ห้องสมุดคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

In 1957, the government decided to build a first medical school outside Bangkok
with the cooperation of the U.S. Government. The U.S. Government agreed to
provide half of the construction costs, American professors for a period of six to eight
years, educational materials, and funds for Thai physicians to study in the United
States. The Thai Government provided the land for construction and architects for
planning.
The purpose of building the rural medical school was to provide better medical care
to the people in the northern part of Thailand, to raise the educational level of
people, to provide preventive measures in public health to the rural people and to
improve the local economy.
In 1958, a preclinical student for Chiang Mai Medical School was accepted under
the University of Medical Sciences in Bangkok, it had 65 premedical students for
its first class studied at Siriraj Medical School.

The Library was also firstly situated in the Medical Technology Building at the
Siriraj Medical School. Under a non-professional librarian,
Mrs. Nuanyai Panasamphol, who ordered medical textbooks and subscribed
65 journals and sending them to the new medical school in Chiang Mai by the
suggestion of Miss Uthai Tuttiyapothi, Chief Librarian of Siriraj Medical School
at that time. In 1960, the first class of medical students entered Chiang Mai Medical
School and also, the Library was moved from Siriraj to the administrative building
which is now the building near the Saundok Gate Square.
In 1961, the Library was moved to the first floor of the nursing dormitory, the T shape
building which has the circle in front. The Library’s site was at the right side of the
entrance, now they are the nursing students recreation room. It was temporarily
situated until the Seven Storeyed Building was built in 1972. During 1962-1970,
the Library was much improved and received grants and assistantships from both
the Illinois Medical Project Aid and the China Medical Board of New York. Textbooks
and back issues of journal’s titles were bought and found toward 1950. Moreover,
the first and the second librarian of this Library (Mrs. Suparp Suchinda and
Mrs. Ratchanee Vinijchaikul) were also granted to study the master degree
at Emory University. Miss Wilma Troxel, an American professor in librarianship from
the University of Chicago supported by the Illinois Medical Project Aid to Chiang Mai,
was sent and had spent her 4 months during November 1964 – February 1965 giving
suggestion in arranging the collection and improving the services.
In June 1972, the Library was moved to the first floor of the Seven Storeyed Building
of the Faculty which in near the Dean’s Office and totally air conditioned; it had been
very convenient for user’s accessibility. The reading room space was about 442
square meters separated from the working room which was about 332 square meters.
The Library provided comfortable 100 reading seats and necessary books in medical
field and its allied sciences. It had 25,000 volumes of general circulated, reference
and reserved books in English, 10% in Thai. The section of periodicals consisted of
550 subscribed current English titles and 70 subscribed current Thai periodicals.
All books and journals including bound journals were shelved on open stacks and
were available to readers. In 1975, Mrs. Ratchanee Vinijchaikul has resigned and
Mrs. Suchada Chotikanont has returned from the United States and in nominated by
Dr. Charn Satapanakul, Dean of the Faculty at that time to be head librarian instead.
The Library, since then, started to gain more and more recognitions of its services
duringthis period.
According to the Fifth National Development Plan (1982-1986), chief librarian had
proposed the Library Development Project in 1979 and was granted a nine storeyed
building, the premedical science students’ lecture rooms also included. This nine
storeyed building was built up in 1984 and was finished in September 1986.
The Library site is from the fifth to the eighth floor and has about 5,000 square metres.
The Library was moved to the new site and opened rendering its services on
October 1, 1986.

TCDC CHIANGMAI

TCDCChiangMai

TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

รูปแบบการให้บริการ

  1. ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ในบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ด้วยหนังสือกว่า 6,000 เล่ม นิตยสารกว่า 70 ชื่อเรื่อง และสื่อมัลติมีเดียกว่า 500 รายการ พร้อมฐานข้อมูลด้านการออกแบบ WGSN และฐานข้อมูลด้านการตลาด GMID เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
  2. ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 7,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 250 ชนิด และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัสดุล้ำยุค เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสกับวัสดุที่นักออกแบบระดับโลกใช้ในการสร้าง สรรค์ผลงาน และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของวัสดุเพื่อการออกแบบ
  3. กิจกรรมสัมมนาและฝึกอบรมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยความหลากหลายของกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์
  4. การจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้ ทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ จินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าชม พร้อมทั้งการจัดการประกวด การแข่งขัน ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอย่างต่อเนื่อง
  5. พื้นที่จัดแสดงผลงาน สำหรับผลงานของนักออกแบบรุ่นใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการทดลองตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย
  6. การให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ให้กับผู้ประกอบการและนักออกแบบในพื้นที่

 

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Rihes1-1

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายใต้ชื่อ ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการในผู้ป่วยเด็กโรคขาดสารอาหารโรคโลหิต จางในเด็กและหญิงมีครรภ์ และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะทุโภชนาการและโลหิตจางกับการเกิดโรคติดเชื้อต่อ มาได้เสนอโครงการขยาย และปรับปรุงยกฐานะโดยได้รับความ เห็นชอบในปี พ.ศ. 2521 ให้สถาปนาขึ้นเป็น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพเป็นหน่วยงานอิสระที่มีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีภาระ กิจในการดำเนินงาน วิจัยและเป็นศูนย์กลางให้ความร่วมมือประสานงาน และส่งเสริมการดำเนินการ ค้นคว้าวิจัยในสาขา วิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลพื้นฐาน อันเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาสาเหตุประกอบการวินิจฉัย ของการเกิดโรคได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะยังผลให้สามารถกำหนดมาตรการที่ถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพและอนามัยของประชาชน โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือของประเทศต่อไป

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดำเนินการวิจัยในด้านโภชนาการ ด้านโรคโลหิตจาง ด้านโรคเมืองร้อน ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและด้านโรคติดเชื้อ ซึ่งในปัจจุบันโรคติดเชื้อเป็นปัญหาที่สำคัญ และเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข คือปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งสถาบันฯได้ทำการศึกษาและวิจัยอย่างจริงจัง และต่อเนื่องมีผลงานเผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ในด้านโภชนาการ ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหารต่าง ๆ ในทั้งอาหารดิบและอาหาร ปรุงสำเร็จ ศึกษาการเสริมวิตามินเอในเด็กในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้มีการ ศึกษาเกี่ยวกับการปนเปื้อน ของยาฆ่าแมลงและโลหะหนักในอาหาร ในน้ำและอื่น ๆ เป็นต้น

นอกเหนือจากการดำเนินการวิจัย แล้ว สถาบันฯ ยังให้การสนับสนุนและร่วมมือกับคณะต่าง ๆ ในการดำเนินการผลิตบัณฑิตโดยมอบหมายให้บุคลากรที่มีความรู้และ ประสบการณ์เข้าร่วมสนับสนุน การเรียนการสอน ทั้งในระดับปริญญาและบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์พิเศษ ในบัณฑิตวิทยาลัยร่วมสอนและบริหารในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต นอกจากนี้สถาบันฯยังมีบทบาทร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมการบริการวิชาการเพื่อ สังคม การทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติโดยเฉพาะของภาคเหนืออีกด้วย

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

96271
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุได้ที่ ให้บริการหนังสือประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสารคดีและเอกสารจดหมายเหตุ
ตั้งอยู่ที่ ถนนสุเทพ (แยกประตูสวนดอก) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เปิดให้บริการใน
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
โทร. 0 5328 1424 โทรสาร 0 5328 1425

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ

ducklings2

ประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ

การจัดตั้งหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ มีพื้นฐานและมีความผูกพันกับคริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยกล่าวคือหลังจากที่มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนท์สองท่านแรกคือศจ.กุสลาฟ และ ศจ.ทอมลิน ได้เข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ครั้งแรกที่กรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2371ก็มีมิชชั่นคณะต่าง ๆ ได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนา โดยมีคณะมิชชั่นที่สำคัญ เช่น อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น ดิไซเปิลออฟไครสท์ และเซย์เวนเดย์แอดแวนติสท์เป็นต้น การเผยแพร่คริสตศาสนาในช่วงแรกทำเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร จากนั้นได้มีการขยายตัวออกไปทั่วประเทศ มีการประกาศเผยแพร่ความเชื่อของคริสตศาสนามีการตั้งคริสตจักร ตั้งโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนทั้งชายและหญิง และเป็นการเตรียมและพัฒนาผู้เชื่อให้ผู้นำคริสตจักร ตั้งโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2477 คริสตจักรต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการประกาศเผยแพร่ของมิชชันนารี คณะอเมริกัน-เพรสไบทีเรียน อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้รวมตัวกันตั้ง เป็นสภาคริสตจักรในสยาม หรือที่เรียกว่า สภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปัจจุบัน

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2500 และ 2505 อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้ปิดสำนักงานในประเทศไทยลงตามลำดับ มีการยกทรัพย์สิน และกิจการทั้งหมดให้แก่สภาคริสตจักรในประเทศไทย มิชชันนารีที่ยังคงทำงานในประเทศไทย ได้ปรับฐานะเป็นภราดรผู้ร่วมงานกับสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2521 องค์กรคริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยได้รวมตัวกันจัดงานฉลองครบรอบ 150 ปี คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทย ในการเตรียมจัดงานฉลองนั้น ได้มีการศึกษาค้นคว้าเอกสารและหนังสือต่าง ๆ เพื่อจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์สภาคริสตจักรในประเทศไทย การดำเนินการดังกล่าวทำให้มีค้นพบเอกสารเก่าของสภาคริสตจักรฯ ตั้งแต่สมัยมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนเข้ามาประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณในประเทศไทย โดยเอกสารดังกล่าวถูกเก็บไว้ในโกดังที่เก็บของของสภาคริสตจักรฯ คณะผู้บริหารสภาคริสตจักรฯ ในเวลานั้นได้ตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารที่มีค่าเหล่านั้น แต่ก็ไม่ทราบว่าควรจะดำเนินการอย่างไรในการรักษาดูแลเอกสารอย่างเหมาะสม จึงได้ติดต่อวิทยาลัยพายัพ(มหาวิทยาลัยพายัพในปัจจุบัน)ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมแห่งแรกของสภาคริสตจักรฯ และในเวลานั้นศาสนาจารย์ เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน อาจารย์สอนประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ของวิทยาลัยพายัพ ท่านเคยผ่านการฝึกงานด้านงานจดหมายเหตุในประเทศสหรัฐอเมริกามาก่อนได้เสนอให้มหาวิทยาลัยพายัพนำเอกสารเหล่านั้นมาเก็บรักษา และได้มีการจัดตั้งแผนกจดหมายเหตุ หรือหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดยมีศาสนาจารย์เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน เป็นผู้อำนวยการคนแรก มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เขตบ้านธารแก้ว ต่อมาในปีพ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้มีการพัฒนาโดยมีการขยายวิทยาเขตจากเดิมที่มีอยู่ 2 เขต (บ้านธารแก้วและแก้วนวรัฐ) เป็น 3 เขต คือ มีวิทยาเขตแม่คาวเพิ่มอีกหนึ่งเขตหอจดหมายเหตุได้ย้ายสำนักงานจากบ้านธารแก้ว มาอยู่ที่เขตแก้วนวรัฐในอาคารที่เคยเป็นหอพักพยาบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการย้ายที่ทำการไปยังอาคารศรีสังวาลย์ บริเวณชั้นที่ 3 และชั้น 4

ปัจจุบันหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ ได้ย้ายมาดำเนินการ ณ บริเวณชั้น 3 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สิรินธร มหาวิทยาลัยพายัพ เขตแม่คาว ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 และได้มีการนมัสการพระเจ้าเนื่องในโอกาศเปิดหอจดหมายเหตุในที่ทำการใหม่ เมื่อวันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

large_IMG_1310

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544

130816130955

เป็นศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center) ระดับแนวหน้า ที่สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศ (University of Excellence)

พันธกิจ
1. แสวงหา สร้างสม จัดระบบ และอนุรักษ์ บำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากล
2. พัฒนาศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ และแหล่งข้อมูลกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) รวมทั้งแหล่งข้อมูลกลุ่มประเทศอาเซียน
3. บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ทุกรูปแบบอย่างมีคุณภาพ
4. ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทยและท้องถิ่นล้านนา โดยการมีส่วนร่วมของกิจกรรม รวมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. บริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ ที่สนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย โดยมีทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
2. เพื่อการสงวนรักษาและอนุรักษ์ (Preservation and Conservation) ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
3. เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ และแหล่งข้อมูลกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) รวมทั้งแหล่งข้อมูลกลุ่มประเทศอาเซียน
4. เพื่อบริการและส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ที่สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศ และการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
5. เพื่อทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทยและท้องถิ่นล้านนา โดยการมีส่วนร่วมของกิจกรรม รวมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

libcover2

สำนักวิทยบริการเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลัก 4 ด้านของมหาวิทยาลัย คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนตอบสนองต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการศึกษาตลอดชีวิตที่มีประสิทธิภาพ แก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยตลอดจนบุคคลที่สนใจที่วไป

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

12

ห้องสมุดได้ก่อตั้งพร้อมกับโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูล จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2485

                        พ.ศ. 2503 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และได้พัฒนาห้องสมุด เป็นหอสมุดวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ในอาคารเรียนรวมหมายเลข 3 ชั้น 2 โดยใช้ห้องเรียน 4 ห้อง จัดเป็นหอสมุด
                        พ.ศ. 2517 หอสมุดได้ย้ายมายังอาคาร 6 ซึ่งเป็นเอกเทศ 4 ชั้น ปัจจุบัน คือ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ
                        พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครู 36 แห่งทั่วประเทศ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเป็น “สถาบันราชภัฏ” หอสมุดจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ 
                        พ.ศ. 2538 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ให้สถาบันราชภัฏเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
                        พ.ศ. 2539 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา อาจารย์ และพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบันอย่างเต็มรูปแบบ (ที่มา : รายงานประจำปี 2542)
                        พ.ศ. 2540 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดิมสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและจัดอบรม เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ของสถาบัน
                        พ.ศ. 2543 หอสมุดได้ปรับฐานะและลักษณะงานบริการเป็น ศูนย์วิทยบริการ และย้ายมายังอาคารวิทยบริการ (อาคาร 26) ในเดือนมิถุนายน 2543 เพื่อความทันสมัย
                        พ.ศ. 2544 ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตและศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ได้ย้ายมายังอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวและรองรับการเรียนการสอนและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปีเดียวกัน สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่การศึกษาไปยังพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็ก และพื้นที่แม่สา ศูนย์วิทยบริการ จึงจัดตั้งห้องสมุดในพื้นที่การศึกษาดังกล่าว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการในพื้นที่ที่ไกลออกไป
                        พ.ศ. 2546 สถาบันได้ยุบรวมศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตให้เป็นหน่วยงานเดียวกับศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
                        พ.ศ. 2547 จัดตั้งวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ณ ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บนเนื้อที่ 109 ไร่ 6 ตารางวา
ในปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 อันมีผลให้สถาบันราชภัฏเชียงใหม่เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ และในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
                        พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้รวมโครงสร้างของศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และศูนย์วิทยบริการ เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็น “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์รำไพ แสงเรือง ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 
                        พ.ศ. 2552 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี อาจารย์ ดร. ศุภกฤษ เมธีโภคพงษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน

ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่

026

ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สิ่งพิมพ์ที่ให้บริการจะเป็นหนังสือในสาขาพาณิชยกรรม และสาขาช่างต่างๆ เช่น ช่างก่อสร้าง ในจำนวนที่ไม่มาก นอกจากนี้ยังบริการหนังสือพิมพ์และวารสาร ต่อมาได้มีการจัดซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งหมดประมาณ 15,000 เล่ม
ปี พ.ศ. 2516 ได้ย้ายห้องสมุดมายังชั้น 1 อาคารคณะวิชาสามัญ (คณะวิชาศึกษาทั่วไป) มีเนื้อที่ขนาด 11.50 – 25.50 เมตร และมีชั้นลอยเนื้อที่ขนาด 4.50 – 30.50 เมตร และปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายห้องสมุดมายังอาคารหอสมุดราชมงคล ซึ่งเป็นอาคารเอกเทศที่สร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณ จำนวน 23,000,000 บาท เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน ต่อมามีการประกาศจัดตั้งศูนย์วิทยบริการขึ้น สังกัดฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ จึงเป็นหน่วยงานระดับแผนก สังกัดศูนย์วิทยบริการ ฝ่ายกิจการพิเศษ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของวิทยาเขตทั้งด้านการเรียนการ สอนและการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของชาติ
ปี พ.ศ. 2550 มีการปรับโครงสร้างตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ห้องสมุดฯ จึงเป็นหน่วยงานขึ้นกับฝ่ายวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของเขตพื้นที่ ทั้งด้านการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตามภารกิจหลัก ของมหาวิทยาลัยต่อไป

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

book1

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2517 พร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยพายัพ โดยรวมห้องสมุดของโรงเรียนพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์ แมคคอร์มิคและห้องสมุดวิทยาลัยพระคริสตธรรมเข้าด้วยกันใช่ชื่อว่า “ห้องสมุดวิทยาลัยพายัพ” โดยระยะแรกตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร ศรีสังวาลย์ เขตแก้วนวรัฐ

ในปี พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้ขยายเขตใหม่ที่เขตแม่คาว และสร้างอาคาร “หอสมุดกลาง” ขึ้น โดยเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น มีเนื้อที่ 2,664 ตารางเมตร ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น “สํานักหอสมุด” เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ จนถึงปี พ.ศ. 2541 อาคารหอสมุดหลังเดิมไม่สามารถให้บริการ แก่อาจารย์ และนักศึกษาได้อย่างเพียงพอ มหาวิทยาลัยพายัพได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารหอสมุดใหม่ และได้มีการรณรงค์หาทุน โดยมหาวิทยาลัยพายัพได้รับ เงินช่วยเหลือบางส่วนจาก American School and Hospitals Abroad (ASHA) และ ผู้บริจาครายอื่น ๆ ทั้งภายใน และ ภายนอกมหาวิทยาลัย

อาคารหอสมุดใหม่เป็นอาคาร 4 ชั้น มีพื้นที่ให้บริการ 12,500 ตารางเมตร มหาวิทยาลัยพายัพมุ่งหวังจะพัฒนาให้อาคารหลังนี้เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียน รู้ (Learning Resource Center) ที่ทันสมัยพร้อมด้วยสิ่งอํานวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า และการทํางานวิจัย ด้วยระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Library ) อาคารหอสมุดได้เริ่มเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2548 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดําเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมทั้งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามอาคาร “ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู์สิรินธร ” เพื่อเป็นสิริมงคล ให้แก่มหาวิทยาลัยพายัพอีกด้วย

สํานักหอสมุดยังมีห้องสมุดสาขาที่เขตแก้วนวรัฐ เพื่อให้บริการแก่คณะ และภาควิชาที่เปิด สอนที่เขตแก้วนวรัฐ โดยระยะแรกใช้อาคารวิทยาลัยพระคริสตธรรม และอาคารศรีสังวาลย์ตามลําดับ จนถึงปี พ.ศ. 2533 ได้ย้ายไปยังอาคารใหม่ คณะศาสนศาสตร์ ชั้น 3 โดยใช้ชื่อว่า “The Dewald Memorial Library” ในปี พ.ศ. 2547-2548 ห้องสมุดดิวอลด์ ได้รับทุนสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุดโดยขยายพื้นที่ให้บริการเป็น 840 ตารางเมตร และ มีพิธีเปิดห้องสมุด เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549