Tag-Archive for » พิพิธภัณฑ์ «

Art in Paradise เชียงใหม่

1010565_656502351029276_230126301_n

“Art in Paradise (Chiang Mai)” พิพิธภัณฑ์ภาพวาดลวงตา (Illusion Art Museum) แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอศิลปะภาพวาดลวงตา หรือ Illusion Art ศิลปะการวาดภาพที่อาศัยเทคนิค และความเชี่ยวชาญในการวาดภาพลงบนพื้นผิวเรียบให้กลายเป็น “ภาพ 3 มิติ” และให้ความรู้สึกที่เหมือนจริง (Realistic Art) นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังนำเสนอผลงานศิลปะในรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด (Interactive Art) ผู้ชมสามารถถ่ายภาพโดยสร้างสรรค์จินตนาการ ออกแบบท่าทาง และแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพวาดแต่ละภาพตามความชอบของตนเอง เสมือนว่าผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาด Art in Paradise (Chiang Mai) จึงเป็นสถานที่ที่ทำให้ศิลปะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้สำหรับทุกคน และยังมอบความสุข สนุกสนานให้แก่ผู้มาเยือนอีกด้วย

“Art in Paradise (Chiang Mai)” ก่อตั้งโดยชาวเกาหลี คุณ จาง กิว ซ็อก (Jang Kyu Suk) และสร้างสรรค์ภาพวาดโดยจิตรกรระดับมืออาชีพจากประเทศเกาหลีทั้งหมด 14 ท่าน ภาพวาดภายในพิพิธภัณฑ์กว่า 130 ภาพ สามารถแบ่งออกเป็น 6 โซนใหญ่ๆ คือ โซนโลกใต้ท้องทะเล รวบรวมสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดรวมทั้งเหล่านางเงือก เป็นโซนที่ผู้ชมสามารถออกแบบท่าทางในการถ่ายภาพได้ตามความชอบของตนเอง โซนสัตว์ป่า ภาพวาดสัตว์ป่าในอิริยาบถต่างๆ โซนคลาสสิกอาร์ต (Classic Art) ภาพวาดของจิตรกรระดับโลกนำมาเพิ่มเติมความสนุกในแบบของ Art in Paradise (Chiang Mai) ทั้งยังมีภาพเมืองแถบยุโรปที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสถานที่จริง โซนตะวันออก ประกอบด้วยภาพสถาปัตยกรรมทั้งของเกาหลี ไทย และเขมร โซนอียิปต์โบราณ สัมผัสบรรยากาศแห่งทะเลทราย และสุสานฟาโรห์ โซนศิลปะเหนือจริง และสัตว์โลกล้านปี รวบรวมภาพวาดหลากหลายแบบที่ผู้ชมสามารถจินตนาการถ่ายภาพในแบบของแต่ละคนได้อย่างอิสระ เพื่อความสนุกสนาน และเสมือนจริง

5549_646887925324052_148824

ภาพวาดลวงตา คือ ภาพวาดที่ส่งผลทำให้การรับรู้ทางการมองเห็น บิดเบือนหรือผิดเพี้ยนไปจากภาพความจริง ซึ่งผู้ชมสามารถรับรู้และตีความออกมาได้หลายความหมาย

การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมหรืองานศิลปะบนพื้นผิวเรียบ ( สองมิติ ) ให้ดูมีมิติ มีความตื้นลึกของแสงและเงา ต้องอาศัยเทคนิคและความเชี่ยวชาญอย่างสูงในการออกแบบ การจัดองค์ประกอบของภาพ และเลือกใช้ส่วนประกอบทางศิลปะในการเปลี่ยนภาพวาดธรรมดาให้กลายเป็น งานศิลปะสามมิติ

นอกจากนี้การจัดวางรูปภาพให้อยู่ในมุมมองที่ถูกต้องก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดลวงตา เช่น รูปภาพหนึ่งรูป ผู้ชมแต่ละคนสามารถมองและตีความหมายออกมาได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล

พิพิธภัณฑ์ อาร์ตอินพาราไดซ์ เชียงใหม่ ยินดีอย่างยิ่งที่จะนำทุกท่านไปพบกับความมหัศจรรย์ของโลกแห่งศิลปะภาพวาดลวงตา สถานที่ที่ทุกท่านสามารถปลดปล่อยจินตนาการ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาดสามมิติ ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้

chiangmaiartinparadise (23)

chiangmaiartinparadise (22)

chiangmaiartinparadise (1)

ที่ตั้ง เวลาเปิดทำการ และเบอร์โทรศัพท์ Art in Paradise เชียงใหม่

เลขที่ 199/9 ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ห้างสรรพสินค้าสีสวนเก่า)

เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-21.00 น.

โทร 0 5327 4100, 0 5327 3291

การเดินทางมา Art in Paradise เชียงใหม่

947231_640108809335297_2028

935570_636371659709012_4587

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.chiangmai-artinparadise.com/introduct.php?lang=th

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

Chiang_mai-tribal_museum_CM

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา ตั้งอยู่ในบริเวณสวนล้านนา ร.9ถนนโชตนา อยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางด้านชาติพันธุ์วิทยา จัดเก็บรวบรวมวัตถุพยานหลักฐานวัฒนธรรมของชนเผ่าบนที่สูง หรือ ชาวเขา ประกอบด้วยกลุ่มชนจำนวน 9 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ มูเซอ ลัวะ ถิ่น ขมุ และกลุ่มชนเล็กที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งคือ มลาบรี หรือผีตองเหลือง มีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป พิพิธภัณฑ์ชาวเขาได้จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวเขา ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ จัดเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวเขาที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิภาพสังคมแห่งประเทศไทย และได้ย้ายมาตั้ง ณ จุดที่ตั้งปัจจุบันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2540 ชั้นล่างเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุดสำหรับผู้ที่มาเที่ยวชม
ชาวเขาซึ่งมีจำนวนประมาณ 970,000 คนกระจายตัวอาศัยอยู่ตามโซนต่างๆ โดยชาวม้งชอบอาศัยอยู่ในที่สูงๆ ส่วนชาวอาข่า ลีซอ และมูเซอจะอาศัยอยู่ที่ต่ำลงมา ส่วนชาวกะเหรี่ยงและชาวเหย้าชอบอาศัยอยู่ตามหุบเขา ทุกเผ่าล้วนแต่มีศาสนา (โดยมีพื้นฐานมาจากลัทธินับถือผี) พิธีกรรม ภาษา และขนบธรรมเนียมตามแบบฉบับของตนเอง อย่างไรก็ดี เนื่องจากว่าในภูมิภาคนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ และชาวเผ่าเหล่านี้ก็ค่อยๆ ผสมผสานกลมกลืนเข้ากับสังคมใหญ่มากขึ้น ดังนั้น ขนบธรรมเนียนประเพณีของชาวเผ่านเหล่านี้จึงเสี่ยงที่จะค่อยๆ ถูกกลืนจนสูญหายไปในที่สุด พิพิธภัณฑ์แห่งนี้พยายามแสดงและรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจนชนกลุ่มใหญ่เหล่านี้ไว้ โดยถ่ายทอดบรรยากาศชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ให้ได้สัมผัสผ่านทางงานฝีมือที่ชาวเขาเป็นผู้ทำขึ้น ตลอดจนมีภาพถ่ายและมีคำอธิบายที่ชัดเจนพร้อมทั้งมีเสียงเพลงพื้นบ้านและเสียงสวดมนต์ของชาวเขาเปิดคลอไปด้วย วัตถุที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ที่พักอาศัย การจับปลา การเกษตร ความเชื่อทางศาสนา และเครื่องดนตรี โดยมีข้าวของจัดแสดงหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นตะกร้า ข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม กลอง เครื่องมือทางการเกษตร อุปกรณ์ล่าสัตว์ อาวุธ เครื่องประดับเงินอันอ่อนช้อย และเครื่องแต่งกายสีสันฉูดฉาด
เนื่องจากว่าชาวเขามีความชำนาญในด้านงานศิลปะและงานฝีมือเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงมีงานฝีมือของชาวเขาจัดแสดงไว้ให้ชมมากมาย โดยมีหุ่นจำลองขนาดเท่าคนจริง พร้อมทั้งมีคำอธิบายซึ่งผ่านการค้นคว้าข้อมูลมาเป็นอย่างดีประกอบด้วย รูปแบบการแต่งกายและเครื่องประดับเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้แบ่งแยกชาวเขาเผ่าต่างๆ และใช้แบ่งแยกสถานะทางสังคมในแต่ละชนเผ่าด้วย ผู้หญิงชาวม้งมีความชำนาญในงานเย็บปักถักร้อย โดยมักจะใช้ลวดลายทรงเลขาคณิตในลายผ้าและมักจะสวมใส่เครื่องเงินประกอบด้วย มีหุ่นจำลองคู่หนึ่งแต่งกายในชุดประจำเผ่าของชาวม้งดูโดดเด่น ชาวเย้าก็มีชื่อเสียงในเรื่องความละเอียดอ่อนของงานเย็บปักถักร้อยเช่นกัน โดยทั้งชุดจะมีลวดลายปักประดับตกแต่งทั้งหมด ส่วนกะเหรี่ยงขึ้นชื่อในเรื่องของการทอผ้า ส่วนเครื่องแต่งกายของชาวมูเซอและชาวลีซอจะมีเอกลักษณ์ที่แถบผ้าสีสันฉูดฉาด เครื่องประดับศีรษะตามแบบโบราณของชาวอาข่านับว่าเป็นเครื่องประดับที่อลังการและสวยงามมากที่สุด โดยนำเครื่องเงิน ลูกปัด และเหรียญต่างๆ มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ชาวเขาส่วนหนึ่งทำงานศิลปะและงานฝีมือพื้นบ้านเหล่านี้ขึ้นเพื่อนำมาขายในตลาดให้แก่นักท่องเที่ยว

เวลาทำการของ พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

ทุกวัน เวลา 9.00-16.00 น.

การเดินทางมา พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

1359512007-01DSC00824-o

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา แห่งนี้ได้รวบรวมเรือนโบราณที่ทั้งได้รับจากการบริจาคและขายให้กับพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยกลุ่มเรือนโบราณที่ควรค่าแก่การรักษาและอนุรักษ์ จำนวน 8 หลัง ได้แก่
เรือนไทยลื้อ (หม่อนตุด)   เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง มีลักษณะสองหลังหน้าเปียง ด้านตะวันออกเป็นเรือนนอนโล่งกว้าง ด้านตะวันตกเป็นเรือนครัว ระหว่างชายคาของเรือน ทั้งสองเชื่อมต่อกันเป็นรางน้ำฝนเรียกว่า “ฮ่องลิน” หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด
เรือนลุงคิวเป็นอาคารรูปทรงอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกหรือทรงอาณานิคมหรือแบบโคโลเนียล สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2465
เรือนกาแล (อุ๊ยผัด)  เรือนหลังนี้มีลักษณะเด่นของเรือนกาแลคือ มีหัมยนต์ติดบริเวณด้านบนของประตูห้องนอนเพื่อทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์คอยป้องกันและขับไล่อันตรายต่างๆจากภายนอก
เรือนพื้นบ้านล้านนาอุ๊ยแก้ว เป็นรูปแบบเรือนของคนที่อาศัยใกล้เวียงเชียงใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะ การจัดพื้นที่ใช้สอยยังเป็นแบบบ้านชนบทแต่ทำฝาและประตูหน้าต่างแบบใหม่
เรือนกาแล (พญาวงศ์) เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาทรงหน้าจั่ว มีลักษณะเด่นคือ “กาแล”ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความเป็นสิริมงคล ลักษณะเป็นไม้แกะสลักยื่นเลยจากปั้นลมไปไขว้กันที่ยอดจั่วเรือน
เรือนชาวเวียงเชียงใหม่ (พญาปงลังกา) เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง ลักษณะเป็นเรือนหลังคาทรงจั่ว สองจั่วเหลื่อมกัน
เรือนทรงปั้นหยา (อนุสารสุนทร) ยุ้งข้าวหรือหลองข้าว เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่สองชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) ลักษณะเป็นทรงปั้นหยาเหลื่อมซ้อนกันอย่างลงตัว
นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ยังมีการสาธิตการทำหัตถกรรมพื้นบ้านที่สวยงามและทรงคุณค่าในอดีต อาทิ การย้อมผ้าด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ การทอผ้าด้วยกี่เอว การทำเครื่องเงิน การฉลุลายผ้าและกระดาษสาเป็นลวดลายต่างๆ

ที่ตั้ง เวลาทำการ และเบอร์โทรศีพท์ของ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ติดถนนเรียบคลองชลประทาน ใกล้สี่แยกตลาดต้นพะยอม อยู่ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมเรือนโบราณที่ทั้งได้รับจากการบริจาคและขายให้กับพิพิธภัณฑ์

ที่นี่เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันจันทร์- ศุกร์ เวลา8.30 – 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.053943625 โทรสาร 053222680

การเดินทางมา พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

1278387738_1(1)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑสถานระดับภาค อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา และศูนย์กลางการศึกษา การอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และของภาคเหนือตอนบน หรือที่เรียกมาแต่โบราณว่า ล้านนา มีรูปทรงเป็นอาคารจัตุรมุขทรงไทยประยุกต์ สองชั้น ตรงยอดจั่วประดับด้วยกาแลซึ่งเป็นแบบศิลปะตกแต่งพื้นเมืองล้านนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการถาวรภายในอาคารเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2516  ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ได้รับการปรับปรุงทั้งเนื้อหาการจัดแสดง อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ ให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ และเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติประจำภาคอย่างแท้จริง
ส่วนจัดแสดงแบ่งเป็น2ชั้น ชั้นละ3ส่วน โดยรวบรวมสิ่งของที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือไว้ เช่น พระพุทธรูปสกุลช่างสมัยล้านนาต่างๆ และพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน เครื่องไม้แกะสลัก เครื่องถ้วยภาคเหนือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาและชาวเขาเผ่าต่างๆ ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ยังจะได้ศึกษาจากเนื้อหานิทรรศการที่นำเสนอเรื่องราวและหลักฐานภูมิเดิมก่อนมาเป็นแผ่นดินล้านนา การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่น่าสนใจของเผ่าลัวะ และหริภุญไชยรัฐแรกของภาคเหนือ ต่อเนื่องมาจนถึงการสถาปนานครเชียงใหม่ เรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและความเสื่อมของราชอาณาจักรล้านนา จากนั้นเข้าสู่ยุคของนครเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสยาม การค้า และเศรษฐกิจ การดำรงชีวิตและพัฒนาการทางสังคม ตลอดจนแสดงถึงวิวัฒนาการของศิลปกรรมล้านนาและศิลปะในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการหมุนเวียนในชั้นล่างอีกด้วย

ที่ตั้งเวลาทำการและเบอร์โทรศัพท์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลำปาง)

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. หยุดวันจันทร์และวันอังคาร ช่วงวันสงกรานต์ และวันปีใหม่ ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท นักเรียน นักศึกษาฟรี

 โทร. 0 5322 1308

การเดินทางมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่