Author Archive

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขากาดสวนแก้ว

cm-kadsuankaew01

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขากาดสวนแก้ว

ที่อยู่ : ชั้น 2 ห้างสรรพสินค้าเซ้นทรัล กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

“กาดสวนแก้ว Living Library ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่”

พื้นที่ด้านหน้าห้องสมุดจะเป็นพื้นที่ขายกาแฟ และเครื่องดื่มต่างๆ

ถึงแม้ว่าพื้นที่อาจจะมีขนาดเล็ก แต่การบริการค่อนข้างครอบคลุมบริการต่างๆ ของห้องสมุดเลย

สรุปบริการต่างๆ ของห้องสมุดแห่งนี้ ว่าประกอบด้วย

- บริการที่นั่งอ่านหนังสือ

– บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น

– บริการตอบคำถามและช่วยการสืบค้น

นอกจากนี้ห้องสมุดยังมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ด้วย เช่น

- การสอนวาดภาพ และระบายสี

– การเล่านิทาน

– การประกวดคำขวัญ

หนังสือที่ให้บริการในห้องสมุดแห่งนี้ ส่วนหนึ่งจะเน้นไปทางหนังสือเด็ก

และหนังสืออีกส่วนหนึ่งจะถูกหมุนเวียนจากห้องสมุดประชาชนหลัก

ซึ่งที่นี่มีหนังสือที่น่าสนใจ และหนังสือใหม่เวียนกันมาให้อ่านกันเต็มที่

แต่ไม่มีบริการยืมคืนทางบรรณารักษ์จะแนะนำว่าถ้าต้องการหนังสือเล่มไหน

ให้ผู้ใช้ติดต่อกับห้องสมุดประชาชนสาขาหลักเพื่อการยืมคืนจะดีกว่า

(ห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักก็อยู่บริเวณที่ไม่ไกลจากที่นี่สักเท่าไหร่

สามารถที่จะเดินข้ามถนน และเข้ามาใช้บริการห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักได้)

เอาเป็นว่าก็ถือว่าเป็นไอเดียนึงที่ห้องสมุดประชาชนหลายๆ ที่ น่าจะเลียนแบบดู

เผื่อว่าผู้ใช้บริการจะได้ประทับใจต่อการบริการของห้องสมุดมากยิ่งขึ้น

อ้างอิงจาก ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขากาดสวนแก้ว

 

โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

โปสเตอร์รับสมัคร3

ชุมชนล้านนามีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์อยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลกันและกันยาวนานรวมทั้งได้ร่วมกันสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในเรื่องอาหาร ยารักษาโรค งานหัตถกรรมการเกษตรพื้นบ้าน การจัดการทรัพยากรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีและมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างต่อเนื่อง แต่จากการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิต ภูมิปัญญาถูกละเลยจนน่าเป็นห่วง ขาดการสืบทอดจากผู้รู้และพอครูแม่ครู โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่หลงใหลไปกับวัฒนธรรมภายนอกและไม่ได้มีการสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญาจากพ่อครูแม่ครูเหล่านี้เลย

ในราวต้นปี ๒๕๔๐ องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ นักเขียน ศิลปิน กลุ่มศิลปวัฒนธรรม องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชน ได้ปรึกษาหารือตกลงใจร่วมกันว่าควรประสานงานกับคน ทุกกลุ่ม ได้เข้ามาร่วมจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยร่วมกันจัดงาน”สืบสานล้านนา”ในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ติดต่อกันมาเป็นเวลา ๕ ปี หวังว่าจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นที่อยู่พื้นฐานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่นร่วมกันในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้มีความพยายามขององค์กร ชุมชน กลุ่มคนในท้องถิ่น ภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสืบทอดอย่างต่อเนื่องในบางชุมชนและมีการจัดงาน “สืบสานล้านนา” ขึ้นในช่วงเดือนเมษายนติดต่อกันมาทุกปีตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ก็ยังไม่สามารถก่อให้เกิดการ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีความต่อเนื่องและมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายได้

พระเดชพระคุณเจ้าหลวงพ่อพระพุทธพจนวราภรณ์ (พระธรรมดิลก) วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ได้ให้แนวคิดว่า “การจะสืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาล้านนาให้เกิดผลนั้น การจัดงานสืบสานล้านนาเพียงปีละครั้ง ๆ ละ ๔ วัน ไม่สามารถทำให้เกิดผลได้จริง ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าทุกลมหายใจเลย จึงจะเป็นจริง”
คณะกรรมการจัดงานสืบสานล้านนาได้นำมาปรึกษาหารือมีความเห็นร่วมกันว่าจะต้องทำโครงการที่จะให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา” ขึ้นในปี ๒๕๔๓ และได้ดำเนินกิจกรรมในการรวบรวมองค์ความรู้ พ่อครู แม่ครู และปราชญ์ชาวบ้านเพื่อทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาให้กับลูกหลานและผู้สนใจในท้องถิ่น ได้เกิดการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถสืบสานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในระยะแรกทางคณะกรรมการและผู้ดำเนินงานได้มีการประสานงานกับพ่อครูแม่ครู ผู้รู้ในท้องถิ่นเปิดสอนวิชาภูมิปัญญาแขนงต่าง ๆ และเปิดรับสมัครนักเรียนและผู้สนใจเข้าเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านแขนงต่าง ๆ อาทิ การทอผ้า การตัดกระดาษตัดตุง ทำโคม ดนตรีพื้นบ้าน ฟ้อนรำพื้นบ้าน การวาดรูปล้านนา อาหารพื้นบ้าน แกะสลัก จักสาน งานปั้น เป็นต้น มีผู้ให้ความสนใจเข้าเรียนรู้เป็นจำนวนมาก

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อรวบรวมผู้รู้ พ่อครู แม่ครู ช่างพื้นบ้านในแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนล้านนา
  2. ศึกษารวบรวยมข้อมูล องค์ความรู้พื้นบ้านออกมาในรูป ของตำราที่คนรุ่นใหม่ศึกษาได้
  3. จัดทำหลักสูตร จัดอบรมระยะสั้น
  4. เผยแพร่ให้ความรู้แก่สาธารณชนให้เห็นความ สำคัญของการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
  5. ประสานเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่าง

หลักสูตรที่เปิดสอน

  1. ภาษาล้านนา
  2. ดนตรีพื้นเมือง
  3. จักรสาน
  4. แต่งคร่าว-ซอ
  5. ฟ้อนพื้นเมือง
  6. วาดรูปล้านนา
  7. การทำตุง-โคม
  8. ฟ้อนดาบ-ฟ้อนเจิง
  9. ของเล่นเด็ก
  10. พิธีกรรม
  11. การทอผ้า
  12. การปั้น
  13. เครื่องเขิน
  14. แกะสลัก
  15. วิชาทางด้านสล่าเมือง

วิดิโอแนะนำ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

๓๕ ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๐๐๐

โทรศัพท์ ๐๕๓-๒๔๔๒๓๑ โทรสาร ๐๕๓-๓๐๖๖๑๒

การเดินทางมา  โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

 

 

 

ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

1391140578-Y415505-o

 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2538 เป็นคณะที่ 17 ของมหาวิทยาลัยและเป็นคณะในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2543 โดนมีบัณฑิตจบการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาโดยตลอด โดยมีหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และการประยุกต์งานสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและมีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ อย่างเหมาะสม จากเหตุผลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บจัดแสดงและศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค

ปัจจุบันศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเป็นหน่วยงานภายใต้งานศิลปวัฒนธรรมและชุมชน คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัย จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีที่ทำการ ณ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ซึ่งเป็นอาคารเก่าอายุประมาณ 120 ปี ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับบริจาคจากคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล และอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2544

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ หรือบางท่านเรียกว่า คุ้มกลางเวียง เดิมเป็นของ เจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ หลานของเจ้าหลวงคำฝั้น (เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่3) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2432-2436 ต่อมาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ บุตรชายเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ได้รับมรดกและเป็นผู้ครอบครองอาคารในระหว่างปี พ.ศ. 2437-2489

นางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพยมณฑล) ได้ซื้อต่อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่) และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงญาติคนปัจจุบันคือคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล (บุตรีนางบัวผันและเป็นน้าสาว ของอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร) วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตระกูลกิติบุตรและทิพยมณฑล ได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้เป็นที่ทำการของศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ภายใต้การดูแล และดำเนินงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

วิดิโอแนะนำ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ ของ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

เลขที่ 117 ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทร: 0 5327 7855 โทรสาร: 0 5327 7855

การเดินทางมา  ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ

head

(Northern Thai Information Center Chiang Mai University Library. All rights reserved)

             ศูนย์สนเทศภาคเหนือ ได้ถือกำเนิดขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการเรียนการสอน และการวิจัยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นล้านนา ซึ่งจำเพาะถึงจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด และการขยายขอบเขตให้กว้างขวางมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งภูมิภาคภาคเหนือ คือ 17 จังหวัด ในเวลาต่อมา สำนักหอสมุดในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริการของมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นในการเสาะแสวงหา รวบรวม สะสมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับล้านนาและภูมิภาคภาคเหนือโดยรวม สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นภาคเหนือ โดยในระยะเริ่มแรก ได้จัดตั้ง “โครงการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปลานนา″ ขึ้นเมื่อพ.ศ.2524 จากการริเริ่มของผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพ สุจินดา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ในขณะนั้น ต่อมาโครงการดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยพิพิธภัณฑ์และศิลปล้านนา″ และ “หน่วยเอกสารล้านนา″ ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2534 อาจารย์ ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดได้มีนโยบายในการพัฒนาหน่วยเอกสารล้านนาให้มีขอบเขตภาระงานที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือนอกจากมีการขยายกรอบของการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับล้านนาให้กว้างขวางออกไปถึงภูมิภาคภาคเหนือแล้วยังขยายต่อไปถึง “ไทศึกษา″ เป็นประการสำคัญอีกด้วย โดยสำนักหอสมุดได้ปรับเปลี่ยนหน่วยเอกสารล้านนามาเป็น “ศูนย์สนเทศภาคเหนือ” มีฐานะเป็นงานหนึ่งของฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 วัตถุประสงค์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งศูนย์สนเทศภาคเหนือภายใต้วัตถุประสงค์ดังนี้

เพื่อแสวงหา รวบรวม และให้บริการทรัพยากรสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือ

เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับภาคเหนือ

เพื่อเผยแพร่ข้อมูลภาคเหนือในรูปแบบต่างๆ แก่ชุมชน มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้รับบริการในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมภายใต้ขอบเขตและพันธกิจของสำนักหอสมุด

เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือ โดยรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือในด้านข้อมูล

ขอบเขตของข้อมูลภาคเหนือ

ข้อมูลภาคเหนือ หมายถึงข้อมูลที่อยู่ในขอบเขตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือในทุกๆ ด้าน ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา การศึกษา การท่องเที่ยว สภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจท้องถิ่น สังคม การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ฯลฯ เป็นข้อมูลในเขตพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ และอุทัยธานี โดยเน้นหนักในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงดินแดนที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน โดยเน้นภาคเหนือตอนบน ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น รัฐฉานในประเทศพม่า แคว้นยูนนานในประเทศจีน และทางตอนเหนือ ของประเทศลาว เป็นต้น

 สารนิเทศที่ให้บริการ

ศูนย์สนเทศภาคเหนือมีทรัพยากรสารนิเทศสำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ ดังนี้

เอกสารข้อมูลภาคเหนือ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

เอกสารตัวพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ ตำรา รายงานการประชุมสัมมนา และหนังสืออ้างอิง ซึ่งจัดเก็บตามระบบการจัดหมู่แบบทศนิยมของดิวอี้ โดยเรียงไว้ตามลำดับของเลขเรียกหนังสือ ตั้งแต่หมวด 000-900 ส่วนกฤตภาคและแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง จัดเก็บโดยการเรียงลำดับตามหมายเลขของเอกสาร รวมทั้งจุลสารซึ่งจัดเก็บตามลำดับอักษรของหัวเรื่อง

เอกสารตัวเขียน หรือ เอกสารโบราณ ได้แก่ คัมภีร์ใบลาน พับสา สมุดข่อย และเอกสารต้นฉบับ ซึ่งเอกสารตัวเขียนเหล่านี้จัดเก็บตามระบบการจัดหมวดหมู่เอกสารโบราณ รวมทั้งสิ้น 23 หมวด คือ หมวดพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม คัมภีร์บาลี บทสวดมนต์ อานิสงส์ ชาดก โอวาทคำสอน ประเพณี/พิธีกรรม/พระราชพิธี ธรรมทั่วไป นิยายธรรม นิยายพื้นบ้าน ตำนานพระพุทธศาสนา ตำนานเมือง/ราชวงศ์ กฎหมาย/กฏข้อบังคับต่างๆ ตำราอักษรศาสตร์ กวีนิพนธ์ร้อยกรอง/วรรณคดี ตำราโหราศาสตร์ ตำรายา ตำราต่างๆ จดหมายเหตุราชการ/บุคคล รวมหลายหมวด และเบ็ดเตล็ด

เอกสารหายาก เป็นเอกสารเพื่อการค้นคว้าวิจัยชั้นสูงที่มีคุณค่าและหาได้ยากในห้องสมุดต่างๆ ส่วนใหญ่ไม่สามารถหาซื้อได้จากสำนักพิมพ์หรือร้ายขายหนังสือทั่วไป อาทิ หนังสืออนุสรณ์งานศพ และหนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษต่างๆ เป็นต้น

เอกสารจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วยหนังสือราชการ รายงานการประชุม ผลงานทางวิชาการของอาจารย์และข้าราชการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และเอกสารอื่นๆ อาทิ โปสเตอร์ และแบบแปลนอาคารของหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของศูนย์สนเทศภาคเหนือ

239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทร.0-5394-4514, 0-5394-4517

การเดินทางมา ศูนย์สนเทศภาคเหนือ

 

สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

eng-fact-120613225301

 

ตามที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551 นั้น นับเป็นโอกาสในการรวมหน่วยงานเดิมสององค์กร คือ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ที่ได้ดำเนินการมากว่า 25 ปี และสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2545 มารวมเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ” ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา

วิดิโอแนะนำ  สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

โทรศัพท์ 0-5394-3811

การเดินทางมา สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ

book6

ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือสำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยพายัพ  จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่นภาคเหนือ  โดยเน้นภาคเหนือตอนบนและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า การวิจัย และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือ  ได้รวบรวม  องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม  สังคม  ประเพณี  เศรษฐกิจ  การลงทุน  การเมือง การปกครอง    สภาพสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีต  นอกจากนี้มีภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงค์ในการเสด็จล้านนาครั้งแรก เหมาะแก่การนำไปใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาเป็นอย่างยิ่ง  สารสนเทศประกอบด้วยหนังสือ  วารสาร  สื่อดิจิทัล สื่อมัลติมีเดีย ได้มีการเผยแพร่บน

ฐานข้อมูลหนังสือ : รวบรวมรายการหนังสือที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือ โดยในส่วนของ ฐานข้อมูลหนังสือ  ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูหน้าสารบัญหนังสือได้ทันที

ฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร  อาทิ เชียงใหม่ปริทัศน์ พลเมืองเหนือ วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง เป็นต้น

กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือ : ข้อมูลที่นำเสนอความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคเหนือทั้งกลุ่มชนบนพื้นที่สูงและพื้นราบ  ซึ่งมีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้าทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

มัลติมีเดีย: รวบรวมและจัดเก็บเพลงพื้นบ้านล้านนา เช่น ซอ  เพลงพื้นเมือง  ภูมิปัญญาของล้านนา เช่น พิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ  การทำตุง-โคม  เครื่องจักสาน กระดาษสา  เครื่องเงิน  เครื่องปั้นดินเผา  ารแกะสลักไม้และเครื่องเงิน  เป็นต้น มีให้บริการทั้งในรูปแบบของ VDO on Demand , CD-ROM  เทปคาสเซ็ทและแผ่นเสียงโบราณที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง

 

ผักพื้นบ้านภาคเหนือ : รวบรวมข้อมูลผักพื้นบ้านท้องถิ่นภาคเหนือซึ่งบางชนิดหาได้ยากในปัจจุบันพร้อมให้รายละเอียดของพืชผักแต่ละชนิดด้วย

 

หนังสือหายาก : จัดเก็บหนังสือหายากและเอกสารโบราณที่มีคุณค่านำเสนอบรรณนิทัศน์และ จัดให้บริการตัวเล่มเฉพาะในศูนย์ข้อมูลภาคเหนือเท่านั้น

 

สารสนเทศท้องถิ่นรอบแม่น้ำคาว ข้อมูลในด้าน ธุรกิจ,โรงเรียน,วัด,คริสตจักรและข้อมูลทั่วไปที่อยู่บริเวณโดยรอบแม่น้ำคาว

 

กฤตภาคออนไลน์ : รวบรวมบทความ ข่าวที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศภาคเหนือในรูปแบบดิจิทัล  สามารถอ่านเอกสารฉบับเต็มได้ทันที

บทความ  : รวบรวมรายการบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภาคเหนือ

 

เพลงพื้นบ้านล้านนา : รวบรวมเพลงพื้นบ้านล้านนาหลากหลายประเภทให้ผู้ใช้บริการเลือกฟังได้ทันทีผ่านระบบ Video on Demand

อาหารล้านนา นำเสนอภาพอาหารไทยท้องถิ่นภาคเหนือ พร้อมทั้งวิธีทำอย่างละเอียด

แผนที่ : รวบรวมแผนที่ภาคเหนือทั้งแผนที่ทางภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์  แผนที่โบราณและแผนที่ท่องเที่ยว

บุคคลสำคัญ : รวบรวมภาพบุคคลสำคัญในภาคเหนือแยกเป็นหมวดหมู่ ได้แก่ กษัตริย์ผู้ปกครองนครในล้านนาและศิลปินพื้นบ้าน  ฯลฯ

ฐานข้อมูลคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ในล้านนา รวบรวมข้อมูลประวัติคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์เขตภาคเหนือ  มิชชันนารีของคริสต์ศาสนานิกายโปเตสแตนท์ เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนายังประเทศสยามครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 3            แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเริ่มจากศาสนาจารย์จาคอบ ทอมลิน และนายแพทย์คาร์ล กุตสลาฟ สังกัดคณะสมาคมมิชชันนารีแห่งลอนดอน (London Missionary Society) เดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาที่กรุงเทพฯ ในปี ค.ศ.1828  นอกจากนี้ยังมีข้อมูลคริสตจักรนิกายโปรเตสแตนท์ และให้บริการในส่วนนิทรรศการออนไลน์อีกด้วย

วัดในเชียงใหม่ : ข้อมูลต่าง ๆของวัดในเชียงใหม่ เช่น ประวัติ ภาพประกอบ ปีที่สร้างพร้อมทั้งรายละเอียดอื่นฯ

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของ ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ

สถานที่ : ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแม่คาว
ถนนซูเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 0-5324-1255, 0-5385-1478

การเดินทางมา ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ

Art in Paradise เชียงใหม่

1010565_656502351029276_230126301_n

“Art in Paradise (Chiang Mai)” พิพิธภัณฑ์ภาพวาดลวงตา (Illusion Art Museum) แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอศิลปะภาพวาดลวงตา หรือ Illusion Art ศิลปะการวาดภาพที่อาศัยเทคนิค และความเชี่ยวชาญในการวาดภาพลงบนพื้นผิวเรียบให้กลายเป็น “ภาพ 3 มิติ” และให้ความรู้สึกที่เหมือนจริง (Realistic Art) นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังนำเสนอผลงานศิลปะในรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด (Interactive Art) ผู้ชมสามารถถ่ายภาพโดยสร้างสรรค์จินตนาการ ออกแบบท่าทาง และแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพวาดแต่ละภาพตามความชอบของตนเอง เสมือนว่าผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาด Art in Paradise (Chiang Mai) จึงเป็นสถานที่ที่ทำให้ศิลปะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้สำหรับทุกคน และยังมอบความสุข สนุกสนานให้แก่ผู้มาเยือนอีกด้วย

“Art in Paradise (Chiang Mai)” ก่อตั้งโดยชาวเกาหลี คุณ จาง กิว ซ็อก (Jang Kyu Suk) และสร้างสรรค์ภาพวาดโดยจิตรกรระดับมืออาชีพจากประเทศเกาหลีทั้งหมด 14 ท่าน ภาพวาดภายในพิพิธภัณฑ์กว่า 130 ภาพ สามารถแบ่งออกเป็น 6 โซนใหญ่ๆ คือ โซนโลกใต้ท้องทะเล รวบรวมสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดรวมทั้งเหล่านางเงือก เป็นโซนที่ผู้ชมสามารถออกแบบท่าทางในการถ่ายภาพได้ตามความชอบของตนเอง โซนสัตว์ป่า ภาพวาดสัตว์ป่าในอิริยาบถต่างๆ โซนคลาสสิกอาร์ต (Classic Art) ภาพวาดของจิตรกรระดับโลกนำมาเพิ่มเติมความสนุกในแบบของ Art in Paradise (Chiang Mai) ทั้งยังมีภาพเมืองแถบยุโรปที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสถานที่จริง โซนตะวันออก ประกอบด้วยภาพสถาปัตยกรรมทั้งของเกาหลี ไทย และเขมร โซนอียิปต์โบราณ สัมผัสบรรยากาศแห่งทะเลทราย และสุสานฟาโรห์ โซนศิลปะเหนือจริง และสัตว์โลกล้านปี รวบรวมภาพวาดหลากหลายแบบที่ผู้ชมสามารถจินตนาการถ่ายภาพในแบบของแต่ละคนได้อย่างอิสระ เพื่อความสนุกสนาน และเสมือนจริง

5549_646887925324052_148824

ภาพวาดลวงตา คือ ภาพวาดที่ส่งผลทำให้การรับรู้ทางการมองเห็น บิดเบือนหรือผิดเพี้ยนไปจากภาพความจริง ซึ่งผู้ชมสามารถรับรู้และตีความออกมาได้หลายความหมาย

การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมหรืองานศิลปะบนพื้นผิวเรียบ ( สองมิติ ) ให้ดูมีมิติ มีความตื้นลึกของแสงและเงา ต้องอาศัยเทคนิคและความเชี่ยวชาญอย่างสูงในการออกแบบ การจัดองค์ประกอบของภาพ และเลือกใช้ส่วนประกอบทางศิลปะในการเปลี่ยนภาพวาดธรรมดาให้กลายเป็น งานศิลปะสามมิติ

นอกจากนี้การจัดวางรูปภาพให้อยู่ในมุมมองที่ถูกต้องก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดลวงตา เช่น รูปภาพหนึ่งรูป ผู้ชมแต่ละคนสามารถมองและตีความหมายออกมาได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล

พิพิธภัณฑ์ อาร์ตอินพาราไดซ์ เชียงใหม่ ยินดีอย่างยิ่งที่จะนำทุกท่านไปพบกับความมหัศจรรย์ของโลกแห่งศิลปะภาพวาดลวงตา สถานที่ที่ทุกท่านสามารถปลดปล่อยจินตนาการ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาดสามมิติ ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้

chiangmaiartinparadise (23)

chiangmaiartinparadise (22)

chiangmaiartinparadise (1)

ที่ตั้ง เวลาเปิดทำการ และเบอร์โทรศัพท์ Art in Paradise เชียงใหม่

เลขที่ 199/9 ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ห้างสรรพสินค้าสีสวนเก่า)

เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-21.00 น.

โทร 0 5327 4100, 0 5327 3291

การเดินทางมา Art in Paradise เชียงใหม่

947231_640108809335297_2028

935570_636371659709012_4587

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.chiangmai-artinparadise.com/introduct.php?lang=th

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่

29_173

เมืองเชียงใหม่มีชื่อที่ปรากฎในตำนานว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์” เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1839 นับถึงปัจจุบันอายุเจ็ดร้อยกว่าปี เมืองเชียงใหม่ ได้วิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 200 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839-2101) ในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่พม่านานร่วม 200 ปี จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาหาราช ได้ทรงช่วยเหลือล้านนาไทยภายใต้การนำของพระเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน ในการทำสงครามขับไล่พม่าออกไปจากเชียงใหม่ได้นำเร็จ เชื้อสายของพระเจ้ากาวิละ ซึ่งเรียกว่า “ตระกูลเจ้าเจ็ดตน” ปกครองเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน และเมืองลำปางต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช ได้ยกเลิกการมีประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่าปกครองแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบัน

ไปรษณีย์แห่งแรกของนครเชียงใหม่

เดิมทีเดียวนั้นเชียงใหม่มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอยู่แห่งหนึ่งตรงถนนวิชยานนท์ ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว และได้สร้างสุขศาลาขึ้นแทน ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแห่งแรกของเชียงใหม่ง่ายๆ ว่า “โฮงสาย” คงจะเป็นด้วยเหตุผลที่เป็นสถานที่ตั้งชุมสายโทรเลขและโทาศัพท์ ซึ่งต้องมีสายสัญณาณเชื่อมโยงจากที่ต่างๆ เข้ามาที่ตัวอาคารจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2453 มีการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กตรงบริเวณใกล้กัน (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่) ทางการได้ย้าย “โฮงสาย” มาอยู่ที่อาคารหลังนี้ภายหลัง ซึ่งแต่เดิมนั้น ก่อนที่จะมีการก่อสร้างอาคารหลังนี้ บริเวณดังกล่าวใช้เป็นที่ทำการศาลมณฑลพายัพ ภายในมีที่คุมขังนักโทษอยู่ด้วย

ปัจจุบันตัวอาคารได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย ปีกของอาคารทั้งสองข้าง ได้ต่อเติมเป็นสองชั้นโดยตลอด เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความเจริญของเมืองเชียงใหม่ในยุคสมัยต่อๆ มา จนต้องสร้างที่ทำการขึ้นที่ใหม่เพิ่มอีกแห่งหนึ่งย่านสันป่าข่อย ฝั่งซ้ายแม่น้ำปิง อาคารหลังนี้ใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแม่ปิง เรื่อยมาจนถึงปี 2533 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณีย์เชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวมของนักสะสมตราไปรษณียากรในภูมิภาคนี้

ให้บริการ  จำหน่ายตราไปรษณียากรเพื่อการสะสม

จำหน่ายอุปกรณ์สำหรับการสะสมตราไปรษณียากร

บริการรับสมัครสมาชิกบัญชีเงินฝากตราไปรษณียากร

บริการรับสมัครสมาชิกวารสารตราไปรษณียากร

บริการรับสมัครสมาชิกจุลสารตราไปรษณียากร

บริการแนะนำเทคนิคการสะสมตราไปรษณียากร

นิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับตราไปรษณียากร

นิทรรศการอุปกรณ์ต่างๆ ในกิจการไปรษณีย์ในอดีต

บริการห้องสมุดเกี่ยวกับตราไปรษณียากร

ที่ตั้งและเวลาเปิดทำการของ พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่

15 ถนนไปรษณีย์ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

โทร. 0-5325-1200

เปิดให้บริการ วันอังคาร – วันอาทิตย์

ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. หยุด วันจันทร์

การเดินทางมา  พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

Chiang_mai-tribal_museum_CM

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา ตั้งอยู่ในบริเวณสวนล้านนา ร.9ถนนโชตนา อยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางด้านชาติพันธุ์วิทยา จัดเก็บรวบรวมวัตถุพยานหลักฐานวัฒนธรรมของชนเผ่าบนที่สูง หรือ ชาวเขา ประกอบด้วยกลุ่มชนจำนวน 9 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ มูเซอ ลัวะ ถิ่น ขมุ และกลุ่มชนเล็กที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งคือ มลาบรี หรือผีตองเหลือง มีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป พิพิธภัณฑ์ชาวเขาได้จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวเขา ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ จัดเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวเขาที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิภาพสังคมแห่งประเทศไทย และได้ย้ายมาตั้ง ณ จุดที่ตั้งปัจจุบันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2540 ชั้นล่างเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุดสำหรับผู้ที่มาเที่ยวชม
ชาวเขาซึ่งมีจำนวนประมาณ 970,000 คนกระจายตัวอาศัยอยู่ตามโซนต่างๆ โดยชาวม้งชอบอาศัยอยู่ในที่สูงๆ ส่วนชาวอาข่า ลีซอ และมูเซอจะอาศัยอยู่ที่ต่ำลงมา ส่วนชาวกะเหรี่ยงและชาวเหย้าชอบอาศัยอยู่ตามหุบเขา ทุกเผ่าล้วนแต่มีศาสนา (โดยมีพื้นฐานมาจากลัทธินับถือผี) พิธีกรรม ภาษา และขนบธรรมเนียมตามแบบฉบับของตนเอง อย่างไรก็ดี เนื่องจากว่าในภูมิภาคนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ และชาวเผ่าเหล่านี้ก็ค่อยๆ ผสมผสานกลมกลืนเข้ากับสังคมใหญ่มากขึ้น ดังนั้น ขนบธรรมเนียนประเพณีของชาวเผ่านเหล่านี้จึงเสี่ยงที่จะค่อยๆ ถูกกลืนจนสูญหายไปในที่สุด พิพิธภัณฑ์แห่งนี้พยายามแสดงและรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจนชนกลุ่มใหญ่เหล่านี้ไว้ โดยถ่ายทอดบรรยากาศชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ให้ได้สัมผัสผ่านทางงานฝีมือที่ชาวเขาเป็นผู้ทำขึ้น ตลอดจนมีภาพถ่ายและมีคำอธิบายที่ชัดเจนพร้อมทั้งมีเสียงเพลงพื้นบ้านและเสียงสวดมนต์ของชาวเขาเปิดคลอไปด้วย วัตถุที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ที่พักอาศัย การจับปลา การเกษตร ความเชื่อทางศาสนา และเครื่องดนตรี โดยมีข้าวของจัดแสดงหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นตะกร้า ข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม กลอง เครื่องมือทางการเกษตร อุปกรณ์ล่าสัตว์ อาวุธ เครื่องประดับเงินอันอ่อนช้อย และเครื่องแต่งกายสีสันฉูดฉาด
เนื่องจากว่าชาวเขามีความชำนาญในด้านงานศิลปะและงานฝีมือเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงมีงานฝีมือของชาวเขาจัดแสดงไว้ให้ชมมากมาย โดยมีหุ่นจำลองขนาดเท่าคนจริง พร้อมทั้งมีคำอธิบายซึ่งผ่านการค้นคว้าข้อมูลมาเป็นอย่างดีประกอบด้วย รูปแบบการแต่งกายและเครื่องประดับเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้แบ่งแยกชาวเขาเผ่าต่างๆ และใช้แบ่งแยกสถานะทางสังคมในแต่ละชนเผ่าด้วย ผู้หญิงชาวม้งมีความชำนาญในงานเย็บปักถักร้อย โดยมักจะใช้ลวดลายทรงเลขาคณิตในลายผ้าและมักจะสวมใส่เครื่องเงินประกอบด้วย มีหุ่นจำลองคู่หนึ่งแต่งกายในชุดประจำเผ่าของชาวม้งดูโดดเด่น ชาวเย้าก็มีชื่อเสียงในเรื่องความละเอียดอ่อนของงานเย็บปักถักร้อยเช่นกัน โดยทั้งชุดจะมีลวดลายปักประดับตกแต่งทั้งหมด ส่วนกะเหรี่ยงขึ้นชื่อในเรื่องของการทอผ้า ส่วนเครื่องแต่งกายของชาวมูเซอและชาวลีซอจะมีเอกลักษณ์ที่แถบผ้าสีสันฉูดฉาด เครื่องประดับศีรษะตามแบบโบราณของชาวอาข่านับว่าเป็นเครื่องประดับที่อลังการและสวยงามมากที่สุด โดยนำเครื่องเงิน ลูกปัด และเหรียญต่างๆ มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ชาวเขาส่วนหนึ่งทำงานศิลปะและงานฝีมือพื้นบ้านเหล่านี้ขึ้นเพื่อนำมาขายในตลาดให้แก่นักท่องเที่ยว

เวลาทำการของ พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

ทุกวัน เวลา 9.00-16.00 น.

การเดินทางมา พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

1359512007-01DSC00824-o

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา แห่งนี้ได้รวบรวมเรือนโบราณที่ทั้งได้รับจากการบริจาคและขายให้กับพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยกลุ่มเรือนโบราณที่ควรค่าแก่การรักษาและอนุรักษ์ จำนวน 8 หลัง ได้แก่
เรือนไทยลื้อ (หม่อนตุด)   เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง มีลักษณะสองหลังหน้าเปียง ด้านตะวันออกเป็นเรือนนอนโล่งกว้าง ด้านตะวันตกเป็นเรือนครัว ระหว่างชายคาของเรือน ทั้งสองเชื่อมต่อกันเป็นรางน้ำฝนเรียกว่า “ฮ่องลิน” หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด
เรือนลุงคิวเป็นอาคารรูปทรงอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกหรือทรงอาณานิคมหรือแบบโคโลเนียล สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2465
เรือนกาแล (อุ๊ยผัด)  เรือนหลังนี้มีลักษณะเด่นของเรือนกาแลคือ มีหัมยนต์ติดบริเวณด้านบนของประตูห้องนอนเพื่อทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์คอยป้องกันและขับไล่อันตรายต่างๆจากภายนอก
เรือนพื้นบ้านล้านนาอุ๊ยแก้ว เป็นรูปแบบเรือนของคนที่อาศัยใกล้เวียงเชียงใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะ การจัดพื้นที่ใช้สอยยังเป็นแบบบ้านชนบทแต่ทำฝาและประตูหน้าต่างแบบใหม่
เรือนกาแล (พญาวงศ์) เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาทรงหน้าจั่ว มีลักษณะเด่นคือ “กาแล”ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความเป็นสิริมงคล ลักษณะเป็นไม้แกะสลักยื่นเลยจากปั้นลมไปไขว้กันที่ยอดจั่วเรือน
เรือนชาวเวียงเชียงใหม่ (พญาปงลังกา) เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง ลักษณะเป็นเรือนหลังคาทรงจั่ว สองจั่วเหลื่อมกัน
เรือนทรงปั้นหยา (อนุสารสุนทร) ยุ้งข้าวหรือหลองข้าว เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่สองชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) ลักษณะเป็นทรงปั้นหยาเหลื่อมซ้อนกันอย่างลงตัว
นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ยังมีการสาธิตการทำหัตถกรรมพื้นบ้านที่สวยงามและทรงคุณค่าในอดีต อาทิ การย้อมผ้าด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ การทอผ้าด้วยกี่เอว การทำเครื่องเงิน การฉลุลายผ้าและกระดาษสาเป็นลวดลายต่างๆ

ที่ตั้ง เวลาทำการ และเบอร์โทรศีพท์ของ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ติดถนนเรียบคลองชลประทาน ใกล้สี่แยกตลาดต้นพะยอม อยู่ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมเรือนโบราณที่ทั้งได้รับจากการบริจาคและขายให้กับพิพิธภัณฑ์

ที่นี่เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันจันทร์- ศุกร์ เวลา8.30 – 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.053943625 โทรสาร 053222680

การเดินทางมา พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา