Tag-Archive for » เมืองเชียงใหม่ «

โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

โปสเตอร์รับสมัคร3

ชุมชนล้านนามีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์อยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลกันและกันยาวนานรวมทั้งได้ร่วมกันสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในเรื่องอาหาร ยารักษาโรค งานหัตถกรรมการเกษตรพื้นบ้าน การจัดการทรัพยากรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีและมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างต่อเนื่อง แต่จากการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิต ภูมิปัญญาถูกละเลยจนน่าเป็นห่วง ขาดการสืบทอดจากผู้รู้และพอครูแม่ครู โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่หลงใหลไปกับวัฒนธรรมภายนอกและไม่ได้มีการสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญาจากพ่อครูแม่ครูเหล่านี้เลย

ในราวต้นปี ๒๕๔๐ องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ นักเขียน ศิลปิน กลุ่มศิลปวัฒนธรรม องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชน ได้ปรึกษาหารือตกลงใจร่วมกันว่าควรประสานงานกับคน ทุกกลุ่ม ได้เข้ามาร่วมจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยร่วมกันจัดงาน”สืบสานล้านนา”ในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ติดต่อกันมาเป็นเวลา ๕ ปี หวังว่าจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นที่อยู่พื้นฐานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่นร่วมกันในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้มีความพยายามขององค์กร ชุมชน กลุ่มคนในท้องถิ่น ภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสืบทอดอย่างต่อเนื่องในบางชุมชนและมีการจัดงาน “สืบสานล้านนา” ขึ้นในช่วงเดือนเมษายนติดต่อกันมาทุกปีตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ก็ยังไม่สามารถก่อให้เกิดการ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีความต่อเนื่องและมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายได้

พระเดชพระคุณเจ้าหลวงพ่อพระพุทธพจนวราภรณ์ (พระธรรมดิลก) วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ได้ให้แนวคิดว่า “การจะสืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาล้านนาให้เกิดผลนั้น การจัดงานสืบสานล้านนาเพียงปีละครั้ง ๆ ละ ๔ วัน ไม่สามารถทำให้เกิดผลได้จริง ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าทุกลมหายใจเลย จึงจะเป็นจริง”
คณะกรรมการจัดงานสืบสานล้านนาได้นำมาปรึกษาหารือมีความเห็นร่วมกันว่าจะต้องทำโครงการที่จะให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา” ขึ้นในปี ๒๕๔๓ และได้ดำเนินกิจกรรมในการรวบรวมองค์ความรู้ พ่อครู แม่ครู และปราชญ์ชาวบ้านเพื่อทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาให้กับลูกหลานและผู้สนใจในท้องถิ่น ได้เกิดการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถสืบสานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในระยะแรกทางคณะกรรมการและผู้ดำเนินงานได้มีการประสานงานกับพ่อครูแม่ครู ผู้รู้ในท้องถิ่นเปิดสอนวิชาภูมิปัญญาแขนงต่าง ๆ และเปิดรับสมัครนักเรียนและผู้สนใจเข้าเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านแขนงต่าง ๆ อาทิ การทอผ้า การตัดกระดาษตัดตุง ทำโคม ดนตรีพื้นบ้าน ฟ้อนรำพื้นบ้าน การวาดรูปล้านนา อาหารพื้นบ้าน แกะสลัก จักสาน งานปั้น เป็นต้น มีผู้ให้ความสนใจเข้าเรียนรู้เป็นจำนวนมาก

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อรวบรวมผู้รู้ พ่อครู แม่ครู ช่างพื้นบ้านในแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนล้านนา
  2. ศึกษารวบรวยมข้อมูล องค์ความรู้พื้นบ้านออกมาในรูป ของตำราที่คนรุ่นใหม่ศึกษาได้
  3. จัดทำหลักสูตร จัดอบรมระยะสั้น
  4. เผยแพร่ให้ความรู้แก่สาธารณชนให้เห็นความ สำคัญของการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
  5. ประสานเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่าง

หลักสูตรที่เปิดสอน

  1. ภาษาล้านนา
  2. ดนตรีพื้นเมือง
  3. จักรสาน
  4. แต่งคร่าว-ซอ
  5. ฟ้อนพื้นเมือง
  6. วาดรูปล้านนา
  7. การทำตุง-โคม
  8. ฟ้อนดาบ-ฟ้อนเจิง
  9. ของเล่นเด็ก
  10. พิธีกรรม
  11. การทอผ้า
  12. การปั้น
  13. เครื่องเขิน
  14. แกะสลัก
  15. วิชาทางด้านสล่าเมือง

วิดิโอแนะนำ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

๓๕ ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๐๐๐

โทรศัพท์ ๐๕๓-๒๔๔๒๓๑ โทรสาร ๐๕๓-๓๐๖๖๑๒

การเดินทางมา  โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

 

 

 

ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

1391140578-Y415505-o

 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2538 เป็นคณะที่ 17 ของมหาวิทยาลัยและเป็นคณะในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2543 โดนมีบัณฑิตจบการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาโดยตลอด โดยมีหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และการประยุกต์งานสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและมีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ อย่างเหมาะสม จากเหตุผลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บจัดแสดงและศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค

ปัจจุบันศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเป็นหน่วยงานภายใต้งานศิลปวัฒนธรรมและชุมชน คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัย จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีที่ทำการ ณ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ซึ่งเป็นอาคารเก่าอายุประมาณ 120 ปี ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับบริจาคจากคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล และอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2544

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ หรือบางท่านเรียกว่า คุ้มกลางเวียง เดิมเป็นของ เจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ หลานของเจ้าหลวงคำฝั้น (เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่3) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2432-2436 ต่อมาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ บุตรชายเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ได้รับมรดกและเป็นผู้ครอบครองอาคารในระหว่างปี พ.ศ. 2437-2489

นางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพยมณฑล) ได้ซื้อต่อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่) และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงญาติคนปัจจุบันคือคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล (บุตรีนางบัวผันและเป็นน้าสาว ของอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร) วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตระกูลกิติบุตรและทิพยมณฑล ได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้เป็นที่ทำการของศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ภายใต้การดูแล และดำเนินงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

วิดิโอแนะนำ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ ของ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

เลขที่ 117 ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทร: 0 5327 7855 โทรสาร: 0 5327 7855

การเดินทางมา  ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

eng-fact-120613225301

 

ตามที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551 นั้น นับเป็นโอกาสในการรวมหน่วยงานเดิมสององค์กร คือ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ที่ได้ดำเนินการมากว่า 25 ปี และสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2545 มารวมเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ” ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา

วิดิโอแนะนำ  สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

โทรศัพท์ 0-5394-3811

การเดินทางมา สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Art in Paradise เชียงใหม่

1010565_656502351029276_230126301_n

“Art in Paradise (Chiang Mai)” พิพิธภัณฑ์ภาพวาดลวงตา (Illusion Art Museum) แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอศิลปะภาพวาดลวงตา หรือ Illusion Art ศิลปะการวาดภาพที่อาศัยเทคนิค และความเชี่ยวชาญในการวาดภาพลงบนพื้นผิวเรียบให้กลายเป็น “ภาพ 3 มิติ” และให้ความรู้สึกที่เหมือนจริง (Realistic Art) นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังนำเสนอผลงานศิลปะในรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด (Interactive Art) ผู้ชมสามารถถ่ายภาพโดยสร้างสรรค์จินตนาการ ออกแบบท่าทาง และแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพวาดแต่ละภาพตามความชอบของตนเอง เสมือนว่าผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาด Art in Paradise (Chiang Mai) จึงเป็นสถานที่ที่ทำให้ศิลปะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้สำหรับทุกคน และยังมอบความสุข สนุกสนานให้แก่ผู้มาเยือนอีกด้วย

“Art in Paradise (Chiang Mai)” ก่อตั้งโดยชาวเกาหลี คุณ จาง กิว ซ็อก (Jang Kyu Suk) และสร้างสรรค์ภาพวาดโดยจิตรกรระดับมืออาชีพจากประเทศเกาหลีทั้งหมด 14 ท่าน ภาพวาดภายในพิพิธภัณฑ์กว่า 130 ภาพ สามารถแบ่งออกเป็น 6 โซนใหญ่ๆ คือ โซนโลกใต้ท้องทะเล รวบรวมสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดรวมทั้งเหล่านางเงือก เป็นโซนที่ผู้ชมสามารถออกแบบท่าทางในการถ่ายภาพได้ตามความชอบของตนเอง โซนสัตว์ป่า ภาพวาดสัตว์ป่าในอิริยาบถต่างๆ โซนคลาสสิกอาร์ต (Classic Art) ภาพวาดของจิตรกรระดับโลกนำมาเพิ่มเติมความสนุกในแบบของ Art in Paradise (Chiang Mai) ทั้งยังมีภาพเมืองแถบยุโรปที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสถานที่จริง โซนตะวันออก ประกอบด้วยภาพสถาปัตยกรรมทั้งของเกาหลี ไทย และเขมร โซนอียิปต์โบราณ สัมผัสบรรยากาศแห่งทะเลทราย และสุสานฟาโรห์ โซนศิลปะเหนือจริง และสัตว์โลกล้านปี รวบรวมภาพวาดหลากหลายแบบที่ผู้ชมสามารถจินตนาการถ่ายภาพในแบบของแต่ละคนได้อย่างอิสระ เพื่อความสนุกสนาน และเสมือนจริง

5549_646887925324052_148824

ภาพวาดลวงตา คือ ภาพวาดที่ส่งผลทำให้การรับรู้ทางการมองเห็น บิดเบือนหรือผิดเพี้ยนไปจากภาพความจริง ซึ่งผู้ชมสามารถรับรู้และตีความออกมาได้หลายความหมาย

การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมหรืองานศิลปะบนพื้นผิวเรียบ ( สองมิติ ) ให้ดูมีมิติ มีความตื้นลึกของแสงและเงา ต้องอาศัยเทคนิคและความเชี่ยวชาญอย่างสูงในการออกแบบ การจัดองค์ประกอบของภาพ และเลือกใช้ส่วนประกอบทางศิลปะในการเปลี่ยนภาพวาดธรรมดาให้กลายเป็น งานศิลปะสามมิติ

นอกจากนี้การจัดวางรูปภาพให้อยู่ในมุมมองที่ถูกต้องก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดลวงตา เช่น รูปภาพหนึ่งรูป ผู้ชมแต่ละคนสามารถมองและตีความหมายออกมาได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล

พิพิธภัณฑ์ อาร์ตอินพาราไดซ์ เชียงใหม่ ยินดีอย่างยิ่งที่จะนำทุกท่านไปพบกับความมหัศจรรย์ของโลกแห่งศิลปะภาพวาดลวงตา สถานที่ที่ทุกท่านสามารถปลดปล่อยจินตนาการ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาดสามมิติ ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้

chiangmaiartinparadise (23)

chiangmaiartinparadise (22)

chiangmaiartinparadise (1)

ที่ตั้ง เวลาเปิดทำการ และเบอร์โทรศัพท์ Art in Paradise เชียงใหม่

เลขที่ 199/9 ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ห้างสรรพสินค้าสีสวนเก่า)

เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-21.00 น.

โทร 0 5327 4100, 0 5327 3291

การเดินทางมา Art in Paradise เชียงใหม่

947231_640108809335297_2028

935570_636371659709012_4587

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.chiangmai-artinparadise.com/introduct.php?lang=th

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่

29_173

เมืองเชียงใหม่มีชื่อที่ปรากฎในตำนานว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์” เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1839 นับถึงปัจจุบันอายุเจ็ดร้อยกว่าปี เมืองเชียงใหม่ ได้วิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 200 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839-2101) ในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่พม่านานร่วม 200 ปี จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาหาราช ได้ทรงช่วยเหลือล้านนาไทยภายใต้การนำของพระเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน ในการทำสงครามขับไล่พม่าออกไปจากเชียงใหม่ได้นำเร็จ เชื้อสายของพระเจ้ากาวิละ ซึ่งเรียกว่า “ตระกูลเจ้าเจ็ดตน” ปกครองเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน และเมืองลำปางต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช ได้ยกเลิกการมีประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่าปกครองแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบัน

ไปรษณีย์แห่งแรกของนครเชียงใหม่

เดิมทีเดียวนั้นเชียงใหม่มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอยู่แห่งหนึ่งตรงถนนวิชยานนท์ ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว และได้สร้างสุขศาลาขึ้นแทน ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแห่งแรกของเชียงใหม่ง่ายๆ ว่า “โฮงสาย” คงจะเป็นด้วยเหตุผลที่เป็นสถานที่ตั้งชุมสายโทรเลขและโทาศัพท์ ซึ่งต้องมีสายสัญณาณเชื่อมโยงจากที่ต่างๆ เข้ามาที่ตัวอาคารจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2453 มีการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กตรงบริเวณใกล้กัน (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่) ทางการได้ย้าย “โฮงสาย” มาอยู่ที่อาคารหลังนี้ภายหลัง ซึ่งแต่เดิมนั้น ก่อนที่จะมีการก่อสร้างอาคารหลังนี้ บริเวณดังกล่าวใช้เป็นที่ทำการศาลมณฑลพายัพ ภายในมีที่คุมขังนักโทษอยู่ด้วย

ปัจจุบันตัวอาคารได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย ปีกของอาคารทั้งสองข้าง ได้ต่อเติมเป็นสองชั้นโดยตลอด เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความเจริญของเมืองเชียงใหม่ในยุคสมัยต่อๆ มา จนต้องสร้างที่ทำการขึ้นที่ใหม่เพิ่มอีกแห่งหนึ่งย่านสันป่าข่อย ฝั่งซ้ายแม่น้ำปิง อาคารหลังนี้ใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแม่ปิง เรื่อยมาจนถึงปี 2533 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณีย์เชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวมของนักสะสมตราไปรษณียากรในภูมิภาคนี้

ให้บริการ  จำหน่ายตราไปรษณียากรเพื่อการสะสม

จำหน่ายอุปกรณ์สำหรับการสะสมตราไปรษณียากร

บริการรับสมัครสมาชิกบัญชีเงินฝากตราไปรษณียากร

บริการรับสมัครสมาชิกวารสารตราไปรษณียากร

บริการรับสมัครสมาชิกจุลสารตราไปรษณียากร

บริการแนะนำเทคนิคการสะสมตราไปรษณียากร

นิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับตราไปรษณียากร

นิทรรศการอุปกรณ์ต่างๆ ในกิจการไปรษณีย์ในอดีต

บริการห้องสมุดเกี่ยวกับตราไปรษณียากร

ที่ตั้งและเวลาเปิดทำการของ พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่

15 ถนนไปรษณีย์ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

โทร. 0-5325-1200

เปิดให้บริการ วันอังคาร – วันอาทิตย์

ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. หยุด วันจันทร์

การเดินทางมา  พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

Chiang_mai-tribal_museum_CM

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา ตั้งอยู่ในบริเวณสวนล้านนา ร.9ถนนโชตนา อยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางด้านชาติพันธุ์วิทยา จัดเก็บรวบรวมวัตถุพยานหลักฐานวัฒนธรรมของชนเผ่าบนที่สูง หรือ ชาวเขา ประกอบด้วยกลุ่มชนจำนวน 9 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ มูเซอ ลัวะ ถิ่น ขมุ และกลุ่มชนเล็กที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งคือ มลาบรี หรือผีตองเหลือง มีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป พิพิธภัณฑ์ชาวเขาได้จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวเขา ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ จัดเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวเขาที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิภาพสังคมแห่งประเทศไทย และได้ย้ายมาตั้ง ณ จุดที่ตั้งปัจจุบันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2540 ชั้นล่างเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุดสำหรับผู้ที่มาเที่ยวชม
ชาวเขาซึ่งมีจำนวนประมาณ 970,000 คนกระจายตัวอาศัยอยู่ตามโซนต่างๆ โดยชาวม้งชอบอาศัยอยู่ในที่สูงๆ ส่วนชาวอาข่า ลีซอ และมูเซอจะอาศัยอยู่ที่ต่ำลงมา ส่วนชาวกะเหรี่ยงและชาวเหย้าชอบอาศัยอยู่ตามหุบเขา ทุกเผ่าล้วนแต่มีศาสนา (โดยมีพื้นฐานมาจากลัทธินับถือผี) พิธีกรรม ภาษา และขนบธรรมเนียมตามแบบฉบับของตนเอง อย่างไรก็ดี เนื่องจากว่าในภูมิภาคนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ และชาวเผ่าเหล่านี้ก็ค่อยๆ ผสมผสานกลมกลืนเข้ากับสังคมใหญ่มากขึ้น ดังนั้น ขนบธรรมเนียนประเพณีของชาวเผ่านเหล่านี้จึงเสี่ยงที่จะค่อยๆ ถูกกลืนจนสูญหายไปในที่สุด พิพิธภัณฑ์แห่งนี้พยายามแสดงและรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจนชนกลุ่มใหญ่เหล่านี้ไว้ โดยถ่ายทอดบรรยากาศชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ให้ได้สัมผัสผ่านทางงานฝีมือที่ชาวเขาเป็นผู้ทำขึ้น ตลอดจนมีภาพถ่ายและมีคำอธิบายที่ชัดเจนพร้อมทั้งมีเสียงเพลงพื้นบ้านและเสียงสวดมนต์ของชาวเขาเปิดคลอไปด้วย วัตถุที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ที่พักอาศัย การจับปลา การเกษตร ความเชื่อทางศาสนา และเครื่องดนตรี โดยมีข้าวของจัดแสดงหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นตะกร้า ข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม กลอง เครื่องมือทางการเกษตร อุปกรณ์ล่าสัตว์ อาวุธ เครื่องประดับเงินอันอ่อนช้อย และเครื่องแต่งกายสีสันฉูดฉาด
เนื่องจากว่าชาวเขามีความชำนาญในด้านงานศิลปะและงานฝีมือเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงมีงานฝีมือของชาวเขาจัดแสดงไว้ให้ชมมากมาย โดยมีหุ่นจำลองขนาดเท่าคนจริง พร้อมทั้งมีคำอธิบายซึ่งผ่านการค้นคว้าข้อมูลมาเป็นอย่างดีประกอบด้วย รูปแบบการแต่งกายและเครื่องประดับเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้แบ่งแยกชาวเขาเผ่าต่างๆ และใช้แบ่งแยกสถานะทางสังคมในแต่ละชนเผ่าด้วย ผู้หญิงชาวม้งมีความชำนาญในงานเย็บปักถักร้อย โดยมักจะใช้ลวดลายทรงเลขาคณิตในลายผ้าและมักจะสวมใส่เครื่องเงินประกอบด้วย มีหุ่นจำลองคู่หนึ่งแต่งกายในชุดประจำเผ่าของชาวม้งดูโดดเด่น ชาวเย้าก็มีชื่อเสียงในเรื่องความละเอียดอ่อนของงานเย็บปักถักร้อยเช่นกัน โดยทั้งชุดจะมีลวดลายปักประดับตกแต่งทั้งหมด ส่วนกะเหรี่ยงขึ้นชื่อในเรื่องของการทอผ้า ส่วนเครื่องแต่งกายของชาวมูเซอและชาวลีซอจะมีเอกลักษณ์ที่แถบผ้าสีสันฉูดฉาด เครื่องประดับศีรษะตามแบบโบราณของชาวอาข่านับว่าเป็นเครื่องประดับที่อลังการและสวยงามมากที่สุด โดยนำเครื่องเงิน ลูกปัด และเหรียญต่างๆ มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ชาวเขาส่วนหนึ่งทำงานศิลปะและงานฝีมือพื้นบ้านเหล่านี้ขึ้นเพื่อนำมาขายในตลาดให้แก่นักท่องเที่ยว

เวลาทำการของ พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

ทุกวัน เวลา 9.00-16.00 น.

การเดินทางมา พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

1278387738_1(1)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑสถานระดับภาค อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา และศูนย์กลางการศึกษา การอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และของภาคเหนือตอนบน หรือที่เรียกมาแต่โบราณว่า ล้านนา มีรูปทรงเป็นอาคารจัตุรมุขทรงไทยประยุกต์ สองชั้น ตรงยอดจั่วประดับด้วยกาแลซึ่งเป็นแบบศิลปะตกแต่งพื้นเมืองล้านนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการถาวรภายในอาคารเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2516  ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ได้รับการปรับปรุงทั้งเนื้อหาการจัดแสดง อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ ให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ และเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติประจำภาคอย่างแท้จริง
ส่วนจัดแสดงแบ่งเป็น2ชั้น ชั้นละ3ส่วน โดยรวบรวมสิ่งของที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือไว้ เช่น พระพุทธรูปสกุลช่างสมัยล้านนาต่างๆ และพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน เครื่องไม้แกะสลัก เครื่องถ้วยภาคเหนือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาและชาวเขาเผ่าต่างๆ ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ยังจะได้ศึกษาจากเนื้อหานิทรรศการที่นำเสนอเรื่องราวและหลักฐานภูมิเดิมก่อนมาเป็นแผ่นดินล้านนา การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่น่าสนใจของเผ่าลัวะ และหริภุญไชยรัฐแรกของภาคเหนือ ต่อเนื่องมาจนถึงการสถาปนานครเชียงใหม่ เรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและความเสื่อมของราชอาณาจักรล้านนา จากนั้นเข้าสู่ยุคของนครเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสยาม การค้า และเศรษฐกิจ การดำรงชีวิตและพัฒนาการทางสังคม ตลอดจนแสดงถึงวิวัฒนาการของศิลปกรรมล้านนาและศิลปะในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการหมุนเวียนในชั้นล่างอีกด้วย

ที่ตั้งเวลาทำการและเบอร์โทรศัพท์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลำปาง)

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. หยุดวันจันทร์และวันอังคาร ช่วงวันสงกรานต์ และวันปีใหม่ ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท นักเรียน นักศึกษาฟรี

 โทร. 0 5322 1308

การเดินทางมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

96271

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุได้ที่ ให้บริการหนังสือประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสารคดีและเอกสารจดหมายเหตุ

ที่ตั้งเวลาเปิดทำการและเบอร์โทรศัพท์ ของ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ 

ตั้งอยู่ที่ ถนนสุเทพ (แยกประตูสวนดอก) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เปิดให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
โทร. 0 5328 1424 โทรสาร 0 5328 1425

การเดินทางมา หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ 

 

TCDC เชียงใหม่

8

 

TCDC เชียงใหม่ ศูนย์กลางความรู้ด้านการออกแบบและบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ครบวงจรแห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

 รูปแบบการให้บริการ

ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ในบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ด้วยหนังสือกว่า 6,000 เล่ม นิตยสารกว่า 70 ชื่อเรื่อง และสื่อมัลติมีเดียกว่า 500 รายการ พร้อมฐานข้อมูลด้านการออกแบบ WGSN และฐานข้อมูลด้านการตลาด GMID เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 7,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 250 ชนิด และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัสดุล้ำยุค เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสกับวัสดุที่นักออกแบบระดับโลกใช้ในการสร้าง สรรค์ผลงาน และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของวัสดุเพื่อการออกแบบ

กิจกรรมสัมมนาและฝึกอบรมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยความหลากหลายของกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์

การจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้ ทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ จินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าชม พร้อมทั้งการจัดการประกวด การแข่งขัน ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอย่างต่อเนื่อง

พื้นที่จัดแสดงผลงาน สำหรับผลงานของนักออกแบบรุ่นใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการทดลองตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย

การให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ให้กับผู้ประกอบการและนักออกแบบในพื้นที่

วิดิโอแนะนำ TCDC เชียงใหม่

ที่ตั้ง เบอร์โทรศัพท์ และเวลาทำการของ TCDC เชียงใหม่  

ตั้งอยู่หลังกาดเมืองใหม่ เลขที่ 1/1 ถนนเมืองสมุทร ตำบลช้างม่อย

อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

เปิดให้บริการแล้ววันนี้!

เวลา 10.30 – 18.00 น. (ปิดวันจันทร์)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ TCDC โทร. 052 080 500 ต่อ 1

การเดินทางมาTCDC เชียงใหม่  

ห้องสมุดกองบิน 41 จ.เชียงใหม่

1188308851

ห้องสมุดกองบิน 41จังหวัดเชียงใหม่ ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ข้าราชการลูกจ้าง และครอบครัว ของกองบิน 41
ในอดีตห้องสมุดของเราอยู่ที่อาคารสวัสดิการซึ่งไม่สะดวกในการให้บริการได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากอยู่ห่างไกล จึงย้ายมาตั้งที่อาคารแฟลตรับรอง 4 ชั้น โดยมีห้องสมุดและห้อง Internet Adslให้บริการที่ชั้น 1 และให้บริการจนถึงปัจจุบัน

1188308923 1188309324 1188309366 1188309468

การเดินทางมา ห้องสมุดกองบิน 41 จ.เชียงใหม่