Open your brain

WELCOME TO Information resource TIME

open your brain

Main Menu

calenda

April 2025
Mo Tu We Th Fr Sa Su
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4

Vinaora World Time Clock

Counter

002607
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
50
1
101
2506
102
247
2607

Your IP: 3.137.177.255
Server Time: 2025-04-26 14:49:55

แบบสำรวจ

ความน่าสนใจของเว็บไซต์นีิ้

ชอบ - 100%
ไม่ชอบ - 0%

Total votes: 2
The voting for this poll has ended on: 02 May 2015 - 04:51

Survey

Login Form

Home

Hits: 40
Published on Saturday, 07 March 2015 15:43
Written by Super User

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

 

pyu copyประวัติความเป็นมา

สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2517 พร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยพายัพ โดยรวมห้องสมุดของโรงเรียนพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์ แมคคอร์มิคและห้องสมุดวิทยาลัยพระคริสตธรรมเข้าด้วยกันใช่ชื่อว่า “ห้องสมุดวิทยาลัยพายัพ” โดยระยะแรกตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร ศรีสังวาลย์ เขตแก้วนวรัฐ
ในปี พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้ขยายเขตใหม่ที่เขตแม่คาว และสร้างอาคาร “หอสมุดกลาง” ขึ้น โดยเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น มีเนื้อที่ 2,664 ตารางเมตร ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น “สํานักหอสมุด” เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ จนถึงปี พ.ศ. 2541 อาคารหอสมุดหลังเดิมไม่สามารถให้บริการ แก่อาจารย์ และนักศึกษาได้อย่างเพียงพอ มหาวิทยาลัยพายัพได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารหอสมุดใหม่ และได้มีการรณรงค์หาทุน โดยมหาวิทยาลัยพายัพได้รับ เงินช่วยเหลือบางส่วนจาก American School and Hospitals Abroad (ASHA) และ ผู้บริจาครายอื่น ๆ ทั้งภายใน และ ภายนอกมหาวิทยาลัย
อาคารหอสมุดใหม่เป็นอาคาร 4 ชั้น มีพื้นที่ให้บริการ 12,500 ตารางเมตร มหาวิทยาลัยพายัพมุ่งหวังจะพัฒนาให้อาคารหลังนี้เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียน รู้ (Learning Resource Center) ที่ทันสมัยพร้อมด้วยสิ่งอํานวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า และการทํางานวิจัย ด้วยระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Library ) อาคารหอสมุดได้เริ่มเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2548 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดําเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมทั้งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามอาคาร “ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู์สิรินธร ” เพื่อเป็นสิริมงคล ให้แก่มหาวิทยาลัยพายัพอีกด้วย
สํานักหอสมุดยังมีห้องสมุดสาขาที่เขตแก้วนวรัฐ เพื่อให้บริการแก่คณะ และภาควิชาที่เปิด สอนที่เขตแก้วนวรัฐ โดยระยะแรกใช้อาคารวิทยาลัยพระคริสตธรรม และอาคารศรีสังวาลย์ตามลําดับ จนถึงปี พ.ศ. 2533 ได้ย้ายไปยังอาคารใหม่ คณะศาสนศาสตร์ ชั้น 3 โดยใช้ชื่อว่า “The Dewald Memorial Library” ในปี พ.ศ. 2547-2548 ห้องสมุดดิวอลด์ ได้รับทุนสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุดโดยขยายพื้นที่ให้บริการเป็น 840 ตารางเมตร และ มีพิธีเปิดห้องสมุด เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549

 
Hits: 47
Published on Saturday, 07 March 2015 15:45
Written by Super User

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

web53_head_01

ห้องสมุดได้ก่อตั้งพร้อมกับโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูล จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2485
พ.ศ. 2503 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และได้พัฒนาห้องสมุด เป็นหอสมุดวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ในอาคารเรียนรวมหมายเลข 3 ชั้น 2 โดยใช้ห้องเรียน 4 ห้อง จัดเป็นหอสมุด
พ.ศ. 2517 หอสมุดได้ย้ายมายังอาคาร 6 ซึ่งเป็นเอกเทศ 4 ชั้น ปัจจุบัน คือ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครู 36 แห่งทั่วประเทศ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเป็น “สถาบันราชภัฏ” หอสมุดจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดสถาบันราชภัฏเชียงใหม่
พ.ศ. 2538 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ให้สถาบันราชภัฏเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
พ.ศ. 2539 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา อาจารย์ และพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบันอย่างเต็มรูปแบบ (ที่มา : รายงานประจำปี 2542)
พ.ศ. 2540 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดิมสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและจัดอบรม เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ของสถาบัน
พ.ศ. 2543 หอสมุดได้ปรับฐานะและลักษณะงานบริการเป็น ศูนย์วิทยบริการ และย้ายมายังอาคารวิทยบริการ (อาคาร 26) ในเดือนมิถุนายน 2543 เพื่อความทันสมัย
พ.ศ. 2544 ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตและศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ได้ย้ายมายังอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวและรองรับการเรียนการสอนและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปีเดียวกัน สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่การศึกษาไปยังพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็ก และพื้นที่แม่สา ศูนย์วิทยบริการ จึงจัดตั้งห้องสมุดในพื้นที่การศึกษาดังกล่าว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการในพื้นที่ที่ไกลออกไป
พ.ศ. 2546 สถาบันได้ยุบรวมศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตให้เป็นหน่วยงานเดียวกับศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
พ.ศ. 2547 จัดตั้งวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ณ ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บนเนื้อที่ 109 ไร่ 6 ตารางวา
ในปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 อันมีผลให้สถาบันราชภัฏเชียงใหม่เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ และในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้รวมโครงสร้างของศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และศูนย์วิทยบริการ เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็น “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์รำไพ แสงเรือง ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2552 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี อาจารย์ ดร. ศุภกฤษ เมธีโภคพงษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน

 

ปรัชญา (Philosophy)

ชุมชนมีองค์ความรู้ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์ (Vision) 

เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัยในระดับสากล

พันธกิจ (Mission)

พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อรองรับการพัฒนาของมหาวิทยาลัย และประชาคมอาเซียน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้การผลิตบัณฑิตและสร้างโอกาสทางการศึกษา มีคุณภาพ และมาตรฐานวิชาชีพ โดยมีความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ
2. เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย ให้เป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบในการผลิต และพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. เพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างการบริการวิชาการ การวิจัย และการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
4. เพื่อให้เกิดการตระหนักในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในศิลปะ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
5. เพื่อให้เกิดการพัฒนาและความเข้มแข็งของชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีส่วนร่วม ในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
6. เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพทั้งภายในและภายนอก
7. เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการของสำนักวิทยบริการฯ ที่มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

พื้นที่ให้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

place-service-300x289

 

Hits: 49
Published on Saturday, 07 March 2015 15:46
Written by Super User

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

feucom

ปรัชญาของสำนักวิทยบริการ

สำนักวิทยบริการ เป็น ศูนย์กลางแหล่งรวบรวม และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ

ปณิธานของสำนักวิทยบริการ

สำนักวิทยบริการ มุ่งมั่นรวบรวม และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพ ประสิทธิภาพทางด้านการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย ที่ทันสมัยและสะดวกรวดเร็ว ด้วยจิตสำนึกที่ดี

วิสัยทัศน์ของสำนักวิทยบริการ

สำนักวิทยบริการ เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ และเป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการการบริหารการจัดการระบบฐานข้อมูล ระบบการสืบค้นข้อมูล(Information Retrieval) และการเชื่อมโยงข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและมี
ประสิทธิภาพเพื่อสร้างบริการที่มีคุณภาพ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้ รวมทั้งมุ่งให้สำนักวิทยบริการ วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศทางวิชาการการบริหารธุรกิจที่สมบูรณ์ และทันสมัยที่สุดในภาคเหนือ อันจะสนับสนุนปรัชญาของวิทยาลัยที่มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ (Academic Excellence) และวิสัยทัศน์ที่จะนำพาวิทยาลัยไปสู่การเป็นสถาบันการศึกษาในสหสวรรษใหม่อย่างแท้จริง

libcover2

วัตถุประสงค์ของสำนักวิทยบริการ

เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาของสำนักวิทยบริการ ที่กำหนดไว้ จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการบริหาร และจัดการของสำนักวิทยบริการ ดังนี้
1.จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการจัดซื้อ และบริจาค ที่มีปริมาณไม่น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดระดับอุดมศึกษา ของทบวงมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงคุณภาพ ความทันสมัย และสัดส่วนในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนและมีการวิจัยในวิทยาลัย
2.จัดทำฐานข้อมูลทางบรรณานุกรม และดัชนี (Bibliographic Information and Indexing Database) ของทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทในสำนักวิทยบริการให้สมบูรณ์ และถูกต้องมากที่สุด เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเชื่อมโยง และถ่ายโอน
ข้อมูลเพื่อใช้ในการดำเนินงานส่วนอื่น ๆ เช่น งานบริการยืม – คืน ในสำนักวิทยบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากที่สุด
3.จัดให้บริการทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต (World Wide Web Online Public Access Catalog – Web OPAC) การยืม-คืนด้วยระบบอัตโนมัติ การติดต่อสื่อสารต่าง ๆ กับผู้ใช้ทาง E- Mail และ Web Site การบริการตอบคำถาม และช่วยการค้นคว้า การยืม-คืนระหว่างห้องสมุด การบริการข่าวสารทันสมัยแก่คณาจารย์ (Current Content Awareness Services) เป็นต้น
4.จัดฝึกอบรม แนะนำผู้ใช้บริการให้สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ และบริการต่าง ๆ ในห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.จัดระบบการซ่อมบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง
6.จัดระบบการป้องกันการสูญหายของทรัพยากรสารเทศที่มีประสิทธิภาพ
7.พัฒนาสำนักวิทยบริการให้เป็น “ห้องสมุดดิจิตอล” (Digital Library) อย่างสมบูรณ์แบบ โดยการพัฒนาฐานข้อมูลและพัฒนาระบบการบริการทรัพยากรสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่อง
8.พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในงานบริการทรัพยากรสารสนเทศ และมีความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีต่างๆ และมีจิตใจบริการอย่างแท้จริง
9.จัดกิจกรรมเสริมความรู้และสร้างเจตนคติที่ดีต่อบรรณารักษ์ และสำนักวิทยบริการ และสร้างนิสัยรักการอ่าน และการเรียนรู้ แก่ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
10.จัดระบบและการอำนวยการด้านการบริหารการจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดมุ่งหมายของสำนักวิทยบริการ

ให้บริการทรัพยากรสารสเทศทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย และตอบสนองต่อการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และการศึกษาตลอดชีวิต แก่ นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของวิทยาลัย และผู้สนใจทั่วไป และเป็นแหล่งบริการทรัพยากรสารสนเทศทางวิชาการบริหารธุรกิจที่สมบูรณ์ และทันสมัยที่สุดในภาคเหนือ

Hits: 19
Published on Sunday, 08 March 2015 10:17
Written by Super User

ห้องสมุดประชาชน

 

ห้องสมุดประชาชนห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

 

ประวัติความเป็นมา

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเชียงใหม่ ศูนย์ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ภายในบริเวณสำนักงานบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เดิมห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่เปิดบริการครั้งเเรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2493 ตั้งอยู่ที่วัดหนองคำ ในเขตเทศบาล อำเภอเมืองเชียงใหม่

ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ได้สร้างอาคารห้องสมุดเป็นอาคารเอกเทศภายในวัดพันอ้น เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 – 2504 ในปี่ 2513 กองการศึกษาผู้ใหญ่กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณในการสร้างอาคารห้องสมุดปัจจุบันและเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา

Copyright © 2025 Knowlege Rights Reserved.