Tag-Archive for » หนังสือ «

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 1269410908

                       ในระยะเริ่มแรกห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ชั้น 1 อาคารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ (อาคารเดิม) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นห้องอ่านหนังสือของสถาบันที่มีการให้บริการวารสารทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักวิจัย ข้าราชการ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และบุคคลภายนอกทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ.2549 ได้ย้ายมาอยู่ชั้น 4 และได้พัฒนาการให้บริการในลักษณะห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  โดยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนินการ

วิสัยทัศ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มีความประสงค์ที่จะพัฒนาให้ห้องสมุด ให้อยู่ในรูปแบบของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนินการ ทั้งในส่วนของการบริหารการจัดการ งานเทคนิค และงานบริการ มีการติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักวิจัยของสถาบันสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถสืบค้นข้อมูลจากสิ่งพิมพ์ออนไลน์ได้ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e – Journal) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e – Books) และฐานข้อมูลประเภทสื่อมัลติมีเดียจากแหล่งข้อมูลออนไลน์

จุดประสงค์

เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ และสืบค้นงานวิจัย ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลงานวิจัยของสถาบัน และจัดให้บริการแก่ผู้ใช้แบบ one stop service

Address

ที่ตั้งของห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ชั้น 4 อาคารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ (อาคารเดิม) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ

อำเภอ เมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

โทรศัพท์ 0-5394-6148 ext 444

แฟกส์ 0-5322-1849

เวลาเปิดทำการ

เปิดบริการ : จันทร์-ศุกร์

เวลา 8.30-16.30 น.

วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการปิดบริการ

การเดินทางมาห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

547546_320448114703492_1041838862_n

ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

                    ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน ในระยะแรกไม่ได้เป็นห้องสมุดที่เป็นสัดส่วนเอกเทศ เป็นเพียงแต่ตู้เก็บรวบรวมหนังสือในห้องครูใหญ่หรือตั้งอยู่ในห้องเรียนห้องใดห้องหนึ่งเท่านั้น มีหนังสือต่างๆที่ได้จากการซื้อหาและการบริจาคจากเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆได้ดังนี้

1. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะแรก (พ.ศ.2448-2458) ในระยะนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวโรรสข้างวัดดวงดีทางด้านทิศใต้(หรือสี่แยกกลางเวียงปัจจุบัน) ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าได้ใช้ส่วนใดห้องใดของอาคารเรียน จัดเป็นห้องสมุด แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีห้องสมุดแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2451

2. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะที่ 2 (พ.ศ.2548-2516) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่เลขที่ 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง หรือตั้งในปัจจุบันนี้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 โดยได้เริ่มสร้างตึกยุพราชเป็นอาคารเรียนหลังแรกตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ห้องสมุดของโรงเรียนในระยะนี้จึงอาศัยอยู่บนตึกยุพราชก่อน จนถึงปี พ.ศ.2467 จึงมีการสร้างห้องสมุดเป็นสัดส่วนเฉพาะโดยปรากฎหลักฐานว่า มีห้องสมุดเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นสโมสรของลูกเสือชั้นบนมี 4 ห้อง ห้องกลาง 2 ห้องใช้เป็นห้องสมุด ห้องริม 2 ห้องจัดเป็นห้องเรียนและได้ทำบุญฉลองหอสมุดที่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2467 และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ใช้ห้องสมุดนั้นเรื่อยมา ต่อมาในปีพ.ศ.2469 ได้มีพระราชพิธีสมโภช “พระเศวตคชเดชดิลก” ช้างสำคัญของเมืองเชียงใหม่และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการมณฑลพายัพและประชาชนชาวเมืองนครเชียงใหม่ได้ร่วมกันสร้างโรงช้างต้นขึ้น หลังจากประกอบพิธีเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2469 แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้ใช้อาคารนี้เกื่ยวข้องกับช้างสำคัญอีกเลย จึงได้มีการดัดแปลงอาคารโรงช้างต้น เป็นห้องสมุด และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้อาศัยโรงช้างต้นเป็นห้องสมุดของโรงเรียนเรื่อยมา จนกระทั่งได้ย้ายมาที่ตึกยุพราชอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2501 ห้องสมุดย้ายไปอยู่ที่อาคารเรือนวิเชียร และในปี พ.ศ.2504 ได้ย้ายกลับมาใช้ด้านล่างของตึกยุพราชเป็นที่ตั้งของห้องสมุด เรื่องราวของห้องสมุดของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะปี พ.ศ.2501 – 2516 นั้น มีปรากฏในสมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนหลายเรื่องที่สำคัญ ดังเช่น

1. มีการตั้งชุมนุมห้องสมุดโดยมีนักเรียนสมัครเข้าเป็นสมาชิกรวมกลุ่มดำเนินการมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา

2.มีการส่งครูไปอบรมวิชาบรรณารักษ์เพิ่มเติม

3. ห้องสมุดถือเป็นจุดสำคัญที่แขกผู้มาเยือนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยต้องไปเยี่ยมชมเสมอ จัดเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้วย

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะ ที่ 3 (พ.ศ.2516 – 2534) ในปี พ.ศ.2516 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็ฯโรงเรียนในโครงการ คมส.และได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ชื่อ อาคารรัตนมณี จึงได้มีการกำหนดใหชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ห้องเรียนเป็นที่ทำการของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของห้องสมุดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการให้บริการแก่บุคลากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้อาคารรัตนมณีชั้นที่ 2 เป็นห้องบริการหนังสืออ้างอิงและวารสารเย็บเล่ม ใช้ห้องเรียนเป็นที่ทำงานอีก 2 ห้องเรียน ในระยะที่ 3 นี้ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับการยกย่องและมีการพัฒนาที่สำคัญดังนี้

- ปีการศึกษา 2528 ได้รับรางวัลห้องสมุดที่จัดบริการและงานเทคนิคดีเด่นประจำเขตการศึกษา 8

- ปีการศึกษา 2531 ได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยและตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นมา ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ริเริ่มนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้พัฒนางานเทคนิคของห้องสมุด ซึ่งทำให้งานบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในปัจจุบัน (พ.ศ.2534 – ปัจจุบัน) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารนวรัตน์ในปีพ.ศ.2530 อาคารนวรัตน์จัดเป็นอาคารอเนกประสงค์ ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นที่สองเป็นห้องสมุดขนาด 10 ห้องเรียน และชั้นที่สามเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ ห้องสมุดได้พัฒนาอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งทางด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม จำนวนหนังสือ การให้บริการ การปรับปรุงงานเทคนิค การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ภายในห้องสมุด มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง จัดแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วนตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและในปีการศึกษา 2536 ห้องสมุดได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา ได้รับเกียรติบัตรของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

การเดินทางมา ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

 

 

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

book1

                        สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ เป็นหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ ให้บริการด้านการศึกษาค้นคว้าแก่อาจารย์ นักศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources Center) ที่ทันสมัยรวบรวมสื่อหลากหลายประเภทที่ครอบคลุมทุกสาขาวิชา เช่น หนังสือ วารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ และอื่นๆ รวมทั้งยังให้บริการด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อมัลติมีเดียผ่านระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง (Fast Access) ตลอดจนระบบเครือข่ายไร้สาย เพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูลจากระบบ Internet ได้สะดวก รวดเร็ว จากทุกที่ทุกเวลา สำนักหอสมุดได้พัฒนารูปแบบ การให้บริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่นๆ ดังนี้

book2

บริการ Electronic and Digital Library

บริการสืบค้นข้อมูลฐานข้อมูลห้องสมุด ( Online Public Access Catalog)

ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นฐานข้อมูลของห้องสมุดผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ( VTLS ) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
บริการอินเทอร์เน็ต 
บริการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำนักหอสมุดมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการที่ ชั้น 2 นอกจากนี้สามารถใช้งานผ่าน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยได้
ThaiLIS Digital Collection
TDC หรือ ThaiLIS Digital Collection เป็นโครงการหนึ่งของ ThaiLIS มีเป้าหมายเพื่อให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยของอาจารย์ นักศึกษา โดยรวบรวมจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในการเข้าใช้บริการนั้นจะต้องเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์ ภายในห้องสมุดสมาชิก และสถาบันการศึกษา หรือสืบค้นข้อมูลได้ที่ http://tdc.thailis.or.th/tdc/

 

Journal Link
ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งจัดเก็บวารสาร ทั้งวารสารภาษาไทย และวารสารภาษาต่างประเทศ อย่างสะดวก ทันสมัย และรวดเร็ว
E-book
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมทุกสาขาวิชา สามารถสืบค้นข้อมูลตั้งแต่ ปี  ค.ศ. 1971 จนถึงปัจจุบันสามารถอ่าน ยืม – คืน พิมพ์และบันทึกข้อมูลได้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Multimedia learning resources center
สำนักหอสมุดได้จัดให้บริการมัลติมีเดียหลากหลายประเภท โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า ดังต่อไปนี้

  1. บริการระบบ Video On demand
  2. บริการเครื่องเล่น DVD และเครื่องรับโทรทัศน์
  3. บริการเครื่องเล่นเทป
  4. บริการเคเบิ้ลทีวี
  5. บริการห้องฉายกลุ่ม
  6. บริการสื่อมัลติมีเดีย

การประชาสัมพันธ์ Electronic 
ช่องทางใหม่ในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การให้บริการของสำนักหอสมุด รวมถึงนิทรรศการต่างๆ ผ่านทาง เว็บไซต์สำนักหอสมุด  ประชาสัมพันธ์ผ่านโทรทัศน์ ( PYU Channel )  และ Facebook ( เครือข่ายสังคมออนไลน์ ) เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และลดต้นทุน ในการประชาสัมพันธ์

Proquest ABI / INFORM ฐานข้อมูลที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนักวิจัยเพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ภาวะทางเศรษฐกิจ แนวโน้มเทคนิคการจัดการกลยุทธ์และประเภทอุตสาหกรรมการโฆษณา การตลาด เศรษฐศาสตร์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การเงิน ภาษี คอมพิวเตอร์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการสื่อสารและสุขภาพและบทความเกี่ยวกับสารสนเทศมาตรฐานอุตสาหกรรมเนื้อหาของฐานข้อมูล เป็นดรรชนีและสาระสังเขป บทความจากวารสาร ทางด้านบริหารธุรกิจ และการจัดการทั่วโลก ครอบคลุมเนื้อหา ตั้งแต่ปี 1971 –  จนถึงปัจจุบันมากกว่า 3,000 ชื่อเรื่อง และสามารถสืบค้นบทความในรูปแบบ Full Text Proquest 5000SC ฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลหลากหลายในสหสาขาวิชาต่างๆ มากมาย เช่น บริหารธุรกิจ การเงิน การตลาด มนุษยศาสตร์ ชีววิทยา คอมพิวเตอร์ การศึกษา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการสื่อสาร เป็นต้น โดยมีวารสารมากกว่า 6,000 ชื่อเรื่อง สามารถสืบค้นข้อมูลย้อนหลังได้ตั้งแต่  ปี ค.ศ 1971 ถึงปัจจุบัน

Academic Search Complete

Academic Search Complete เป็นฐานข้อมูลฉบับเต็มทางวิชาการแบบสหสาขาวิชาที่มีคุณค่าสูงสุดและครอบคลุมที่สุดในโลก โดยมีสิ่งพิมพ์วารสารฉบับเต็มกว่า 7,100 รายการ ซึ่งรวมถึงวารสารที่ผ่าน    การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 6,100 รายการ นอกจากข้อมูลฉบับเต็มแล้ว ฐานข้อมูลนี้ยังให้บริการดัชนีและสาระสังเขปของวารสารกว่า 11,200 รายการ และสิ่งพิมพ์อีกกว่า 11,700 รายการ ซึ่งรวมถึงบทความเฉพาะเรื่อง รายงานเอกสารการประชุม ฯลฯ ฐานข้อมูลนี้มีเนื้อหาแบบ PDF ที่ย้อนกลับไปจนถึง  ปี ค.ศ. 1887 โดยส่วนใหญ่เป็นชื่อเรื่องฉบับเต็มในรูปแบบเอกสาร PDF (ที่สามารถสืบค้นได้) มีการให้บริการเอกสารอ้างอิงที่สืบค้นได้สำหรับวารสารมากกว่า 1,300 รายการด้วย

CINAHL Plus with Full Text

CINAHL Plus with Full Text เป็นแหล่งข้อมูลฉบับเต็มของวารสารการพยาบาลและ สหเวชศาสตร์ที่ครอบคลุมเนื้อหากว้างที่สุดของโลก โดยมีฉบับเต็มของวารสารกว่า 750 รายการ ที่ทำดัชนีใน CINAHLไฟล์ที่เชื่อถือได้นี้มีข้อมูลฉบับเต็มของวารสารที่ใช้กันมากที่สุดในดัชนี CINAHL โดยไม่มีการห้ามเผยแพร่เนื้อหา CINAHL Plus with Full Text  เป็นเครื่องมือการวิจัยที่น่าเชื่อถือสำหรับ งานเขียนด้านการพยาบาลและสหเวชศาสตร์ทุกสาขา

Computer & Applied Sciences Complete 
Computers & Applied Sciences Complete ครอบคลุมขอบเขตการวิจัยและการพัฒนาใน สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ CASC มีการจัดดัชนีและสาระสังเขปของวารสาร  เชิงวิชาการ สิ่งพิมพ์โดยมืออาชีพ และแหล่งอ้างอิงอื่นๆ จากรายการทรัพยากรอันหลากหลายมากกว่า 2,000 รายการ นอกจากนี้ยังให้บริการข้อมูลฉบับเต็มของวารสารอีกกว่า 950 ฉบับ

Education Research Complete

Education Research Complete เป็นแหล่งทรัพยากรออนไลน์ที่น่าเชื่อถือสำหรับงานวิจัยด้านการศึกษา โดยครอบคลุมหัวข้อเกี่ยวกับการศึกษาในทุกระดับตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาระดับที่สูงขึ้น และความชำนาญพิเศษทางการศึกษาทั้งหมด เช่น การศึกษาแบบพหุภาษา สุขศึกษา และการทดสอบ Education Research Complete ให้บริการดัชนีและสาระสังเขปของวารสารกว่า 2,100 รายการ ตลอดจนวารสารฉบับเต็มกว่า 1,200 รายการ และรวมไปถึงหนังสือและบทความเฉพาะเรื่องอีกเกือบ 500 รายการ

ScienceDirect

ฐานข้อมูล ScienceDirect เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จากวารสารของสำนักพิมพ์ในเครือ Elsevier ประกอบด้วย วารสารด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี   วิทยาศาสตร์การแพทย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สามารถดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี   ค.ศ.1995 – ปัจจุบัน โดยสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ บอกรับเฉพาะวารสารในกลุ่มวิชา Health Science

Matichonelibrary

ฐานข้อมูลข่าวที่เป็นทางเลือกใหม่ในการสืบค้นและติดตามข้อมูลในหมวดและหัวเรื่องที่ต้องการ ในรูปแบบออนไลน์ ประกอบด้วยข่าว บทสัมภาษณ์ บทความ บทวิเคราะห์-วิจารณ์ รายงาน ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทุกประเภทจากหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์มากกว่า 20 ชื่อ

Questia

ฐานข้อมูลหนังสือและวารสารฉบับเต็ม ซึ่งรวบรวมข้อมูลหลากหลายในสหสาขาวิชา เช่นศิลปกรรม ดนตรี พยาบาล

Everynote.com

ฐานข้อมูลทางด้านดนตรีตะวันตกที่เสนอข้อมูลในรูปของ Port สำหรับนักดนตรี วง Orchestra

Thai Farmers Research Center

ฐานข้อมูลที่บริการที่รวบรวมรายงานวิเคราะห์วิจัย ทั้งในภาคเศรษฐกิจระดับจุลภาค มหภาค ภาคการเงิน และภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเน้นกระแสของข่าวสารข้อมูลที่กำลังเป็นที่อยู่ในความสนใจ นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยดัชนีเศรษฐกิจ รายงานภาวะตลาดเงินและตลาดทุน ตลอดจนภาวะเงินตราต่างประเทศ

บริการหนังสือและวารสาร

สำนักหอสมุด ได้ให้บริการหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ บริเวณชั้น 3 และ 4 โดยจัดเตรียมที่นั่ง ประมาณกว่า 1,500 ที่นั่ง เพื่ออำนวยความสะดวกในการอ่าน และการศึกษาค้นคว้า สรุปจำนวนหนังสือ และวารสารที่มีในห้องสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

จำนวนหนังสือที่มีในห้องสมุด

ห้องสมุด จำนวนหนังสือ (เล่ม)
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ                  รวม
สำนักหอสมุด (เขตแม่คาว) 149,635 51,856 201,491
ห้องสมุดดิวอลด์ (เขตแก้วนวรัฐ) 27,180 19,168 46,348
รวม 176,815 71,024 247,839

จำนวนวารสารที่มีในห้องสมุด 
ภาษาไทย  261   ชื่อเรื่อง
ภาษาอังกฤษ  71  ชื่อเรื่อง

บริการมุมความรู้

บริการมุมความรู้ตลาดทุน (SET Corner)
บริการข้อมูลด้านการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยรวบรวมหนังสือ  สื่อโสตทัศน์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร ตลอดจนให้บริการแก่ชุมชน

บริการมุมความรู้ SMES Corner
บริการข้อมูล รายงานความเคลื่อนไหวที่ทันสมัยตามสถานการณ์ของหน่วยงาน              โครงการ ศึกษาวิเคราะห์ และเตือนภัย SMEs รายสาขา ในรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานการศึกษาอุตสาหกรรมและธุรกิจรายสาขา จุลสาร บทความ หนังสือต่างๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ SMEs รวมถึงนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนต่างๆ ของ  สสว. และของหน่วยงานอื่นๆ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านเศรษฐกิจและแนวนโยบายของภาครัฐ รวมถึงมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนต่างๆให้กับ SMEs และผู้สนใจที่จะเป็นผู้ประกอบการใหม่

 

E-services

Research Help

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ จัดทำ Research Help เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศสนับสนุนด้านงานวิจัยเนื้อหาประกอบด้วย แนะนำขั้นตอนการทำวิจัย รูปแบบการอ้างอิงเอกสาร และแหล่งข้อมูลต่างๆ     ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

Ask Librarian

บริการตอบคำถามออนไลน์ ผู้ใช้บริการสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการ หรือเสนอ
ความคิดเห็นต่อบริการของสำนักหอสมุด และ สำนักหอสมุดจะตอบคำถามผ่านทาง E-mail ที่ผู้ใช้บริการระบุไว้

New Resources

แหล่งสารสนเทศข่าว รวบรวมแหล่งสารสนเทศ ด้านสถานีโทรทัศน์ใน ประเทศไทย ข่าวในประเทศไทย และข่าวต่างประเทศ

E-Form

ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการจองหนังสือ      แบบฟอร์มการแจ้งหนังสือหาย
แบบฟอร์มการสมัครสมาชิกบุคคลภายนอก แบบฟอร์มหนังสือสำรอง และแบบฟอร์มเสนอซื้อทรัพยากรสารสนเทศได้บนเว็บไซต์สำนักหอสมุด

บริการห้องค้นคว้าเดี่ยว และกลุ่ม

บริการห้องค้นคว้าเดี่ยว      15  ห้อง

ห้องค้นคว้ากลุ่ม               6   ห้อง

ที่ตั้งของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

มหาวิทยาลัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000

โทรศัพท์ 0-5385-1478-86 โทรสาร 0-5324-1983

http://www.payap.ac.th/

การเดินทางมาสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

 

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

P_about library_0

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544

 การบริหารงาน

แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 6 ฝ่าย คือ

สำนักงานเลขานุการ

ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานเลขานุการ

เป็นหน่วยงานสนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด ซึ่งมีเป้าหมายคือ การบริการแก่ผู้ใช้ให้สามารถดำเนินการ ได้อย่างราบรื่น สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่อำนวยการและประสานงาน บริหารส่วนกลางระหว่างฝ่าย งานต่าง ๆ ภายในสำนักหอสมุดและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย งานหลักที่ดำเนินการ

งานบริหารและธุรการ

งานคลังและพัสดุ

งานนโยบายและแผน

 ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการทรัพยากรสารนิเทศ แก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด เพื่อให้ได้รับข้อมูล ที่ทันสมัย ตรงกับความต้องการมากที่สุด ทั้งในแง่การเรียน การสอน และการค้นคว้าวิจัย และอย่างสะดวก รวดเร็ว ประกอบด้วย

งานบริการผู้อ่าน

งานบริการสารนิเทศ

งานวารสารและเอกสาร

งานศูนย์สนเทศภาคเหนือ

งานโสตทัศนวัสดุ

 ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหา บำรุงรักษา และเผยแพร่ทรัพยากรสารนิเทศทุกรูปแบบ ทั้งภายในและต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัย และนำทรัพยากรสารนิเทศเหล่านี้ มาจัดระบบเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงอย่างรวดเร็ว ทันสมัย ตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยี และวิธีการมาใช้ในการดำเนินงาน รวมทั้งรวบรวมสถิติข้อมูล เพื่อทำการวิจัย และประเมินผลการดำเนินงานทุก ขั้นตอน เพื่อหาแนวทางพัฒนา และแก้ไขการให้บริการสารนิเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน ของงาน และประหยัดงบประมาณส่วนรวม   แบ่งการดำเนินงาน

งานพัฒนาทรัพยากร

งานวิเคราะห์ทรัพยากร

งานระบบคอมพิวเตอร์

งานอนุรักษ์และบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศ

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศ

ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรสารนิเทศในสาขาวิชาเฉพาะ ร่วมมือและประสานงานการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบงานในระหว่างห้องสมุดคณะ/สำนัก/สถาบัน/ศูนย์ อาทิเช่น การคัดเลือก จัดหา บำรุงรักษา เผยแพร่และให้บริการทรัพยากรสารนิเทศ แก่ผู้ใช้ในกลุ่มสาขาวิชาเฉพาะ ในลักษณห้องสมุด เพื่อการค้นคว้าวิจัย และวิชาการระดับสูง ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการในระดับลึก และมีทิศทางการดำเนินงานด้านการ บริหารงบประมาณ การวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้บริการอย่างชัดเจน

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะเกษตรศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์

ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ห้องสมุดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ห้องสมุดคณะอุตสาหกรรมเกษตร

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะทันตแพทยศาสตร์

ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์

ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์

ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์

ห้องสมุดคณะบริหารธุรกิจ

ห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์

ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์

ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์

ห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์

ศูนย์เอกสารสถาบันวิจัยสังคม

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิต

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 0-5394-4531 โทรสาร 0-5322-2766
Copyright©2010 Chiang Mai University Library. All rights reserved
เวลาเปิดบริการ ปกติ: จันทร์-ศุกร์ 8.00-21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 10.00-18.00 น.
ปิดภาคการศึกษา: จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ ปิดบริการ
วันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดบริการ
Webmaster: webadmin@lib.cmu.ac.th

วิดิโอแนะนำ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การเดินทางมา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ห้องสมุดราชมงคลล้านนา

header

 

ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สิ่งพิมพ์ที่ให้บริการจะเป็นหนังสือในสาขาพาณิชยกรรม และสาขาช่างต่างๆ เช่น ช่างก่อสร้าง ในจำนวนที่ไม่มาก นอกจากนี้ยังบริการหนังสือพิมพ์และวารสาร ต่อมาได้มีการจัดซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งหมดประมาณ 15,000 เล่ม
ปี พ.ศ. 2516 ได้ย้ายห้องสมุดมายังชั้น 1 อาคารคณะวิชาสามัญ (คณะวิชาศึกษาทั่วไป) มีเนื้อที่ขนาด 11.50 – 25.50 เมตร และมีชั้นลอยเนื้อที่ขนาด 4.50 – 30.50 เมตร และปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายห้องสมุดมายังอาคารหอสมุดราชมงคล ซึ่งเป็นอาคารเอกเทศที่สร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณ จำนวน 23,000,000 บาท เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน ต่อมามีการประกาศจัดตั้งศูนย์วิทยบริการขึ้น สังกัดฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ จึงเป็นหน่วยงานระดับแผนก สังกัดศูนย์วิทยบริการ ฝ่ายกิจการพิเศษ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของวิทยาเขตทั้งด้านการเรียนการ สอนและการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของชาติ
ปี พ.ศ. 2550 มีการปรับโครงสร้างตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ห้องสมุดฯ จึงเป็นหน่วยงานขึ้นกับฝ่ายวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของเขตพื้นที่ ทั้งด้านการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตามภารกิจหลัก ของมหาวิทยาลัยต่อไป

พันธกิจห้องสมุด
จัดหาทรัพยากรสารนิเทศประเภทต่าง ๆ คือ หนังสือ วารสาร เอกสาร หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออื่น ๆ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของ วิทยาเขต และตรงกับความต้องการของผู้ใช้
จัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ทันต่อความต้องการ
ให้บริการทรัพยากรสารนิเทศภายในห้องสมุดอย่างมีคุณค่า
จัดเก็บและบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีความพร้อมในการใช้งาน

ที่ตั้งของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

128 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

โทรศัพท์ : 0-5392-1444 ต่อ 1330-4 โทรสาร : 053-213183

การเดินทางมา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

ห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม

 

                       ห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม แบ่งออกเป็นห้องสมุดกลาง และห้องสมุด English Program  โดยห้องสมุดกลาง  ตั้งอยู่อาคาร Ambrosio ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องประชุมขนาดกลาง ห้องศูนย์สื่อกลุ่มสาระต่างๆ ห้องศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา ชั้นล่างเป็นห้องสมุดให้บริการที่นั่งอ่านหนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือทั่วไป นวนิยาย เรื่องสั้น เยาวชน หนังสือคู่มือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย ตลอดจนวารสารและหนังสือพิมพ์ไว้บริการ นอกจากนี้ยังมีบริการคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวน 10 เครื่อง ยังเปิด โอกาสให้นักเรียนใช้บริการยืม-คืนสื่อ ประเภทซีดีรอมชั้น 2 อาคารอันโตนิโอ สื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสื่อซีดีรอม

การเดินทางมาห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม

 

ห้องสมุดประชาชน จังหวัดเชียงใหม่

cmlib10

 

 

สถานที่  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง  ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

เบอร์โทรศัพท์  0-5322-1159

ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

ด้านทรัพยากรสารสนเทศ

1.มีการแนะนำทรัพยากรสารสนเทศมาใหม่

2.ทรัพยากรสารสนเทศเน้นเนื้อหาทั่วไป

3.ทรัพยากรที่มีอยู่ในห้องสมุดมีจำนวนน้อย และทันไม่สมัย

ด้านพฤติกรรมผู้ใช้

1.สถิติผู้ใช้งานโดยเฉลี่ยต่อวันจำนวนประมาณ 800 คน

2.ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เข้ามาใช้บริการหนังสือพิมพ์ และวารสารล่วงเวลาจำนวนมาก

3.ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ระดับกลาง มานั่งอ่าน หรือ รอรับลูก

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้ในห้องสมุด คือ ระบบห้องสมุดที่พัฒนาโดย อาจารย์ฐิติ บุญยศ ซึ่งใช้กับห้องสมุดของ กศน. ทุกที่

2.มีบริการคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น

3.มีเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นของตนเอง (http://www.cmlib.org)

ข้อคิดที่ได้จากการมาดูงานครั้งนี้

1.การประชาสัมพันธ์ถือว่ามีความสำคัญระดับหนึ่ง ประชาสัมพันธ์ต้องดี คนจะได้รู้จักห้องสมุดมากๆ

2.ในห้องสมุดไม่ควรมีสำนักงานสำหรับบรรณารักษ์ เนื่องจากจะทำให้บรรณารักษ์ไม่สนใจงานบริการ

3.การเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้ทำได้ยาก ดังนั้นต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปห้องสมุดทุกแห่งควรมีเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อการรายงานกิจกรรมของห้องสมุด

การเดินทางมา  ห้องสมุดประชาชน จังหวัดเชียงใหม่

 

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

IMG_7565

   หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เกิดขึ้นจากดำริของฯพณฯ ท่านพลเอกเปรม
ติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 16  (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ)

ที่ต้องการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติฯ  ประจำภาคเหนือขึ้น  เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมฉลองปีรัชมังคลาภิเษก 2531

             

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคาร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2532 และได้เปิดให้บริการเมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ภารกิจหน้าที่

             หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวม สงวน รักษา จัดระบบและให้บริการมรดกทางสติปัญญา วิทยาการและวัฒนธรรมของชาติที่ปรากฎในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และข่าวสารเรื่องทันสมัยต่างๆ รวมถึงหนังสือตัวเขียน เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย โดยมีภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานดังนี้

 1) บริหารจัดการและดำเนินงานทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นคลังสิ่งพิมพ์ในภูมิภาคโดยการจัดหา

     รวบรวม จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทและทุกสาขาวิชาให้ครบถ้วน สมบูรณ์

 2) ศึกษาค้นคว้าและดำเนินงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตามหลัก

     มาตรฐานสากล  เพื่อการเข้าถึงสารสนเทศได้โดยง่ายและใช้เป็นคู่มือในการให้คำปรึกษา

     แนะนำ  ฝึกอบรมการปฏิบัติงานห้องสมุด  แก่บุคคลและหน่วยงานภายนอก

 3) ให้บริการสารสนเทศและส่งเสริมการอ่าน  การศึกษาค้นคว้า  วิจัย  แก่ประชาชน

     เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย

 4) ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  และดำเนินงานสำรวจ  รวบรวมเอกสารโบราณ

     และหนังสือหายาก  เพื่อการสงวนรักษามรดกทรัพย์สินภูมิปัญญาของภูมิภาค

 5) ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  ในการเผยแพร่และกำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำ

     หนังสือ  (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  และข้อมูลทางบรรณานุกรม

     ของหนังสือ (CIP)

 โครงสร้างการบริหารงาน

                  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  มีโครงสร้างการบริหารงานภายใต้กำกับของ

สำนักศิลปากรที่ ๘  เชียงใหม่  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม  โดยมีหัวหน้าหอสมุดแห่งชาติ

รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  เป็นผู้บริหารหน่วยงานและได้มีการจัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงาน

ภายในหอสมุดแห่งชาติฯ เชียงใหม่ ดังนี้

 1)  กลุ่มงานบริหาร ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการและสารบรรณ การเงิน
และพัสดุ บุคลากร แผนงานและประชาสัมพันธ์ อาคารสถานที่

 2)  กลุ่มงานวิชาการ  ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

      งานวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ  จัดทำดรรชนี, บรรณานุกรม  จัดทำคู่มือ

      ปฏิบัติงานปริวรรต แปล และคัดลอกภาษาโบราณ  ฝึกอบรมงานด้านห้องสมุด  โครงการ/

      กิจกรรม  อนุรักษ์ ซ่อมแซมและเย็บเล่มหนังสือ  งานเทคโนโลยีห้องสมุด  จัดหาอุปกรณ์

      ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์  ดูแลระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์  จัดทำ/พัฒนา/ดูแลเว็บไซต์

      และฐานข้อมูล  จัดทำคู่มือระบบฐานข้อมูล/คู่มือการใช้งาน  ฝึกอบรมงานด้านเทคโนโลยี

 3)  กลุ่มงานบริการ ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการหนังสือทั่วไป

      หนังสืออ้างอิง หนังสือท้องถิ่น หนังสือเยาวชน หนังสือหายาก งานวิจัย วิทยานิพนธ์

      บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ บริการโสตทัศนวัสดุ บริการเอกสารโบราณ บริการราชกิจจานุ

      เบกษา บริการแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง/กฤตภาค/ดรรชนี บริการอินเทอร์เน็ต บริการสืบค้นข้อมูล

      บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ โครงการ/กิจกรรม

      กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน นำชมห้องสมุด

วิดิโอแนะนำ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่

การเดินทางมาหอสมุด  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่