Tag-Archive for » พายัพ «

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ

archives-payap

ภาพประกอบจาก http://www.libraryhub.in.th/2009/06/24/tour-in-archives-of-payap-university/

การจัดตั้งหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ มีพื้นฐานและมีความผูกพันกับคริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยกล่าวคือหลังจากที่มิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนท์สองท่านแรกคือศจ.กุสลาฟ และ ศจ.ทอมลิน ได้เข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ครั้งแรกที่กรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2371ก็มีมิชชั่นคณะต่าง ๆ ได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาประกาศเผยแพร่คริสตศาสนา โดยมีคณะมิชชั่นที่สำคัญ เช่น อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น ดิไซเปิลออฟไครสท์ และเซย์เวนเดย์แอดแวนติสท์เป็นต้น การเผยแพร่คริสตศาสนาในช่วงแรกทำเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร จากนั้นได้มีการขยายตัวออกไปทั่วประเทศ มีการประกาศเผยแพร่ความเชื่อของคริสตศาสนามีการตั้งคริสตจักร ตั้งโรงเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนทั้งชายและหญิง และเป็นการเตรียมและพัฒนาผู้เชื่อให้ผู้นำคริสตจักร ตั้งโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2477 คริสตจักรต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการประกาศเผยแพร่ของมิชชันนารี คณะอเมริกัน-เพรสไบทีเรียน อเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้รวมตัวกันตั้ง เป็นสภาคริสตจักรในสยาม หรือที่เรียกว่า สภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปัจจุบัน

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2500 และ 2505 อเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น และดิไซเปิลออฟไครสท์ ได้ปิดสำนักงานในประเทศไทยลงตามลำดับ มีการยกทรัพย์สิน และกิจการทั้งหมดให้แก่สภาคริสตจักรในประเทศไทย มิชชันนารีที่ยังคงทำงานในประเทศไทย ได้ปรับฐานะเป็นภราดรผู้ร่วมงานกับสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2521 องค์กรคริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทยได้รวมตัวกันจัดงานฉลองครบรอบ 150 ปี คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทย ในการเตรียมจัดงานฉลองนั้น ได้มีการศึกษาค้นคว้าเอกสารและหนังสือต่าง ๆ เพื่อจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์สภาคริสตจักรในประเทศไทย การดำเนินการดังกล่าวทำให้มีค้นพบเอกสารเก่าของสภาคริสตจักรฯ ตั้งแต่สมัยมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนเข้ามาประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณในประเทศไทย โดยเอกสารดังกล่าวถูกเก็บไว้ในโกดังที่เก็บของของสภาคริสตจักรฯ คณะผู้บริหารสภาคริสตจักรฯ ในเวลานั้นได้ตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารที่มีค่าเหล่านั้น แต่ก็ไม่ทราบว่าควรจะดำเนินการอย่างไรในการรักษาดูแลเอกสารอย่างเหมาะสม จึงได้ติดต่อวิทยาลัยพายัพ(มหาวิทยาลัยพายัพในปัจจุบัน)ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมแห่งแรกของสภาคริสตจักรฯ   และในเวลานั้นศาสนาจารย์ เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน อาจารย์สอนประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ของวิทยาลัยพายัพ ท่านเคยผ่านการฝึกงานด้านงานจดหมายเหตุในประเทศสหรัฐอเมริกามาก่อนได้เสนอให้มหาวิทยาลัยพายัพนำเอกสารเหล่านั้นมาเก็บรักษา และได้มีการจัดตั้งแผนกจดหมายเหตุ หรือหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดยมีศาสนาจารย์เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน เป็นผู้อำนวยการคนแรก มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เขตบ้านธารแก้ว ต่อมาในปีพ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยพายัพได้มีการพัฒนาโดยมีการขยายวิทยาเขตจากเดิมที่มีอยู่ 2 เขต (บ้านธารแก้วและแก้วนวรัฐ) เป็น 3 เขต คือ มีวิทยาเขตแม่คาวเพิ่มอีกหนึ่งเขตหอจดหมายเหตุได้ย้ายสำนักงานจากบ้านธารแก้ว มาอยู่ที่เขตแก้วนวรัฐในอาคารที่เคยเป็นหอพักพยาบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการย้ายที่ทำการไปยังอาคารศรีสังวาลย์ บริเวณชั้นที่ 3 และชั้น 4

ปัจจุบันหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ ได้ย้ายมาดำเนินการ ณ บริเวณชั้น 3 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สิรินธร มหาวิทยาลัยพายัพ เขตแม่คาว ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 และได้มีการนมัสการพระเจ้าเนื่องในโอกาศเปิดหอจดหมายเหตุในที่ทำการใหม่ เมื่อวันพุธที่ 27  มีนาคม พ.ศ. 2556

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ 

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแก้วนวรัฐ
ถนนแก้วนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 053-242484, 053-243969 และ 053-306512-3

การเดินทางมา หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ 

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

book1

                        สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ เป็นหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ ให้บริการด้านการศึกษาค้นคว้าแก่อาจารย์ นักศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources Center) ที่ทันสมัยรวบรวมสื่อหลากหลายประเภทที่ครอบคลุมทุกสาขาวิชา เช่น หนังสือ วารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ และอื่นๆ รวมทั้งยังให้บริการด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อมัลติมีเดียผ่านระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง (Fast Access) ตลอดจนระบบเครือข่ายไร้สาย เพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูลจากระบบ Internet ได้สะดวก รวดเร็ว จากทุกที่ทุกเวลา สำนักหอสมุดได้พัฒนารูปแบบ การให้บริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่นๆ ดังนี้

book2

บริการ Electronic and Digital Library

บริการสืบค้นข้อมูลฐานข้อมูลห้องสมุด ( Online Public Access Catalog)

ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นฐานข้อมูลของห้องสมุดผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ( VTLS ) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
บริการอินเทอร์เน็ต 
บริการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำนักหอสมุดมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการที่ ชั้น 2 นอกจากนี้สามารถใช้งานผ่าน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยได้
ThaiLIS Digital Collection
TDC หรือ ThaiLIS Digital Collection เป็นโครงการหนึ่งของ ThaiLIS มีเป้าหมายเพื่อให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยของอาจารย์ นักศึกษา โดยรวบรวมจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในการเข้าใช้บริการนั้นจะต้องเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์ ภายในห้องสมุดสมาชิก และสถาบันการศึกษา หรือสืบค้นข้อมูลได้ที่ http://tdc.thailis.or.th/tdc/

 

Journal Link
ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งจัดเก็บวารสาร ทั้งวารสารภาษาไทย และวารสารภาษาต่างประเทศ อย่างสะดวก ทันสมัย และรวดเร็ว
E-book
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมทุกสาขาวิชา สามารถสืบค้นข้อมูลตั้งแต่ ปี  ค.ศ. 1971 จนถึงปัจจุบันสามารถอ่าน ยืม – คืน พิมพ์และบันทึกข้อมูลได้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Multimedia learning resources center
สำนักหอสมุดได้จัดให้บริการมัลติมีเดียหลากหลายประเภท โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า ดังต่อไปนี้

  1. บริการระบบ Video On demand
  2. บริการเครื่องเล่น DVD และเครื่องรับโทรทัศน์
  3. บริการเครื่องเล่นเทป
  4. บริการเคเบิ้ลทีวี
  5. บริการห้องฉายกลุ่ม
  6. บริการสื่อมัลติมีเดีย

การประชาสัมพันธ์ Electronic 
ช่องทางใหม่ในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การให้บริการของสำนักหอสมุด รวมถึงนิทรรศการต่างๆ ผ่านทาง เว็บไซต์สำนักหอสมุด  ประชาสัมพันธ์ผ่านโทรทัศน์ ( PYU Channel )  และ Facebook ( เครือข่ายสังคมออนไลน์ ) เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และลดต้นทุน ในการประชาสัมพันธ์

Proquest ABI / INFORM ฐานข้อมูลที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนักวิจัยเพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ภาวะทางเศรษฐกิจ แนวโน้มเทคนิคการจัดการกลยุทธ์และประเภทอุตสาหกรรมการโฆษณา การตลาด เศรษฐศาสตร์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การเงิน ภาษี คอมพิวเตอร์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการสื่อสารและสุขภาพและบทความเกี่ยวกับสารสนเทศมาตรฐานอุตสาหกรรมเนื้อหาของฐานข้อมูล เป็นดรรชนีและสาระสังเขป บทความจากวารสาร ทางด้านบริหารธุรกิจ และการจัดการทั่วโลก ครอบคลุมเนื้อหา ตั้งแต่ปี 1971 –  จนถึงปัจจุบันมากกว่า 3,000 ชื่อเรื่อง และสามารถสืบค้นบทความในรูปแบบ Full Text Proquest 5000SC ฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลหลากหลายในสหสาขาวิชาต่างๆ มากมาย เช่น บริหารธุรกิจ การเงิน การตลาด มนุษยศาสตร์ ชีววิทยา คอมพิวเตอร์ การศึกษา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการสื่อสาร เป็นต้น โดยมีวารสารมากกว่า 6,000 ชื่อเรื่อง สามารถสืบค้นข้อมูลย้อนหลังได้ตั้งแต่  ปี ค.ศ 1971 ถึงปัจจุบัน

Academic Search Complete

Academic Search Complete เป็นฐานข้อมูลฉบับเต็มทางวิชาการแบบสหสาขาวิชาที่มีคุณค่าสูงสุดและครอบคลุมที่สุดในโลก โดยมีสิ่งพิมพ์วารสารฉบับเต็มกว่า 7,100 รายการ ซึ่งรวมถึงวารสารที่ผ่าน    การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 6,100 รายการ นอกจากข้อมูลฉบับเต็มแล้ว ฐานข้อมูลนี้ยังให้บริการดัชนีและสาระสังเขปของวารสารกว่า 11,200 รายการ และสิ่งพิมพ์อีกกว่า 11,700 รายการ ซึ่งรวมถึงบทความเฉพาะเรื่อง รายงานเอกสารการประชุม ฯลฯ ฐานข้อมูลนี้มีเนื้อหาแบบ PDF ที่ย้อนกลับไปจนถึง  ปี ค.ศ. 1887 โดยส่วนใหญ่เป็นชื่อเรื่องฉบับเต็มในรูปแบบเอกสาร PDF (ที่สามารถสืบค้นได้) มีการให้บริการเอกสารอ้างอิงที่สืบค้นได้สำหรับวารสารมากกว่า 1,300 รายการด้วย

CINAHL Plus with Full Text

CINAHL Plus with Full Text เป็นแหล่งข้อมูลฉบับเต็มของวารสารการพยาบาลและ สหเวชศาสตร์ที่ครอบคลุมเนื้อหากว้างที่สุดของโลก โดยมีฉบับเต็มของวารสารกว่า 750 รายการ ที่ทำดัชนีใน CINAHLไฟล์ที่เชื่อถือได้นี้มีข้อมูลฉบับเต็มของวารสารที่ใช้กันมากที่สุดในดัชนี CINAHL โดยไม่มีการห้ามเผยแพร่เนื้อหา CINAHL Plus with Full Text  เป็นเครื่องมือการวิจัยที่น่าเชื่อถือสำหรับ งานเขียนด้านการพยาบาลและสหเวชศาสตร์ทุกสาขา

Computer & Applied Sciences Complete 
Computers & Applied Sciences Complete ครอบคลุมขอบเขตการวิจัยและการพัฒนาใน สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ CASC มีการจัดดัชนีและสาระสังเขปของวารสาร  เชิงวิชาการ สิ่งพิมพ์โดยมืออาชีพ และแหล่งอ้างอิงอื่นๆ จากรายการทรัพยากรอันหลากหลายมากกว่า 2,000 รายการ นอกจากนี้ยังให้บริการข้อมูลฉบับเต็มของวารสารอีกกว่า 950 ฉบับ

Education Research Complete

Education Research Complete เป็นแหล่งทรัพยากรออนไลน์ที่น่าเชื่อถือสำหรับงานวิจัยด้านการศึกษา โดยครอบคลุมหัวข้อเกี่ยวกับการศึกษาในทุกระดับตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาระดับที่สูงขึ้น และความชำนาญพิเศษทางการศึกษาทั้งหมด เช่น การศึกษาแบบพหุภาษา สุขศึกษา และการทดสอบ Education Research Complete ให้บริการดัชนีและสาระสังเขปของวารสารกว่า 2,100 รายการ ตลอดจนวารสารฉบับเต็มกว่า 1,200 รายการ และรวมไปถึงหนังสือและบทความเฉพาะเรื่องอีกเกือบ 500 รายการ

ScienceDirect

ฐานข้อมูล ScienceDirect เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จากวารสารของสำนักพิมพ์ในเครือ Elsevier ประกอบด้วย วารสารด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี   วิทยาศาสตร์การแพทย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สามารถดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี   ค.ศ.1995 – ปัจจุบัน โดยสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ บอกรับเฉพาะวารสารในกลุ่มวิชา Health Science

Matichonelibrary

ฐานข้อมูลข่าวที่เป็นทางเลือกใหม่ในการสืบค้นและติดตามข้อมูลในหมวดและหัวเรื่องที่ต้องการ ในรูปแบบออนไลน์ ประกอบด้วยข่าว บทสัมภาษณ์ บทความ บทวิเคราะห์-วิจารณ์ รายงาน ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทุกประเภทจากหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์มากกว่า 20 ชื่อ

Questia

ฐานข้อมูลหนังสือและวารสารฉบับเต็ม ซึ่งรวบรวมข้อมูลหลากหลายในสหสาขาวิชา เช่นศิลปกรรม ดนตรี พยาบาล

Everynote.com

ฐานข้อมูลทางด้านดนตรีตะวันตกที่เสนอข้อมูลในรูปของ Port สำหรับนักดนตรี วง Orchestra

Thai Farmers Research Center

ฐานข้อมูลที่บริการที่รวบรวมรายงานวิเคราะห์วิจัย ทั้งในภาคเศรษฐกิจระดับจุลภาค มหภาค ภาคการเงิน และภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเน้นกระแสของข่าวสารข้อมูลที่กำลังเป็นที่อยู่ในความสนใจ นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยดัชนีเศรษฐกิจ รายงานภาวะตลาดเงินและตลาดทุน ตลอดจนภาวะเงินตราต่างประเทศ

บริการหนังสือและวารสาร

สำนักหอสมุด ได้ให้บริการหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ บริเวณชั้น 3 และ 4 โดยจัดเตรียมที่นั่ง ประมาณกว่า 1,500 ที่นั่ง เพื่ออำนวยความสะดวกในการอ่าน และการศึกษาค้นคว้า สรุปจำนวนหนังสือ และวารสารที่มีในห้องสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

จำนวนหนังสือที่มีในห้องสมุด

ห้องสมุด จำนวนหนังสือ (เล่ม)
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ                  รวม
สำนักหอสมุด (เขตแม่คาว) 149,635 51,856 201,491
ห้องสมุดดิวอลด์ (เขตแก้วนวรัฐ) 27,180 19,168 46,348
รวม 176,815 71,024 247,839

จำนวนวารสารที่มีในห้องสมุด 
ภาษาไทย  261   ชื่อเรื่อง
ภาษาอังกฤษ  71  ชื่อเรื่อง

บริการมุมความรู้

บริการมุมความรู้ตลาดทุน (SET Corner)
บริการข้อมูลด้านการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยรวบรวมหนังสือ  สื่อโสตทัศน์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร ตลอดจนให้บริการแก่ชุมชน

บริการมุมความรู้ SMES Corner
บริการข้อมูล รายงานความเคลื่อนไหวที่ทันสมัยตามสถานการณ์ของหน่วยงาน              โครงการ ศึกษาวิเคราะห์ และเตือนภัย SMEs รายสาขา ในรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานการศึกษาอุตสาหกรรมและธุรกิจรายสาขา จุลสาร บทความ หนังสือต่างๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ SMEs รวมถึงนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนต่างๆ ของ  สสว. และของหน่วยงานอื่นๆ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านเศรษฐกิจและแนวนโยบายของภาครัฐ รวมถึงมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนต่างๆให้กับ SMEs และผู้สนใจที่จะเป็นผู้ประกอบการใหม่

 

E-services

Research Help

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ จัดทำ Research Help เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศสนับสนุนด้านงานวิจัยเนื้อหาประกอบด้วย แนะนำขั้นตอนการทำวิจัย รูปแบบการอ้างอิงเอกสาร และแหล่งข้อมูลต่างๆ     ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

Ask Librarian

บริการตอบคำถามออนไลน์ ผู้ใช้บริการสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการ หรือเสนอ
ความคิดเห็นต่อบริการของสำนักหอสมุด และ สำนักหอสมุดจะตอบคำถามผ่านทาง E-mail ที่ผู้ใช้บริการระบุไว้

New Resources

แหล่งสารสนเทศข่าว รวบรวมแหล่งสารสนเทศ ด้านสถานีโทรทัศน์ใน ประเทศไทย ข่าวในประเทศไทย และข่าวต่างประเทศ

E-Form

ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการจองหนังสือ      แบบฟอร์มการแจ้งหนังสือหาย
แบบฟอร์มการสมัครสมาชิกบุคคลภายนอก แบบฟอร์มหนังสือสำรอง และแบบฟอร์มเสนอซื้อทรัพยากรสารสนเทศได้บนเว็บไซต์สำนักหอสมุด

บริการห้องค้นคว้าเดี่ยว และกลุ่ม

บริการห้องค้นคว้าเดี่ยว      15  ห้อง

ห้องค้นคว้ากลุ่ม               6   ห้อง

ที่ตั้งของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

มหาวิทยาลัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000

โทรศัพท์ 0-5385-1478-86 โทรสาร 0-5324-1983

http://www.payap.ac.th/

การเดินทางมาสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ