Tag-Archive for » มหาวิทยาลัย «

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

1359512007-01DSC00824-o

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา แห่งนี้ได้รวบรวมเรือนโบราณที่ทั้งได้รับจากการบริจาคและขายให้กับพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยกลุ่มเรือนโบราณที่ควรค่าแก่การรักษาและอนุรักษ์ จำนวน 8 หลัง ได้แก่
เรือนไทยลื้อ (หม่อนตุด)   เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง มีลักษณะสองหลังหน้าเปียง ด้านตะวันออกเป็นเรือนนอนโล่งกว้าง ด้านตะวันตกเป็นเรือนครัว ระหว่างชายคาของเรือน ทั้งสองเชื่อมต่อกันเป็นรางน้ำฝนเรียกว่า “ฮ่องลิน” หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด
เรือนลุงคิวเป็นอาคารรูปทรงอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกหรือทรงอาณานิคมหรือแบบโคโลเนียล สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2465
เรือนกาแล (อุ๊ยผัด)  เรือนหลังนี้มีลักษณะเด่นของเรือนกาแลคือ มีหัมยนต์ติดบริเวณด้านบนของประตูห้องนอนเพื่อทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์คอยป้องกันและขับไล่อันตรายต่างๆจากภายนอก
เรือนพื้นบ้านล้านนาอุ๊ยแก้ว เป็นรูปแบบเรือนของคนที่อาศัยใกล้เวียงเชียงใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะ การจัดพื้นที่ใช้สอยยังเป็นแบบบ้านชนบทแต่ทำฝาและประตูหน้าต่างแบบใหม่
เรือนกาแล (พญาวงศ์) เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาทรงหน้าจั่ว มีลักษณะเด่นคือ “กาแล”ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความเป็นสิริมงคล ลักษณะเป็นไม้แกะสลักยื่นเลยจากปั้นลมไปไขว้กันที่ยอดจั่วเรือน
เรือนชาวเวียงเชียงใหม่ (พญาปงลังกา) เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง ลักษณะเป็นเรือนหลังคาทรงจั่ว สองจั่วเหลื่อมกัน
เรือนทรงปั้นหยา (อนุสารสุนทร) ยุ้งข้าวหรือหลองข้าว เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่สองชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) ลักษณะเป็นทรงปั้นหยาเหลื่อมซ้อนกันอย่างลงตัว
นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ยังมีการสาธิตการทำหัตถกรรมพื้นบ้านที่สวยงามและทรงคุณค่าในอดีต อาทิ การย้อมผ้าด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ การทอผ้าด้วยกี่เอว การทำเครื่องเงิน การฉลุลายผ้าและกระดาษสาเป็นลวดลายต่างๆ

ที่ตั้ง เวลาทำการ และเบอร์โทรศีพท์ของ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ติดถนนเรียบคลองชลประทาน ใกล้สี่แยกตลาดต้นพะยอม อยู่ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมเรือนโบราณที่ทั้งได้รับจากการบริจาคและขายให้กับพิพิธภัณฑ์

ที่นี่เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันจันทร์- ศุกร์ เวลา8.30 – 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.053943625 โทรสาร 053222680

การเดินทางมา พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

book1

                        สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ เป็นหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ ให้บริการด้านการศึกษาค้นคว้าแก่อาจารย์ นักศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources Center) ที่ทันสมัยรวบรวมสื่อหลากหลายประเภทที่ครอบคลุมทุกสาขาวิชา เช่น หนังสือ วารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ และอื่นๆ รวมทั้งยังให้บริการด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อมัลติมีเดียผ่านระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง (Fast Access) ตลอดจนระบบเครือข่ายไร้สาย เพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูลจากระบบ Internet ได้สะดวก รวดเร็ว จากทุกที่ทุกเวลา สำนักหอสมุดได้พัฒนารูปแบบ การให้บริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่นๆ ดังนี้

book2

บริการ Electronic and Digital Library

บริการสืบค้นข้อมูลฐานข้อมูลห้องสมุด ( Online Public Access Catalog)

ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นฐานข้อมูลของห้องสมุดผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ( VTLS ) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
บริการอินเทอร์เน็ต 
บริการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำนักหอสมุดมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการที่ ชั้น 2 นอกจากนี้สามารถใช้งานผ่าน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยได้
ThaiLIS Digital Collection
TDC หรือ ThaiLIS Digital Collection เป็นโครงการหนึ่งของ ThaiLIS มีเป้าหมายเพื่อให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยของอาจารย์ นักศึกษา โดยรวบรวมจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในการเข้าใช้บริการนั้นจะต้องเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์ ภายในห้องสมุดสมาชิก และสถาบันการศึกษา หรือสืบค้นข้อมูลได้ที่ http://tdc.thailis.or.th/tdc/

 

Journal Link
ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งจัดเก็บวารสาร ทั้งวารสารภาษาไทย และวารสารภาษาต่างประเทศ อย่างสะดวก ทันสมัย และรวดเร็ว
E-book
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมทุกสาขาวิชา สามารถสืบค้นข้อมูลตั้งแต่ ปี  ค.ศ. 1971 จนถึงปัจจุบันสามารถอ่าน ยืม – คืน พิมพ์และบันทึกข้อมูลได้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Multimedia learning resources center
สำนักหอสมุดได้จัดให้บริการมัลติมีเดียหลากหลายประเภท โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า ดังต่อไปนี้

  1. บริการระบบ Video On demand
  2. บริการเครื่องเล่น DVD และเครื่องรับโทรทัศน์
  3. บริการเครื่องเล่นเทป
  4. บริการเคเบิ้ลทีวี
  5. บริการห้องฉายกลุ่ม
  6. บริการสื่อมัลติมีเดีย

การประชาสัมพันธ์ Electronic 
ช่องทางใหม่ในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การให้บริการของสำนักหอสมุด รวมถึงนิทรรศการต่างๆ ผ่านทาง เว็บไซต์สำนักหอสมุด  ประชาสัมพันธ์ผ่านโทรทัศน์ ( PYU Channel )  และ Facebook ( เครือข่ายสังคมออนไลน์ ) เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และลดต้นทุน ในการประชาสัมพันธ์

Proquest ABI / INFORM ฐานข้อมูลที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนักวิจัยเพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ภาวะทางเศรษฐกิจ แนวโน้มเทคนิคการจัดการกลยุทธ์และประเภทอุตสาหกรรมการโฆษณา การตลาด เศรษฐศาสตร์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การเงิน ภาษี คอมพิวเตอร์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการสื่อสารและสุขภาพและบทความเกี่ยวกับสารสนเทศมาตรฐานอุตสาหกรรมเนื้อหาของฐานข้อมูล เป็นดรรชนีและสาระสังเขป บทความจากวารสาร ทางด้านบริหารธุรกิจ และการจัดการทั่วโลก ครอบคลุมเนื้อหา ตั้งแต่ปี 1971 –  จนถึงปัจจุบันมากกว่า 3,000 ชื่อเรื่อง และสามารถสืบค้นบทความในรูปแบบ Full Text Proquest 5000SC ฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลหลากหลายในสหสาขาวิชาต่างๆ มากมาย เช่น บริหารธุรกิจ การเงิน การตลาด มนุษยศาสตร์ ชีววิทยา คอมพิวเตอร์ การศึกษา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการสื่อสาร เป็นต้น โดยมีวารสารมากกว่า 6,000 ชื่อเรื่อง สามารถสืบค้นข้อมูลย้อนหลังได้ตั้งแต่  ปี ค.ศ 1971 ถึงปัจจุบัน

Academic Search Complete

Academic Search Complete เป็นฐานข้อมูลฉบับเต็มทางวิชาการแบบสหสาขาวิชาที่มีคุณค่าสูงสุดและครอบคลุมที่สุดในโลก โดยมีสิ่งพิมพ์วารสารฉบับเต็มกว่า 7,100 รายการ ซึ่งรวมถึงวารสารที่ผ่าน    การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 6,100 รายการ นอกจากข้อมูลฉบับเต็มแล้ว ฐานข้อมูลนี้ยังให้บริการดัชนีและสาระสังเขปของวารสารกว่า 11,200 รายการ และสิ่งพิมพ์อีกกว่า 11,700 รายการ ซึ่งรวมถึงบทความเฉพาะเรื่อง รายงานเอกสารการประชุม ฯลฯ ฐานข้อมูลนี้มีเนื้อหาแบบ PDF ที่ย้อนกลับไปจนถึง  ปี ค.ศ. 1887 โดยส่วนใหญ่เป็นชื่อเรื่องฉบับเต็มในรูปแบบเอกสาร PDF (ที่สามารถสืบค้นได้) มีการให้บริการเอกสารอ้างอิงที่สืบค้นได้สำหรับวารสารมากกว่า 1,300 รายการด้วย

CINAHL Plus with Full Text

CINAHL Plus with Full Text เป็นแหล่งข้อมูลฉบับเต็มของวารสารการพยาบาลและ สหเวชศาสตร์ที่ครอบคลุมเนื้อหากว้างที่สุดของโลก โดยมีฉบับเต็มของวารสารกว่า 750 รายการ ที่ทำดัชนีใน CINAHLไฟล์ที่เชื่อถือได้นี้มีข้อมูลฉบับเต็มของวารสารที่ใช้กันมากที่สุดในดัชนี CINAHL โดยไม่มีการห้ามเผยแพร่เนื้อหา CINAHL Plus with Full Text  เป็นเครื่องมือการวิจัยที่น่าเชื่อถือสำหรับ งานเขียนด้านการพยาบาลและสหเวชศาสตร์ทุกสาขา

Computer & Applied Sciences Complete 
Computers & Applied Sciences Complete ครอบคลุมขอบเขตการวิจัยและการพัฒนาใน สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ CASC มีการจัดดัชนีและสาระสังเขปของวารสาร  เชิงวิชาการ สิ่งพิมพ์โดยมืออาชีพ และแหล่งอ้างอิงอื่นๆ จากรายการทรัพยากรอันหลากหลายมากกว่า 2,000 รายการ นอกจากนี้ยังให้บริการข้อมูลฉบับเต็มของวารสารอีกกว่า 950 ฉบับ

Education Research Complete

Education Research Complete เป็นแหล่งทรัพยากรออนไลน์ที่น่าเชื่อถือสำหรับงานวิจัยด้านการศึกษา โดยครอบคลุมหัวข้อเกี่ยวกับการศึกษาในทุกระดับตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาระดับที่สูงขึ้น และความชำนาญพิเศษทางการศึกษาทั้งหมด เช่น การศึกษาแบบพหุภาษา สุขศึกษา และการทดสอบ Education Research Complete ให้บริการดัชนีและสาระสังเขปของวารสารกว่า 2,100 รายการ ตลอดจนวารสารฉบับเต็มกว่า 1,200 รายการ และรวมไปถึงหนังสือและบทความเฉพาะเรื่องอีกเกือบ 500 รายการ

ScienceDirect

ฐานข้อมูล ScienceDirect เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จากวารสารของสำนักพิมพ์ในเครือ Elsevier ประกอบด้วย วารสารด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี   วิทยาศาสตร์การแพทย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สามารถดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี   ค.ศ.1995 – ปัจจุบัน โดยสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ บอกรับเฉพาะวารสารในกลุ่มวิชา Health Science

Matichonelibrary

ฐานข้อมูลข่าวที่เป็นทางเลือกใหม่ในการสืบค้นและติดตามข้อมูลในหมวดและหัวเรื่องที่ต้องการ ในรูปแบบออนไลน์ ประกอบด้วยข่าว บทสัมภาษณ์ บทความ บทวิเคราะห์-วิจารณ์ รายงาน ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทุกประเภทจากหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์มากกว่า 20 ชื่อ

Questia

ฐานข้อมูลหนังสือและวารสารฉบับเต็ม ซึ่งรวบรวมข้อมูลหลากหลายในสหสาขาวิชา เช่นศิลปกรรม ดนตรี พยาบาล

Everynote.com

ฐานข้อมูลทางด้านดนตรีตะวันตกที่เสนอข้อมูลในรูปของ Port สำหรับนักดนตรี วง Orchestra

Thai Farmers Research Center

ฐานข้อมูลที่บริการที่รวบรวมรายงานวิเคราะห์วิจัย ทั้งในภาคเศรษฐกิจระดับจุลภาค มหภาค ภาคการเงิน และภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเน้นกระแสของข่าวสารข้อมูลที่กำลังเป็นที่อยู่ในความสนใจ นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยดัชนีเศรษฐกิจ รายงานภาวะตลาดเงินและตลาดทุน ตลอดจนภาวะเงินตราต่างประเทศ

บริการหนังสือและวารสาร

สำนักหอสมุด ได้ให้บริการหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ บริเวณชั้น 3 และ 4 โดยจัดเตรียมที่นั่ง ประมาณกว่า 1,500 ที่นั่ง เพื่ออำนวยความสะดวกในการอ่าน และการศึกษาค้นคว้า สรุปจำนวนหนังสือ และวารสารที่มีในห้องสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

จำนวนหนังสือที่มีในห้องสมุด

ห้องสมุด จำนวนหนังสือ (เล่ม)
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ                  รวม
สำนักหอสมุด (เขตแม่คาว) 149,635 51,856 201,491
ห้องสมุดดิวอลด์ (เขตแก้วนวรัฐ) 27,180 19,168 46,348
รวม 176,815 71,024 247,839

จำนวนวารสารที่มีในห้องสมุด 
ภาษาไทย  261   ชื่อเรื่อง
ภาษาอังกฤษ  71  ชื่อเรื่อง

บริการมุมความรู้

บริการมุมความรู้ตลาดทุน (SET Corner)
บริการข้อมูลด้านการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยรวบรวมหนังสือ  สื่อโสตทัศน์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร ตลอดจนให้บริการแก่ชุมชน

บริการมุมความรู้ SMES Corner
บริการข้อมูล รายงานความเคลื่อนไหวที่ทันสมัยตามสถานการณ์ของหน่วยงาน              โครงการ ศึกษาวิเคราะห์ และเตือนภัย SMEs รายสาขา ในรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานการศึกษาอุตสาหกรรมและธุรกิจรายสาขา จุลสาร บทความ หนังสือต่างๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ SMEs รวมถึงนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนต่างๆ ของ  สสว. และของหน่วยงานอื่นๆ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านเศรษฐกิจและแนวนโยบายของภาครัฐ รวมถึงมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนต่างๆให้กับ SMEs และผู้สนใจที่จะเป็นผู้ประกอบการใหม่

 

E-services

Research Help

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ จัดทำ Research Help เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศสนับสนุนด้านงานวิจัยเนื้อหาประกอบด้วย แนะนำขั้นตอนการทำวิจัย รูปแบบการอ้างอิงเอกสาร และแหล่งข้อมูลต่างๆ     ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

Ask Librarian

บริการตอบคำถามออนไลน์ ผู้ใช้บริการสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการ หรือเสนอ
ความคิดเห็นต่อบริการของสำนักหอสมุด และ สำนักหอสมุดจะตอบคำถามผ่านทาง E-mail ที่ผู้ใช้บริการระบุไว้

New Resources

แหล่งสารสนเทศข่าว รวบรวมแหล่งสารสนเทศ ด้านสถานีโทรทัศน์ใน ประเทศไทย ข่าวในประเทศไทย และข่าวต่างประเทศ

E-Form

ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการจองหนังสือ      แบบฟอร์มการแจ้งหนังสือหาย
แบบฟอร์มการสมัครสมาชิกบุคคลภายนอก แบบฟอร์มหนังสือสำรอง และแบบฟอร์มเสนอซื้อทรัพยากรสารสนเทศได้บนเว็บไซต์สำนักหอสมุด

บริการห้องค้นคว้าเดี่ยว และกลุ่ม

บริการห้องค้นคว้าเดี่ยว      15  ห้อง

ห้องค้นคว้ากลุ่ม               6   ห้อง

ที่ตั้งของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

มหาวิทยาลัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000

โทรศัพท์ 0-5385-1478-86 โทรสาร 0-5324-1983

http://www.payap.ac.th/

การเดินทางมาสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ

 

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

12

 ห้องสมุดได้ก่อตั้งพร้อมกับโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูล จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2485

พ.ศ. 2503 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และได้พัฒนาห้องสมุด เป็นหอสมุดวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ในอาคารเรียนรวมหมายเลข 3 ชั้น 2 โดยใช้ห้องเรียน 4 ห้อง จัดเป็นหอสมุด
พ.ศ. 2517 หอสมุดได้ย้ายมายังอาคาร 6 ซึ่งเป็นเอกเทศ 4 ชั้น ปัจจุบัน คือ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครู 36 แห่งทั่วประเทศ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเป็น “สถาบันราชภัฏ” หอสมุดจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดสถาบันราชภัฏเชียงใหม่
พ.ศ. 2538 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ให้สถาบันราชภัฏเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
พ.ศ. 2539 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา อาจารย์ และพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบันอย่างเต็มรูปแบบ (ที่มา : รายงานประจำปี 2542)
พ.ศ. 2540 สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดิมสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและจัดอบรม เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ของสถาบัน
พ.ศ. 2543 หอสมุดได้ปรับฐานะและลักษณะงานบริการเป็น ศูนย์วิทยบริการ และย้ายมายังอาคารวิทยบริการ (อาคาร 26) ในเดือนมิถุนายน 2543 เพื่อความทันสมัย
พ.ศ. 2544 ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตและศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ได้ย้ายมายังอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวและรองรับการเรียนการสอนและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปีเดียวกัน สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่การศึกษาไปยังพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็ก และพื้นที่แม่สา ศูนย์วิทยบริการ จึงจัดตั้งห้องสมุดในพื้นที่การศึกษาดังกล่าว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการในพื้นที่ที่ไกลออกไป
พ.ศ. 2546 สถาบันได้ยุบรวมศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตให้เป็นหน่วยงานเดียวกับศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
พ.ศ. 2547 จัดตั้งวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ณ ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บนเนื้อที่ 109 ไร่ 6 ตารางวา
ในปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 อันมีผลให้สถาบันราชภัฏเชียงใหม่เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ และในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้รวมโครงสร้างของศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และศูนย์วิทยบริการ เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็น “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์รำไพ แสงเรือง ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2552 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี อาจารย์ ดร. ศุภกฤษ เมธีโภคพงษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

โทร. 0-5388-5903, โทรสาร. 0-5388-5900

การเดินทางมา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

P_about library_0

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544

 การบริหารงาน

แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 6 ฝ่าย คือ

สำนักงานเลขานุการ

ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานเลขานุการ

เป็นหน่วยงานสนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด ซึ่งมีเป้าหมายคือ การบริการแก่ผู้ใช้ให้สามารถดำเนินการ ได้อย่างราบรื่น สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่อำนวยการและประสานงาน บริหารส่วนกลางระหว่างฝ่าย งานต่าง ๆ ภายในสำนักหอสมุดและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย งานหลักที่ดำเนินการ

งานบริหารและธุรการ

งานคลังและพัสดุ

งานนโยบายและแผน

 ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการทรัพยากรสารนิเทศ แก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด เพื่อให้ได้รับข้อมูล ที่ทันสมัย ตรงกับความต้องการมากที่สุด ทั้งในแง่การเรียน การสอน และการค้นคว้าวิจัย และอย่างสะดวก รวดเร็ว ประกอบด้วย

งานบริการผู้อ่าน

งานบริการสารนิเทศ

งานวารสารและเอกสาร

งานศูนย์สนเทศภาคเหนือ

งานโสตทัศนวัสดุ

 ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหา บำรุงรักษา และเผยแพร่ทรัพยากรสารนิเทศทุกรูปแบบ ทั้งภายในและต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัย และนำทรัพยากรสารนิเทศเหล่านี้ มาจัดระบบเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงอย่างรวดเร็ว ทันสมัย ตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยี และวิธีการมาใช้ในการดำเนินงาน รวมทั้งรวบรวมสถิติข้อมูล เพื่อทำการวิจัย และประเมินผลการดำเนินงานทุก ขั้นตอน เพื่อหาแนวทางพัฒนา และแก้ไขการให้บริการสารนิเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน ของงาน และประหยัดงบประมาณส่วนรวม   แบ่งการดำเนินงาน

งานพัฒนาทรัพยากร

งานวิเคราะห์ทรัพยากร

งานระบบคอมพิวเตอร์

งานอนุรักษ์และบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศ

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศ

ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรสารนิเทศในสาขาวิชาเฉพาะ ร่วมมือและประสานงานการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบงานในระหว่างห้องสมุดคณะ/สำนัก/สถาบัน/ศูนย์ อาทิเช่น การคัดเลือก จัดหา บำรุงรักษา เผยแพร่และให้บริการทรัพยากรสารนิเทศ แก่ผู้ใช้ในกลุ่มสาขาวิชาเฉพาะ ในลักษณห้องสมุด เพื่อการค้นคว้าวิจัย และวิชาการระดับสูง ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการในระดับลึก และมีทิศทางการดำเนินงานด้านการ บริหารงบประมาณ การวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้บริการอย่างชัดเจน

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะเกษตรศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์

ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ห้องสมุดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ห้องสมุดคณะอุตสาหกรรมเกษตร

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะทันตแพทยศาสตร์

ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์

ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์

ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์

ห้องสมุดคณะบริหารธุรกิจ

ห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์

ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์

ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์

ห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์

ศูนย์เอกสารสถาบันวิจัยสังคม

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิต

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 0-5394-4531 โทรสาร 0-5322-2766
Copyright©2010 Chiang Mai University Library. All rights reserved
เวลาเปิดบริการ ปกติ: จันทร์-ศุกร์ 8.00-21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 10.00-18.00 น.
ปิดภาคการศึกษา: จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ ปิดบริการ
วันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดบริการ
Webmaster: webadmin@lib.cmu.ac.th

วิดิโอแนะนำ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การเดินทางมา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่