Open your brain

WELCOME TO Information resource TIME

open your brain

Main Menu

calenda

April 2025
Mo Tu We Th Fr Sa Su
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4

Vinaora World Time Clock

Counter

002609
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
52
1
103
2506
104
247
2609

Your IP: 3.16.188.113
Server Time: 2025-04-26 14:55:33

แบบสำรวจ

ความน่าสนใจของเว็บไซต์นีิ้

ชอบ - 100%
ไม่ชอบ - 0%

Total votes: 2
The voting for this poll has ended on: 02 May 2015 - 04:51

Survey

Login Form

Home

Hits: 108
Published on Saturday, 07 March 2015 16:03
Written by Super User

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Art in Paradise พิพิธภัณฑ์ภาพวาด 3 มิติ แห่งแรกในเชียงใหม่ หลังจากที่ประสบความสำเร็จที่พัทยาแล้วเลยมาเปิดอีกฟนึ่งสาขาที่เชียงใหม่ Art in Paradise ที่รวบรวมเอาภาพวาด 3 มิติ เอาไว้มากมาย และเริ่มเปิดประตูให้ทุกท่านได้สัมผัสกับภาพจิตรกรรมเสมือนจริงเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 ซึ่งก่อตั้งโดย จาง คยู ซอก (Mr. Jang Kyu Suk)ชาวเกาหลีใต้ และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยจิตรกรชาวเกาหลีมืออาชีพที่มีผลงานชนะเลิศ ระดับประเทศกว่า 10 ท่าน และได้ร่วมกันเนรมิตพิพิธภัณฑ์แห่งจินตนาการ สร้างจิตรกรรมบนฝาผนังเสมือนจริง ที่ต้องใช้เทคนิคการวาดภาพ ให้สามารถลวงตาผู้ชมได้ สามารถทำให้ผู้ชมสัมผัส และมีส่วนร่วมกับผลงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด ให้ความรู้สึกที่เหมือนจริง ประหนึ่งว่าผู้ชมเป็นส่วน หนึ่งของภาพจิตรกรรม

Art in Paradise เชียงใหม่ แบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 โซน ได้แก่ โซน AQUA โลกใต้ทะเล ท่องดินแดนใต้สมุทร, โซน ZOO สวนสัตว์, โซน DINOSAUR สัตว์โลกล้านปี, โซน SURREALISM ศิลปะเหนือจริง, โซน CLASSIC ART ศิลปะยุคคลาสสิก ที่คุณก็เป็นศิลปินชื่อก้องโลกได้, โซน LANNA ลานนา เพลิน ๆ กับวัฒนธรรมล้ำค่า, โซน THAI ประเพณีไทย สนุกสนานไปกับการละเล่นของไทย และโซน EGYPTIAN อียิปต์โบราณ เปิดประตูสู่ดินแดนลี้ลับ อย่างไรก็ตาม แต่ละโซนก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไปตามสไตล์ ใครชอบแบบไหนสไตล์ใดก็แวะไปโพสต์ท่าเก๋ ๆ แอ็คติ้งมันส์ ๆ ถ่ายรูปกันเพลิน ๆ ตามจินตนาการได้ตามใจชอบ

ค่าเข้าชม

ผู้ใหญ่ราคา 180 บาท เด็ก (สูงไม่เกิน 120 เซนติเมตร) ราคา 120 บาท (ปิดเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วเวลา 19.30 น.)

ที่ตั้ง
ที่อยู่: Art in Paradise Chiang Mai
199/9 ถนนช้างคลาน ตำบลช้างคลาน
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
เบอร์โทร: 053-274-100
โทรสาร: 053-273-491
อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Hits: 17
Published on Saturday, 07 March 2015 16:05
Written by Super User

โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

sslanna-logo

ประวัติความเป็นมา


ชุมชนล้านนามีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์อยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลกันและกันยาวนานรวมทั้งได้ร่วมกันสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในเรื่องอาหาร ยารักษาโรค งานหัตถกรรมการเกษตรพื้นบ้าน การจัดการทรัพยากรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีและมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างต่อเนื่อง แต่จากการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิต ภูมิปัญญาถูกละเลยจนน่าเป็นห่วง ขาดการสืบทอดจากผู้รู้และพอครูแม่ครู โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่หลงใหลไปกับวัฒนธรรมภายนอกและไม่ได้มีการสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญาจากพ่อครูแม่ครูเหล่านี้เลย

E5039779-12.jpgราวต้นปี ๒๕๔๐ องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ นักเขียน ศิลปิน กลุ่มศิลปวัฒนธรรม องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชน ได้ปรึกษาหารือตกลงใจร่วมกันว่าควรประสานงานกับคน ทุกกลุ่ม ได้เข้ามาร่วมจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยร่วมกันจัดงาน”สืบสานล้านนา”ในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ติดต่อกันมาเป็นเวลา ๕ ปี หวังว่าจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นที่อยู่พื้นฐานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่นร่วมกันในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้มีความพยายามขององค์กร ชุมชน กลุ่มคนในท้องถิ่น ภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสืบทอดอย่างต่อเนื่องในบางชุมชนและมีการจัดงาน “สืบสานล้านนา” ขึ้นในช่วงเดือนเมษายนติดต่อกันมาทุกปีตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ก็ยังไม่สามารถก่อให้เกิดการ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีความต่อเนื่องและมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายได้

E5039779-18.jpgเดชพระคุณเจ้าหลวงพ่อพระพุทธพจนวราภรณ์ (พระธรรมดิลก) วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ได้ให้แนวคิดว่า “การจะสืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาล้านนาให้เกิดผลนั้น การจัดงานสืบสานล้านนาเพียงปีละครั้ง ๆ ละ ๔ วัน ไม่สามารถทำให้เกิดผลได้จริง ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าทุกลมหายใจเลย จึงจะเป็นจริง”
คณะกรรมการจัดงานสืบสานล้านนาได้นำมาปรึกษาหารือมีความเห็นร่วมกันว่าจะต้องทำโครงการที่จะให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา” ขึ้นในปี ๒๕๔๓ และได้ดำเนินกิจกรรมในการรวบรวมองค์ความรู้ พ่อครู แม่ครู และปราชญ์ชาวบ้านเพื่อทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาให้กับลูกหลานและผู้สนใจในท้องถิ่น ได้เกิดการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถสืบสานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในระยะแรกทางคณะกรรมการและผู้ดำเนินงานได้มีการประสานงานกับพ่อครูแม่ครู ผู้รู้ในท้องถิ่นเปิดสอนวิชาภูมิปัญญาแขนงต่าง ๆ และเปิดรับสมัครนักเรียนและผู้สนใจเข้าเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านแขนงต่าง ๆ อาทิ การทอผ้า การตัดกระดาษตัดตุง ทำโคม ดนตรีพื้นบ้าน ฟ้อนรำพื้นบ้าน การวาดรูปล้านนา อาหารพื้นบ้าน แกะสลัก จักสาน งานปั้น เป็นต้น มีผู้ให้ความสนใจเข้าเรียนรู้เป็นจำนวนมาก

5ytyrtyyy

วัตถุประสงค์

เพื่อรวบรวมผู้รู้ พ่อครู แม่ครู ช่างพื้นบ้านในแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนล้านนา
ศึกษารวบรวยมข้อมูล องค์ความรู้พื้นบ้านออกมาในรูป ของตำราที่คนรุ่นใหม่ศึกษาได้
จัดทำหลักสูตร จัดอบรมระยะสั้น
เผยแพร่ให้ความรู้แก่สาธารณชนให้เห็นความ สำคัญของการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประสานเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่าง
หลักสูตรที่เปิดสอน

 

ติดต่อเรา

โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา
๓๕ ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๐๐๐

โทรศัพท์ ๐๕๓-๒๔๔๒๓๑ โทรสาร ๐๕๓-๓๐๖๖๑๒

อีเมลล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Hits: 20
Published on Saturday, 07 March 2015 16:07
Written by Super User

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ

pyu copy

การจัดตั้งหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ มีพื้นฐานและมีความผูกพันกับคริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยกล่าวคือหลังจากที่มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนท์สองท่านแรกคือศจ.กุสลาฟ และ ศจ.ทอมลิน ได้เข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ครั้งแรกที่กรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2371ก็มีมิชชั่นคณะต่าง ๆ ได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนา โดยมีคณะมิชชั่นที่สำคัญ เช่น อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น ดิไซเปิลออฟไครสท์ และเซย์เวนเดย์แอดแวนติสท์เป็นต้น การเผยแพร่คริสตศาสนาในช่วงแรกทำเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร จากนั้นได้มีการขยายตัวออกไปทั่วประเทศ มีการประกาศเผยแพร่ความเชื่อของคริสตศาสนามีการตั้งคริสตจักร ตั้งโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนทั้งชายและหญิง และเป็นการเตรียมและพัฒนาผู้เชื่อให้ผู้นำคริสตจักร ตั้งโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2477 คริสตจักรต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการประกาศเผยแพร่ของมิชชันนารี คณะอเมริกัน-เพรสไบทีเรียน อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้รวมตัวกันตั้ง เป็นสภาคริสตจักรในสยาม หรือที่เรียกว่า สภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปัจจุบัน

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2500 และ 2505 อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้ปิดสำนักงานในประเทศไทยลงตามลำดับ มีการยกทรัพย์สิน และกิจการทั้งหมดให้แก่สภาคริสตจักรในประเทศไทย มิชชันนารีที่ยังคงทำงานในประเทศไทย ได้ปรับฐานะเป็นภราดรผู้ร่วมงานกับสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2521 องค์กรคริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยได้รวมตัวกันจัดงานฉลองครบรอบ 150 ปี คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทย ในการเตรียมจัดงานฉลองนั้น ได้มีการศึกษาค้นคว้าเอกสารและหนังสือต่าง ๆ เพื่อจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์สภาคริสตจักรในประเทศไทย การดำเนินการดังกล่าวทำให้มีค้นพบเอกสารเก่าของสภาคริสตจักรฯ ตั้งแต่สมัยมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนเข้ามาประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณในประเทศไทย โดยเอกสารดังกล่าวถูกเก็บไว้ในโกดังที่เก็บของของสภาคริสตจักรฯ คณะผู้บริหารสภาคริสตจักรฯ ในเวลานั้นได้ตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารที่มีค่าเหล่านั้น แต่ก็ไม่ทราบว่าควรจะดำเนินการอย่างไรในการรักษาดูแลเอกสารอย่างเหมาะสม จึงได้ติดต่อวิทยาลัยพายัพ(มหาวิทยาลัยพายัพในปัจจุบัน)ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมแห่งแรกของสภาคริสตจักรฯ   และในเวลานั้นศาสนาจารย์ เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน อาจารย์สอนประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ของวิทยาลัยพายัพ ท่านเคยผ่านการฝึกงานด้านงานจดหมายเหตุในประเทศสหรัฐอเมริกามาก่อนได้เสนอให้มหาวิทยาลัยพายัพนำเอกสารเหล่านั้นมาเก็บรักษา และได้มีการจัดตั้งแผนกจดหมายเหตุ หรือหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดยมีศาสนาจารย์เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน เป็นผู้อำนวยการคนแรก มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เขตบ้านธารแก้ว ต่อมาในปีพ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้มีการพัฒนาโดยมีการขยายวิทยาเขตจากเดิมที่มีอยู่ 2 เขต (บ้านธารแก้วและแก้วนวรัฐ) เป็น 3 เขต คือ มีวิทยาเขตแม่คาวเพิ่มอีกหนึ่งเขตหอจดหมายเหตุได้ย้ายสำนักงานจากบ้านธารแก้ว มาอยู่ที่เขตแก้วนวรัฐในอาคารที่เคยเป็นหอพักพยาบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการย้ายที่ทำการไปยังอาคารศรีสังวาลย์ บริเวณชั้นที่ 3 และชั้น 4

ปัจจุบันหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ ได้ย้ายมาดำเนินการ ณ บริเวณชั้น 3 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สิรินธร มหาวิทยาลัยพายัพ เขตแม่คาว ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 และได้มีการนมัสการพระเจ้าเนื่องในโอกาศเปิดหอจดหมายเหตุในที่ทำการใหม่ เมื่อวันพุธที่ 27  มีนาคม พ.ศ. 2556

ปณิธาน

“จะยึดมั่นในสัจจะ – บริการในการปฏิบัติงาน และแสวงหาความดีเลิศของงานตามมาตรฐานงานจดหมายเหตุ”

พันธกิจ

1.  เสาะหา เก็บรักษา และให้บริการเอกสารจดหมายเหตุของสภาคริสตจักรในประเทศไทย เอกสารจดหมายเหตุ  ของมหาวิทยาลัยพายัพ และเอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์
2.  เป็นแหล่งข้อมูลทางด้านคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ในประเทศไทย
3.  เป็นแหล่งเรียนรู้งานจดหมายเหตุ

archives-payap

วิสัยทัศน์

“งานจดหมายเหตุที่มีมาตรฐาน”

วัฒนธรรมของหน่วยงาน

“มีจิตสำนึก และให้คุณค่าความสำคัญของเอกสารจดหมายเหตุ”

เวลาเปิดทำการ / Open Hours

วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ 8.00 น. – 16.30. น.

Monday through Friday 8.00 a.m. – 4.30 p.m.

Weekends Closed

ที่อยู่: หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ
มหาวิทยาลัยพายัพ
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
ประเทศไทย
โทรศัพท์/Telephone: (+66) 53 851478 or (+66) 53 241255ต่อ/ext.7471-5
อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Fax: (+ 66) 53 851478 ต่อ/ext. 7471

Hits: 37
Published on Saturday, 07 March 2015 16:09
Written by Super User

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ

images
ประวัติความเป็นมา

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ ได้ถือกำเนิดขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการเรียนการสอน และการวิจัยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นล้านนา ซึ่งจำเพาะถึงจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด และการขยายขอบเขตให้กว้างขวางมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งภูมิภาคภาคเหนือ คือ 17 จังหวัด ในเวลาต่อมา สำนักหอสมุดในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริการของมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นในการเสาะแสวงหา รวบรวม สะสมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับล้านนาและภูมิภาคภาคเหนือโดยรวม สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นภาคเหนือ โดยในระยะเริ่มแรก ได้จัดตั้ง “โครงการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปลานนา″ ขึ้นเมื่อพ.ศ.2524 จากการริเริ่มของผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพ สุจินดา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ในขณะนั้น ต่อมาโครงการดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยพิพิธภัณฑ์และศิลปล้านนา″ และ “หน่วยเอกสารล้านนา″ ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2534 อาจารย์ ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดได้มีนโยบายในการพัฒนาหน่วยเอกสารล้านนาให้มีขอบเขตภาระงานที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือนอกจากมีการขยายกรอบของการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับล้านนาให้กว้างขวางออกไปถึงภูมิภาคภาคเหนือแล้วยังขยายต่อไปถึง “ไทศึกษา″ เป็นประการสำคัญอีกด้วย โดยสำนักหอสมุดได้ปรับเปลี่ยนหน่วยเอกสารล้านนามาเป็น “ศูนย์สนเทศภาคเหนือ” มีฐานะเป็นงานหนึ่งของฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

19วัตถุประสงค์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งศูนย์สนเทศภาคเหนือภายใต้วัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อแสวงหา รวบรวม และให้บริการทรัพยากรสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือ
2.เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับภาคเหนือ
3.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลภาคเหนือในรูปแบบต่างๆ แก่ชุมชน มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้รับบริการในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมภายใต้ขอบเขตและพันธกิจของสำนักหอสมุด
4.เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือ โดยรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือในด้านข้อมูล

ขอบเขตของข้อมูลภาคเหนือ

ข้อมูลภาคเหนือ หมายถึงข้อมูลที่อยู่ในขอบเขตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือในทุกๆ ด้าน ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา การศึกษา การท่องเที่ยว สภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจท้องถิ่น สังคม การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ฯลฯ เป็นข้อมูลในเขตพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ และอุทัยธานี โดยเน้นหนักในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงดินแดนที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน โดยเน้นภาคเหนือตอนบน ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น รัฐฉานในประเทศพม่า แคว้นยูนนานในประเทศจีน และทางตอนเหนือ ของประเทศลาว เป็นต้น

สารนิเทศที่ให้บริการ

ศูนย์สนเทศภาคเหนือมีทรัพยากรสารนิเทศสำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ ดังนี้
1.เอกสารข้อมูลภาคเหนือ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.1เอกสารตัวพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ ตำรา รายงานการประชุมสัมมนา และหนังสืออ้างอิง ซึ่งจัดเก็บตามระบบการจัดหมู่แบบทศนิยมของดิวอี้ โดยเรียงไว้ตามลำดับของเลขเรียกหนังสือ ตั้งแต่หมวด 000-900 ส่วนกฤตภาคและแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง จัดเก็บโดยการเรียงลำดับตามหมายเลขของเอกสาร รวมทั้งจุลสารซึ่งจัดเก็บตามลำดับอักษรของหัวเรื่อง
1.2เอกสารตัวเขียน หรือ เอกสารโบราณ ได้แก่ คัมภีร์ใบลาน พับสา สมุดข่อย และเอกสารต้นฉบับ ซึ่งเอกสารตัวเขียนเหล่านี้จัดเก็บตามระบบการจัดหมวดหมู่เอกสารโบราณ รวมทั้งสิ้น 23 หมวด คือ หมวดพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม คัมภีร์บาลี บทสวดมนต์ อานิสงส์ ชาดก โอวาทคำสอน ประเพณี/พิธีกรรม/พระราชพิธี ธรรมทั่วไป นิยายธรรม นิยายพื้นบ้าน ตำนานพระพุทธศาสนา ตำนานเมือง/ราชวงศ์ กฎหมาย/กฏข้อบังคับต่างๆ ตำราอักษรศาสตร์ กวีนิพนธ์ร้อยกรอง/วรรณคดี ตำราโหราศาสตร์ ตำรายา ตำราต่างๆ จดหมายเหตุราชการ/บุคคล รวมหลายหมวด และเบ็ดเตล็ด
2.เอกสารหายาก เป็นเอกสารเพื่อการค้นคว้าวิจัยชั้นสูงที่มีคุณค่าและหาได้ยากในห้องสมุดต่างๆ ส่วนใหญ่ไม่สามารถหาซื้อได้จากสำนักพิมพ์หรือร้ายขายหนังสือทั่วไป อาทิ หนังสืออนุสรณ์งานศพ และหนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษต่างๆ เป็นต้น
3.เอกสารจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วยหนังสือราชการ รายงานการประชุม ผลงานทางวิชาการของอาจารย์และข้าราชการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และเอกสารอื่นๆ อาทิ โปสเตอร์ และแบบแปลนอาคารของหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

บริการของศูนย์สนเทศภาคเหนือ

เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลภาคเหนือที่ต้องการ ศูนย์สนเทศภาคเหนือมีบริการต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้ ดังนี้
1.บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าข้อมูลภาคเหนือ
2.บริการรวบรวมบรรณานุกรมเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภาคเหนือ
3.บริการการอ่านและค้นคว้าเอกสารข้อมูลภาคเหนือ
4.บริการแนะนำการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาทรัพยากรสารนิเทศ

ที่ตั้ง

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่บริเวณชั้น 4 อาคารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

Copyright © 2025 Knowlege Rights Reserved.