พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

hilltribe-museum

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
พิพิธภัณฑ์ชาวเขาอยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางขนาดกะทัดรัดที่จัดแสดงความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์วิทยา โดยได้จัดเก็บรวบรวมวัตถุ หลักฐานทางด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละกลุ่มชนบนที่สูง 10 กลุ่มชน คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ ลัวะ ถิ่น ขมุ และมลาบรีหรือเผ่าผีตองเหลือง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เล็กที่สุดที่เหลืออยู่และมีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป หลังจากทางภูมิภาคได้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ชาวเผ่าเหล่านี้ก็ต้องปรับตัวให้กลมกลืนเข้ากับสังคมใหญ่มากขึ้น ดังนั้นคณะผู้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงเกรงว่าขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเผ่าเหล่านี้จะเสี่ยงที่จะค่อยๆถูกกลืนจนสูญหายไปในที่สุด จึงพยายามแสดงและรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจนชนกลุ่มใหญ่เหล่านี้ไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ชาวเขาจะทำให้ได้ทราบถึงความเชื่อ การดำเนินชีวิต ภูมิปัญญาต่างๆของแต่ละเผ่าที่น่าสนใจ ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ ผู้เยี่ยมชมจะได้สัมผัสกับวัตถุจริงและดั้งเดิมของชาวเขาเผ่าต่างๆ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ครอบคลุมไปถึงหมวด ที่พักอาศัย การแต่งกาย สิ่งของเครื่องใช้ ประเพณี เครื่องดนตรี นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ที่ไม่ควรพลาดชม
พิพิธภัณฑ์ชาวเขาตั้งอยู่ในบริเวณของสวนล้านนา ร.9 ถนนโชตนา ริมถนนสายเชียงใหม่-แม่ริม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง ทั้งยังอยู่ใกล้ๆกันกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงใหม่อีกด้วย จึงเป็นสถานที่ยอดนิยมที่ไม่ควรพลาดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงศึกษาวัฒนธรรมของชาวท้องถิ่น ใช้เวลาเดินชมพิพิธภัณฑ์ทั้งสองแห่งประมาณครึ่งวัน และเนื่องจากชาวเขามีความชำนาญเรื่องการฝีมือเช่นการทอผ้าหรือทำเครื่องประดับ ชาวเขาส่วนหนึ่งจึงทำงานศิลปะและงานฝีมือพื้นบ้านเหล่านี้ขึ้นเพื่อนำมาขายให้แก่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อได้ตามอัธยาศัย
เปิดทำการทุกวัน เวลา 09.00-16.00 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 053-210872 053-221933

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

1358430245-DSC03753JP-o

ภายในแต่ละห้องจะมีการจัดแสดงแตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องสักการะล้านนาที่ประดิษฐ์ด้วยฝีมือมีลวดลายต่างๆ ที่นำมาจากคติความเชื่ออันสัมพันธ์กับเรื่องราวทางศาสนาและความเป็นสิริมงคล จิตรกรรมล้านนาฝาผนังของสกุลช่างเชียงใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อิทธิพลทางศิลปะจากอาณาจักรข้างเคียง รวมไปถึงงานจิตรกรรมบนวัสดุต่างๆ โดยเฉพาะ การเขียนจิตรกรรมบนกระจกและการเขียนใบลาน การบันทึกองค์ความรู้แขนงต่างๆ ในอดีต เช่น จักวาลวิทยาการเมืองการปกครอง โหราศาสตร์ วรรณกรรม ตำรายา การสักยันต์ เมื่อได้สัมผัสถึงบรรยากาศในอาคารจะคล้ายว่าหลุดเข้าไปในยุคอดีตล้านนา มีการจำลองบรรยากาศจริงของประเพณีแห่ครัวทาน การขับซอ ประเพณี แอ่วสาวและเรื่องราวของดนตรีที่มีส่วนสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของล้านนา จนกระทั่งสัมผัสถึงอาหารการกินของชาวล้านนา ผ้าตีนจกแบบล้านนา เครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์และสิ่งมีค่าอีกมากมายนานาชนิดที่ได้รวบรวมไว้ในที่แห่งนี้ด้วย
หากนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจอยากจะสัมผัสบรรยากาศล้านนาสามารถมาเที่ยวได้ ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-17.00 น. โดยมีอัตรค่าเยี่ยมชม คนไทยผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท และชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 90 บาท เด็ก 40 บาท หรือติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-5321-7793

หอประวัติศาสตร์เชียงใหม่

IMG_6143

ภายในจะใช้เป็นศูนย์จัดแสดงนิทรรศการถาวร เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ และเรื่องราวเกี่ยวกับดินแดนล้านนาให้ได้ศึกษาค้นคว้ากัน ทั้งประวัติความเป็นมา ศิลปวัฒนธรรม ขนบประเพณี

จากอดีตถึงปัจจุบันเมืองเชียงใหม่ มีช่วงผ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานกว่า700ปี และยังเป้นเมืองสำคัญทางภาคเหนือ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai Historical Centre) ได้จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นับตั้งแต่สร้างเมืองเชียงใหม่ จนเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา และสามารถขยายอาณาจักรล้านนาออกไปอย่างกว้างขวาง และมีการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ทั้งทางการค้าและศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม จนถึงยุคสมัยที่เชียงใหม่ อ่อนแอลงจนพ่ายแห้ และกลายเป็นเมืองขึ้นต่อพม่า สุดท้ายได้ต่อสู้จนเป็นอิสระจากพม่า และเข้าสู่ยุคสมัยของการเป็นประเทศราชของสยาม จนรวมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน

หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองประวัติศาสตร์ด้านหลังหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ พบหลักฐานใรแผนที่ ที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งหอแก้ว (ต้นพุทธศตวรรษที่21 -กลางพุทธศตวรรษที่ 25 ) ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญของเมือง

หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่

chiang_mai1

<FONT COLOR=#0000FF>หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่</FONT>
หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนพระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ (ใกล้กับวัดพระสิงห์) บริเวณที่ตั้งเคยเป็นสะดือเมือง ตั้งแต่สมัยพระยาเม็งราย เป็นที่ตั้งของเสาอินทขีล หรือเสาหลักเมือง ก่อนที่พระเจ้าติโลกราชจะโปรดให้ย้ายเสาอินทขีลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง ที่ดินนี้เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 จนถึงสมัยเจ้าดารารัศมี เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองตามระบบเทศาภิบาล ได้ประทานให้รัฐบาล ตัวอาคารสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2467 เคยใช้เป็นศาลาว่าการมณฑลพายัพ และศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่ย้ายไปใช้ศาลากลางหลังใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่จึงขอปรับปรุงอาคารเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ในปี พ.ศ.2540 และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นในปี พ.ศ. 2542 ประเภทที่ทำการอาคารสาธารณะ จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงใหม่ และวิถีชีวิตวัฒนธรรมท้องถิ่น นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มา และที่อาคารส่วนหลังจัดแบ่งเป็นห้องแสดงนิทรรศการหมุนเวียน
นิทรรศการ ถาวร 15 ห้อง จัดแบ่งตามเนื้อหาสาระ นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสร้างบ้านสร้างเมือง ล่วงเลยผ่านวันเวลาอันรุ่งเรืองและเสื่อมถอย เปลี่ยนแปลงจวบจนเป็นเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ระบบการปกครอง วีถีชีวิตภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันน่าภูมิใจของขาวเขียงใหม่ นำเสนอด้วยแบบจำลองผสานสื่ออันทันสมัย ทั้งสไลด์ วีดีทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หุ่นจำลอง บอร์ดกราฟิก และภาพประกอบคำบรรยาย เพื่อให้การชมนิทรรศการได้ทั้งความรู้และความตื่นตาใจ ส่วนทางด้านของนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรมอาคาร ส่วนหลัง จัดแบ่งเป็นห้องนิทรรศการหมุนเวียนและลานกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับกิจกรรมทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมอันงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ของเชียงใหม่ให้ยั่งยืนสืบไป
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดเทศบาล นครเชียงใหม่ บริหารจัดการโดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ประธาน คือ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ส่วนกรรมการบริหาร ได้แก่ กรรมการในส่วนของเทศบาลนครเชียงใหม่และกรรมการในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

1278387738_1(1)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑสถานระดับภาคที่กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา การอนุรักษ์ และการให้บริการข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และของภาคเหนือตอนบน หรือที่เรียกมาแต่โบราณว่า ล้านนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นอาคารจตุรมุขทรงไทยประยุกต์ สองชั้น ประดับยอดจั่วด้วยกาแลแบบศิลปะ พื้นเมือง พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการถาวรภายในอาคารเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๖

ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ได้รับการซ่อมแซมและต่อเติมตัวอาคารให้เต็มรูปแบบ พร้อมทั้งปรับปรุงนิทรรศการถาวรให้มีเนื้อหาวิชาการและเทคนิคการจัดแสดงที่หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งในด้านธรรมชาติวิทยา โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยา และศิลปกรรมของล้านนา เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำภาคอย่างแท้จริง และสามารถอำนวยประโยชน์ อย่างกว้างขวาง ต่อนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่มาเข้าชม

โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เชียงใหม่

lannaschool4big

ชุมชนล้านนามีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์อยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลกันและกันยาวนานรวมทั้งได้ร่วมกันสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในเรื่องอาหาร ยารักษาโรค งานหัตถกรรมการเกษตรพื้นบ้าน การจัดการทรัพยากรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีและมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างต่อเนื่อง แต่จากการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิต ภูมิปัญญาถูกละเลยจนน่าเป็นห่วง ขาดการสืบทอดจากผู้รู้และพอครูแม่ครู โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่หลงใหลไปกับวัฒนธรรมภายนอกและไม่ได้มีการสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญาจากพ่อครูแม่ครูเหล่านี้เลย

ในราวต้นปี ๒๕๔๐ องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ นักเขียน ศิลปิน กลุ่มศิลปวัฒนธรรม องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชน ได้ปรึกษาหารือตกลงใจร่วมกันว่าควรประสานงานกับคน ทุกกลุ่ม ได้เข้ามาร่วมจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยร่วมกันจัดงาน”สืบสานล้านนา”ในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ติดต่อกันมาเป็นเวลา ๕ ปี หวังว่าจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นที่อยู่พื้นฐานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่นร่วมกันในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้มีความพยายามขององค์กร ชุมชน กลุ่มคนในท้องถิ่น ภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสืบทอดอย่างต่อเนื่องในบางชุมชนและมีการจัดงาน “สืบสานล้านนา” ขึ้นในช่วงเดือนเมษายนติดต่อกันมาทุกปีตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ก็ยังไม่สามารถก่อให้เกิดการ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีความต่อเนื่องและมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายได้

พระเดชพระคุณเจ้าหลวงพ่อพระพุทธพจนวราภรณ์ (พระธรรมดิลก) วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ได้ให้แนวคิดว่า “การจะสืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาล้านนาให้เกิดผลนั้น การจัดงานสืบสานล้านนาเพียงปีละครั้ง ๆ ละ ๔ วัน ไม่สามารถทำให้เกิดผลได้จริง ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าทุกลมหายใจเลย จึงจะเป็นจริง”
คณะกรรมการจัดงานสืบสานล้านนาได้นำมาปรึกษาหารือมีความเห็นร่วมกันว่าจะต้องทำโครงการที่จะให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา” ขึ้นในปี ๒๕๔๓ และได้ดำเนินกิจกรรมในการรวบรวมองค์ความรู้ พ่อครู แม่ครู และปราชญ์ชาวบ้านเพื่อทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาให้กับลูกหลานและผู้สนใจในท้องถิ่น ได้เกิดการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถสืบสานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในระยะแรกทางคณะกรรมการและผู้ดำเนินงานได้มีการประสานงานกับพ่อครูแม่ครู ผู้รู้ในท้องถิ่นเปิดสอนวิชาภูมิปัญญาแขนงต่าง ๆ และเปิดรับสมัครนักเรียนและผู้สนใจเข้าเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านแขนงต่าง ๆ อาทิ การทอผ้า การตัดกระดาษตัดตุง ทำโคม ดนตรีพื้นบ้าน ฟ้อนรำพื้นบ้าน การวาดรูปล้านนา อาหารพื้นบ้าน แกะสลัก จักสาน งานปั้น เป็นต้น มีผู้ให้ความสนใจเข้าเรียนรู้เป็นจำนวนมาก

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อรวบรวมผู้รู้ พ่อครู แม่ครู ช่างพื้นบ้านในแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนล้านนา
  2. ศึกษารวบรวยมข้อมูล องค์ความรู้พื้นบ้านออกมาในรูป ของตำราที่คนรุ่นใหม่ศึกษาได้
  3. จัดทำหลักสูตร จัดอบรมระยะสั้น
  4. เผยแพร่ให้ความรู้แก่สาธารณชนให้เห็นความ สำคัญของการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
  5. ประสานเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่าง

หลักสูตรที่เปิดสอน

  1. ภาษาล้านนา
  2. ดนตรีพื้นเมือง
  3. จักรสาน
  4. แต่งคร่าว-ซอ
  5. ฟ้อนพื้นเมือง
  6. วาดรูปล้านนา
  7. การทำตุง-โคม
  8. ฟ้อนดาบ-ฟ้อนเจิง
  9. ของเล่นเด็ก
  10. พิธีกรรม
  11. การทอผ้า
  12. การปั้น
  13. เครื่องเขิน
  14. แกะสลัก
  15. วิชาทางด้านสล่าเมือง

ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา

E12875874-24

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2538 เป็นคณะที่ 17 ของมหาวิทยาลัยและเป็นคณะในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2543 โดนมีบัณฑิตจบการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาโดยตลอด โดยมีหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และการประยุกต์งานสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและมีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ อย่างเหมาะสม จากเหตุผลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บจัดแสดงและศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค
ปัจจุบันศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเป็นหน่วยงานภายใต้งานศิลปวัฒนธรรมและชุมชน คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัย จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีที่ทำการ ณ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ซึ่งเป็นอาคารเก่าอายุประมาณ 120 ปี ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับบริจาคจากคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล และอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2544

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ หรือบางท่านเรียกว่า คุ้มกลางเวียง เดิมเป็นของ เจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ หลานของเจ้าหลวงคำฝั้น (เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่3) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2432-2436 ต่อมาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ บุตรชายเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ได้รับมรดกและเป็นผู้ครอบครองอาคารในระหว่างปี พ.ศ. 2437-2489

นางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพยมณฑล) ได้ซื้อต่อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่) และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงญาติคนปัจจุบันคือคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล (บุตรีนางบัวผันและเป็นน้าสาว ของอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร) วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตระกูลกิติบุตรและทิพยมณฑล ได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้เป็นที่ทำการของศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ภายใต้การดูแล และดำเนินงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ศูนย์สารสนเทศภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ ได้ถือกำเนิดขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการเรียนการสอน และการวิจัยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นล้านนา ซึ่งจำเพาะถึงจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด และการขยายขอบเขตให้กว้างขวางมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งภูมิภาคภาคเหนือ คือ 17 จังหวัด ในเวลาต่อมา สำนักหอสมุดในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริการของมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นในการเสาะแสวงหา รวบรวม สะสมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับล้านนาและภูมิภาคภาคเหนือโดยรวม สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นภาคเหนือ โดยในระยะเริ่มแรก ได้จัดตั้ง “โครงการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปลานนา″ ขึ้นเมื่อพ.ศ.2524 จากการริเริ่มของผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพ สุจินดา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ในขณะนั้น ต่อมาโครงการดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยพิพิธภัณฑ์และศิลปล้านนา″ และ “หน่วยเอกสารล้านนา″ ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2534 อาจารย์ ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดได้มีนโยบายในการพัฒนาหน่วยเอกสารล้านนาให้มีขอบเขตภาระงานที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือนอกจากมีการขยายกรอบของการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับล้านนาให้กว้างขวางออกไปถึงภูมิภาคภาคเหนือแล้วยังขยายต่อไปถึง “ไทศึกษา″ เป็นประการสำคัญอีกด้วย โดยสำนักหอสมุดได้ปรับเปลี่ยนหน่วยเอกสารล้านนามาเป็น “ศูนย์สนเทศภาคเหนือ” มีฐานะเป็นงานหนึ่งของฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

274391130_itsc_image-400

ตามที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551 นั้น นับเป็นโอกาสในการรวมหน่วยงานเดิมสององค์กร คือ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ที่ได้ดำเนินการมากว่า 25 ปี และสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2545 มารวมเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ” ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา
พันธกิจ

1. สนับสนุนให้มีเทคโนโลยีระบบเครือข่ายเพื่อการสื่อสารและเชื่อมต่อระบบเครือข่าย รวมถึงจัดหาช่องทางการเข้าถึงระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

2. สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน การวิจัย และการจัดทำสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ในรูปแบบต่างๆ

3. ส่งเสริมการพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลาง ฐานข้อมูลและข้อมูลสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

4. ส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้ และองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน

5. ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และยกระดับมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ

6. ส่งเสริมการบริการวิชาการ เพื่อการแก้ไขปัญหาแก่ชุมชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

ศูนย์ข้อมูล ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ

251894_399613196751998_1904927812_n

แหล่งข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาคเหนือ ทั้งแฟ้มข้อมูลภาคเหนือ หนังสือหายาก ภาพในอดีตของเชียงใหม่ บุคคลสำคัญ อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งจัดไว้ให้บริการสำหรับผู้ที่สนใจ ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ