Open your brain

WELCOME TO Information resource TIME

open your brain

Main Menu

calenda

April 2025
Mo Tu We Th Fr Sa Su
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4

Vinaora World Time Clock

Counter

002563
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
6
1
57
2506
58
247
2563

Your IP: 18.226.150.251
Server Time: 2025-04-26 08:19:15

แบบสำรวจ

ความน่าสนใจของเว็บไซต์นีิ้

ชอบ - 100%
ไม่ชอบ - 0%

Total votes: 2
The voting for this poll has ended on: 02 May 2015 - 04:51

Survey

Login Form

Home

Hits: 26
Published on Saturday, 07 March 2015 16:13
Written by Super User

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

logo
ประวัติความเป็นมา

ในระยะเริ่มแรกห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ชั้น 1 อาคารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ (อาคารเดิม) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นห้องอ่านหนังสือของสถาบันที่มีการให้บริการวารสารทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักวิจัย ข้าราชการ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และบุคคลภายนอกทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ.2549 ได้ย้ายมาอยู่ชั้น 4 และได้พัฒนาการให้บริการในลักษณะห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนินการ

วิสัยทัศน์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีความประสงค์ที่จะพัฒนาให้ห้องสมุด ให้อยู่ในรูปแบบของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนินการ ทั้งในส่วนของการบริหารการจัดการ งานเทคนิค และงานบริการ มีการติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักวิจัยของสถาบันสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถสืบค้นข้อมูลจากสิ่งพิมพ์ออนไลน์ได้ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e – Journal) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e – Books) และฐานข้อมูลประเภทสื่อมัลติมีเดียจากแหล่งข้อมูลออนไลน์

พันธกิจ

1.เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ และสืบค้นงานวิจัย ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
2.เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลงานวิจัยของสถาบัน และจัดให้บริการแก่ผู้ใช้แบบ one stop service

Hits: 24
Published on Saturday, 07 March 2015 16:16
Written by Super User

ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม

1496687_469537733166210_458744853_n

วิสัยทัศน์

     ”เป็นศูนย์การเรียนรู้สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นนำในระดับสากล”

พันธกิจ

”มุ่งบริการสารสนเทศพร้อมสรรพ มุ่งสร้างความประทับใจในบริการ มุ่งสืบสานองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่การสนับสนุนแพทย์เชียงใหม่สู่สากล ”

ปรัชญา / ปณิธาน

” งานห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของนักศึกษา คณาจารย์ ข้าราชการของคณะแพทยศาสตร์ ให้สมกับเป็นโรงเรียนแพทย์ชั้นนำแห่งหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ”

วัตถุประสงค์ / นโยบาย

1. เพื่อจัดหาทรัพยากรสารนิเทศทางการแพทย์ทุกประเภท ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณภาพ ความทันสมัย ตรงความต้องการของนักศึกษา คณาจารย์ ข้าราชการทางสาขาวิชาแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เปิดสอนและมีการวิจัยในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งการดูแลซ่อมแซมและป้องกันมิให้สูญหาย
2. เพื่อให้บุคลากรที่กำลังศึกษา / ที่จบการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ สุขภาพของคณะฯ และของมหาวิทยาลัย มีความรู้ ความสามารถด้านวิชาการ นำไปใช้รักษาผู้ป่วยและสามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นำในวิชาชีพ เป็นผู้นำสังคมทางการแพทย์ และช่วยพัฒนาคณะฯ ให้เป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีมาตรฐานสากล
3. เพื่อให้บริการสารนิเทศทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพในรูปแบบต่างๆ คือ การสืบค้นหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ ฐานข้อมูลบนเครือข่าย Online และยืม-คืนด้วยระบบอัตโนมัติ การจัดส่งเอกสารระหว่างห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ กับห้องสมุดสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Documents Delivery Services) รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้วย
4. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยที่มีคุณภาพโดยมีบรรณารักษ์ นักวิชาการเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือ จัดฝึกอบรม บรรยายแนะนำผู้ใช้บริการให้สามารถสืบค้นข้อมูลสารนิเทศ การใช้โปรแกรมเผยแพร่งานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่คณะฯ และมหาวิทยาลัยฯ ต้องการให้มหาวิทยาลัยฯ มุ่งเน้นการทำวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมต่อไป
5. พัฒนาการสร้างฐานข้อมูลของห้องสมุดทั้งหมดเพื่อการเป็นห้องสมุดดิจิตัลทางการแพทย์ (Medical Digital Library) ที่เต็มรูปแบบ และจัดหาฐานข้อมูลที่จำเป็นเพื่อบริการการสืบค้นออนไลน์ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ (Remote access) และให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์ ด้วยตนเองได้อย่างสมบูรณ์ (Learning Resource Center for Medical Studies)
6. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทันต่อวิทยาการใหม่ๆ และมีจิตใจบริการ (Service mind) อย่างแท้จริง โดยการพัฒนาบรรณารักษ์ นักวิชาการให้เป็น
- นักเอกสารสนเทศชี้นำแหล่งข้อมูลต่างๆ สนับสนุนให้นักศึกษาและอาจารย์เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
- ผู้สอนโดยการฝึกทักษะด้านการบรรยายอบรมผู้ใช้บริการ สอนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เชี่ยวชาญในการค้นหาแหล่งสารนิเทศ ชี้นำผู้ใช้บริการได้
- ผู้ประสานงานด้านการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย การใช้แหล่งสารนิเทศที่ตรงกับเรียนการสอน และปลูกฝังค่านิยมด้านการรู้สารนิเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้แก่นักศึกษา (Life Long Learning)
7. ให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการจัดห้องสมุด และฝึกอบรมวิชาชีพบรรณารักษ์ทางการแพทย์ (Health Sciences Librarianship) แก่ผู้ปฏิบัติงานทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของคณะ
8. มีระบบการบริหารและการจัดการ ที่เอื้อต่อการดำเนินงานของห้องสมุดให้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการมองหาแนวทางและทิศทางใหม่ๆ ให้ห้องสมุดพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

Hits: 23
Published on Saturday, 07 March 2015 16:18
Written by Super User

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติจังหวัดเชียงใหม่

96271

 

เป้าหมายขององค์กร
บุคลากรขององค์กรมีความภาคภูมิใจในวิชาชีพ ทุ่มเทสติปัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ ปกป้องคุ้มครองเอกสารสำคัญซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ยืนยาว คงคุณค่าของความเป็นหลักฐานในการศึกษาค้นคว้า อ้างอิงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติ และนำองค์กรให้สู่ความเป็นเลิศและเป็นผู้นำในการดำเนินงานจดหมายเหตุ ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ หน่วยงานเจ้าของเอกสารตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเอกสารของหน่วยงาน และเชื่อมั่น ศรัทธาในความเป็นมืออาชีพของหอจดหมายเหตุแห่งชาติที่จะช่วยคุ้มครอง ดูแลเอกสารของหน่วยงานให้คงอยู่สมบูรณ์ ยืนยาวตลอดไป สาธารณชนซาบซึ้งในคุณค่าของเอกสารจดหมายเหตุ ให้ความสนับสนุนการดำเนินงานของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ภารกิจ
1. แสวงหา รวบรวม ประเมินคุณค่า เก็บรักษา อนุรักษ์ และให้บริการเอกสารสำคัญของชาติ
2. ศึกษา ค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการจดหมายเหตุ เพื่อการพัฒนาและเผยแพร่ เอกสารสำคัญของชาติ
3. บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประ เทศไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของชาติ
4. แสวงหา รวบรวม ประเมินคุณค่า เก็บรักษา อนุรักษ์และให้บริการภาพยนตร์ไทย
5. ดำเนินงานจดหมายเหตุในส่วนภูมิภาค
6. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือเกี่ยวกับกิจการจดหมายเหตุทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
7. เป็นศูนย์รับฝากเก็บเอกสารสำคัญของส่วนราชการ
8 . เป็นศูนย์ให้บริการสารนิเทศจดหมายเหตุ
9 . เผยแพร่กิจกรรมจดหมายเหตุ
10. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานจดหมายเหตุ

 
Hits: 20
Published on Saturday, 07 March 2015 16:21
Written by Super User

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (THAILAND CREATIVE & DESIGN CENTER – TCDC)

  rer

TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center – TCDC) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ทีซีดีซี

ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 เป็นหน่วยงานเฉพาะด้านภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ พ.ศ. 2547

ทีซีดีซี มีวัตถุประสงค์หลัก ในการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึง “ความรู้” เพื่อที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้สัมผัสและสนุกกับการตักตวงประสบการณ์ จากผลงานและความสำเร็จของนักคิดนักออกแบบจากทั่วโลก

ทั้งนี้ทีซีดีซีร่วมมือโดยตรงกับภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและนักออกแบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของการนำการออกแบบมาใช้ในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานออกแบบของนักออกแบบไทย ให้เป็นที่รู้จักทั้งภายในและต่างประเทศ

TCDCChiangMai

ประวัติความเป็นมา

หลังจากเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำเนินยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อทำให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึง “แหล่งทุน”ได้ง่ายขึ้น เป็นผลให้มีการขยายตัวของการบริโภค และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในระดับหนึ่ง แต่การจะคงให้ประเทศมีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในยุคที่ทุกประเทศทั่วโลกสามารถไล่ตามเทคโนโลยีได้เท่าทันกันหมดนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งพัฒนาให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายโอกาสให้ประชาชนเข้าถึง “ความรู้” (Knowledge-software) เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อันจะนำไปสู่กระบวนการสร้างนักคิด นักออกแบบ ตลอดจนสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่นำ “ทุน”มาบวกกับ “ความคิดสร้างสรรค์”เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ

เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2550 คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงถึงกรณีเข้าร่วมประชุมกับนายอภินันท์ โปษยานนท์ ประธานคณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) และมีมติให้ ยุบ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ไปควบรวมกับ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (NDMI) ว่า เป็นนโยบายของตนที่ต้องการปรับการบริหารจัดการหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ สบร.ที่มี 7 หน่วยงาน ให้มีประสิทธิภาพและใช้งบประมาณคุ้มค่ามากขึ้นจึงให้นโยบายว่าต้องควบรวมให้เหลือ 4 หน่วยงาน ซึ่งในครั้งนี้ก็ได้มีการควบรวม สถาบันวิทยาการเรียนรู้ (NBL) กับศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ (NGT) และต่อไปจะให้ศูนย์คุณธรรมไปสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) ชุดใหม่ ที่มี นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธาน ได้มีมติให้คงสถานที่ตั้งของทีซีดีซี ให้อยู่ที่ชั้น 6 ของห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรียม ไว้เช่นเดิม โดยจะไม่มีการย้ายไปที่อื่น ในระยะจากนี้ไปเป็นเวลา 3 ปี

ปัจจุบันพัฒนาการของ TCDC กำลังก้าวสู่ขั้นที่ 3 ซึ่งเป็นการนำเอาดีไซน์ไปพบกับผู้ประกอบการ ด้วยหวังว่างานออกแบบสามารถสร้างผลประโยชน์ในธุรกิจได้อย่างแท้จริง (หลังจากผ่านพ้นขั้นตอนแรกคือหาที่ตั้งซึ่งทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ขั้นตอนที่สองคือการมุ่งเน้นงานบริการ โดยมีการสำรวจถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า) ทีซีดีซีออกแบบการให้บริการเป็น 3 บริการหลัก คือ

  1. นิทรรศการ
  2. ห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือและข้อมูลข่าวสารด้านการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย
  3. การจัดความรู้ให้ลูกค้าในรูปแบบของสัมมนา อบรม เวิร์คชอป ตลอดจนจัดอีเวนท์เปิดโอกาสในการพบปะให้นักออกแบบและผู้ประกอบการ

สำหรับแผนการดำเนินงานในอนาคต ทีซีดีซีมุ่งขยายองค์ความรู้และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ Creative Thailand เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยโครงการนี้จะผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือใช้ดีไซเนอร์ช่วยในการออกแบบผนวกไปในการผลิตสินค้าและบริการ ที่จะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของสินค้า ซึ่งจะเป็นอีกกลไกที่ช่วยผลักดันระบบเศรษฐกิจไทยให้ขับเคลื่อนไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy

TCDC_CNX

รูปแบบการให้บริการ

  1. ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ในบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ด้วยหนังสือกว่า 6,000 เล่ม นิตยสารกว่า 70 ชื่อเรื่อง และสื่อมัลติมีเดียกว่า 500 รายการ พร้อมฐานข้อมูลด้านการออกแบบ WGSN และฐานข้อมูลด้านการตลาด GMID เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
  2. ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 7,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 250 ชนิด และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัสดุล้ำยุค เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสกับวัสดุที่นักออกแบบระดับโลกใช้ในการสร้าง สรรค์ผลงาน และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของวัสดุเพื่อการออกแบบ
  3. กิจกรรมสัมมนาและฝึกอบรมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยความหลากหลายของกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์
  4. การจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้ ทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ จินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าชม พร้อมทั้งการจัดการประกวด การแข่งขัน ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอย่างต่อเนื่อง
  5. พื้นที่จัดแสดงผลงาน สำหรับผลงานของนักออกแบบรุ่นใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการทดลองตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย
  6. การให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ให้กับผู้ประกอบการและนักออกแบบในพื้นที่

ที่ตั้ง

TCDC เชียงใหม่
ตั้งอยู่หลังกาดเมืองใหม่ เลขที่ 1/1 ถนนเมืองสมุทร ตำบลช้างม่อย
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300
เปิดให้บริการแล้ววันนี้!
เวลา 10.30 – 18.00 น. (ปิดวันจันทร์)

Copyright © 2025 Knowlege Rights Reserved.