Tag-Archive for » ห้องสมุดมหาวิทยาลัย «

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

12

 ห้องสมุดได้ก่อตั้งพร้อมกับโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูล จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2485

พ.ศ. 2503 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และได้พัฒนาห้องสมุด เป็นหอสมุดวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ในอาคารเรียนรวมหมายเลข 3 ชั้น 2 โดยใช้ห้องเรียน 4 ห้อง จัดเป็นหอสมุด
พ.ศ. 2517 หอสมุดได้ย้ายมายังอาคาร 6 ซึ่งเป็นเอกเทศ 4 ชั้น ปัจจุบัน คือ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครู 36 แห่งทั่วประเทศ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเป็น “สถาบันราชภัฏ” หอสมุดจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดสถาบันราชภัฏเชียงใหม่
พ.ศ. 2538 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ให้สถาบันราชภัฏเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
พ.ศ. 2539 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา อาจารย์ และพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบันอย่างเต็มรูปแบบ (ที่มา : รายงานประจำปี 2542)
พ.ศ. 2540 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดิมสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและจัดอบรม เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ของสถาบัน
พ.ศ. 2543 หอสมุดได้ปรับฐานะและลักษณะงานบริการเป็น ศูนย์วิทยบริการ และย้ายมายังอาคารวิทยบริการ (อาคาร 26) ในเดือนมิถุนายน 2543 เพื่อความทันสมัย
พ.ศ. 2544 ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตและศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ได้ย้ายมายังอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวและรองรับการเรียนการสอนและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปีเดียวกัน สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่การศึกษาไปยังพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็ก และพื้นที่แม่สา ศูนย์วิทยบริการ จึงจัดตั้งห้องสมุดในพื้นที่การศึกษาดังกล่าว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการในพื้นที่ที่ไกลออกไป
พ.ศ. 2546 สถาบันได้ยุบรวมศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตให้เป็นหน่วยงานเดียวกับศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
พ.ศ. 2547 จัดตั้งวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ณ ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บนเนื้อที่ 109 ไร่ 6 ตารางวา
ในปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 อันมีผลให้สถาบันราชภัฏเชียงใหม่เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ และในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้รวมโครงสร้างของศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และศูนย์วิทยบริการ เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็น “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์รำไพ แสงเรือง ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2552 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี อาจารย์ ดร. ศุภกฤษ เมธีโภคพงษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

โทร. 0-5388-5903, โทรสาร. 0-5388-5900

การเดินทางมา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

P_about library_0

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544

 การบริหารงาน

แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 6 ฝ่าย คือ

สำนักงานเลขานุการ

ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานเลขานุการ

เป็นหน่วยงานสนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด ซึ่งมีเป้าหมายคือ การบริการแก่ผู้ใช้ให้สามารถดำเนินการ ได้อย่างราบรื่น สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่อำนวยการและประสานงาน บริหารส่วนกลางระหว่างฝ่าย งานต่าง ๆ ภายในสำนักหอสมุดและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย งานหลักที่ดำเนินการ

งานบริหารและธุรการ

งานคลังและพัสดุ

งานนโยบายและแผน

 ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการทรัพยากรสารนิเทศ แก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด เพื่อให้ได้รับข้อมูล ที่ทันสมัย ตรงกับความต้องการมากที่สุด ทั้งในแง่การเรียน การสอน และการค้นคว้าวิจัย และอย่างสะดวก รวดเร็ว ประกอบด้วย

งานบริการผู้อ่าน

งานบริการสารนิเทศ

งานวารสารและเอกสาร

งานศูนย์สนเทศภาคเหนือ

งานโสตทัศนวัสดุ

 ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหา บำรุงรักษา และเผยแพร่ทรัพยากรสารนิเทศทุกรูปแบบ ทั้งภายในและต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัย และนำทรัพยากรสารนิเทศเหล่านี้ มาจัดระบบเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงอย่างรวดเร็ว ทันสมัย ตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยี และวิธีการมาใช้ในการดำเนินงาน รวมทั้งรวบรวมสถิติข้อมูล เพื่อทำการวิจัย และประเมินผลการดำเนินงานทุก ขั้นตอน เพื่อหาแนวทางพัฒนา และแก้ไขการให้บริการสารนิเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน ของงาน และประหยัดงบประมาณส่วนรวม   แบ่งการดำเนินงาน

งานพัฒนาทรัพยากร

งานวิเคราะห์ทรัพยากร

งานระบบคอมพิวเตอร์

งานอนุรักษ์และบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศ

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศ

ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรสารนิเทศในสาขาวิชาเฉพาะ ร่วมมือและประสานงานการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบงานในระหว่างห้องสมุดคณะ/สำนัก/สถาบัน/ศูนย์ อาทิเช่น การคัดเลือก จัดหา บำรุงรักษา เผยแพร่และให้บริการทรัพยากรสารนิเทศ แก่ผู้ใช้ในกลุ่มสาขาวิชาเฉพาะ ในลักษณห้องสมุด เพื่อการค้นคว้าวิจัย และวิชาการระดับสูง ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการในระดับลึก และมีทิศทางการดำเนินงานด้านการ บริหารงบประมาณ การวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้บริการอย่างชัดเจน

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะเกษตรศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์

ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ห้องสมุดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ห้องสมุดคณะอุตสาหกรรมเกษตร

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะทันตแพทยศาสตร์

ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์

ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์

ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์

ห้องสมุดคณะบริหารธุรกิจ

ห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์

ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์

ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์

ห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์

ศูนย์เอกสารสถาบันวิจัยสังคม

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิต

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 0-5394-4531 โทรสาร 0-5322-2766
Copyright©2010 Chiang Mai University Library. All rights reserved
เวลาเปิดบริการ ปกติ: จันทร์-ศุกร์ 8.00-21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 10.00-18.00 น.
ปิดภาคการศึกษา: จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ ปิดบริการ
วันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดบริการ
Webmaster: webadmin@lib.cmu.ac.th

วิดิโอแนะนำ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การเดินทางมา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ห้องสมุดราชมงคลล้านนา

header

 

ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สิ่งพิมพ์ที่ให้บริการจะเป็นหนังสือในสาขาพาณิชยกรรม และสาขาช่างต่างๆ เช่น ช่างก่อสร้าง ในจำนวนที่ไม่มาก นอกจากนี้ยังบริการหนังสือพิมพ์และวารสาร ต่อมาได้มีการจัดซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งหมดประมาณ 15,000 เล่ม
ปี พ.ศ. 2516 ได้ย้ายห้องสมุดมายังชั้น 1 อาคารคณะวิชาสามัญ (คณะวิชาศึกษาทั่วไป) มีเนื้อที่ขนาด 11.50 – 25.50 เมตร และมีชั้นลอยเนื้อที่ขนาด 4.50 – 30.50 เมตร และปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายห้องสมุดมายังอาคารหอสมุดราชมงคล ซึ่งเป็นอาคารเอกเทศที่สร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณ จำนวน 23,000,000 บาท เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน ต่อมามีการประกาศจัดตั้งศูนย์วิทยบริการขึ้น สังกัดฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ จึงเป็นหน่วยงานระดับแผนก สังกัดศูนย์วิทยบริการ ฝ่ายกิจการพิเศษ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของวิทยาเขตทั้งด้านการเรียนการ สอนและการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของชาติ
ปี พ.ศ. 2550 มีการปรับโครงสร้างตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ห้องสมุดฯ จึงเป็นหน่วยงานขึ้นกับฝ่ายวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการของเขตพื้นที่ ทั้งด้านการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนงานด้านบริการชุมชน และงานส่งเสริมทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตามภารกิจหลัก ของมหาวิทยาลัยต่อไป

พันธกิจห้องสมุด
จัดหาทรัพยากรสารนิเทศประเภทต่าง ๆ คือ หนังสือ วารสาร เอกสาร หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออื่น ๆ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของ วิทยาเขต และตรงกับความต้องการของผู้ใช้
จัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ทันต่อความต้องการ
ให้บริการทรัพยากรสารนิเทศภายในห้องสมุดอย่างมีคุณค่า
จัดเก็บและบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีความพร้อมในการใช้งาน

ที่ตั้งของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

128 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

โทรศัพท์ : 0-5392-1444 ต่อ 1330-4 โทรสาร : 053-213183

การเดินทางมา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่