Open your brain

WELCOME TO Information resource TIME

open your brain

Main Menu

calenda

April 2025
Mo Tu We Th Fr Sa Su
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4

Vinaora World Time Clock

Counter

002608
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
51
1
102
2506
103
247
2608

Your IP: 3.16.31.119
Server Time: 2025-04-26 14:52:29

แบบสำรวจ

ความน่าสนใจของเว็บไซต์นีิ้

ชอบ - 100%
ไม่ชอบ - 0%

Total votes: 2
The voting for this poll has ended on: 02 May 2015 - 04:51

Survey

Login Form

Home

Hits: 56
Published on Sunday, 08 March 2015 10:19
Written by Super User

ห้องสมุดแห่งชาติ

 

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

nlt chaimai

ประวัติความเป็นมา
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เกิดขึ้นจากดำริของ ฯพณฯท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ) ที่ต้องการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติประจำภาคเหนือขึ้น เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมฉลองปีรัชมังคลาภิเษก 2531
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2532 และได้เปิดให้บริการเมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2532 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

cmnlt-3

วิสัยทัศน์

แหล่งรวบรวมมรดกภูมิปัญญาด้านทรัพยากรสารสนเทศที่สมบูรณ์และทันสมัย มุ่งให้บริการอย่างดีเด่น พร้อมเป็นผู้นำในด้านวิชาชีพห้องสมุด

 

ภารหน้าที่

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่  เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวม  สงวนรักษา จัดระบบและให้บริการมรดกทางสติปัญญา วิทยาการและวัฒนธรรมของชาติที่ปรากฎในรูปของหนังสือ  วารสาร หนังสือพิมพ์  โสตทัศนวัสดุ และข่าวสารเรื่องทันสมัยต่างๆ  รวมถึงหนังสือตัวเขียน  เอกสารโบราณ  คัมภีร์ใบลาน  สมุดไทย  โดยมีภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานดังนี้

1)  บริหารจัดการและดำเนินงานทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นคลังสิ่งพิมพ์ในภูมิภาค โดยการจัดหา รวบรวม  จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทและทุกสาขาวิชาให้ครบถ้วนสมบูรณ์

2)  ศึกษาค้นคว้าและดำเนินงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตามหลักมาตรฐานสากล  เพื่อการเข้าถึงสารสนเทศได้โดยง่ายและใช้เป็นคู่มือในการให้คำปรึกษา แนะนำ  ฝึกอบรมการปฏิบัติงานห้องสมุด  แก่บุคคลและหน่วยงานภายนอก

3)  ให้บริการสารสนเทศและส่งเสริมการอ่าน  การศึกษาค้นคว้า  วิจัย  แก่ประชาชน  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย

4)  ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  และดำเนินงานสำรวจ  รวบรวมเอกสารโบราณ และหนังสือหายาก  เพื่อการสงวนรักษามรดกทรัพย์สินภูมิปัญญาของภูมิภาค

5)  ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  ในการเผยแพร่และกำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ  (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  และข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ (CIP)

ที่ตั้ง : 20/1 ถนนบุญเรืองฤทธิ์ ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
ติดต่อ : โทรศัพท์ 053 278-3223, 053 808-550 โทรสาร 053 808-550 ต่อ 25
เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: วันอังคาร- ศุกร์ เวลา 9.00 – 17.00 น.
                                       วันเสาร์ เวลา 8.30 – 18.00 น.  หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์
เว็บไซต์ : http://www.cmnlt.com

             http://www.finearts.go.th/chiangmailibrary

ฐานข้อมูลสืบค้นข้อมูลทรัพยากร :  http://www.cmnlt.com/d-library

facebook : http://www.facebook.com/cmnlt2012

อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. .th  (งานเทคโนโลยี)

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.   (งานบริหาร)

Hits: 43
Published on Saturday, 07 March 2015 15:58
Written by Super User

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

brochure_Back
ประวัติความเป็นมา

เป็นอาคารเก่าแก่ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมอันงดงามสร้างเมื่อ ปี 2467 เคยใช้เป็นหอคำ ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพศาลากลางจังวัดเชียงใหม่ อาคารตั้งยู่บริเวณสะดือเมืองในอดีต ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง ก่อนที?จะย้ายไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นมรดกตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าการวิโรรสสุริยวงศ์ ถึงเจ้าเทพไกรสรพระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 7 ผู้ใช้หอคำซึ่งอยู่ในบริเวณคุ้มกลางเวียงเป็นศูนย์กลางการบริหารนครเชียงใหม่ เมื่อเจ้าอิทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นของเจ้าดารารัศมีพระธิดา ต่อมาเมื่อ จัดการปฏิรูป การปกครองตามระบบเทศาภิบาลเจ้าดารารัศมีจึงใช้คุ้มกลางเวียงแห่งนี้เป็น“ศาลารัฐบาล”หรือที่ทำการรัฐบาล

95986446ต่อมาเมื่อจังวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้ศาลากลางลังใหม่ บนถนนโชตนาเป็นศูนย์ราชการจังหวัด และได้ย้ายหน่วยงาน ออกหมดในปี 2539 อาคารหลังนี้จึงถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปใช้ประโยชน์จนถึงปลายปี 2540 เทศบาล นครเชียงใหม่ได้ขอปรับปรุงาคารเพื่อใช้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี2542 ประเภทที่ทำการอาคารสาธารณะจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์

เชียงใหม่นอกจากจะเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติอันงดงามจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ในอดีตนครแห่งนี้เคยเป็น ศูนย์กลางในทุกๆด้านขออาณาจักรล้านนาทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและวรรณกรรม แต่ที่ผ่านมายังขาดแหล่งที่เป็นศูนย์กลางให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้ ลูกหลานชาวเชียงใหม่นักท่องเที่ยง ตลอดจนผู้สนใจได้ศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้องและครอบคลุมในทุกด้าน
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่จึงเกิดขึ้น เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้รากเหง้าของตนเองและบ้านเมืองรู้จักวิถีชีวิตตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของตนเองอันจะสร้างความภาคภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงานให้คงอยู่สิบไป นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในเชิงนุรักษ์ในเขตเมืองเก่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจ นครเชียงใหม่ตลอดจนผู้คนในท้องถิ่น อันเป็นหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนุรักษ์

ภายในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้จัดแบ่งพื้นที่อาคารด้านหน้าเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร อาคารด้านหลังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมนิทรรศการหมุนเวียน ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ห้องนิทรรศการศิลปกรรมล้านนาห้องสารสนเทศ และห้องภัณฑารักษ์

Hits: 149
Published on Saturday, 07 March 2015 15:59
Written by Super User

หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่

Title-history

     จากอดีตถึงปัจจุบันเมืองเชียงใหม่ มีช่วงผ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานกว่า700ปี และยังเป้นเมืองสำคัญทางภาคเหนือ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai Historical Centre) ได้จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นับตั้งแต่สร้างเมืองเชียงใหม่ จนเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา และสามารถขยายอาณาจักรล้านนาออกไปอย่างกว้างขวาง และมีการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ทั้งทางการค้าและศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม จนถึงยุคสมัยที่เชียงใหม่ อ่อนแอลงจนพ่ายแห้ และกลายเป็นเมืองขึ้นต่อพม่า สุดท้ายได้ต่อสู้จนเป็นอิสระจากพม่า และเข้าสู่ยุคสมัยของการเป็นประเทศราชของสยาม จนรวมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน

2tyjZSq-621x363หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองประวัติศาสตร์ด้านหลังหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ พบหลักฐานในแผนที่ ที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งหอแก้ว (ต้นพุทธศตวรรษที่21 -กลางพุทธศตวรรษที่ 25 ) ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญของเมือง

เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555
อาคารหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
 
เปิดทำการ
วันอังคาร-วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) (ปิดวันจันทร์ แลพวันหยุดสงกรานต์)
เวลา 08.30 -17.00 น
 
อัตราเข้าชม
คนไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็กไทย 10 บาท
คนต่างชาติผู้ใหญ่ 90 และเด็กต่างชาติ 40 บาท
 
ที่ตั้ง
ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
(ด้านหลังหอศิลปเมืองเชียงใหม่ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ )
Hits: 23
Published on Saturday, 07 March 2015 16:00
Written by Super User

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

Title-Lana

     ล้านนามีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปฏิบัติสืบเนื่องมายาวนาน มีรูปแบบที่หลากหลาย โดดเด่น และงดงามสะท้อนความหมายที่แฝงเร้นมากับคติความเชื่อของบรรพชนผผูกพันกับศรัทธาในพุทธศาสนา และกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และงานหัตถศิลป์ของล้านนา สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของดินแดนแห่งนี้มาแต่อดีตจนปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา(Lanna Folklife Museum)จึงได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในล้านนา และลักษณะทางศิลปที่ปรากฏในงานพุทธศิลป์ ทั้งเครื่องใช้ทางพิธีกรรม สถาปัตยกรรม ประเพณี งานจิตรกรรม และงานหัตถศิลป์ของล้านนาที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพื่อสืบสาน และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้คนทั่วไป

Datahistoryประวัติอาคาร นำเสนอประวัติของอาคารศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่

มหกรรมภัณฑ์ล้านนา นำเสนอเรื่องราวของงานเครื่องสูงของล้านนาที่ใช้ในการสักการบูชาพระธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งทำจากเงิน ทอง แก้ว แหวน และเครื่องประดับต่างๆ เรื่องราวของหัวใจพระเจ้าซึ่งอยู่ภายในพระพุทธรูปทำด้วยเครื่องเงิน ภายในบรรจุอัญมณีต่างๆ รวมถึงลักษณะการบรรจุพระธาตุจำลอง ซึ่งใช้ในพิธีวางฤกษ์แบบโบราณล้านนา

1396716483-9884486600-oเวลาทำการ

เวลา 08.30-17.00 น.ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ยกเว้นวันจันทร์และวันหยุดเทศกาลสงกรานต์

ค่าเข้าชม

ชาวไทย 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ 90 บาท เด็ก 40 บาท

สนใจติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 053-217793 หรือ www.cmocity.comและ ww.facebook.com/cmocity

Copyright © 2025 Knowlege Rights Reserved.