พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา สถานที่รวบรวมและจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนในล้านนา และลักษณะทางศิลปะที่ปรากฏในงานต่างๆ ซึ่งแต่ละส่วนจัดแสดงก็จะมีกันดังต่อไปนี้ ข่วงแก้วล้านนา นำเสนอต้นความคิดของพุทธสถาปัตยกรรมล้านนา แนวคิดดั้งเดิมในเรื่องการปกปักรักษาโดยจิตวิญญาณต่างๆ ผสมผสานกับพิธีกรรมที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงศิลปะของชาวล้านนาที่เกิดภายใต้ความศรัทธาทางพุทธศาสนา ภายในวิหาร นำเสนอแบบแผนสถาปัตยกรรมของวิหารล้านนา การสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อันมีที่มาจากความศรัทธาของชาวล้านนาต่อพุทธศาสนา รูปแบบการตกแต่งเครื่องสักการะอันงดงาม แอบแฝงความหมายทางพุทธิปัญญาของชาวล้านนา เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งประดิษฐ์ขึ้นด้วยฝีมือ ลวดลายต่างๆ มีที่มาจากคติความเชื่อที่สัมพันธ์กับเรื่องราวทางศาสนาและความเป็นสิริมงคล ประติมากรรมในพุทธศาสนา นำเสนองานประติมากรรมประเภทต่างๆ ในสมัยโบราณที่สร้างในล้านนา รวมไปถึงสกุลช่างพื้นบ้านปัจจุบัน ความหลากหลายทางรูปแบบและวัสดุที่ใช้ทั้งปูนปั้น หิน แก้ว ไม้ โลหะ ประติมากรรมลอยตัว นูนสูง และนูนต่ำ ซึ่งมักพบเห็นเป็นส่วนประดับส่วนหนึ่งของอาคารของชาวล้านนา แห่ครัวทาน ให้ความรู้เรื่องประเพณีแห่ครัวทาน อันเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศรัทธาในพระพุทธศาสนา และยังสัมพันธ์กับศิลปะอื่นๆ เช่น ฟ้อนแห่ครัวทาน การขับชอ จิตรกรรมล้านนา นำเสนองานจิตรกรรมฝาผนังของสกุลช่างเชียงใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อิทธิพลทางศิลปะจากอาณาจักรข้างเคียง รวมไปถึงงานจิตรกรรมบนวัสดุต่างๆ โดยเฉพาะการเขียนจิตรกรรมบนกระจก และการเขียนใบลาน …