พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

hilltribe-museum

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
พิพิธภัณฑ์ชาวเขาอยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางขนาดกะทัดรัดที่จัดแสดงความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์วิทยา โดยได้จัดเก็บรวบรวมวัตถุ หลักฐานทางด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละกลุ่มชนบนที่สูง 10 กลุ่มชน คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ ลัวะ ถิ่น ขมุ และมลาบรีหรือเผ่าผีตองเหลือง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เล็กที่สุดที่เหลืออยู่และมีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป หลังจากทางภูมิภาคได้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ชาวเผ่าเหล่านี้ก็ต้องปรับตัวให้กลมกลืนเข้ากับสังคมใหญ่มากขึ้น ดังนั้นคณะผู้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงเกรงว่าขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเผ่าเหล่านี้จะเสี่ยงที่จะค่อยๆถูกกลืนจนสูญหายไปในที่สุด จึงพยายามแสดงและรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจนชนกลุ่มใหญ่เหล่านี้ไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ชาวเขาจะทำให้ได้ทราบถึงความเชื่อ การดำเนินชีวิต ภูมิปัญญาต่างๆของแต่ละเผ่าที่น่าสนใจ ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ ผู้เยี่ยมชมจะได้สัมผัสกับวัตถุจริงและดั้งเดิมของชาวเขาเผ่าต่างๆ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ครอบคลุมไปถึงหมวด ที่พักอาศัย การแต่งกาย สิ่งของเครื่องใช้ ประเพณี เครื่องดนตรี นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ที่ไม่ควรพลาดชม
พิพิธภัณฑ์ชาวเขาตั้งอยู่ในบริเวณของสวนล้านนา ร.9 ถนนโชตนา ริมถนนสายเชียงใหม่-แม่ริม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง ทั้งยังอยู่ใกล้ๆกันกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงใหม่อีกด้วย จึงเป็นสถานที่ยอดนิยมที่ไม่ควรพลาดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงศึกษาวัฒนธรรมของชาวท้องถิ่น ใช้เวลาเดินชมพิพิธภัณฑ์ทั้งสองแห่งประมาณครึ่งวัน และเนื่องจากชาวเขามีความชำนาญเรื่องการฝีมือเช่นการทอผ้าหรือทำเครื่องประดับ ชาวเขาส่วนหนึ่งจึงทำงานศิลปะและงานฝีมือพื้นบ้านเหล่านี้ขึ้นเพื่อนำมาขายให้แก่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อได้ตามอัธยาศัย
เปิดทำการทุกวัน เวลา 09.00-16.00 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 053-210872 053-221933

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>