Tag-Archive for » ห้องสมุดเฉพาะ «

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ

archives-payap

ภาพประกอบจาก http://www.libraryhub.in.th/2009/06/24/tour-in-archives-of-payap-university/

การจัดตั้งหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ มีพื้นฐานและมีความผูกพันกับคริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยกล่าวคือหลังจากที่มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนท์สองท่านแรกคือศจ.กุสลาฟ และ ศจ.ทอมลิน ได้เข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ครั้งแรกที่กรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2371ก็มีมิชชั่นคณะต่าง ๆ ได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนา โดยมีคณะมิชชั่นที่สำคัญ เช่น อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น ดิไซเปิลออฟไครสท์ และเซย์เวนเดย์แอดแวนติสท์เป็นต้น การเผยแพร่คริสตศาสนาในช่วงแรกทำเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร จากนั้นได้มีการขยายตัวออกไปทั่วประเทศ มีการประกาศเผยแพร่ความเชื่อของคริสตศาสนามีการตั้งคริสตจักร ตั้งโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนทั้งชายและหญิง และเป็นการเตรียมและพัฒนาผู้เชื่อให้ผู้นำคริสตจักร ตั้งโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2477 คริสตจักรต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการประกาศเผยแพร่ของมิชชันนารี คณะอเมริกัน-เพรสไบทีเรียน อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้รวมตัวกันตั้ง เป็นสภาคริสตจักรในสยาม หรือที่เรียกว่า สภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปัจจุบัน

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2500 และ 2505 อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้ปิดสำนักงานในประเทศไทยลงตามลำดับ มีการยกทรัพย์สิน และกิจการทั้งหมดให้แก่สภาคริสตจักรในประเทศไทย มิชชันนารีที่ยังคงทำงานในประเทศไทย ได้ปรับฐานะเป็นภราดรผู้ร่วมงานกับสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2521 องค์กรคริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยได้รวมตัวกันจัดงานฉลองครบรอบ 150 ปี คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทย ในการเตรียมจัดงานฉลองนั้น ได้มีการศึกษาค้นคว้าเอกสารและหนังสือต่าง ๆ เพื่อจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์สภาคริสตจักรในประเทศไทย การดำเนินการดังกล่าวทำให้มีค้นพบเอกสารเก่าของสภาคริสตจักรฯ ตั้งแต่สมัยมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนเข้ามาประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณในประเทศไทย โดยเอกสารดังกล่าวถูกเก็บไว้ในโกดังที่เก็บของของสภาคริสตจักรฯ คณะผู้บริหารสภาคริสตจักรฯ ในเวลานั้นได้ตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารที่มีค่าเหล่านั้น แต่ก็ไม่ทราบว่าควรจะดำเนินการอย่างไรในการรักษาดูแลเอกสารอย่างเหมาะสม จึงได้ติดต่อวิทยาลัยพายัพ(มหาวิทยาลัยพายัพในปัจจุบัน)ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมแห่งแรกของสภาคริสตจักรฯ   และในเวลานั้นศาสนาจารย์ เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน อาจารย์สอนประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ของวิทยาลัยพายัพ ท่านเคยผ่านการฝึกงานด้านงานจดหมายเหตุในประเทศสหรัฐอเมริกามาก่อนได้เสนอให้มหาวิทยาลัยพายัพนำเอกสารเหล่านั้นมาเก็บรักษา และได้มีการจัดตั้งแผนกจดหมายเหตุ หรือหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดยมีศาสนาจารย์เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน เป็นผู้อำนวยการคนแรก มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เขตบ้านธารแก้ว ต่อมาในปีพ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้มีการพัฒนาโดยมีการขยายวิทยาเขตจากเดิมที่มีอยู่ 2 เขต (บ้านธารแก้วและแก้วนวรัฐ) เป็น 3 เขต คือ มีวิทยาเขตแม่คาวเพิ่มอีกหนึ่งเขตหอจดหมายเหตุได้ย้ายสำนักงานจากบ้านธารแก้ว มาอยู่ที่เขตแก้วนวรัฐในอาคารที่เคยเป็นหอพักพยาบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการย้ายที่ทำการไปยังอาคารศรีสังวาลย์ บริเวณชั้นที่ 3 และชั้น 4

ปัจจุบันหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ ได้ย้ายมาดำเนินการ ณ บริเวณชั้น 3 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สิรินธร มหาวิทยาลัยพายัพ เขตแม่คาว ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 และได้มีการนมัสการพระเจ้าเนื่องในโอกาศเปิดหอจดหมายเหตุในที่ทำการใหม่ เมื่อวันพุธที่ 27  มีนาคม พ.ศ. 2556

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ 

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแก้วนวรัฐ
ถนนแก้วนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 053-242484, 053-243969 และ 053-306512-3

การเดินทางมา หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ 

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

96271

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุได้ที่ ให้บริการหนังสือประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสารคดีและเอกสารจดหมายเหตุ

ที่ตั้งเวลาเปิดทำการและเบอร์โทรศัพท์ ของ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ 

ตั้งอยู่ที่ ถนนสุเทพ (แยกประตูสวนดอก) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เปิดให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
โทร. 0 5328 1424 โทรสาร 0 5328 1425

การเดินทางมา หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ 

 

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 1269410908

                       ในระยะเริ่มแรกห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ชั้น 1 อาคารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ (อาคารเดิม) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นห้องอ่านหนังสือของสถาบันที่มีการให้บริการวารสารทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักวิจัย ข้าราชการ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และบุคคลภายนอกทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ.2549 ได้ย้ายมาอยู่ชั้น 4 และได้พัฒนาการให้บริการในลักษณะห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  โดยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนินการ

วิสัยทัศ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มีความประสงค์ที่จะพัฒนาให้ห้องสมุด ให้อยู่ในรูปแบบของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนินการ ทั้งในส่วนของการบริหารการจัดการ งานเทคนิค และงานบริการ มีการติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักวิจัยของสถาบันสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถสืบค้นข้อมูลจากสิ่งพิมพ์ออนไลน์ได้ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e – Journal) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e – Books) และฐานข้อมูลประเภทสื่อมัลติมีเดียจากแหล่งข้อมูลออนไลน์

จุดประสงค์

เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ และสืบค้นงานวิจัย ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลงานวิจัยของสถาบัน และจัดให้บริการแก่ผู้ใช้แบบ one stop service

Address

ที่ตั้งของห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ชั้น 4 อาคารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ (อาคารเดิม) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ

อำเภอ เมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

โทรศัพท์ 0-5394-6148 ext 444

แฟกส์ 0-5322-1849

เวลาเปิดทำการ

เปิดบริการ : จันทร์-ศุกร์

เวลา 8.30-16.30 น.

วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการปิดบริการ

การเดินทางมาห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

TCDC เชียงใหม่

8

 

TCDC เชียงใหม่ ศูนย์กลางความรู้ด้านการออกแบบและบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ครบวงจรแห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

 รูปแบบการให้บริการ

ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ในบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ด้วยหนังสือกว่า 6,000 เล่ม นิตยสารกว่า 70 ชื่อเรื่อง และสื่อมัลติมีเดียกว่า 500 รายการ พร้อมฐานข้อมูลด้านการออกแบบ WGSN และฐานข้อมูลด้านการตลาด GMID เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 7,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 250 ชนิด และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัสดุล้ำยุค เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสกับวัสดุที่นักออกแบบระดับโลกใช้ในการสร้าง สรรค์ผลงาน และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของวัสดุเพื่อการออกแบบ

กิจกรรมสัมมนาและฝึกอบรมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยความหลากหลายของกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์

การจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้ ทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ จินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าชม พร้อมทั้งการจัดการประกวด การแข่งขัน ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอย่างต่อเนื่อง

พื้นที่จัดแสดงผลงาน สำหรับผลงานของนักออกแบบรุ่นใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการทดลองตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย

การให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ให้กับผู้ประกอบการและนักออกแบบในพื้นที่

วิดิโอแนะนำ TCDC เชียงใหม่

ที่ตั้ง เบอร์โทรศัพท์ และเวลาทำการของ TCDC เชียงใหม่  

ตั้งอยู่หลังกาดเมืองใหม่ เลขที่ 1/1 ถนนเมืองสมุทร ตำบลช้างม่อย

อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

เปิดให้บริการแล้ววันนี้!

เวลา 10.30 – 18.00 น. (ปิดวันจันทร์)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ TCDC โทร. 052 080 500 ต่อ 1

การเดินทางมาTCDC เชียงใหม่  

ห้องสมุดกองบิน 41 จ.เชียงใหม่

1188308851

ห้องสมุดกองบิน 41จังหวัดเชียงใหม่ ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ข้าราชการลูกจ้าง และครอบครัว ของกองบิน 41
ในอดีตห้องสมุดของเราอยู่ที่อาคารสวัสดิการซึ่งไม่สะดวกในการให้บริการได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากอยู่ห่างไกล จึงย้ายมาตั้งที่อาคารแฟลตรับรอง 4 ชั้น โดยมีห้องสมุดและห้อง Internet Adslให้บริการที่ชั้น 1 และให้บริการจนถึงปัจจุบัน

1188308923 1188309324 1188309366 1188309468

การเดินทางมา ห้องสมุดกองบิน 41 จ.เชียงใหม่