก็มีมิชชั่นคณะต่าง ๆ ได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนา โดยมีคณะมิชชั่นที่สำคัญ เช่น อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น ดิไซเปิลออฟไครสท์ และเซย์เวนเดย์แอดแวนติสท์เป็นต้น การเผยแพร่คริสตศาสนาในช่วงแรกทำเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร จากนั้นได้มีการขยายตัวออกไปทั่วประเทศ มีการประกาศเผยแพร่ความเชื่อของคริสตศาสนามีการตั้งคริสตจักร ตั้งโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนทั้งชายและหญิง และเป็นการเตรียมและพัฒนาผู้เชื่อให้ผู้นำคริสตจักร ตั้งโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2477 คริสตจักรต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการประกาศเผยแพร่ของมิชชันนารี คณะอเมริกัน-เพรสไบทีเรียน อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้รวมตัวกันตั้ง เป็นสภาคริสตจักรในสยาม หรือที่เรียกว่า สภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปัจจุบันต่อมา ในปี พ.ศ. 2500 และ 2505 อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้ปิดสำนักงานในประเทศไทยลงตามลำดับ มีการยกทรัพย์สิน และกิจการทั้งหมดให้แก่สภาคริสตจักรในประเทศไทย มิชชันนารีที่ยังคงทำงานในประเทศไทย ได้ปรับฐานะเป็นภราดรผู้ร่วมงานกับสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2521 องค์กรคริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยได้รวมตัวกันจัดงานฉลองครบรอบ 150 ปี คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทย ในการเตรียมจัดงานฉลองนั้น …
ประวัติ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544 Vision Mission Goals (วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย) วิสัยทัศน์     เป็นศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center) …
ประวัติความเป็นมา       ห้องสมุดได้ก่อตั้งพร้อมกับโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูล จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2485                        พ.ศ. 2503 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และได้พัฒนาห้องสมุด เป็นหอสมุดวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ในอาคารเรียนรวมหมายเลข 3 ชั้น 2 โดยใช้ห้องเรียน 4 ห้อง จัดเป็นหอสมุด                        พ.ศ. 2517 หอสมุดได้ย้ายมายังอาคาร 6 ซึ่งเป็นเอกเทศ 4 ชั้น ปัจจุบัน คือ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ                        พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครู 36 แห่งทั่วประเทศ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเป็น “สถาบันราชภัฏ” หอสมุดจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดสถาบันราชภัฏเชียงใหม่                         พ.ศ. 2538 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ให้สถาบันราชภัฏเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู                        พ.ศ. 2539 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนสิงหาคม …
ประวัติความเป็นมา   ตามที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551 นั้น นับเป็นโอกาสในการรวมหน่วยงานเดิมสององค์กร คือ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ที่ได้ดำเนินการมากว่า 25 ปี และสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2545 มารวมเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ” ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรแห่งการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านการให้บริการตามมาตรฐานสากล ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา การบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยและชุมชนอย่างยั่งยืน” พันธกิจ 1. สนับสนุนให้มีเทคโนโลยีระบบเครือข่ายเพื่อการสื่อสารและเชื่อมต่อระบบเครือข่าย รวมถึงจัดหาช่องทางการเข้าถึงระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2. สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน การวิจัย และการจัดทำสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ในรูปแบบต่างๆ 3. ส่งเสริมการพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลาง ฐานข้อมูลและข้อมูลสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 4. ส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้ และองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน 5. ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และยกระดับมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ส่งเสริมการบริการวิชาการ เพื่อการแก้ไขปัญหาแก่ชุมชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน …
                          TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center – TCDC) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ทีซีดีซี                      ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 เป็นหน่วยงานเฉพาะด้านภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ พ.ศ. 2547           …
ความเป็นมา ศูนย์สนเทศภาคเหนือ ได้ถือกำเนิดขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการเรียนการสอน และการวิจัยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นล้านนา ซึ่งจำเพาะถึงจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด และการขยายขอบเขตให้กว้างขวางมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งภูมิภาคภาคเหนือ คือ 17 จังหวัด ในเวลาต่อมา สำนักหอสมุดในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริการของมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นในการเสาะแสวงหา รวบรวม สะสมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับล้านนาและภูมิภาคภาคเหนือโดยรวม สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นภาคเหนือ โดยในระยะเริ่มแรก ได้จัดตั้ง “โครงการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปลานนา″ ขึ้นเมื่อพ.ศ.2524 จากการริเริ่มของผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพ สุจินดา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ในขณะนั้น ต่อมาโครงการดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยพิพิธภัณฑ์และศิลปล้านนา″ และ “หน่วยเอกสารล้านนา″ ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2534 อาจารย์ ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดได้มีนโยบายในการพัฒนาหน่วยเอกสารล้านนาให้มีขอบเขตภาระงานที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือนอกจากมีการขยายกรอบของการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับล้านนาให้กว้างขวางออกไปถึงภูมิภาคภาคเหนือแล้วยังขยายต่อไปถึง “ไทศึกษา″ เป็นประการสำคัญอีกด้วย โดยสำนักหอสมุดได้ปรับเปลี่ยนหน่วยเอกสารล้านนามาเป็น “ศูนย์สนเทศภาคเหนือ” มีฐานะเป็นงานหนึ่งของฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วัตถุประสงค์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งศูนย์สนเทศภาคเหนือภายใต้วัตถุประสงค์ดังนี้ …
ประวัติความเป็นมา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2538 เป็นคณะที่ 17 ของมหาวิทยาลัยและเป็นคณะในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2543 โดนมีบัณฑิตจบการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาโดยตลอด โดยมีหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และการประยุกต์งานสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและมีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ อย่างเหมาะสม จากเหตุผลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บจัดแสดงและศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค ปัจจุบันศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเป็นหน่วยงานภายใต้งานศิลปวัฒนธรรมและชุมชน คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัย จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีที่ทำการ ณ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ซึ่งเป็นอาคารเก่าอายุประมาณ 120 ปี ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับบริจาคจากคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล และอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม …
“Art in Paradise (Chiang Mai)” พิพิธภัณฑ์ภาพวาดลวงตา (Illusion Art Museum) แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอศิลปะภาพวาดลวงตา หรือ Illusion Art ศิลปะการวาดภาพที่อาศัยเทคนิค และความเชี่ยวชาญในการวาดภาพลงบนพื้นผิวเรียบให้กลายเป็น “ภาพ 3 มิติ” และให้ความรู้สึกที่เหมือนจริง (Realistic Art) นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังนำเสนอผลงานศิลปะในรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด (Interactive Art) ผู้ชมสามารถถ่ายภาพโดยสร้างสรรค์จินตนาการ ออกแบบท่าทาง และแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพวาดแต่ละภาพตามความชอบของตนเอง เสมือนว่าผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาด Art in Paradise (Chiang Mai) จึงเป็นสถานที่ที่ทำให้ศิลปะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้สำหรับทุกคน และยังมอบความสุข สนุกสนานให้แก่ผู้มาเยือนอีกด้วย “Art in Paradise (Chiang Mai)” ก่อตั้งโดยชาวเกาหลี คุณ จาง กิว ซ็อก (Jang Kyu Suk) และสร้างสรรค์ภาพวาดโดยจิตรกรระดับมืออาชีพจากประเทศเกาหลีทั้งหมด 14 ท่าน ภาพวาดภายในพิพิธภัณฑ์กว่า 130 …
                                  พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา สถานที่รวบรวมและจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนในล้านนา และลักษณะทางศิลปะที่ปรากฏในงานต่างๆ ซึ่งแต่ละส่วนจัดแสดงก็จะมีกันดังต่อไปนี้ ข่วงแก้วล้านนา นำเสนอต้นความคิดของพุทธสถาปัตยกรรมล้านนา แนวคิดดั้งเดิมในเรื่องการปกปักรักษาโดยจิตวิญญาณต่างๆ ผสมผสานกับพิธีกรรมที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงศิลปะของชาวล้านนาที่เกิดภายใต้ความศรัทธาทางพุทธศาสนา ภายในวิหาร นำเสนอแบบแผนสถาปัตยกรรมของวิหารล้านนา การสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อันมีที่มาจากความศรัทธาของชาวล้านนาต่อพุทธศาสนา รูปแบบการตกแต่งเครื่องสักการะอันงดงาม แอบแฝงความหมายทางพุทธิปัญญาของชาวล้านนา เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งประดิษฐ์ขึ้นด้วยฝีมือ ลวดลายต่างๆ มีที่มาจากคติความเชื่อที่สัมพันธ์กับเรื่องราวทางศาสนาและความเป็นสิริมงคล ประติมากรรมในพุทธศาสนา นำเสนองานประติมากรรมประเภทต่างๆ ในสมัยโบราณที่สร้างในล้านนา รวมไปถึงสกุลช่างพื้นบ้านปัจจุบัน ความหลากหลายทางรูปแบบและวัสดุที่ใช้ทั้งปูนปั้น หิน แก้ว ไม้ โลหะ ประติมากรรมลอยตัว นูนสูง และนูนต่ำ ซึ่งมักพบเห็นเป็นส่วนประดับส่วนหนึ่งของอาคารของชาวล้านนา แห่ครัวทาน ให้ความรู้เรื่องประเพณีแห่ครัวทาน อันเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศรัทธาในพระพุทธศาสนา และยังสัมพันธ์กับศิลปะอื่นๆ เช่น ฟ้อนแห่ครัวทาน การขับชอ จิตรกรรมล้านนา นำเสนองานจิตรกรรมฝาผนังของสกุลช่างเชียงใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อิทธิพลทางศิลปะจากอาณาจักรข้างเคียง รวมไปถึงงานจิตรกรรมบนวัสดุต่างๆ โดยเฉพาะการเขียนจิตรกรรมบนกระจก และการเขียนใบลาน …
PAGE TOP