เรือนโบราณล้านนาเชียงใหม่

26

ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ติดถนนเรียบคลองชลประทาน ใกล้สี่แยกตลาดต้นพะยอม อยู่ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมเรือนโบราณที่ทั้งได้รับจากการบริจาคและขายให้กับพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยกลุ่มเรือนโบราณที่ควรค่าแก่การรักษาและอนุรักษ์ จำนวน 8 หลัง ได้แก่
เรือนไทยลื้อ (หม่อนตุด) เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง มีลักษณะสองหลังหน้าเปียง ด้านตะวันออกเป็นเรือนนอนโล่งกว้าง ด้านตะวันตกเป็นเรือนครัว ระหว่างชายคาของเรือน ทั้งสองเชื่อมต่อกันเป็นรางน้ำฝนเรียกว่า “ฮ่องลิน” หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด
เรือนลุงคิวเป็นอาคารรูปทรงอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกหรือทรงอาณานิคมหรือแบบโคโลเนียล สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2465
เรือนกาแล (อุ๊ยผัด) เรือนหลังนี้มีลักษณะเด่นของเรือนกาแลคือ มีหัมยนต์ติดบริเวณด้านบนของประตูห้องนอนเพื่อทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์คอยป้องกันและขับไล่อันตรายต่างๆจากภายนอก
เรือนพื้นบ้านล้านนาอุ๊ยแก้ว เป็นรูปแบบเรือนของคนที่อาศัยใกล้เวียงเชียงใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะ การจัดพื้นที่ใช้สอยยังเป็นแบบบ้านชนบทแต่ทำฝาและประตูหน้าต่างแบบใหม่
เรือนกาแล (พญาวงศ์) เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาทรงหน้าจั่ว มีลักษณะเด่นคือ “กาแล”ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความเป็นสิริมงคล ลักษณะเป็นไม้แกะสลักยื่นเลยจากปั้นลมไปไขว้กันที่ยอดจั่วเรือน
เรือนชาวเวียงเชียงใหม่ (พญาปงลังกา) เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง ลักษณะเป็นเรือนหลังคาทรงจั่ว สองจั่วเหลื่อมกัน
เรือนทรงปั้นหยา (อนุสารสุนทร) ยุ้งข้าวหรือหลองข้าว เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่สองชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) ลักษณะเป็นทรงปั้นหยาเหลื่อมซ้อนกันอย่างลงตัว
นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ยังมีการสาธิตการทำหัตถกรรมพื้นบ้านที่สวยงามและทรงคุณค่าในอดีต อาทิ การย้อมผ้าด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ การทอผ้าด้วยกี่เอว การทำเครื่องเงิน การฉลุลายผ้าและกระดาษสาเป็นลวดลายต่างๆ
ที่นี่เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันจันทร์- ศุกร์ เวลา8.30 – 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.053943625 โทรสาร 053222680

ที่มา http://thai.tourismthailand.org

หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่

25

เป็นอาคารเก่าแก่ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมอันงดงามสร้างเมื่อ ปี 2467 เคยใช้เป็นหอคำ ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ อาคารตั้งยู่บริเวณสะดือเมืองในอดีต ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง ก่อนที่จะย้ายไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นมรดกตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าการวิโรรสสุริยวงศ์ ถึงเจ้าเทพไกรสรพระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 7 ผู้ใช้หอคำซึ่งอยู่ในบริเวณคุ้มกลางเวียงเป็นศูนย์กลางการบริหารนครเชียงใหม่ เมื่อเจ้าอิทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นของเจ้าดารารัศมีพระธิดา ต่อมาเมื่อ จัดการปฏิรูป การปกครองตามระบบเทศาภิบาลเจ้าดารารัศมีจึงใช้คุ้มกลางเวียงแห่งนี้เป็น“ศาลารัฐบาล”หรือที่ทำการรัฐบาล

ต่อมาเมื่อจังวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้ศาลากลางลังใหม่ บนถนนโชตนาเป็นศูนย์ราชการจังหวัด และได้ย้ายหน่วยงาน ออกหมดในปี 2539 อาคารหลังนี้จึงถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้าไว้ใช้ประโยชน์จนถึงปลายปี 2540 เทศบาล นครเชียงใหม่ได้ขอปรับปรุงอาคารเพื่อใช้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำป?2542 ประเภทที่ทำการอาคารสาธารณะจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์

เชียงใหม่นอกจากจะเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติอันงดงามจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ในอดีตนครแห่งนี้เป็น ศูนย์กลางในทุกด้านขอาณาจักรล้านนาทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและวรรณกรรม แต่ที่ผ่านมายังขาดแหล่งที่เป็นศูนย์กลางให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้ ลูกหลานชาวเชียงใหม่นักท่องเที่ยว ตลอดจนผู้สนใจได้ศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้องและครอบคลุมในทุกด้าน

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
จึงเกิดขึ้น เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้รากเหง้าของตนเองและบ้านเมืองรู้จักวิถีชีวิตตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของตนเองอันจะสร้างความภาคภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงานให้คงอยู่สิบไป นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในเชินุรักษ์ในเขตเมืองเก่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจ นครเชียงใหม่ตลอดจนผู้คนในท้องถิ่น อันเป็นหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวเชิดชูอนุรักษ์

ภายในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้จัดแบ่งพื้นที่อาคารด้านหน้าเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร อาคารด้านหลังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทาวัฒนธรรมนิทรรศการหมุนเวียน ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ห้องนิทรรศการศิลปกรรมล้านนาห้องสารสนเทศ และห้องภัณฑารักษ์

ที่มา http://www.cmocity.com/historyhall01.html

วัดเกตการาม เชียงใหม่

27

หรือ วัดสระเกษ เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าสามฝั่งแกน โดยโปรดฯ ให้พระยาเมือง พระยาคำ และพระยาลือ สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1971 ภายในวัดมีพระเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี ซึ่งเป็นที่สักการะของชุมชน เนื่องด้วยตั้งอยู่ในชุมชนการค้าเก่าของชาวจีน ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง สิ่งก่อสร้างในยุคหลังที่ได้บูรณะขึ้น จึงมีศิลปะจีนปนอยู่ ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องใช้โบราณต่างๆ และรูปเก่าที่หาชมยาก บอกเล่าเรื่องราวเก่าของเมืองเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี
?
ศาสนสถานและปูชนียวัตถุภายในวัดเกตการาม ประกอบด้วย
พระเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี เป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา ซึ่งจำลองจากพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อให้สาธุชนได้สักการะ ฐานเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบย่อเก็จ มีซุ้มจระนำประดิษฐานองค์พระทั้งสี่ทิศ ส่วนบนตั้งแต่ปากระฆังถึงปลียอด ประดับด้วยทองจังโกดุนลาย โดยรอบมีเจดีย์บริวารทั้งสี่มุม
พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงล้านนา หน้าบันประดับไม้แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา บัวหัวเสาประดับด้วยแก้วอังวะ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นประธาน
พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนรูปทรงล้านนา เชิงบันไดประดับปูนปั้นรูปนาค ผนังด้านหน้าพระอุโบสถประดับปูนปั้นรูปกิเลน สิงโต ปลา และลวดลายศิลปะจีน ประตูไม้แกะสลักเป็นรูปเทวดา หน้าบันประดับด้วยลายพรรณพฤกษา
ศาลาบาตร ศาลาก่ออิฐถือปูน ผนังประดับลายปูนปั้น ภายในมีงานจิตรกรรมจีน รวมทั้งเป็นที่เก็บรักษาหางหงส์เก่าและกลองหลวง
พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม ตั้งอยู่บริเวณกุฏิเก่าเจ้าอาวาส หรือ โฮงตุ๊เจ้าหลวง สร้างขึ้นด้วยการร่วมแรงร่วมใจของทางวัดและชุมชน ในการรวบรวมเอาเครื่องใช้ต่างๆ มาบริจาคและจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งล้วนแต่เก่าแก่อายุร่วมร้อยปี อันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าของคนในยุคก่อนได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น พระพิมพ์ ตาลปัตร พัดยศของพระภิกษุ คัมภีร์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องครัวจากไม้ เครื่องแก้ว เครื่องเขิน เครื่องเล่นแผ่นเสียง ผ้าโบราณ และรูปถ่ายโบราณที่หาชมได้ยาก

วัดเกตการาม ตั้งอยู่ที่ ถ.เจริญราษฎร์ ต.วัดเกต อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

ที่มา http://www.comingthailand.com

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เชียงใหม่

23

ธนาคารแห่งประเทศไทย มีนโยบายส่งเสริม ให้สำนักงานภาค ของธนาคาร แห่งประเทศไทยมีบทบาท ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจท้องถิ่น นอกเหนือจากหน้าที่ดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีนโยบาย รวมถึงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าของท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อส่งเสริม และ สนับสนุน การอนุรักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานภาค มีประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตผู้คน ธรรมชาติ ตลอดจน ศิลปวัฒนธรรม ที่สูงค่า และเป็นเอกลักษณ์ สั่งสมมา เป็นเวลายาวนานถึง 700 กว่าปี ด้วยตระหนัก ในคุณค่าเหล่านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมสืบสาน มรดกอันล้ำค่านี้ด้วยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือเพื่อเป็นศูนย์กลาง การเผยแพร่ความรู้ด้าน เงินตราและผ้าไท แก่บุคคลทั่วไป ในรูปแบบของ พิพิธภัณฑ์เงินตรา และผ้าโบราณ ทั้งนี้เพื่อให้ชนรุ่นหลังตระหนักถึง คุณค่าแห่งมรดก ทางวัฒนธรรมของชาติ และร่วมอนุรักษณ์สิ่งมีค่าเหล่านี้ มิให้สูญหายไปจากแผ่นดิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้า โปรดกระหม่อม จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน เปิดพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ อย่างเป็น ทางการ เมื่อวันพุธที่ 1 มีนาคม พศ.2543

การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1
เป็นการจัดแสดง เรื่องเกี่ยวกับ เงินตรา ของโลกและของประเทศไทย ในยุคสมัยต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมา และพัฒนาการในการนำโลหะมีค่า มาผลิตเป็นเงินตรา ซึ่งนำมาใช้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน

ส่วนที่ 2
ห้องผ้า เป็นการจัดแสดง เรื่องเกี่ยวกับ ผ้าโบราณ เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของผ้า ในฐานะที่เป็น เครื่องชี้ความเป็นมาแห่งเชื้อชาติ สะท้อนสภาพ เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจน พัฒนาการ ทางภูมิปัญญา

ที่มา พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เชียงใหม่

Art in Paradise เชียงใหม่

24

Art in Paradise : Illusion Art Museum พิพิธภัณฑ์ภาพจิตรกรรม 3 มิติ แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยคุณจาง คยู ซุค (Mr. Jang Kyu Suk) ชาวเกาหลีใต้ เป็นผู้สร้างสรรค์และรวบรวมผลงานศิลปะร่วมกับจิตรกรชาวเกาหลีมืออาชีพที่มีผลงานชนะเลิศระดับประเทศกว่า 10 ท่าน โดยใช้เทคนิคการวาดภาพให้สามารถลวงตาผู้ชมได้ หรือที่เรียกว่า Illusion Art ทำให้ผู้ชมสัมผัสและมีส่วนร่วมกับผลงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด (Interactive Art) ให้ความรู้สึกเหมือนจริงเสมือนกับคุณได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของภาพจิตรกรรมที่สวยงาม (Realistic Art)
ในพิพิธภัณฑ์นี้แบ่งภาพวาดออกไปแต่ละแนวและมีจุดเด่นที่แตกต่างกันเป็น 8 โซน ได้แก่ โซน AQUA ภาพวาดโลกใต้ทะเลให้เราได้ท่องดินแดนใต้สมุทร, โซน ZOO สวนสัตว์, โซน DINOSAUR สัตว์โลกล้านปี, โซน SURREALISM ศิลปะเหนือจริง, โซน CLASSIC ART ศิลปะยุคคลาสสิก ที่คุณก็เป็นศิลปินชื่อก้องโลกได้, โซน LANNA (ลานนา) เพลิน ๆ กับวัฒนธรรมล้ำค่า, โซน THAI ประเพณีไทย ซึ่งประกอบไปด้วยภาพการละเล่นของไทยที่สวยงาม และโซน EGYPTIAN อียิปต์โบราณ ให้คุณได้ท่องโลกเปิดประตูไปสู่ดินแดนลี้ลับ ซึ่งคุณสามารถเลือกถ่ายรูปตามความชอบตามแนวที่คุณสนใจได้หลากหลาย
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่เลขที่ 199/9 ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ห้างสรรพสินค้าสีสวนเก่า) เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-21.00 น. ส่วนบัตรเข้าชมนั้น ผู้ใหญ่ราคา 180 บาท เด็ก (สูงไม่เกิน 120 เซนติเมตร) ราคา 120 บาท (ปิดเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วเวลา 19.30 น.)

ที่มา http://thai.tourismthailand.org