Tag-Archive for » เมืองเชียงใหม่ «

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

P_about library_0

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544

 การบริหารงาน

แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 6 ฝ่าย คือ

สำนักงานเลขานุการ

ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานเลขานุการ

เป็นหน่วยงานสนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด ซึ่งมีเป้าหมายคือ การบริการแก่ผู้ใช้ให้สามารถดำเนินการ ได้อย่างราบรื่น สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่อำนวยการและประสานงาน บริหารส่วนกลางระหว่างฝ่าย งานต่าง ๆ ภายในสำนักหอสมุดและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย งานหลักที่ดำเนินการ

งานบริหารและธุรการ

งานคลังและพัสดุ

งานนโยบายและแผน

 ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการทรัพยากรสารนิเทศ แก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด เพื่อให้ได้รับข้อมูล ที่ทันสมัย ตรงกับความต้องการมากที่สุด ทั้งในแง่การเรียน การสอน และการค้นคว้าวิจัย และอย่างสะดวก รวดเร็ว ประกอบด้วย

งานบริการผู้อ่าน

งานบริการสารนิเทศ

งานวารสารและเอกสาร

งานศูนย์สนเทศภาคเหนือ

งานโสตทัศนวัสดุ

 ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหา บำรุงรักษา และเผยแพร่ทรัพยากรสารนิเทศทุกรูปแบบ ทั้งภายในและต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัย และนำทรัพยากรสารนิเทศเหล่านี้ มาจัดระบบเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงอย่างรวดเร็ว ทันสมัย ตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยี และวิธีการมาใช้ในการดำเนินงาน รวมทั้งรวบรวมสถิติข้อมูล เพื่อทำการวิจัย และประเมินผลการดำเนินงานทุก ขั้นตอน เพื่อหาแนวทางพัฒนา และแก้ไขการให้บริการสารนิเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน ของงาน และประหยัดงบประมาณส่วนรวม   แบ่งการดำเนินงาน

งานพัฒนาทรัพยากร

งานวิเคราะห์ทรัพยากร

งานระบบคอมพิวเตอร์

งานอนุรักษ์และบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศ

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศ

ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรสารนิเทศในสาขาวิชาเฉพาะ ร่วมมือและประสานงานการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบงานในระหว่างห้องสมุดคณะ/สำนัก/สถาบัน/ศูนย์ อาทิเช่น การคัดเลือก จัดหา บำรุงรักษา เผยแพร่และให้บริการทรัพยากรสารนิเทศ แก่ผู้ใช้ในกลุ่มสาขาวิชาเฉพาะ ในลักษณห้องสมุด เพื่อการค้นคว้าวิจัย และวิชาการระดับสูง ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการในระดับลึก และมีทิศทางการดำเนินงานด้านการ บริหารงบประมาณ การวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้บริการอย่างชัดเจน

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะเกษตรศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์

ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ห้องสมุดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ห้องสมุดคณะอุตสาหกรรมเกษตร

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะทันตแพทยศาสตร์

ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์

ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์

ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์

ห้องสมุดคณะบริหารธุรกิจ

ห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์

ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์

ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์

ห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์

ศูนย์เอกสารสถาบันวิจัยสังคม

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิต

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 0-5394-4531 โทรสาร 0-5322-2766
Copyright©2010 Chiang Mai University Library. All rights reserved
เวลาเปิดบริการ ปกติ: จันทร์-ศุกร์ 8.00-21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 10.00-18.00 น.
ปิดภาคการศึกษา: จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ ปิดบริการ
วันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดบริการ
Webmaster: webadmin@lib.cmu.ac.th

วิดิโอแนะนำ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การเดินทางมา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ห้องสมุดประชาชน จังหวัดเชียงใหม่

cmlib10

 

 

สถานที่  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง  ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

เบอร์โทรศัพท์  0-5322-1159

ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

ด้านทรัพยากรสารสนเทศ

1.มีการแนะนำทรัพยากรสารสนเทศมาใหม่

2.ทรัพยากรสารสนเทศเน้นเนื้อหาทั่วไป

3.ทรัพยากรที่มีอยู่ในห้องสมุดมีจำนวนน้อย และทันไม่สมัย

ด้านพฤติกรรมผู้ใช้

1.สถิติผู้ใช้งานโดยเฉลี่ยต่อวันจำนวนประมาณ 800 คน

2.ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เข้ามาใช้บริการหนังสือพิมพ์ และวารสารล่วงเวลาจำนวนมาก

3.ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ระดับกลาง มานั่งอ่าน หรือ รอรับลูก

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้ในห้องสมุด คือ ระบบห้องสมุดที่พัฒนาโดย อาจารย์ฐิติ บุญยศ ซึ่งใช้กับห้องสมุดของ กศน. ทุกที่

2.มีบริการคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น

3.มีเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นของตนเอง (http://www.cmlib.org)

ข้อคิดที่ได้จากการมาดูงานครั้งนี้

1.การประชาสัมพันธ์ถือว่ามีความสำคัญระดับหนึ่ง ประชาสัมพันธ์ต้องดี คนจะได้รู้จักห้องสมุดมากๆ

2.ในห้องสมุดไม่ควรมีสำนักงานสำหรับบรรณารักษ์ เนื่องจากจะทำให้บรรณารักษ์ไม่สนใจงานบริการ

3.การเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้ทำได้ยาก ดังนั้นต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปห้องสมุดทุกแห่งควรมีเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อการรายงานกิจกรรมของห้องสมุด

การเดินทางมา  ห้องสมุดประชาชน จังหวัดเชียงใหม่

 

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

IMG_7565

   หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เกิดขึ้นจากดำริของฯพณฯ ท่านพลเอกเปรม
ติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 16  (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ)

ที่ต้องการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติฯ  ประจำภาคเหนือขึ้น  เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมฉลองปีรัชมังคลาภิเษก 2531

             

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคาร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2532 และได้เปิดให้บริการเมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ภารกิจหน้าที่

             หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวม สงวน รักษา จัดระบบและให้บริการมรดกทางสติปัญญา วิทยาการและวัฒนธรรมของชาติที่ปรากฎในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และข่าวสารเรื่องทันสมัยต่างๆ รวมถึงหนังสือตัวเขียน เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย โดยมีภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานดังนี้

 1) บริหารจัดการและดำเนินงานทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นคลังสิ่งพิมพ์ในภูมิภาคโดยการจัดหา

     รวบรวม จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทและทุกสาขาวิชาให้ครบถ้วน สมบูรณ์

 2) ศึกษาค้นคว้าและดำเนินงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตามหลัก

     มาตรฐานสากล  เพื่อการเข้าถึงสารสนเทศได้โดยง่ายและใช้เป็นคู่มือในการให้คำปรึกษา

     แนะนำ  ฝึกอบรมการปฏิบัติงานห้องสมุด  แก่บุคคลและหน่วยงานภายนอก

 3) ให้บริการสารสนเทศและส่งเสริมการอ่าน  การศึกษาค้นคว้า  วิจัย  แก่ประชาชน

     เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย

 4) ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  และดำเนินงานสำรวจ  รวบรวมเอกสารโบราณ

     และหนังสือหายาก  เพื่อการสงวนรักษามรดกทรัพย์สินภูมิปัญญาของภูมิภาค

 5) ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  ในการเผยแพร่และกำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำ

     หนังสือ  (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  และข้อมูลทางบรรณานุกรม

     ของหนังสือ (CIP)

 โครงสร้างการบริหารงาน

                  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  มีโครงสร้างการบริหารงานภายใต้กำกับของ

สำนักศิลปากรที่ ๘  เชียงใหม่  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม  โดยมีหัวหน้าหอสมุดแห่งชาติ

รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  เป็นผู้บริหารหน่วยงานและได้มีการจัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงาน

ภายในหอสมุดแห่งชาติฯ เชียงใหม่ ดังนี้

 1)  กลุ่มงานบริหาร ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการและสารบรรณ การเงิน
และพัสดุ บุคลากร แผนงานและประชาสัมพันธ์ อาคารสถานที่

 2)  กลุ่มงานวิชาการ  ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

      งานวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ  จัดทำดรรชนี, บรรณานุกรม  จัดทำคู่มือ

      ปฏิบัติงานปริวรรต แปล และคัดลอกภาษาโบราณ  ฝึกอบรมงานด้านห้องสมุด  โครงการ/

      กิจกรรม  อนุรักษ์ ซ่อมแซมและเย็บเล่มหนังสือ  งานเทคโนโลยีห้องสมุด  จัดหาอุปกรณ์

      ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์  ดูแลระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์  จัดทำ/พัฒนา/ดูแลเว็บไซต์

      และฐานข้อมูล  จัดทำคู่มือระบบฐานข้อมูล/คู่มือการใช้งาน  ฝึกอบรมงานด้านเทคโนโลยี

 3)  กลุ่มงานบริการ ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการหนังสือทั่วไป

      หนังสืออ้างอิง หนังสือท้องถิ่น หนังสือเยาวชน หนังสือหายาก งานวิจัย วิทยานิพนธ์

      บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ บริการโสตทัศนวัสดุ บริการเอกสารโบราณ บริการราชกิจจานุ

      เบกษา บริการแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง/กฤตภาค/ดรรชนี บริการอินเทอร์เน็ต บริการสืบค้นข้อมูล

      บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ โครงการ/กิจกรรม

      กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน นำชมห้องสมุด

วิดิโอแนะนำ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่

การเดินทางมาหอสมุด  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่