Tag-Archive for » สวย «

Art in Paradise เชียงใหม่

1010565_656502351029276_230126301_n

“Art in Paradise (Chiang Mai)” พิพิธภัณฑ์ภาพวาดลวงตา (Illusion Art Museum) แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอศิลปะภาพวาดลวงตา หรือ Illusion Art ศิลปะการวาดภาพที่อาศัยเทคนิค และความเชี่ยวชาญในการวาดภาพลงบนพื้นผิวเรียบให้กลายเป็น “ภาพ 3 มิติ” และให้ความรู้สึกที่เหมือนจริง (Realistic Art) นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังนำเสนอผลงานศิลปะในรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด (Interactive Art) ผู้ชมสามารถถ่ายภาพโดยสร้างสรรค์จินตนาการ ออกแบบท่าทาง และแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพวาดแต่ละภาพตามความชอบของตนเอง เสมือนว่าผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาด Art in Paradise (Chiang Mai) จึงเป็นสถานที่ที่ทำให้ศิลปะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้สำหรับทุกคน และยังมอบความสุข สนุกสนานให้แก่ผู้มาเยือนอีกด้วย

“Art in Paradise (Chiang Mai)” ก่อตั้งโดยชาวเกาหลี คุณ จาง กิว ซ็อก (Jang Kyu Suk) และสร้างสรรค์ภาพวาดโดยจิตรกรระดับมืออาชีพจากประเทศเกาหลีทั้งหมด 14 ท่าน ภาพวาดภายในพิพิธภัณฑ์กว่า 130 ภาพ สามารถแบ่งออกเป็น 6 โซนใหญ่ๆ คือ โซนโลกใต้ท้องทะเล รวบรวมสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดรวมทั้งเหล่านางเงือก เป็นโซนที่ผู้ชมสามารถออกแบบท่าทางในการถ่ายภาพได้ตามความชอบของตนเอง โซนสัตว์ป่า ภาพวาดสัตว์ป่าในอิริยาบถต่างๆ โซนคลาสสิกอาร์ต (Classic Art) ภาพวาดของจิตรกรระดับโลกนำมาเพิ่มเติมความสนุกในแบบของ Art in Paradise (Chiang Mai) ทั้งยังมีภาพเมืองแถบยุโรปที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสถานที่จริง โซนตะวันออก ประกอบด้วยภาพสถาปัตยกรรมทั้งของเกาหลี ไทย และเขมร โซนอียิปต์โบราณ สัมผัสบรรยากาศแห่งทะเลทราย และสุสานฟาโรห์ โซนศิลปะเหนือจริง และสัตว์โลกล้านปี รวบรวมภาพวาดหลากหลายแบบที่ผู้ชมสามารถจินตนาการถ่ายภาพในแบบของแต่ละคนได้อย่างอิสระ เพื่อความสนุกสนาน และเสมือนจริง

5549_646887925324052_148824

ภาพวาดลวงตา คือ ภาพวาดที่ส่งผลทำให้การรับรู้ทางการมองเห็น บิดเบือนหรือผิดเพี้ยนไปจากภาพความจริง ซึ่งผู้ชมสามารถรับรู้และตีความออกมาได้หลายความหมาย

การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมหรืองานศิลปะบนพื้นผิวเรียบ ( สองมิติ ) ให้ดูมีมิติ มีความตื้นลึกของแสงและเงา ต้องอาศัยเทคนิคและความเชี่ยวชาญอย่างสูงในการออกแบบ การจัดองค์ประกอบของภาพ และเลือกใช้ส่วนประกอบทางศิลปะในการเปลี่ยนภาพวาดธรรมดาให้กลายเป็น งานศิลปะสามมิติ

นอกจากนี้การจัดวางรูปภาพให้อยู่ในมุมมองที่ถูกต้องก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดลวงตา เช่น รูปภาพหนึ่งรูป ผู้ชมแต่ละคนสามารถมองและตีความหมายออกมาได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล

พิพิธภัณฑ์ อาร์ตอินพาราไดซ์ เชียงใหม่ ยินดีอย่างยิ่งที่จะนำทุกท่านไปพบกับความมหัศจรรย์ของโลกแห่งศิลปะภาพวาดลวงตา สถานที่ที่ทุกท่านสามารถปลดปล่อยจินตนาการ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาดสามมิติ ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้

chiangmaiartinparadise (23)

chiangmaiartinparadise (22)

chiangmaiartinparadise (1)

ที่ตั้ง เวลาเปิดทำการ และเบอร์โทรศัพท์ Art in Paradise เชียงใหม่

เลขที่ 199/9 ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ห้างสรรพสินค้าสีสวนเก่า)

เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-21.00 น.

โทร 0 5327 4100, 0 5327 3291

การเดินทางมา Art in Paradise เชียงใหม่

947231_640108809335297_2028

935570_636371659709012_4587

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.chiangmai-artinparadise.com/introduct.php?lang=th

TCDC เชียงใหม่

8

 

TCDC เชียงใหม่ ศูนย์กลางความรู้ด้านการออกแบบและบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ครบวงจรแห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

 รูปแบบการให้บริการ

ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ในบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ด้วยหนังสือกว่า 6,000 เล่ม นิตยสารกว่า 70 ชื่อเรื่อง และสื่อมัลติมีเดียกว่า 500 รายการ พร้อมฐานข้อมูลด้านการออกแบบ WGSN และฐานข้อมูลด้านการตลาด GMID เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 7,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 250 ชนิด และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัสดุล้ำยุค เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสกับวัสดุที่นักออกแบบระดับโลกใช้ในการสร้าง สรรค์ผลงาน และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของวัสดุเพื่อการออกแบบ

กิจกรรมสัมมนาและฝึกอบรมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยความหลากหลายของกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์

การจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้ ทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ จินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าชม พร้อมทั้งการจัดการประกวด การแข่งขัน ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอย่างต่อเนื่อง

พื้นที่จัดแสดงผลงาน สำหรับผลงานของนักออกแบบรุ่นใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการทดลองตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย

การให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ให้กับผู้ประกอบการและนักออกแบบในพื้นที่

วิดิโอแนะนำ TCDC เชียงใหม่

ที่ตั้ง เบอร์โทรศัพท์ และเวลาทำการของ TCDC เชียงใหม่  

ตั้งอยู่หลังกาดเมืองใหม่ เลขที่ 1/1 ถนนเมืองสมุทร ตำบลช้างม่อย

อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

เปิดให้บริการแล้ววันนี้!

เวลา 10.30 – 18.00 น. (ปิดวันจันทร์)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ TCDC โทร. 052 080 500 ต่อ 1

การเดินทางมาTCDC เชียงใหม่  

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

547546_320448114703492_1041838862_n

ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

                    ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน ในระยะแรกไม่ได้เป็นห้องสมุดที่เป็นสัดส่วนเอกเทศ เป็นเพียงแต่ตู้เก็บรวบรวมหนังสือในห้องครูใหญ่หรือตั้งอยู่ในห้องเรียนห้องใดห้องหนึ่งเท่านั้น มีหนังสือต่างๆที่ได้จากการซื้อหาและการบริจาคจากเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆได้ดังนี้

1. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะแรก (พ.ศ.2448-2458) ในระยะนี้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวโรรสข้างวัดดวงดีทางด้านทิศใต้(หรือสี่แยกกลางเวียงปัจจุบัน) ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าได้ใช้ส่วนใดห้องใดของอาคารเรียน จัดเป็นห้องสมุด แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีห้องสมุดแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2451

2. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะที่ 2 (พ.ศ.2548-2516) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่เลขที่ 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง หรือตั้งในปัจจุบันนี้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 โดยได้เริ่มสร้างตึกยุพราชเป็นอาคารเรียนหลังแรกตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ห้องสมุดของโรงเรียนในระยะนี้จึงอาศัยอยู่บนตึกยุพราชก่อน จนถึงปี พ.ศ.2467 จึงมีการสร้างห้องสมุดเป็นสัดส่วนเฉพาะโดยปรากฎหลักฐานว่า มีห้องสมุดเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นสโมสรของลูกเสือชั้นบนมี 4 ห้อง ห้องกลาง 2 ห้องใช้เป็นห้องสมุด ห้องริม 2 ห้องจัดเป็นห้องเรียนและได้ทำบุญฉลองหอสมุดที่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2467 และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ใช้ห้องสมุดนั้นเรื่อยมา ต่อมาในปีพ.ศ.2469 ได้มีพระราชพิธีสมโภช “พระเศวตคชเดชดิลก” ช้างสำคัญของเมืองเชียงใหม่และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการมณฑลพายัพและประชาชนชาวเมืองนครเชียงใหม่ได้ร่วมกันสร้างโรงช้างต้นขึ้น หลังจากประกอบพิธีเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2469 แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้ใช้อาคารนี้เกื่ยวข้องกับช้างสำคัญอีกเลย จึงได้มีการดัดแปลงอาคารโรงช้างต้น เป็นห้องสมุด และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้อาศัยโรงช้างต้นเป็นห้องสมุดของโรงเรียนเรื่อยมา จนกระทั่งได้ย้ายมาที่ตึกยุพราชอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2501 ห้องสมุดย้ายไปอยู่ที่อาคารเรือนวิเชียร และในปี พ.ศ.2504 ได้ย้ายกลับมาใช้ด้านล่างของตึกยุพราชเป็นที่ตั้งของห้องสมุด เรื่องราวของห้องสมุดของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะปี พ.ศ.2501 – 2516 นั้น มีปรากฏในสมุดหมายเหตุรายวันของโรงเรียนหลายเรื่องที่สำคัญ ดังเช่น

1. มีการตั้งชุมนุมห้องสมุดโดยมีนักเรียนสมัครเข้าเป็นสมาชิกรวมกลุ่มดำเนินการมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา

2.มีการส่งครูไปอบรมวิชาบรรณารักษ์เพิ่มเติม

3. ห้องสมุดถือเป็นจุดสำคัญที่แขกผู้มาเยือนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยต้องไปเยี่ยมชมเสมอ จัดเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้วย

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในระยะ ที่ 3 (พ.ศ.2516 – 2534) ในปี พ.ศ.2516 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็ฯโรงเรียนในโครงการ คมส.และได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ชื่อ อาคารรัตนมณี จึงได้มีการกำหนดใหชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ห้องเรียนเป็นที่ทำการของห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของห้องสมุดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการให้บริการแก่บุคลากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้อาคารรัตนมณีชั้นที่ 2 เป็นห้องบริการหนังสืออ้างอิงและวารสารเย็บเล่ม ใช้ห้องเรียนเป็นที่ทำงานอีก 2 ห้องเรียน ในระยะที่ 3 นี้ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับการยกย่องและมีการพัฒนาที่สำคัญดังนี้

- ปีการศึกษา 2528 ได้รับรางวัลห้องสมุดที่จัดบริการและงานเทคนิคดีเด่นประจำเขตการศึกษา 8

- ปีการศึกษา 2531 ได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยและตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นมา ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้ริเริ่มนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้พัฒนางานเทคนิคของห้องสมุด ซึ่งทำให้งานบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในปัจจุบัน (พ.ศ.2534 – ปัจจุบัน) โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารนวรัตน์ในปีพ.ศ.2530 อาคารนวรัตน์จัดเป็นอาคารอเนกประสงค์ ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นที่สองเป็นห้องสมุดขนาด 10 ห้องเรียน และชั้นที่สามเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ ห้องสมุดได้พัฒนาอย่างมาก มีการพัฒนาทั้งทางด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม จำนวนหนังสือ การให้บริการ การปรับปรุงงานเทคนิค การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ภายในห้องสมุด มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง จัดแบ่งห้องออกเป็นสัดส่วนตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและในปีการศึกษา 2536 ห้องสมุดได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา ได้รับเกียรติบัตรของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

การเดินทางมา ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

 

 

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

P_about library_0

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดดำเนินการพร้อมกับมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2507 ขณะนั้นมีฐานะเป็น กองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยใช้ส่วนหนึ่ง ของอาคารภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว และย้ายไปอยู่ที่อาคารเอกเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุด และได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากอาคารเดิมคับแคบ เพราะจำนวนทรัพยากร และผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และได้ย้ายมาอยู่อาคารหลังปัจจุบัน เมื่อเดือนตุลาคม 2522 ต่อมาปี พ.ศ.2540 ได้รับอนุมัติให้ขยายอาคาร มีเนื้อที่เพิ่มขึ้น 6,944 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 15,768 ตารางเมตร บริการที่นั่งอ่าน 1,796 ที่นั่ง และให้บริการนักศึกษาในปี พ.ศ.2544

 การบริหารงาน

แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 6 ฝ่าย คือ

สำนักงานเลขานุการ

ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานเลขานุการ

เป็นหน่วยงานสนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด ซึ่งมีเป้าหมายคือ การบริการแก่ผู้ใช้ให้สามารถดำเนินการ ได้อย่างราบรื่น สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่อำนวยการและประสานงาน บริหารส่วนกลางระหว่างฝ่าย งานต่าง ๆ ภายในสำนักหอสมุดและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย งานหลักที่ดำเนินการ

งานบริหารและธุรการ

งานคลังและพัสดุ

งานนโยบายและแผน

 ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการทรัพยากรสารนิเทศ แก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด เพื่อให้ได้รับข้อมูล ที่ทันสมัย ตรงกับความต้องการมากที่สุด ทั้งในแง่การเรียน การสอน และการค้นคว้าวิจัย และอย่างสะดวก รวดเร็ว ประกอบด้วย

งานบริการผู้อ่าน

งานบริการสารนิเทศ

งานวารสารและเอกสาร

งานศูนย์สนเทศภาคเหนือ

งานโสตทัศนวัสดุ

 ฝ่ายพัฒนาและจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศ

ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหา บำรุงรักษา และเผยแพร่ทรัพยากรสารนิเทศทุกรูปแบบ ทั้งภายในและต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัย และนำทรัพยากรสารนิเทศเหล่านี้ มาจัดระบบเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงอย่างรวดเร็ว ทันสมัย ตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยี และวิธีการมาใช้ในการดำเนินงาน รวมทั้งรวบรวมสถิติข้อมูล เพื่อทำการวิจัย และประเมินผลการดำเนินงานทุก ขั้นตอน เพื่อหาแนวทางพัฒนา และแก้ไขการให้บริการสารนิเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน ของงาน และประหยัดงบประมาณส่วนรวม   แบ่งการดำเนินงาน

งานพัฒนาทรัพยากร

งานวิเคราะห์ทรัพยากร

งานระบบคอมพิวเตอร์

งานอนุรักษ์และบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศ

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศ

ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรสารนิเทศในสาขาวิชาเฉพาะ ร่วมมือและประสานงานการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบงานในระหว่างห้องสมุดคณะ/สำนัก/สถาบัน/ศูนย์ อาทิเช่น การคัดเลือก จัดหา บำรุงรักษา เผยแพร่และให้บริการทรัพยากรสารนิเทศ แก่ผู้ใช้ในกลุ่มสาขาวิชาเฉพาะ ในลักษณห้องสมุด เพื่อการค้นคว้าวิจัย และวิชาการระดับสูง ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการในระดับลึก และมีทิศทางการดำเนินงานด้านการ บริหารงบประมาณ การวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้บริการอย่างชัดเจน

ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะเกษตรศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์

ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์

ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ห้องสมุดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ห้องสมุดคณะอุตสาหกรรมเกษตร

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะทันตแพทยศาสตร์

ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์

ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์

ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์

 ฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ประกอบด้วย

ห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์

ห้องสมุดคณะบริหารธุรกิจ

ห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์

ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์

ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์

ห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์

ศูนย์เอกสารสถาบันวิจัยสังคม

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิต

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 0-5394-4531 โทรสาร 0-5322-2766
Copyright©2010 Chiang Mai University Library. All rights reserved
เวลาเปิดบริการ ปกติ: จันทร์-ศุกร์ 8.00-21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 10.00-18.00 น.
ปิดภาคการศึกษา: จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ ปิดบริการ
วันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดบริการ
Webmaster: webadmin@lib.cmu.ac.th

วิดิโอแนะนำ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การเดินทางมา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่