พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

hilltribe-museum

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
พิพิธภัณฑ์ชาวเขาอยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางขนาดกะทัดรัดที่จัดแสดงความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์วิทยา โดยได้จัดเก็บรวบรวมวัตถุ หลักฐานทางด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละกลุ่มชนบนที่สูง 10 กลุ่มชน คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ ลัวะ ถิ่น ขมุ และมลาบรีหรือเผ่าผีตองเหลือง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เล็กที่สุดที่เหลืออยู่และมีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป หลังจากทางภูมิภาคได้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ชาวเผ่าเหล่านี้ก็ต้องปรับตัวให้กลมกลืนเข้ากับสังคมใหญ่มากขึ้น ดังนั้นคณะผู้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงเกรงว่าขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเผ่าเหล่านี้จะเสี่ยงที่จะค่อยๆถูกกลืนจนสูญหายไปในที่สุด จึงพยายามแสดงและรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจนชนกลุ่มใหญ่เหล่านี้ไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ชาวเขาจะทำให้ได้ทราบถึงความเชื่อ การดำเนินชีวิต ภูมิปัญญาต่างๆของแต่ละเผ่าที่น่าสนใจ ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ ผู้เยี่ยมชมจะได้สัมผัสกับวัตถุจริงและดั้งเดิมของชาวเขาเผ่าต่างๆ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ครอบคลุมไปถึงหมวด ที่พักอาศัย การแต่งกาย สิ่งของเครื่องใช้ ประเพณี เครื่องดนตรี นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ที่ไม่ควรพลาดชม
พิพิธภัณฑ์ชาวเขาตั้งอยู่ในบริเวณของสวนล้านนา ร.9 ถนนโชตนา ริมถนนสายเชียงใหม่-แม่ริม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง ทั้งยังอยู่ใกล้ๆกันกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงใหม่อีกด้วย จึงเป็นสถานที่ยอดนิยมที่ไม่ควรพลาดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงศึกษาวัฒนธรรมของชาวท้องถิ่น ใช้เวลาเดินชมพิพิธภัณฑ์ทั้งสองแห่งประมาณครึ่งวัน และเนื่องจากชาวเขามีความชำนาญเรื่องการฝีมือเช่นการทอผ้าหรือทำเครื่องประดับ ชาวเขาส่วนหนึ่งจึงทำงานศิลปะและงานฝีมือพื้นบ้านเหล่านี้ขึ้นเพื่อนำมาขายให้แก่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อได้ตามอัธยาศัย
เปิดทำการทุกวัน เวลา 09.00-16.00 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 053-210872 053-221933

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

1358430245-DSC03753JP-o

ภายในแต่ละห้องจะมีการจัดแสดงแตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องสักการะล้านนาที่ประดิษฐ์ด้วยฝีมือมีลวดลายต่างๆ ที่นำมาจากคติความเชื่ออันสัมพันธ์กับเรื่องราวทางศาสนาและความเป็นสิริมงคล จิตรกรรมล้านนาฝาผนังของสกุลช่างเชียงใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อิทธิพลทางศิลปะจากอาณาจักรข้างเคียง รวมไปถึงงานจิตรกรรมบนวัสดุต่างๆ โดยเฉพาะ การเขียนจิตรกรรมบนกระจกและการเขียนใบลาน การบันทึกองค์ความรู้แขนงต่างๆ ในอดีต เช่น จักวาลวิทยาการเมืองการปกครอง โหราศาสตร์ วรรณกรรม ตำรายา การสักยันต์ เมื่อได้สัมผัสถึงบรรยากาศในอาคารจะคล้ายว่าหลุดเข้าไปในยุคอดีตล้านนา มีการจำลองบรรยากาศจริงของประเพณีแห่ครัวทาน การขับซอ ประเพณี แอ่วสาวและเรื่องราวของดนตรีที่มีส่วนสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของล้านนา จนกระทั่งสัมผัสถึงอาหารการกินของชาวล้านนา ผ้าตีนจกแบบล้านนา เครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์และสิ่งมีค่าอีกมากมายนานาชนิดที่ได้รวบรวมไว้ในที่แห่งนี้ด้วย
หากนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจอยากจะสัมผัสบรรยากาศล้านนาสามารถมาเที่ยวได้ ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-17.00 น. โดยมีอัตรค่าเยี่ยมชม คนไทยผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท และชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 90 บาท เด็ก 40 บาท หรือติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-5321-7793

หอประวัติศาสตร์เชียงใหม่

IMG_6143

ภายในจะใช้เป็นศูนย์จัดแสดงนิทรรศการถาวร เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ และเรื่องราวเกี่ยวกับดินแดนล้านนาให้ได้ศึกษาค้นคว้ากัน ทั้งประวัติความเป็นมา ศิลปวัฒนธรรม ขนบประเพณี

จากอดีตถึงปัจจุบันเมืองเชียงใหม่ มีช่วงผ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานกว่า700ปี และยังเป้นเมืองสำคัญทางภาคเหนือ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai Historical Centre) ได้จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นับตั้งแต่สร้างเมืองเชียงใหม่ จนเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา และสามารถขยายอาณาจักรล้านนาออกไปอย่างกว้างขวาง และมีการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ทั้งทางการค้าและศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม จนถึงยุคสมัยที่เชียงใหม่ อ่อนแอลงจนพ่ายแห้ และกลายเป็นเมืองขึ้นต่อพม่า สุดท้ายได้ต่อสู้จนเป็นอิสระจากพม่า และเข้าสู่ยุคสมัยของการเป็นประเทศราชของสยาม จนรวมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน

หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองประวัติศาสตร์ด้านหลังหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ พบหลักฐานใรแผนที่ ที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งหอแก้ว (ต้นพุทธศตวรรษที่21 -กลางพุทธศตวรรษที่ 25 ) ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญของเมือง

หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่

chiang_mai1

<FONT COLOR=#0000FF>หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่</FONT>
หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนพระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ (ใกล้กับวัดพระสิงห์) บริเวณที่ตั้งเคยเป็นสะดือเมือง ตั้งแต่สมัยพระยาเม็งราย เป็นที่ตั้งของเสาอินทขีล หรือเสาหลักเมือง ก่อนที่พระเจ้าติโลกราชจะโปรดให้ย้ายเสาอินทขีลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง ที่ดินนี้เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 จนถึงสมัยเจ้าดารารัศมี เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองตามระบบเทศาภิบาล ได้ประทานให้รัฐบาล ตัวอาคารสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2467 เคยใช้เป็นศาลาว่าการมณฑลพายัพ และศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่ย้ายไปใช้ศาลากลางหลังใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่จึงขอปรับปรุงอาคารเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ในปี พ.ศ.2540 และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นในปี พ.ศ. 2542 ประเภทที่ทำการอาคารสาธารณะ จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงใหม่ และวิถีชีวิตวัฒนธรรมท้องถิ่น นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มา และที่อาคารส่วนหลังจัดแบ่งเป็นห้องแสดงนิทรรศการหมุนเวียน
นิทรรศการ ถาวร 15 ห้อง จัดแบ่งตามเนื้อหาสาระ นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสร้างบ้านสร้างเมือง ล่วงเลยผ่านวันเวลาอันรุ่งเรืองและเสื่อมถอย เปลี่ยนแปลงจวบจนเป็นเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ระบบการปกครอง วีถีชีวิตภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันน่าภูมิใจของขาวเขียงใหม่ นำเสนอด้วยแบบจำลองผสานสื่ออันทันสมัย ทั้งสไลด์ วีดีทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หุ่นจำลอง บอร์ดกราฟิก และภาพประกอบคำบรรยาย เพื่อให้การชมนิทรรศการได้ทั้งความรู้และความตื่นตาใจ ส่วนทางด้านของนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรมอาคาร ส่วนหลัง จัดแบ่งเป็นห้องนิทรรศการหมุนเวียนและลานกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับกิจกรรมทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมอันงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ของเชียงใหม่ให้ยั่งยืนสืบไป
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดเทศบาล นครเชียงใหม่ บริหารจัดการโดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ประธาน คือ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ส่วนกรรมการบริหาร ได้แก่ กรรมการในส่วนของเทศบาลนครเชียงใหม่และกรรมการในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

1278387738_1(1)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑสถานระดับภาคที่กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา การอนุรักษ์ และการให้บริการข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และของภาคเหนือตอนบน หรือที่เรียกมาแต่โบราณว่า ล้านนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นอาคารจตุรมุขทรงไทยประยุกต์ สองชั้น ประดับยอดจั่วด้วยกาแลแบบศิลปะ พื้นเมือง พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการถาวรภายในอาคารเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๖

ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ได้รับการซ่อมแซมและต่อเติมตัวอาคารให้เต็มรูปแบบ พร้อมทั้งปรับปรุงนิทรรศการถาวรให้มีเนื้อหาวิชาการและเทคนิคการจัดแสดงที่หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งในด้านธรรมชาติวิทยา โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยา และศิลปกรรมของล้านนา เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำภาคอย่างแท้จริง และสามารถอำนวยประโยชน์ อย่างกว้างขวาง ต่อนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่มาเข้าชม