สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่

11

 

สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2517 พร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยพายัพ โดยรวมห้องสมุดของโรงเรียนพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์ แมคคอร์มิคและห้องสมุดวิทยาลัยพระคริสตธรรมเข้าด้วยกันใช่ชื่อว่า “ห้องสมุดวิทยาลัยพายัพ” โดยระยะแรกตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร ศรีสังวาลย์ เขตแก้วนวรัฐ

ในปี พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้ขยายเขตใหม่ที่เขตแม่คาว และสร้างอาคาร “หอสมุดกลาง” ขึ้น โดยเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น มีเนื้อที่ 2,664 ตารางเมตร ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น “สํานักหอสมุด” เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ จนถึงปี พ.ศ. 2541 อาคารหอสมุดหลังเดิมไม่สามารถให้บริการ แก่อาจารย์ และนักศึกษาได้อย่างเพียงพอ มหาวิทยาลัยพายัพได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารหอสมุดใหม่ และได้มีการรณรงค์หาทุน โดยมหาวิทยาลัยพายัพได้รับ เงินช่วยเหลือบางส่วนจาก American School and Hospitals Abroad (ASHA) และ ผู้บริจาครายอื่น ๆ ทั้งภายใน และ ภายนอกมหาวิทยาลัย

อาคารหอสมุดใหม่เป็นอาคาร 4 ชั้น มีพื้นที่ให้บริการ 12,500 ตารางเมตร มหาวิทยาลัยพายัพมุ่งหวังจะพัฒนาให้อาคารหลังนี้เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียน รู้ (Learning Resource Center) ที่ทันสมัยพร้อมด้วยสิ่งอํานวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า และการทํางานวิจัย ด้วยระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Library ) อาคารหอสมุดได้เริ่มเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2548 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดําเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมทั้งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามอาคาร “ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู์สิรินธร ” เพื่อเป็นสิริมงคล ให้แก่มหาวิทยาลัยพายัพอีกด้วย

สํานักหอสมุดยังมีห้องสมุดสาขาที่เขตแก้วนวรัฐ เพื่อให้บริการแก่คณะ และภาควิชาที่เปิด สอนที่เขตแก้วนวรัฐ โดยระยะแรกใช้อาคารวิทยาลัยพระคริสตธรรม และอาคารศรีสังวาลย์ตามลําดับ จนถึงปี พ.ศ. 2533 ได้ย้ายไปยังอาคารใหม่ คณะศาสนศาสตร์ ชั้น 3 โดยใช้ชื่อว่า “The Dewald Memorial Library” ในปี พ.ศ. 2547-2548 ห้องสมุดดิวอลด์ ได้รับทุนสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุดโดยขยายพื้นที่ให้บริการเป็น 840 ตารางเมตร และ มีพิธีเปิดห้องสมุด เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549

 

ที่มา สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่

หอสมุดมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

09

 

ทรัพยากรห้องสมุด

1. เครื่องมืออำนวยความสะดวก
– เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้น จำนวน 6 เครื่อง
– เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับยืม-คืน จำนวน 2 เครื่อง
– เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับอินเตอร์เน็ต จำนวน 107 เครื่อง
– เครื่องสแกน จำนวน 8 เครื่อง

 

  2. ทรัพยกรสารนิเทศ        
  - หนังสือ 67,885   เล่ม  
  - เอกสาร มอก. 2,820   เล่ม  
  - หนังสือในโครงการเงินกู้ธนาคารโลก 2,750   เล่ม  
  - วารสารบอกรับ 63   ชื่อ  
  - วารสารได้เปล่า 57   ชื่อ  
  - หนังสือพิมพ์ 12   ชื่อ  
  - สื่อโสต/สื่ออิเล็คทรอนิกส์ 7,662   แผ่น  
  - ฐานข้อมูลเอกสารงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม
ของห้องสมุดในเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัย (ThaiLIS)
1   ชื่่อ  
  - ฐานข้อมูล
(สกอ.จัดซื้อให้ห้องสมุดในเครือข่าย ThaiLIS)
13   ฐานข้อมูล  
  3. บริการห้อง        
  - ห้อง Study Room 4   ห้อง  
  - ห้อง Mini Theater 2   ห้อง  
  - ห้อง Knowledge Theater

 

 

ที่มา หอสมุดมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

10

นโยบาย (Policy)

1. พัฒนาการบริหารจัดการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการบริการ เพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งการเรียนรู้ ของชุมชน
2. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประยุกต์ใช้งานของสำนักในทุกด้านเพื่อความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งให้ข้อมูลที่สมบูรณ์แก่ผู้ใช้บริการ
3. พัฒนาระบบการดำเนินงาน การประสานงาน และการให้บริการของหน่วยงานให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้บริการ
4. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (MIS) ของมหาวิทยาลัย และระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการ (MIS) ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. พัฒนาระบบการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้รูปแบบอิเล็กทรอนิก (e-Learning) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้แบบไร้พรมแดนของนักศึกษา และประชาชน
6. พัฒนาหอสมุดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)
7. พัฒนาระบบการเรียนรู้ และห้องปฏิบัติการที่จะสนับสนุนความเป็นเลิศทางด้านภาษาและคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา
8. พัฒนาระบบบริการวิชาการแก่ชุมชนด้านห้องสมุด และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สู่ชุมชน โดยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการฝึกอบรมของประชาชนในท้องถิ่น
9. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ที่จะสนับสนุนส่งเสริม ด้านประเพณี ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่น
10. พัฒนางานบริหารสำนักงานให้มีความเป็นระเบียบ โปร่งใส สามารถรองรับการตรวจสอบได้ มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน รวมทั้งพัฒนาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริม การบริการที่มีคุณภาพ
11. พัฒนากระบวนการการประกันคุณภาพอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อปรับปรุง และพัฒนาระบบ การบริหารงานในสำนักให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
12. พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรและคุณภาพของการทำงานในองค์กร โดยมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ให้บุคลากรมีประสบการณ์ทั้งด้าน ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม ด้วยการฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาต่อรวมทั้งมีจิตวิญญาณในการให้บริการ
13. การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการใช้ประโยชน์ เพื่อแสวงหารายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย
14. บริหารจัดการสำนักให้มีประสิทธิผลตามเกณฑ์มาตรฐานของ สมศ. และ ก.พ.ร. โดยให้มีผลการประเมินของแต่ละตัวบ่งชี้ไม่ต่ำกว่า 5.00

ที่มา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่

16

ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เปิดบริการครั้งแรกเมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2527 โดยใช้ห้องเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดสวนดอก 1 ห้อง ขนาด 36 ตารางเมตร โดยในระยะแรกผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งเรือง บุญโญรส อาจารย์จากภาควิชา ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ลานนา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่) ได้นำหนังสือส่วนตัวจำนวนหนึ่ง ( ประมาณ 1,000 เล่ม ) มาจัดตั้งห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่พระนิสิตรุ่นแรก พร้อมทั้งชักชวนผู้มีจิตศรัทธาให้ร่วมบริจาควัสดุอุปกรณ์และ หนังสือให้ ห้องสมุด อีกจำนวนมาก
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2534 คณะผู้บริหาร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนขนาด 3 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อ เดือนกันยายน 2536 ห้องสมุดจึงได้ทำการย้ายเข้าอยู่ชั้นที่ 2 ของอาคารหลังใหม่เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2536 เป็นต้นมา ห้องสมุดมีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว18 เมตร มีพื้นที่นั่งอ่านประมาณ 60 ที่นั่ง

ปีการศึกษา 2539 คุณธีระศักดิ์ ไพโรจน์สถาพร ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสถาบันวิทยบริการเพื่อใช้เป็นอาคารห้องสมุด จำนวนรวม 3 อาคารติดต่อกัน มีพื้นที่ใช้สอยรวม 1,943 ตารางเมตร ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 15 ล้านบาท เมื่อเสร็จสมบูรณ์ แล้วห้องสมุด ได้ย้ายจาก อาคารเดิมมายังอาคารสถาบันวิทยบริการ เมื่อวันที่ 24-30 กันยายน 2540 และทำพิธีรับมอบอาคาร สถาบันวิทยบริการ ( อาคารธีระศักดิ์ – ไพโรจน์สถาพร) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 และเปิดอาคารห้องสมุดเพื่อให้บริการแก่ คณาจารย์ พระนิสิตและ บุคคลทั่วไปในภาคการศึกษาที่ 2/2540 จนถึงปัจจุบัน

ที่มา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่

หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

08

ประวัติ
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544

ทรัพยากรในหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

o วัสดุตีพิมพ์
 วารสาร
 หนังสือ
 หนังสือพิมพ์

o วัสดุไม่ตีพิมพ์
 โสตทัศนวัสดุ

o สื่ออิเล็กทรอนิกส์
 Free Trial Databases
 ฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์
 ฐานข้อมูลผลงานวิชาการของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลสากล
 ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์
 ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
 ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย รวบรวมจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
 ฐานข้อมูลเอกสารหายากอิเล็กทรอนิกส์
 หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
 โสตทัศนวัสดุ

ที่มา หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่