Tag-Archive for » แหล่งข้อมูล «

ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

1391140578-Y415505-o

 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2538 เป็นคณะที่ 17 ของมหาวิทยาลัยและเป็นคณะในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2543 โดนมีบัณฑิตจบการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาโดยตลอด โดยมีหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และการประยุกต์งานสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและมีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ อย่างเหมาะสม จากเหตุผลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บจัดแสดงและศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค

ปัจจุบันศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเป็นหน่วยงานภายใต้งานศิลปวัฒนธรรมและชุมชน คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัย จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีที่ทำการ ณ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ซึ่งเป็นอาคารเก่าอายุประมาณ 120 ปี ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับบริจาคจากคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล และอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2544

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ หรือบางท่านเรียกว่า คุ้มกลางเวียง เดิมเป็นของ เจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ หลานของเจ้าหลวงคำฝั้น (เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่3) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2432-2436 ต่อมาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ บุตรชายเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ได้รับมรดกและเป็นผู้ครอบครองอาคารในระหว่างปี พ.ศ. 2437-2489

นางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพยมณฑล) ได้ซื้อต่อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่) และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงญาติคนปัจจุบันคือคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล (บุตรีนางบัวผันและเป็นน้าสาว ของอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร) วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตระกูลกิติบุตรและทิพยมณฑล ได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้เป็นที่ทำการของศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ภายใต้การดูแล และดำเนินงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

วิดิโอแนะนำ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ ของ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

เลขที่ 117 ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทร: 0 5327 7855 โทรสาร: 0 5327 7855

การเดินทางมา  ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ

head

(Northern Thai Information Center Chiang Mai University Library. All rights reserved)

             ศูนย์สนเทศภาคเหนือ ได้ถือกำเนิดขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านการเรียนการสอน และการวิจัยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นล้านนา ซึ่งจำเพาะถึงจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด และการขยายขอบเขตให้กว้างขวางมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งภูมิภาคภาคเหนือ คือ 17 จังหวัด ในเวลาต่อมา สำนักหอสมุดในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริการของมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นในการเสาะแสวงหา รวบรวม สะสมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับล้านนาและภูมิภาคภาคเหนือโดยรวม สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นภาคเหนือ โดยในระยะเริ่มแรก ได้จัดตั้ง “โครงการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปลานนา″ ขึ้นเมื่อพ.ศ.2524 จากการริเริ่มของผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพ สุจินดา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ในขณะนั้น ต่อมาโครงการดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยพิพิธภัณฑ์และศิลปล้านนา″ และ “หน่วยเอกสารล้านนา″ ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2534 อาจารย์ ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดได้มีนโยบายในการพัฒนาหน่วยเอกสารล้านนาให้มีขอบเขตภาระงานที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือนอกจากมีการขยายกรอบของการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับล้านนาให้กว้างขวางออกไปถึงภูมิภาคภาคเหนือแล้วยังขยายต่อไปถึง “ไทศึกษา″ เป็นประการสำคัญอีกด้วย โดยสำนักหอสมุดได้ปรับเปลี่ยนหน่วยเอกสารล้านนามาเป็น “ศูนย์สนเทศภาคเหนือ” มีฐานะเป็นงานหนึ่งของฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 วัตถุประสงค์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งศูนย์สนเทศภาคเหนือภายใต้วัตถุประสงค์ดังนี้

เพื่อแสวงหา รวบรวม และให้บริการทรัพยากรสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือ

เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับภาคเหนือ

เพื่อเผยแพร่ข้อมูลภาคเหนือในรูปแบบต่างๆ แก่ชุมชน มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้รับบริการในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมภายใต้ขอบเขตและพันธกิจของสำนักหอสมุด

เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือ โดยรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือในด้านข้อมูล

ขอบเขตของข้อมูลภาคเหนือ

ข้อมูลภาคเหนือ หมายถึงข้อมูลที่อยู่ในขอบเขตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือในทุกๆ ด้าน ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา การศึกษา การท่องเที่ยว สภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจท้องถิ่น สังคม การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ฯลฯ เป็นข้อมูลในเขตพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ และอุทัยธานี โดยเน้นหนักในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงดินแดนที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน โดยเน้นภาคเหนือตอนบน ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น รัฐฉานในประเทศพม่า แคว้นยูนนานในประเทศจีน และทางตอนเหนือ ของประเทศลาว เป็นต้น

 สารนิเทศที่ให้บริการ

ศูนย์สนเทศภาคเหนือมีทรัพยากรสารนิเทศสำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ ดังนี้

เอกสารข้อมูลภาคเหนือ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

เอกสารตัวพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ ตำรา รายงานการประชุมสัมมนา และหนังสืออ้างอิง ซึ่งจัดเก็บตามระบบการจัดหมู่แบบทศนิยมของดิวอี้ โดยเรียงไว้ตามลำดับของเลขเรียกหนังสือ ตั้งแต่หมวด 000-900 ส่วนกฤตภาคและแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง จัดเก็บโดยการเรียงลำดับตามหมายเลขของเอกสาร รวมทั้งจุลสารซึ่งจัดเก็บตามลำดับอักษรของหัวเรื่อง

เอกสารตัวเขียน หรือ เอกสารโบราณ ได้แก่ คัมภีร์ใบลาน พับสา สมุดข่อย และเอกสารต้นฉบับ ซึ่งเอกสารตัวเขียนเหล่านี้จัดเก็บตามระบบการจัดหมวดหมู่เอกสารโบราณ รวมทั้งสิ้น 23 หมวด คือ หมวดพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม คัมภีร์บาลี บทสวดมนต์ อานิสงส์ ชาดก โอวาทคำสอน ประเพณี/พิธีกรรม/พระราชพิธี ธรรมทั่วไป นิยายธรรม นิยายพื้นบ้าน ตำนานพระพุทธศาสนา ตำนานเมือง/ราชวงศ์ กฎหมาย/กฏข้อบังคับต่างๆ ตำราอักษรศาสตร์ กวีนิพนธ์ร้อยกรอง/วรรณคดี ตำราโหราศาสตร์ ตำรายา ตำราต่างๆ จดหมายเหตุราชการ/บุคคล รวมหลายหมวด และเบ็ดเตล็ด

เอกสารหายาก เป็นเอกสารเพื่อการค้นคว้าวิจัยชั้นสูงที่มีคุณค่าและหาได้ยากในห้องสมุดต่างๆ ส่วนใหญ่ไม่สามารถหาซื้อได้จากสำนักพิมพ์หรือร้ายขายหนังสือทั่วไป อาทิ หนังสืออนุสรณ์งานศพ และหนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษต่างๆ เป็นต้น

เอกสารจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วยหนังสือราชการ รายงานการประชุม ผลงานทางวิชาการของอาจารย์และข้าราชการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และเอกสารอื่นๆ อาทิ โปสเตอร์ และแบบแปลนอาคารของหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของศูนย์สนเทศภาคเหนือ

239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทร.0-5394-4514, 0-5394-4517

การเดินทางมา ศูนย์สนเทศภาคเหนือ

 

สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

eng-fact-120613225301

 

ตามที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551 นั้น นับเป็นโอกาสในการรวมหน่วยงานเดิมสององค์กร คือ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ที่ได้ดำเนินการมากว่า 25 ปี และสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2545 มารวมเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ” ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา

วิดิโอแนะนำ  สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

โทรศัพท์ 0-5394-3811

การเดินทางมา สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ

book6

ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือสำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยพายัพ  จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่นภาคเหนือ  โดยเน้นภาคเหนือตอนบนและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า การวิจัย และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือ  ได้รวบรวม  องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม  สังคม  ประเพณี  เศรษฐกิจ  การลงทุน  การเมือง การปกครอง    สภาพสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีต  นอกจากนี้มีภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงค์ในการเสด็จล้านนาครั้งแรก เหมาะแก่การนำไปใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาเป็นอย่างยิ่ง  สารสนเทศประกอบด้วยหนังสือ  วารสาร  สื่อดิจิทัล สื่อมัลติมีเดีย ได้มีการเผยแพร่บน

ฐานข้อมูลหนังสือ : รวบรวมรายการหนังสือที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือ โดยในส่วนของ ฐานข้อมูลหนังสือ  ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูหน้าสารบัญหนังสือได้ทันที

ฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร  อาทิ เชียงใหม่ปริทัศน์ พลเมืองเหนือ วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง เป็นต้น

กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือ : ข้อมูลที่นำเสนอความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคเหนือทั้งกลุ่มชนบนพื้นที่สูงและพื้นราบ  ซึ่งมีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้าทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

มัลติมีเดีย: รวบรวมและจัดเก็บเพลงพื้นบ้านล้านนา เช่น ซอ  เพลงพื้นเมือง  ภูมิปัญญาของล้านนา เช่น พิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ  การทำตุง-โคม  เครื่องจักสาน กระดาษสา  เครื่องเงิน  เครื่องปั้นดินเผา  ารแกะสลักไม้และเครื่องเงิน  เป็นต้น มีให้บริการทั้งในรูปแบบของ VDO on Demand , CD-ROM  เทปคาสเซ็ทและแผ่นเสียงโบราณที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง

 

ผักพื้นบ้านภาคเหนือ : รวบรวมข้อมูลผักพื้นบ้านท้องถิ่นภาคเหนือซึ่งบางชนิดหาได้ยากในปัจจุบันพร้อมให้รายละเอียดของพืชผักแต่ละชนิดด้วย

 

หนังสือหายาก : จัดเก็บหนังสือหายากและเอกสารโบราณที่มีคุณค่านำเสนอบรรณนิทัศน์และ จัดให้บริการตัวเล่มเฉพาะในศูนย์ข้อมูลภาคเหนือเท่านั้น

 

สารสนเทศท้องถิ่นรอบแม่น้ำคาว ข้อมูลในด้าน ธุรกิจ,โรงเรียน,วัด,คริสตจักรและข้อมูลทั่วไปที่อยู่บริเวณโดยรอบแม่น้ำคาว

 

กฤตภาคออนไลน์ : รวบรวมบทความ ข่าวที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศภาคเหนือในรูปแบบดิจิทัล  สามารถอ่านเอกสารฉบับเต็มได้ทันที

บทความ  : รวบรวมรายการบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภาคเหนือ

 

เพลงพื้นบ้านล้านนา : รวบรวมเพลงพื้นบ้านล้านนาหลากหลายประเภทให้ผู้ใช้บริการเลือกฟังได้ทันทีผ่านระบบ Video on Demand

อาหารล้านนา นำเสนอภาพอาหารไทยท้องถิ่นภาคเหนือ พร้อมทั้งวิธีทำอย่างละเอียด

แผนที่ : รวบรวมแผนที่ภาคเหนือทั้งแผนที่ทางภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์  แผนที่โบราณและแผนที่ท่องเที่ยว

บุคคลสำคัญ : รวบรวมภาพบุคคลสำคัญในภาคเหนือแยกเป็นหมวดหมู่ ได้แก่ กษัตริย์ผู้ปกครองนครในล้านนาและศิลปินพื้นบ้าน  ฯลฯ

ฐานข้อมูลคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ในล้านนา รวบรวมข้อมูลประวัติคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์เขตภาคเหนือ  มิชชันนารีของคริสต์ศาสนานิกายโปเตสแตนท์ เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนายังประเทศสยามครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 3            แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเริ่มจากศาสนาจารย์จาคอบ ทอมลิน และนายแพทย์คาร์ล กุตสลาฟ สังกัดคณะสมาคมมิชชันนารีแห่งลอนดอน (London Missionary Society) เดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาที่กรุงเทพฯ ในปี ค.ศ.1828  นอกจากนี้ยังมีข้อมูลคริสตจักรนิกายโปรเตสแตนท์ และให้บริการในส่วนนิทรรศการออนไลน์อีกด้วย

วัดในเชียงใหม่ : ข้อมูลต่าง ๆของวัดในเชียงใหม่ เช่น ประวัติ ภาพประกอบ ปีที่สร้างพร้อมทั้งรายละเอียดอื่นฯ

ที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของ ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ

สถานที่ : ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแม่คาว
ถนนซูเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 0-5324-1255, 0-5385-1478

การเดินทางมา ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

Chiang_mai-tribal_museum_CM

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา ตั้งอยู่ในบริเวณสวนล้านนา ร.9ถนนโชตนา อยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางด้านชาติพันธุ์วิทยา จัดเก็บรวบรวมวัตถุพยานหลักฐานวัฒนธรรมของชนเผ่าบนที่สูง หรือ ชาวเขา ประกอบด้วยกลุ่มชนจำนวน 9 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ มูเซอ ลัวะ ถิ่น ขมุ และกลุ่มชนเล็กที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งคือ มลาบรี หรือผีตองเหลือง มีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป พิพิธภัณฑ์ชาวเขาได้จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวเขา ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ จัดเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวเขาที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิภาพสังคมแห่งประเทศไทย และได้ย้ายมาตั้ง ณ จุดที่ตั้งปัจจุบันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2540 ชั้นล่างเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุดสำหรับผู้ที่มาเที่ยวชม
ชาวเขาซึ่งมีจำนวนประมาณ 970,000 คนกระจายตัวอาศัยอยู่ตามโซนต่างๆ โดยชาวม้งชอบอาศัยอยู่ในที่สูงๆ ส่วนชาวอาข่า ลีซอ และมูเซอจะอาศัยอยู่ที่ต่ำลงมา ส่วนชาวกะเหรี่ยงและชาวเหย้าชอบอาศัยอยู่ตามหุบเขา ทุกเผ่าล้วนแต่มีศาสนา (โดยมีพื้นฐานมาจากลัทธินับถือผี) พิธีกรรม ภาษา และขนบธรรมเนียมตามแบบฉบับของตนเอง อย่างไรก็ดี เนื่องจากว่าในภูมิภาคนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ และชาวเผ่าเหล่านี้ก็ค่อยๆ ผสมผสานกลมกลืนเข้ากับสังคมใหญ่มากขึ้น ดังนั้น ขนบธรรมเนียนประเพณีของชาวเผ่านเหล่านี้จึงเสี่ยงที่จะค่อยๆ ถูกกลืนจนสูญหายไปในที่สุด พิพิธภัณฑ์แห่งนี้พยายามแสดงและรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจนชนกลุ่มใหญ่เหล่านี้ไว้ โดยถ่ายทอดบรรยากาศชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ให้ได้สัมผัสผ่านทางงานฝีมือที่ชาวเขาเป็นผู้ทำขึ้น ตลอดจนมีภาพถ่ายและมีคำอธิบายที่ชัดเจนพร้อมทั้งมีเสียงเพลงพื้นบ้านและเสียงสวดมนต์ของชาวเขาเปิดคลอไปด้วย วัตถุที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ที่พักอาศัย การจับปลา การเกษตร ความเชื่อทางศาสนา และเครื่องดนตรี โดยมีข้าวของจัดแสดงหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นตะกร้า ข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม กลอง เครื่องมือทางการเกษตร อุปกรณ์ล่าสัตว์ อาวุธ เครื่องประดับเงินอันอ่อนช้อย และเครื่องแต่งกายสีสันฉูดฉาด
เนื่องจากว่าชาวเขามีความชำนาญในด้านงานศิลปะและงานฝีมือเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงมีงานฝีมือของชาวเขาจัดแสดงไว้ให้ชมมากมาย โดยมีหุ่นจำลองขนาดเท่าคนจริง พร้อมทั้งมีคำอธิบายซึ่งผ่านการค้นคว้าข้อมูลมาเป็นอย่างดีประกอบด้วย รูปแบบการแต่งกายและเครื่องประดับเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้แบ่งแยกชาวเขาเผ่าต่างๆ และใช้แบ่งแยกสถานะทางสังคมในแต่ละชนเผ่าด้วย ผู้หญิงชาวม้งมีความชำนาญในงานเย็บปักถักร้อย โดยมักจะใช้ลวดลายทรงเลขาคณิตในลายผ้าและมักจะสวมใส่เครื่องเงินประกอบด้วย มีหุ่นจำลองคู่หนึ่งแต่งกายในชุดประจำเผ่าของชาวม้งดูโดดเด่น ชาวเย้าก็มีชื่อเสียงในเรื่องความละเอียดอ่อนของงานเย็บปักถักร้อยเช่นกัน โดยทั้งชุดจะมีลวดลายปักประดับตกแต่งทั้งหมด ส่วนกะเหรี่ยงขึ้นชื่อในเรื่องของการทอผ้า ส่วนเครื่องแต่งกายของชาวมูเซอและชาวลีซอจะมีเอกลักษณ์ที่แถบผ้าสีสันฉูดฉาด เครื่องประดับศีรษะตามแบบโบราณของชาวอาข่านับว่าเป็นเครื่องประดับที่อลังการและสวยงามมากที่สุด โดยนำเครื่องเงิน ลูกปัด และเหรียญต่างๆ มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ชาวเขาส่วนหนึ่งทำงานศิลปะและงานฝีมือพื้นบ้านเหล่านี้ขึ้นเพื่อนำมาขายในตลาดให้แก่นักท่องเที่ยว

เวลาทำการของ พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

ทุกวัน เวลา 9.00-16.00 น.

การเดินทางมา พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

1278387738_1(1)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑสถานระดับภาค อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา และศูนย์กลางการศึกษา การอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และของภาคเหนือตอนบน หรือที่เรียกมาแต่โบราณว่า ล้านนา มีรูปทรงเป็นอาคารจัตุรมุขทรงไทยประยุกต์ สองชั้น ตรงยอดจั่วประดับด้วยกาแลซึ่งเป็นแบบศิลปะตกแต่งพื้นเมืองล้านนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการถาวรภายในอาคารเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2516  ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ได้รับการปรับปรุงทั้งเนื้อหาการจัดแสดง อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ ให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ และเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติประจำภาคอย่างแท้จริง
ส่วนจัดแสดงแบ่งเป็น2ชั้น ชั้นละ3ส่วน โดยรวบรวมสิ่งของที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือไว้ เช่น พระพุทธรูปสกุลช่างสมัยล้านนาต่างๆ และพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน เครื่องไม้แกะสลัก เครื่องถ้วยภาคเหนือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาและชาวเขาเผ่าต่างๆ ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ยังจะได้ศึกษาจากเนื้อหานิทรรศการที่นำเสนอเรื่องราวและหลักฐานภูมิเดิมก่อนมาเป็นแผ่นดินล้านนา การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่น่าสนใจของเผ่าลัวะ และหริภุญไชยรัฐแรกของภาคเหนือ ต่อเนื่องมาจนถึงการสถาปนานครเชียงใหม่ เรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและความเสื่อมของราชอาณาจักรล้านนา จากนั้นเข้าสู่ยุคของนครเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสยาม การค้า และเศรษฐกิจ การดำรงชีวิตและพัฒนาการทางสังคม ตลอดจนแสดงถึงวิวัฒนาการของศิลปกรรมล้านนาและศิลปะในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการหมุนเวียนในชั้นล่างอีกด้วย

ที่ตั้งเวลาทำการและเบอร์โทรศัพท์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลำปาง)

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. หยุดวันจันทร์และวันอังคาร ช่วงวันสงกรานต์ และวันปีใหม่ ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท นักเรียน นักศึกษาฟรี

 โทร. 0 5322 1308

การเดินทางมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

96271

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุได้ที่ ให้บริการหนังสือประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสารคดีและเอกสารจดหมายเหตุ

ที่ตั้งเวลาเปิดทำการและเบอร์โทรศัพท์ ของ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ 

ตั้งอยู่ที่ ถนนสุเทพ (แยกประตูสวนดอก) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เปิดให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
โทร. 0 5328 1424 โทรสาร 0 5328 1425

การเดินทางมา หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ 

 

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 1269410908

                       ในระยะเริ่มแรกห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ชั้น 1 อาคารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ (อาคารเดิม) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นห้องอ่านหนังสือของสถาบันที่มีการให้บริการวารสารทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักวิจัย ข้าราชการ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และบุคคลภายนอกทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ.2549 ได้ย้ายมาอยู่ชั้น 4 และได้พัฒนาการให้บริการในลักษณะห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  โดยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนินการ

วิสัยทัศ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ  มีความประสงค์ที่จะพัฒนาให้ห้องสมุด ให้อยู่ในรูปแบบของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนินการ ทั้งในส่วนของการบริหารการจัดการ งานเทคนิค และงานบริการ มีการติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักวิจัยของสถาบันสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถสืบค้นข้อมูลจากสิ่งพิมพ์ออนไลน์ได้ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e – Journal) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e – Books) และฐานข้อมูลประเภทสื่อมัลติมีเดียจากแหล่งข้อมูลออนไลน์

จุดประสงค์

เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ และสืบค้นงานวิจัย ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลงานวิจัยของสถาบัน และจัดให้บริการแก่ผู้ใช้แบบ one stop service

Address

ที่ตั้งของห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ชั้น 4 อาคารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ (อาคารเดิม) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ

อำเภอ เมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

โทรศัพท์ 0-5394-6148 ext 444

แฟกส์ 0-5322-1849

เวลาเปิดทำการ

เปิดบริการ : จันทร์-ศุกร์

เวลา 8.30-16.30 น.

วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการปิดบริการ

การเดินทางมาห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

TCDC เชียงใหม่

8

 

TCDC เชียงใหม่ ศูนย์กลางความรู้ด้านการออกแบบและบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ครบวงจรแห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

TCDC เชียงใหม่ คือโครงการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เต็มรูปแบบแห่งแรกของ TCDC เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

 รูปแบบการให้บริการ

ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ในบรรยากาศที่กระตุ้นความคิด ด้วยหนังสือกว่า 6,000 เล่ม นิตยสารกว่า 70 ชื่อเรื่อง และสื่อมัลติมีเดียกว่า 500 รายการ พร้อมฐานข้อมูลด้านการออกแบบ WGSN และฐานข้อมูลด้านการตลาด GMID เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 7,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 250 ชนิด และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัสดุล้ำยุค เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสกับวัสดุที่นักออกแบบระดับโลกใช้ในการสร้าง สรรค์ผลงาน และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของวัสดุเพื่อการออกแบบ

กิจกรรมสัมมนาและฝึกอบรมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยความหลากหลายของกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์

การจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้ ทั้งจากในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ จินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าชม พร้อมทั้งการจัดการประกวด การแข่งขัน ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอย่างต่อเนื่อง

พื้นที่จัดแสดงผลงาน สำหรับผลงานของนักออกแบบรุ่นใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการทดลองตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย

การให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ให้กับผู้ประกอบการและนักออกแบบในพื้นที่

วิดิโอแนะนำ TCDC เชียงใหม่

ที่ตั้ง เบอร์โทรศัพท์ และเวลาทำการของ TCDC เชียงใหม่  

ตั้งอยู่หลังกาดเมืองใหม่ เลขที่ 1/1 ถนนเมืองสมุทร ตำบลช้างม่อย

อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

เปิดให้บริการแล้ววันนี้!

เวลา 10.30 – 18.00 น. (ปิดวันจันทร์)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ TCDC โทร. 052 080 500 ต่อ 1

การเดินทางมาTCDC เชียงใหม่  

ห้องสมุดกองบิน 41 จ.เชียงใหม่

1188308851

ห้องสมุดกองบิน 41จังหวัดเชียงใหม่ ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ข้าราชการลูกจ้าง และครอบครัว ของกองบิน 41
ในอดีตห้องสมุดของเราอยู่ที่อาคารสวัสดิการซึ่งไม่สะดวกในการให้บริการได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากอยู่ห่างไกล จึงย้ายมาตั้งที่อาคารแฟลตรับรอง 4 ชั้น โดยมีห้องสมุดและห้อง Internet Adslให้บริการที่ชั้น 1 และให้บริการจนถึงปัจจุบัน

1188308923 1188309324 1188309366 1188309468

การเดินทางมา ห้องสมุดกองบิน 41 จ.เชียงใหม่