15 ก.พ. 2015
by adminin ห้องสมุดเฉพาะ Tags: ห้องสมุดธนาคาร, ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย เชียงใหม่, ห้องสมุดแบงค์ชาติ เชียงใหม่
ห้องสมุด ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นห้องสมุดเฉพาะ (Special library) ให้บริการพนักงานภายในและบุคคลทั่วไปด้วยสารนิเทศที่เน้นด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยและข้อมูลและสารนิเทศจากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ห้องสมุดเริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2489 จากหนังสือส่วนพระองค์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ซึ่งเป็นผู้ว่าการพระองค์แรกของธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2496 เริ่มมีการดำเนินงานห้องสมุดเต็มรูป มีบรรณารักษ์ทำหน้าที่ประจำห้องสมุดมีการปรับปรุงพัฒนางานผ่านช่วงเวลาต่าง ๆ เรื่อยมาจนปัจจุบัน ให้บริการในนาม หอสมุด จดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์
นอกจากห้องสมุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสถานที่ตั้ง ณ อาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ผู้สนใจศึกษา ค้นคว้าข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร ในส่วนภูมิภาค สามารถใช้บริการห้องสมุดได้จาก ห้องสมุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สำนักงานสาขาภาคต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
15 ก.พ. 2015
by adminin ห้องสมุดเฉพาะ Tags: กองบิน41, ห้องสมุดกองบิน, ห้องสมุดกองบิน41 เชียงใหม่
ห้องสมุดกองบิน 41จังหวัดเชียงใหม่ ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ข้าราชการลูกจ้าง และครอบครัว ของกองบิน 41
ในอดีตห้องสมุดของเราอยู่ที่อาคารสวัสดิการซึ่งไม่สะดวกในการให้บริการได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากอยู่ห่างไกล จึงย้ายมาตั้งที่อาคารแฟลตรับรอง 4 ชั้น โดยมีห้องสมุดและห้อง Internet Adslให้บริการที่ชั้น 1 และให้บริการจนถึงปัจจุบัน
ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nooneo&month=08-2007&date=28&group=14&gblog=1
15 ก.พ. 2015
by adminin ห้องสมุดเฉพาะ Tags: หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่
ข้อมูลทั่วไปของหอจดหมายเหตุแห่งนี้
สถานที่ : หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแก้วนวรัฐ
ถนนแก้วนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 053-242484, 053-243969 และ 053-306512-3
เว็บไซต์ : http://archives.payap.ac.th
การดูงานของผมเริ่มจากการฟังคำอธิบายประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุ
ซึ่งทำให้รู้ว่าเดิมทีแล้ว หอจดหมายเหตุแห่งนี้เน้นการจัดเก็บเอกสารของสภาคริสตจักรนิกายโปรเตสแตนท์
รวมถึงมีการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยด้วย
เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า จดหมายเหตุคืออะไร
ผมจึงขอนำความหมายและคำอธิบายของ จดหมายเหตุ มาลงให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
?เอกสารจดหมายเหตุ? หมายถึง เอกสารสำนักงานของหน่วยงานราชการ หรือเอกชนใด ๆ ซึ่งถูกประเมินแล้วว่ามีคุณค่าที่จะเก็บรักษาไว้อย่างถาวร เพื่อการอ้างอิงและวิจัย และถูกเก็บรักษาไว้ที่หน่วยงานจดหมายเหตุ
หลังจากที่เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกับคำว่า ?เอกสารจดหมายเหตุ? แล้ว
ผมก้อยากให้เพื่อนๆ ลองอ่านปณิธานของหอจดหมายเหตุแห่งนี้ดูนะครับ
“มุ่งสู่ความเป็นแหล่งข้อมูลเรื่องการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนโดยเน้น ข้อมูลในส่วนของมหาวิทยาลัยพายัพ และคริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสภาคริสตจักรในประเทศไทยที่สมบูรณ์ที่สุดรวมทั้ง ความเป็นผู้นำในงานจดหมายเหตุเอกชนของประเทศ”
เห็นหรือยังครับว่า เขาเป็นที่หนึ่งในเรื่องของเอกสารจดหมายเหตุด้านศาสนาคริสต์ที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด
การจัดการส่วนงานต่างๆ ในหอจดหมายเหตุ แบ่งการดูแลเป็น 5 ส่วนงาน คือ
- งานบริหารสำนักงาน
– งานจัดเก็บเอกสาร
– งานให้บริการ
– งานอนุรักษ์ และบำรุงรักษา
– งานพิพิธภัณฑ์
ที่มา http://www.libraryhub.in.th/2009/06/24/tour-in-archives-of-payap-university/
15 ก.พ. 2015
by adminin ห้องสมุดเฉพาะ Tags: หอจดหมายเหตุ เชียงใหม่
เป้าหมายขององค์กร
บุคลากรขององค์กรมีความภาคภูมิใจในวิชาชีพ ทุ่มเทสติปัญญาในการปฏิบัติหน้าที่ ปกป้องคุ้มครองเอกสารสำคัญซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ยืนยาว คงคุณค่าของความเป็นหลักฐานในการศึกษาค้นคว้า อ้างอิงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติ และนำองค์กรให้สู่ความเป็นเลิศและเป็นผู้นำในการดำเนินงานจดหมายเหตุ ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ หน่วยงานเจ้าของเอกสารตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเอกสารของหน่วยงาน และเชื่อมั่น ศรัทธาในความเป็นมืออาชีพของหอจดหมายเหตุแห่งชาติที่จะช่วยคุ้มครอง ดูแลเอกสารของหน่วยงานให้คงอยู่สมบูรณ์ ยืนยาวตลอดไป สาธารณชนซาบซึ้งในคุณค่าของเอกสารจดหมายเหตุ ให้ความสนับสนุนการดำเนินงานของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ภารกิจ
1. แสวงหา รวบรวม ประเมินคุณค่า เก็บรักษา อนุรักษ์ และให้บริการเอกสารสำคัญของชาติ
2. ศึกษา ค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการจดหมายเหตุ เพื่อการพัฒนาและเผยแพร่ เอกสารสำคัญของชาติ
3. บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประ เทศไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของชาติ
4. แสวงหา รวบรวม ประเมินคุณค่า เก็บรักษา อนุรักษ์และให้บริการภาพยนตร์ไทย
5. ดำเนินงานจดหมายเหตุในส่วนภูมิภาค
6. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือเกี่ยวกับกิจการจดหมายเหตุทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
7. เป็นศูนย์รับฝากเก็บเอกสารสำคัญของส่วนราชการ
8 . เป็นศูนย์ให้บริการสารนิเทศจดหมายเหตุ
9 . เผยแพร่กิจกรรมจดหมายเหตุ
10. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานจดหมายเหตุ
ที่มา หอสมุดแห่งชาติ
15 ก.พ. 2015
by adminin ห้องสมุดเฉพาะ Tags: TCDC, ทีซีดีซี, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC, ศูยน์สร้างสรรค์งานออกแบบเชียงใหม่
TCDC เชียงใหม่ ศูนย์กลางความรู้ด้านการออกแบบและบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ครบวงจรแห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์
รูปแบบการให้บริการ
ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ในบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ด้วยหนังสือกว่า 6,000 เล่ม นิตยสารกว่า 70 ชื่อเรื่อง และสื่อมัลติมีเดียกว่า 500 รายการ พร้อมฐานข้อมูลด้านการออกแบบ WGSN และฐานข้อมูลด้านการตลาด GMID เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 7,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 250 ชนิด และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัสดุล้ำยุค เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสกับวัสดุที่นักออกแบบระดับโลกใช้ในการสร้าง สรรค์ผลงาน และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของวัสดุเพื่อการออกแบบ
กิจกรรมสัมมนาและฝึกอบรมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยความหลากหลายของกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์
การจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้ ทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ จินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าชม พร้อมทั้งการจัดการประกวด การแข่งขัน ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอย่างต่อเนื่อง
พื้นที่จัดแสดงผลงาน สำหรับผลงานของนักออกแบบรุ่นใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการทดลองตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย
การให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ให้กับผู้ประกอบการและนักออกแบบในพื้นที่
ที่มา ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC
15 ก.พ. 2015
by adminin ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Tags: สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่, ห้องสมุดพายัพเชียงใหม่
สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2517 พร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยพายัพ โดยรวมห้องสมุดของโรงเรียนพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์ แมคคอร์มิคและห้องสมุดวิทยาลัยพระคริสตธรรมเข้าด้วยกันใช่ชื่อว่า “ห้องสมุดวิทยาลัยพายัพ” โดยระยะแรกตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร ศรีสังวาลย์ เขตแก้วนวรัฐ
ในปี พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้ขยายเขตใหม่ที่เขตแม่คาว และสร้างอาคาร “หอสมุดกลาง” ขึ้น โดยเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น มีเนื้อที่ 2,664 ตารางเมตร ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น “สํานักหอสมุด” เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ จนถึงปี พ.ศ. 2541 อาคารหอสมุดหลังเดิมไม่สามารถให้บริการ แก่อาจารย์ และนักศึกษาได้อย่างเพียงพอ มหาวิทยาลัยพายัพได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารหอสมุดใหม่ และได้มีการรณรงค์หาทุน โดยมหาวิทยาลัยพายัพได้รับ เงินช่วยเหลือบางส่วนจาก American School and Hospitals Abroad (ASHA) และ ผู้บริจาครายอื่น ๆ ทั้งภายใน และ ภายนอกมหาวิทยาลัย
อาคารหอสมุดใหม่เป็นอาคาร 4 ชั้น มีพื้นที่ให้บริการ 12,500 ตารางเมตร มหาวิทยาลัยพายัพมุ่งหวังจะพัฒนาให้อาคารหลังนี้เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียน รู้ (Learning Resource Center) ที่ทันสมัยพร้อมด้วยสิ่งอํานวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า และการทํางานวิจัย ด้วยระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Library ) อาคารหอสมุดได้เริ่มเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2548 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดําเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมทั้งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามอาคาร “ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู์สิรินธร ” เพื่อเป็นสิริมงคล ให้แก่มหาวิทยาลัยพายัพอีกด้วย
สํานักหอสมุดยังมีห้องสมุดสาขาที่เขตแก้วนวรัฐ เพื่อให้บริการแก่คณะ และภาควิชาที่เปิด สอนที่เขตแก้วนวรัฐ โดยระยะแรกใช้อาคารวิทยาลัยพระคริสตธรรม และอาคารศรีสังวาลย์ตามลําดับ จนถึงปี พ.ศ. 2533 ได้ย้ายไปยังอาคารใหม่ คณะศาสนศาสตร์ ชั้น 3 โดยใช้ชื่อว่า “The Dewald Memorial Library” ในปี พ.ศ. 2547-2548 ห้องสมุดดิวอลด์ ได้รับทุนสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุดโดยขยายพื้นที่ให้บริการเป็น 840 ตารางเมตร และ มีพิธีเปิดห้องสมุด เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549
ที่มา สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่
15 ก.พ. 2015
by adminin ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Tags: ห้องสมุดตีนดอยเชียงใหม่, ห้องสมุดราชมงคลล้านนาเชียงใหม่
1. เครื่องมืออำนวยความสะดวก
– เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้น จำนวน 6 เครื่อง
– เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับยืม-คืน จำนวน 2 เครื่อง
– เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับอินเตอร์เน็ต จำนวน 107 เครื่อง
– เครื่องสแกน จำนวน 8 เครื่อง
|
2. ทรัพยกรสารนิเทศ |
|
|
|
|
|
- หนังสือ |
67,885 |
|
เล่ม |
|
|
- เอกสาร มอก. |
2,820 |
|
เล่ม |
|
|
- หนังสือในโครงการเงินกู้ธนาคารโลก |
2,750 |
|
เล่ม |
|
|
- วารสารบอกรับ |
63 |
|
ชื่อ |
|
|
- วารสารได้เปล่า |
57 |
|
ชื่อ |
|
|
- หนังสือพิมพ์ |
12 |
|
ชื่อ |
|
|
- สื่อโสต/สื่ออิเล็คทรอนิกส์ |
7,662 |
|
แผ่น |
|
|
- ฐานข้อมูลเอกสารงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม
ของห้องสมุดในเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัย (ThaiLIS) |
1 |
|
ชื่่อ |
|
|
- ฐานข้อมูล
(สกอ.จัดซื้อให้ห้องสมุดในเครือข่าย ThaiLIS) |
13 |
|
ฐานข้อมูล |
|
|
3. บริการห้อง |
|
|
|
|
|
- ห้อง Study Room |
4 |
|
ห้อง |
|
|
- ห้อง Mini Theater |
2 |
|
ห้อง |
|
|
- ห้อง Knowledge Theater |
ที่มา หอสมุดมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
15 ก.พ. 2015
by adminin ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Tags: ศูนย์สารสนเทศราชภัฎเชียงใหม่, ห้องสมุด รฎ เชียงใหม่, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
นโยบาย (Policy)
1. พัฒนาการบริหารจัดการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการบริการ เพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งการเรียนรู้ ของชุมชน
2. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประยุกต์ใช้งานของสำนักในทุกด้านเพื่อความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งให้ข้อมูลที่สมบูรณ์แก่ผู้ใช้บริการ
3. พัฒนาระบบการดำเนินงาน การประสานงาน และการให้บริการของหน่วยงานให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้บริการ
4. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (MIS) ของมหาวิทยาลัย และระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการ (MIS) ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. พัฒนาระบบการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้รูปแบบอิเล็กทรอนิก (e-Learning) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้แบบไร้พรมแดนของนักศึกษา และประชาชน
6. พัฒนาหอสมุดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)
7. พัฒนาระบบการเรียนรู้ และห้องปฏิบัติการที่จะสนับสนุนความเป็นเลิศทางด้านภาษาและคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา
8. พัฒนาระบบบริการวิชาการแก่ชุมชนด้านห้องสมุด และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สู่ชุมชน โดยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการฝึกอบรมของประชาชนในท้องถิ่น
9. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ที่จะสนับสนุนส่งเสริม ด้านประเพณี ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่น
10. พัฒนางานบริหารสำนักงานให้มีความเป็นระเบียบ โปร่งใส สามารถรองรับการตรวจสอบได้ มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน รวมทั้งพัฒนาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริม การบริการที่มีคุณภาพ
11. พัฒนากระบวนการการประกันคุณภาพอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อปรับปรุง และพัฒนาระบบ การบริหารงานในสำนักให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
12. พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรและคุณภาพของการทำงานในองค์กร โดยมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ให้บุคลากรมีประสบการณ์ทั้งด้าน ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม ด้วยการฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาต่อรวมทั้งมีจิตวิญญาณในการให้บริการ
13. การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการใช้ประโยชน์ เพื่อแสวงหารายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย
14. บริหารจัดการสำนักให้มีประสิทธิผลตามเกณฑ์มาตรฐานของ สมศ. และ ก.พ.ร. โดยให้มีผลการประเมินของแต่ละตัวบ่งชี้ไม่ต่ำกว่า 5.00
ที่มา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
15 ก.พ. 2015
by adminin ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Tags: ห้องสมุด มจร เชียงใหม่, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่
ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เปิดบริการครั้งแรกเมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2527 โดยใช้ห้องเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดสวนดอก 1 ห้อง ขนาด 36 ตารางเมตร โดยในระยะแรกผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งเรือง บุญโญรส อาจารย์จากภาควิชา ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ลานนา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่) ได้นำหนังสือส่วนตัวจำนวนหนึ่ง ( ประมาณ 1,000 เล่ม ) มาจัดตั้งห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่พระนิสิตรุ่นแรก พร้อมทั้งชักชวนผู้มีจิตศรัทธาให้ร่วมบริจาควัสดุอุปกรณ์และ หนังสือให้ ห้องสมุด อีกจำนวนมาก
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2534 คณะผู้บริหาร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนขนาด 3 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อ เดือนกันยายน 2536 ห้องสมุดจึงได้ทำการย้ายเข้าอยู่ชั้นที่ 2 ของอาคารหลังใหม่เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2536 เป็นต้นมา ห้องสมุดมีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว18 เมตร มีพื้นที่นั่งอ่านประมาณ 60 ที่นั่ง
ปีการศึกษา 2539 คุณธีระศักดิ์ ไพโรจน์สถาพร ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสถาบันวิทยบริการเพื่อใช้เป็นอาคารห้องสมุด จำนวนรวม 3 อาคารติดต่อกัน มีพื้นที่ใช้สอยรวม 1,943 ตารางเมตร ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 15 ล้านบาท เมื่อเสร็จสมบูรณ์ แล้วห้องสมุด ได้ย้ายจาก อาคารเดิมมายังอาคารสถาบันวิทยบริการ เมื่อวันที่ 24-30 กันยายน 2540 และทำพิธีรับมอบอาคาร สถาบันวิทยบริการ ( อาคารธีระศักดิ์ – ไพโรจน์สถาพร) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 และเปิดอาคารห้องสมุดเพื่อให้บริการแก่ คณาจารย์ พระนิสิตและ บุคคลทั่วไปในภาคการศึกษาที่ 2/2540 จนถึงปัจจุบัน
ที่มา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่
15 ก.พ. 2015
by adminin ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Tags: library cmu, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ห้องสมุดมช
ประวัติ
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544
ทรัพยากรในหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
o วัสดุตีพิมพ์
วารสาร
หนังสือ
หนังสือพิมพ์
o วัสดุไม่ตีพิมพ์
โสตทัศนวัสดุ
o สื่ออิเล็กทรอนิกส์
Free Trial Databases
ฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์
ฐานข้อมูลผลงานวิชาการของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลสากล
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย รวบรวมจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
ฐานข้อมูลเอกสารหายากอิเล็กทรอนิกส์
หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
โสตทัศนวัสดุ
ที่มา หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Previous Older Entries