Open your brain

WELCOME TO Information resource TIME

open your brain

Main Menu

calenda

April 2025
Mo Tu We Th Fr Sa Su
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4

Vinaora World Time Clock

Counter

002604
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
47
1
98
2506
99
247
2604

Your IP: 18.227.209.41
Server Time: 2025-04-26 14:41:29

แบบสำรวจ

ความน่าสนใจของเว็บไซต์นีิ้

ชอบ - 100%
ไม่ชอบ - 0%

Total votes: 2
The voting for this poll has ended on: 02 May 2015 - 04:51

Survey

Login Form

Home

Hits: 43
Published on Saturday, 07 March 2015 15:54
Written by Super User

ห้องสมุด โรงเรียนยุพราช

547546_320448114703492_1041838862_n
ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก

ประวัติความเป็นมา

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน ในระยะแรกไม่ได้เป็นห้องสมุดที่เป็นสัดส่วนเอกเทศ เป็นเพียงแต่ตู้เก็บรวบรวมหนังสือในห้องครูใหญ่หรือตั้งอยู่ในห้องเรียนห้องใดห้องหนึ่งเท่านั้น มีหนังสือต่างๆที่ได้จากการซื้อหาและการบริจาคจากเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆได้ดังนี้

1. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะแรก (พ.ศ.2448-2458) ในระยะนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวโรรสข้างวัดดวงดีทางด้านทิศใต้(หรือสี่แยกกลางเวียงปัจจุบัน) ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าได้ใช้ส่วนใดห้องใดของอาคารเรียน จัดเป็นห้องสมุด แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีห้องสมุดแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2451

2. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะที่ 2 (พ.ศ.2548-2516) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่เลขที่ 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง หรือตั้งในปัจจุบันนี้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 โดยได้เริ่มสร้างตึกยุพราชเป็นอาคารเรียนหลังแรกตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ห้องสมุดของโรงเรียนในระยะนี้จึงอาศัยอยู่บนตึกยุพราชก่อน จนถึงปี พ.ศ.2467 จึงมีการสร้างห้องสมุดเป็นสัดส่วนเฉพาะโดยปรากฎหลักฐานว่า มีห้องสมุดเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นสโมสรของลูกเสือชั้นบนมี 4 ห้อง ห้องกลาง 2 ห้องใช้เป็นห้องสมุด ห้องริม 2 ห้องจัดเป็นห้องเรียนและได้ทำบุญฉลองหอสมุดที่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2467 และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ใช้ห้องสมุดนั้นเรื่อยมา ต่อมาในปีพ.ศ.2469 ได้มีพระราชพิธีสมโภช “พระเศวตคชเดชดิลก” ช้างสำคัญของเมืองเชียงใหม่และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการมณฑลพายัพและประชาชนชาวเมืองนครเชียงใหม่ได้ร่วมกันสร้างโรงช้างต้นขึ้น หลังจากประกอบพิธีเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2469 แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้ใช้อาคารนี้เกื่ยวข้องกับช้างสำคัญอีกเลย จึงได้มีการดัดแปลงอาคารโรงช้างต้น เป็นห้องสมุด และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้อาศัยโรงช้างต้นเป็นห้องสมุดของโรงเรียนเรื่อยมา จนกระทั่งได้ย้ายมาที่ตึกยุพราชอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2501 ห้องสมุดย้ายไปอยู่ที่อาคารเรือนวิเชียร และในปี พ.ศ.2504 ได้ย้ายกลับมาใช้ด้านล่างของตึกยุพราชเป็นที่ตั้งของห้องสมุด เรื่องราวของห้องสมุดของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะปี พ.ศ.2501 – 2516 นั้น มีปรากฏในสมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนหลายเรื่องที่สำคัญ ดังเช่น

1. มีการตั้งชุมนุมห้องสมุดโดยมีนักเรียนสมัครเข้าเป็นสมาชิกรวมกลุ่มดำเนินการมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา
2.มีการส่งครูไปอบรมวิชาบรรณารักษ์เพิ่มเติม
3. ห้องสมุดถือเป็นจุดสำคัญที่แขกผู้มาเยือนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยต้องไปเยี่ยมชมเสมอ จัดเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้วย

3. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะ ที่ 3 (พ.ศ.2516 – 2534) ในปี พ.ศ.2516 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็ฯโรงเรียนในโครงการ คมส.และได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ชื่อ อาคารรัตนมณี จึงได้มีการกำหนดให้ชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ห้องเรียนเป็นที่ทำการของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของห้องสมุดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการให้บริการแก่บุคลากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้อาคารรัตนมณีชั้นที่ 2 เป็นห้องบริการหนังสืออ้างอิงและวารสารเย็บเล่ม ใช้ห้องเรียนเป็นที่ทำงานอีก 2 ห้องเรียน ในระยะที่ 3 นี้ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับการยกย่องและมีการพัฒนาที่สำคัญดังนี้

- ปีการศึกษา 2528 ได้รับรางวัลห้องสมุดที่จัดบริการและงานเทคนิคดีเด่นประจำเขตการศึกษา 8

- ปีการศึกษา 2531 ได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

และตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นมา ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ริเริ่มนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้พัฒนางานเทคนิคของห้องสมุด ซึ่งทำให้งานบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4.ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในปัจจุบัน (พ.ศ.2534 – ปัจจุบัน) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารนวรัตน์ในปีพ.ศ.2530 อาคารนวรัตน์จัดเป็นอาคารอเนกประสงค์ ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นที่สองเป็นห้องสมุดขนาด 10 ห้องเรียน และชั้นที่สามเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ ห้องสมุดได้พัฒนาอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งทางด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม จำนวนหนังสือ การให้บริการ การปรับปรุงงานเทคนิค การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ภายในห้องสมุด มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง จัดแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วนตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและในปีการศึกษา 2536 ห้องสมุดได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา ได้รับเกียรติบัตรของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

นโยบาย/แผนการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

การพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมในอนาคต จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างคนให้มีความรู้ มีความสุข ห้องสมุดเป็นกลไกหลักสำคัญในการเสริมสร้างความรู้ พัฒนาความคิด โดยผ่านกระบวนการส่งเสริมการรักการอ่าน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้และการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานพัฒนาผู้เรียน โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ด้วยตนเอง เน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัย รักการอ่าน การจัดให้มีสื่อการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆอย่างหลากหลายและทั่วถึง นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาห้องสมุด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้โอกาสเยาวชนได้ปลดปล่อยพลังสมอง และพลังความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

วิสัยทัศน์

มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และสามารถพัฒนาตนเองสู่มาตรฐานสากลได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

Hits: 22
Published on Saturday, 07 March 2015 15:52
Written by Super User

ห้องสมุด โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

20101109_10_jpg_resize

 

ประวัติความเป็นมา

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น หน่วยงานหนึ่งในฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ เป็นห้องสมุดของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็น ศูนย์รวมวิทยาการความรู้ทุกสาขาวิชาในรูปแบบของเอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และโสตทัศนวัสดุ สำหรับนักเรียน อาจารย์นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ประกอบการเรียนการสอน และเพื่อเป็นแหล่งหาความรู้ตามความสนใจนอกจากนี้ห้องสมุด ศูนย์วิชาการฯ ยังเป็นศูนย์รวม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การสอนของห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ และสายวิชาต่างๆของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยมีลักษณะเป็นมุมหนังสือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้จัดให้ เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ ตั้งอยู่บน ชั้น 3 อาคารคณะศึกษาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2516 ได้ย้ายที่ทำการ และเป็นห้องสมุดสมบูรณ์แบบ ขนาด2 ห้องเรียน ตั้งอยู่บนสำนัก งานธุรการโรงเรียน และในปี พ.ศ. 2522 ได้ย้ายมาอยู่ ชั้น 2 อาคารสาธิต 1 ของโรงเรียนสาธิตฯ และเปลี่ยนชื่อเป็น“ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ” จนถึงปัจจุบัน

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาดำเนิน การงานห้องสมุดเพื่อพัฒนาการให้บริการ และระบบการทำงานของบุคลากรให้ เป็นไปในระบบเดียวกันและห้องสมุดศูนย์วิชาการฯซึ่งเป็นห้องสมุดหนึ่งของ สำนักหอสมุดได้รับความช่วยเหลือจากสำนักหอสมุดโดยอนุญาตให้นำระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ มาดำเนินงานห้องสมุด และให้บริการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538ผ่านระบบเครือข่ายห้องสมุด (LibNet) โดยใช้โมเดมสามารถสิบค้นข้อมูลจากฐานของมูลหนังสือ วารสาร และ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนฐานข้อมูลเฉพาะของสำนักหอสมุด (CMUL OPAC และ ISIS OPAC) และในปี พ.ศ. 2544 ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ได้ให้บริการการยืม – คืนทรัพยากรสารนิเทศด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น

ใน ปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้อนุมัติิงบประมาณให้ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ิเครือข่ายสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (LibNet) ผ่านระบบเครือข่ายหลักของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Backbone) และจัดหา คอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ชุดสำหรับให้บริการสืบค้นข้อมูล และพัฒนาระบบการทำงานทั้งจากสำนักหอสมุดและข้อมูลออนไลน์ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ไม่จำกัดเวลา และสถานที่

ปัจจุบันห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ มีพื้นที่ให้บริการ ประมาณ 108 ตารางเมตร มีที่นั่งอ่าน 200 ที่นั่ง ซึ่งแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ดังนี้
1. ห้องหนังสือทั่วไป
2. ห้องหนังสือแบบเรียน
3. ห้องหนังสืออ้างอิง สิ่งพิมพ์ภาคเหนือ และสิ่งพิมพ์รัฐบาล
4. ห้องวารสารและสารสนเทศ และห้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
5. ห้องโถงด้านนอก

วัตถุประสงค์ของห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1.เพื่อส่งเสริม สนับสนุนในการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการแก่สังคมและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.เพื่อเป็นแหล่งจัดหา และจัดเก็บหนังสือ แบบเรียน วารสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงสื่อในรูปแบบอื่น ๆตามหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3.เพื่อให้บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศแก่นักเรียน อาจารย์ และบุคลากรของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตลอดจนให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดรวมถึงผู้ปกครองและบุคคลภายนอกที่สนใจ

Hits: 15
Published on Saturday, 07 March 2015 15:55
Written by Super User

ห้องสมุด โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม

108585381.jpg

ห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม แบ่งออกเป็นห้องสมุดกลาง และห้องสมุด English Program โดยห้องสมุดกลาง ตั้งอยู่อาคารAmbrosio ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องประชุมขนาดกลาง ห้องศูนย์สื่อกลุ่มสาระต่างๆ ห้องศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา ชั้นล่างเป็นห้องสมุดให้บริการที่นั่งอ่านหนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือทั่วไป นวนิยาย เรื่องสั้น เยาวชน หนังสือคู่มือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย ตลอดจนวารสารและหนังสือพิมพ์ไว้บริการ นอกจากนี้ยังมีบริการคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวน 10 เครื่อง ยังเปิด โอกาสให้นักเรียนใช้บริการยืม-คืนสื่อ ประเภทซีดีรอมชั้น 2 อาคารอันโตนิโอ สื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสื่อซีดีรอม

ระเบียบการใช้บริการ

  1. ขอสงวนสิทธิ์การยืม-คืนหนังสือ สำหรับนักเรียนที่ใช้บัตรประจำตัวของตนเองเท่านั้น
  2. แสดงบัตรประจำตัวนักเรียนทุกครั้งเมื่อใช้บริการห้องสมุด
  3. นักเรียน ม.ต้น ยืมได้ 3 เล่ม นักเรียน ม.ปลาย ยืมได้ 5 เล่ม / 7 วัน ส่งช้าปรับเล่มละ 1 บาท / 1 วัน
  4. กรณีที่หนังสือ ชำรุด สูญหาย นักเรียนต้องแจ้งให้ครูบรรณารักษ์ เพื่อชดใช้ตามราคาหนังสือ ค่าดำเนินการทางเทคนิคอีก 25 บาท
  5. หนังสือและสิ่งพิมพ์ที่ยืมได้ครั้งละ 7 วัน ได้แก่ หนังสือทั่วไป คู่มือ นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือสำหรับเยาวชน และวารสารเย็บเล่ม
  6. หนังสือและสิ่งพิมพ์ที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด ได้แก่ หนังสือ อ้างอิง วารสารใหม่ และหนังสือพิมพ์ฉบับปัจจุบัน

บริการต่างๆ ห้องสมุดโรงเรียน

  1. หนังสือทั่วไป
  2. หนังสือแบบเรียน
  3. หนังสือคู่มือต่างๆ
  4. หนังสืออ้างอิง
  5. หนังสือแปล นวนิยาย เรื่องสั้น
  6. หนังสือพิมพ์ วารสาร
  7. จุลสาร และ กฤตภาค
  8. หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสต่างๆ
  9. บริการถ่ายเอกสาร
  10. บริการเย็บเล่มเข้าปกรายงาน
  11. บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า
  12. บริการค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
  13. เกม Cross word และ A-Math
  14. บริการแนะตำการใช้ห้องสมุด
  15. บริการแนะตำหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ

การยืม – คืน หนังสือ 

  1. สมาชิกทุกคนมีสิทธิยืมหนังสือได้ครั้งละไม่เกิน 3 เล่ม ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 5 เล่ม ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระยะเวลา 7 วัน และต้องไม่ใช่หนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน และยืมได้เฉพาะเจ้าของบัตรนักเรียนเท่านั้น
  2. เมื่อนักเรียน ส่งหนังสือช้าเกินกำหนดส่ง ต้องเสียค่าปรับเล่มละ 1 บาท ต่อ 1 วัน
  3. นักเรียนที่ไม่ได้คืนหนังสือหลังกำหนดส่ง 1 อาทิตยืจะได้รับใบทวงครั้งที่ 1 หากนักเรียนไม่นำเอาหนังสือมาคืนใให้กับห้องสมุดหรือไม่มาติดต่อกับครูบรรณารักษ์ ทางห้องสมุดจะดำเนินการแจ้งไปยังครูประจำชั้นและหัวหน้าระดับตามลำดับ
Hits: 28
Published on Saturday, 07 March 2015 15:50
Written by Super User

ห้องสมุด โรงเรียนดาราวิทยาลัย

08-646x363

 

ประวัติความเป็นมา

หอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย แหล่งเรียนรู้ที่ริเริ่มขึ้นในปีการศึกษา 2552 โดยย้ายห้องสมุด 2 แห่งในโรงเรียน คือ ห้องสมุดมัธยมศึกษาตอนต้น และห้องสมุดมัธยมศึกษาตอนปลาย (ห้องสมุด 3 และห้องสมุด 4) มาไว้รวมกันที่ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน
ดาราวิทยาลัย
ที่ตั้งของหอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย คือ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนสร้างขึ้นโดยมิสซิสจูเลีย ( แฮทช์ ) เทเลอร์ ( Mrs. Julia ( Hetch ) Taylor ) เมื่อปี พ.ศ.2464 ( คศ.1921 ) อาคารหลังนี้จึงมีอายุ 88 ปี ในปี พ.ศ. 2552  ตั้งแต่เริ่มสร้างจนปัจจุบันอาคารเรียนหลังแรกนี้ได้ปรับเปลี่ยนให้บริการทางการศึกษามาหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เป็นหอพักของนักเรียนหญิง และครูหอพักมาอย่างต่อเนื่อง บางห้องภายในอาคารเคยดัดแปลงเป็นห้องสมุดครู ห้องวิจัย ห้อง Self Study ห้องพยาบาล ห้องฝ่ายสัมพันธ์ชุมชนและเป็นพิพิธภัณฑ์โรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2550อาคารแห่งนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาของสถาปนิกล้านนา ต้นกล้าสถาปัตยกรรม 50 จากข้อมูลดังกล่าวอาคารหอสมุดโรงเรียนจึงเป็นอาคารที่เก่าแก่ทรงคุณค่าด้านสถาปัตยกรรม แหล่งสะสมประวัติศาสตร์เป็นที่เล่าขานตำนานความผูกพันระหว่าง นักเรียน ครู บุคลากรโรงเรียนดาราวิทยาลัย  ที่สำคัญยิ่ง คือ อาคารแห่งนี้
เมื่อครั้งที่องค์ประมุขพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2469 มิสซิสจูเลีย (แฮทช์)เทเลอร์ ผู้จัดการโรงเรียนขณะนั้นได้นำเสด็จเยี่ยมชมอาคารหอสมุดโรงเรียน ซึ่งขณะนั้นใช้เป็นหอพักของโรงเรียน

หอสมุดเริ่มเปิดให้บริการบางส่วนในเดือนมิถุนายน 2552 หลังจากการคัดกรองหนังสือจำนวนหนึ่งเพื่อให้บริการในหอสมุด บางส่วนมอบให้กลุ่มสาระการเรียนรู้นำไปใช้ประกอบการสอน หนังสือบางส่วนที่มีสภาพการใช้งานมานานจัดจำหน่ายในราคาประหยัด
ในระยะแรกเปิดให้บริการเฉพาะการอ่านวารสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ บริการยืม–คืน หนังสืออ่านประกอบการเรียน หนังสือเรื่องสั้นเยาวชน จากนั้นเมื่อจัดหนังสือครบทุกหมวดหมู่แล้ว จึงเปิดให้บริการยืม-คืนทุกหมวดหมู่
ขณะนี้หอสมุดเปิดให้บริการอ่าน ยืม – คืน  และเป็นห้องเรียนเพื่อการค้นคว้า ห้องเรียนเพื่อการสอนโดยสื่อมัลติมีเดีย โดยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.30 น.ทุกวันเปิดเรียน ให้บริการทั้งนักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปกครอง ดังนี้
- บริเวณโถงชั้นล่าง   เป็นส่วนห้องอ่าน   ส่วนบริการอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น ให้บริการวารสาร   จุลสาร   หนังสือพิมพ์   จัดบอร์ดนิทรรศการแนะนำหนังสือและบริการยืม-คืน
- บริเวณชั้นบน   ประกอบด้วย  ห้องสื่อมัลติมีเดีย   ห้องวารสารล่วงเวลาห้องบริการหนังสือตามหมวดหมู่  และห้องหนังสืออ้างอิง
งานและกิจกรรมที่ห้องสมุดดำเนินการไปแล้วมีดังนี้
1. จัดตกแต่งบรรยากาศภายในห้องสมุดให้สะอาดสวยงาม   มีแสงสว่างเพียงพอ
และปรับตกแต่งองค์ประกอบให้สอดคล้องตามเทศกาล
2. จัดบอร์ด   จัดมุมแนะนำหนังสือ เช่นหนังสือทรงแนะนำให้เยาวชนอ่าน
พระราชดำริในสมเด็จพระพี่นางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ  แนะนำสาระเนื้อหา  วารสาร
เด่นประจำสัปดาห์
3. กิจกรรมวันเยาวชนในเดือนกันยายน  2552   จัดกิจกรรมพบพี่นักอ่าน
กิจกรรมเล่านิทาน  นิทรรศการสุดยอดทูตส่งเสริมการอ่าน  ซึ่งประกอบด้วย  แฟนพันธุ์แท้
หนอนหนังสือน้อย ประกวดเต้น Cover dance  คำคมบ่มชีวิต  ชมภาพยนตร์ยอดนิยม
4. งานสัปดาห์วิชาการ  และงานประจำปี  ระหว่างวันที่ 4-7  พฤศจิกายน
2552
4.1  จัดนิทรรศการ  แนะนำการจัดโต๊ะ-ตู้หนังสือ  สำหรับการอ่าน  แนะนำหนังสือที่เด็กและเยาวชนควรอ่านพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทั้ง 6 เรื่อง การรักษาและการซ่อมแซมหนังสือ มุมจุลสาร แผ่นพับเล่มเล็กสอนการทำอาหารของว่าง ของที่ระลึกสำหรับงานปาร์ตี้ในงานเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
4.2 ห้องมัลติมีเดีย จัดฉายภาพยนตร์ดี-เด่น
4.3 จัดเกมส์ สนุกและดี มีรางวัลจากหนังสือเกมส์นานาชนิด
4.4 จำหน่ายหนังสือที่มีสภาพใช้งานนานในราคาถูก
5. คัดสรรวารสารเพื่อมอบให้ห้องสมุดโรงเรียนเคนเน็ตแมคเคนซีจังหวัดลำปาง และบริจาคตามการร้องขอจากหน่วยงานต่างๆ
6. จัดตั้งชมรมคนรักหนังสือ โดยคณะกรรมการบรรณารักษ์อาสา เพื่อการส่งเสริมการอ่าน และช่วยดูแลให้บริการร่วมกับบรรณารักษ์ในหอสมุดโรงเรียน
ในภาคเรียนที่ 2 หอสมุดจะจัดสัปดาห์ส่งเสริมการอ่าน ( สัปดาห์ห้องสมุดเดิม)โดยเน้นกิจกรรม การจำหน่ายหนังสือจากสำนักพิมพ์ในเดือนมกราคม 2553
โรงเรียนดาราวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของการอ่าน  ต้องการปลูกฝังและเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน จึงพยายามที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องสมุดให้กระจายการให้บริการแก่นักเรียน ครู บุคลากรมาโดยตลอด ในโอกาสที่รัฐบาลมีมติเมื่อวันที่  5 สิงหาคม 2552 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการอ่าน โดยกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็นวันรักการอ่าน ให้ปี พ.ศ. 2552 – 2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม
หอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2552 จึงถือเป็นวาระที่สอดคล้องกับความประสงค์สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และวาระแห่งชาติทศวรรษแห่งการอ่าน ขอเชิญชวนผู้ปกครอง ครู บุคลากร และนักเรียน ร่วมกันสร้างนิสัยรักการอ่านดังพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 37 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 7 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ใจความตอนหนึ่งว่า
“หนังสือเป็นบ่อเกิดของวิชาความรู้ต่างๆ การอ่านหนังสือที่ดีมีประโยชน์ จะช่วย
พัฒนาทางด้านการผลิตหนังสือเจริญทันสมัย ทำให้เราอ่านหนังสือได้ง่ายและมากมาย
ผิดกับสมัยก่อนที่ตำรับตำราทำได้ด้วยการคัดลอกด้วยลายมือเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถที่
จะผลิตออกเผยแพร่เป็นจำนวนมากได้ การศึกษาแต่ก่อนจึงเป็นไปด้วยความลำบาก
คนในยุคปัจจุบันจึงนับว่าเป็นโชคดีกว่าคนในยุคก่อนมาก และหนังสือดีนอกจากจะเพิ่มพูน
สติปัญญาแล้ว การอ่านหนังสือที่มีสำนวนภาษาสละสลวยยังช่วยเสริมสร้างความสามารถ
ทางด้านการเขียนอีกด้วย” นอกจากนี้พระองค์ได้พระราชทานบทร้อยกรองให้กับสมาคม
ห้องสมุดแห่งประเทศไทย โดยทรงย้ำถึงคุณค่าของหนังสือดุจกุญแจไขสู่ความรู้ไว้ดังนี้

darafont.jpg

 

โลกคือมนทิรแผ้ว                      ไพศาล

ห้องหับสรรพโอฬา                    เลิศแล้
หนังสือดุจประแจทวาร             ไขสู่ ห้องนา
จักพบรัตนแท้                         ก่องแก้ววิทยา

Copyright © 2025 Knowlege Rights Reserved.