Tag-Archive for » แหล่งความรู้ «

หอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย

ประวัติหอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย

 

                หอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย แหล่งเรียนรู้ที่ริเริ่มขึ้นในปีการศึกษา 2552 โดยย้าย
ห้องสมุด 2 แห่งในโรงเรียน คือ ห้องสมุดมัธยมศึกษาตอนต้น และห้องสมุดมัธยมศึกษา
ตอนปลาย (ห้องสมุด 3 และห้องสมุด 4) มาไว้รวมกันที่ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน
ดาราวิทยาลัย

                 ที่ตั้งของหอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย คือ อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน
สร้างขึ้นโดยมิสซิสจูเลีย ( แฮทช์ ) เทเลอร์ ( Mrs. Julia ( Hetch ) Taylor ) เมื่อปี พ.ศ.
2464 ( คศ.1921 ) อาคารหลังนี้จึงมีอายุ 88 ปี ในปี พ.ศ. 2552  ตั้งแต่เริ่มสร้างจนปัจจุบัน
อาคารเรียนหลังแรกนี้ได้ปรับเปลี่ยนให้บริการทางการศึกษามาหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ใช้เป็นหอพักของนักเรียนหญิง และครูหอพักมาอย่างต่อเนื่อง บางห้องภายในอาคารเคย
ดัดแปลงเป็นห้องสมุดครู ห้องวิจัย ห้อง Self Study ห้องพยาบาล ห้องฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
และเป็นพิพิธภัณฑ์โรงเรียน 

      

   ในปี พ.ศ. 2550อาคารแห่งนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาของ
สถาปนิกล้านนา ต้นกล้าสถาปัตยกรรม 50 จากข้อมูลดังกล่าวอาคารหอสมุดโรงเรียนจึงเป็น
อาคารที่เก่าแก่ทรงคุณค่าด้านสถาปัตยกรรม แหล่งสะสมประวัติศาสตร์เป็นที่เล่าขานตำนาน
ความผูกพันระหว่าง นักเรียน ครู บุคลากรโรงเรียนดาราวิทยาลัย  ที่สำคัญยิ่ง คือ อาคารแห่งนี้
เมื่อครั้งที่องค์ประมุขพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินี เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2469 มิสซิสจูเลีย (แฮทช์)
เทเลอร์ ผู้จัดการโรงเรียนขณะนั้นได้นำเสด็จเยี่ยมชมอาคารหอสมุดโรงเรียน ซึ่งขณะนั้นใช้
เป็นหอพักของโรงเรียน

                         

                 หอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัยในปีการศึกษา 2552

                 หอสมุดเริ่มเปิดให้บริการบางส่วนในเดือนมิถุนายน 2552 หลังจากการคัดกรอง
หนังสือจำนวนหนึ่งเพื่อให้บริการในหอสมุด บางส่วนมอบให้กลุ่มสาระการเรียนรู้นำไปใช้
ประกอบการสอน หนังสือบางส่วนที่มีสภาพการใช้งานมานานจัดจำหน่ายในราคาประหยัด

               ในระยะแรกเปิดให้บริการเฉพาะการอ่านวารสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ บริการยืม–คืน
หนังสืออ่านประกอบการเรียน หนังสือเรื่องสั้นเยาวชน จากนั้นเมื่อจัดหนังสือครบทุก
หมวดหมู่แล้ว จึงเปิดให้บริการยืม-คืนทุกหมวดหมู่

                  ขณะนี้หอสมุดเปิดให้บริการอ่าน ยืม – คืน  และเป็นห้องเรียนเพื่อการค้นคว้า
ห้องเรียนเพื่อการสอนโดยสื่อมัลติมีเดีย โดยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.30 น.
ทุกวันเปิดเรียน ให้บริการทั้งนักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปกครอง ดังนี้

                   - บริเวณโถงชั้นล่าง   เป็นส่วนห้องอ่าน   ส่วนบริการอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
ให้บริการวารสาร   จุลสาร   หนังสือพิมพ์   จัดบอร์ดนิทรรศการแนะนำหนังสือและบริการ
ยืม-คืน
-  บริเวณชั้นบน   ประกอบด้วย  ห้องสื่อมัลติมีเดีย   ห้องวารสารล่วงเวลา
ห้องบริการหนังสือตามหมวดหมู่  และห้องหนังสืออ้างอิง

                   งานและกิจกรรมที่ห้องสมุดดำเนินการไปแล้วมีดังนี้

1. จัดตกแต่งบรรยากาศภายในห้องสมุดให้สะอาดสวยงาม   มีแสงสว่างเพียงพอและปรับตกแต่งองค์ประกอบให้สอดคล้องตามเทศกาล
2. จัดบอร์ด   จัดมุมแนะนำหนังสือ เช่นหนังสือทรงแนะนำให้เยาวชนอ่าน
พระราชดำริในสมเด็จพระพี่นางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ  แนะนำสาระเนื้อหา  วารสาร
เด่นประจำสัปดาห์
3. กิจกรรมวันเยาวชนในเดือนกันยายน  2552   จัดกิจกรรมพบพี่นักอ่าน
กิจกรรมเล่านิทาน  นิทรรศการสุดยอดทูตส่งเสริมการอ่าน  ซึ่งประกอบด้วย  แฟนพันธุ์แท้
หนอนหนังสือน้อย ประกวดเต้น Cover dance  คำคมบ่มชีวิต  ชมภาพยนตร์ยอดนิยม
4. งานสัปดาห์วิชาการ  และงานประจำปี  ระหว่างวันที่ 4-7  พฤศจิกายน
2552
4.1  จัดนิทรรศการ  แนะนำการจัดโต๊ะ-ตู้หนังสือ  สำหรับการอ่าน  แนะนำ
หนังสือที่เด็กและเยาวชนควรอ่านพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
ทั้ง 6 เรื่อง การรักษาและการซ่อมแซมหนังสือ มุมจุลสาร แผ่นพับเล่มเล็กสอนการทำอาหาร
ของว่าง ของที่ระลึกสำหรับงานปาร์ตี้ในงานเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
4.2 ห้องมัลติมีเดีย จัดฉายภาพยนตร์ดี-เด่น
4.3 จัดเกมส์ สนุกและดี มีรางวัลจากหนังสือเกมส์นานาชนิด
4.4 จำหน่ายหนังสือที่มีสภาพใช้งานนานในราคาถูก
5. คัดสรรวารสารเพื่อมอบให้ห้องสมุดโรงเรียนเคนเน็ตแมคเคนซี
จังหวัดลำปาง และบริจาคตามการร้องขอจากหน่วยงานต่างๆ
6. จัดตั้งชมรมคนรักหนังสือ โดยคณะกรรมการบรรณารักษ์อาสา เพื่อ
การส่งเสริมการอ่าน และช่วยดูแลให้บริการร่วมกับบรรณารักษ์ในหอสมุดโรงเรียน

               ในภาคเรียนที่ 2 หอสมุดจะจัดสัปดาห์ส่งเสริมการอ่าน ( สัปดาห์ห้องสมุดเดิม)
โดยเน้นกิจกรรม การจำหน่ายหนังสือจากสำนักพิมพ์ในเดือนมกราคม 2553

               โรงเรียนดาราวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของการอ่าน  ต้องการปลูกฝังและ
เสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน จึงพยายามที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องสมุดให้กระจายการ
ให้บริการแก่นักเรียน ครู บุคลากรมาโดยตลอด ในโอกาสที่รัฐบาลมีมติเมื่อวันที่  5
สิงหาคม 2552 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการอ่าน โดยกำหนดให้การอ่านเป็น
วาระแห่งชาติ ให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็นวันรักการอ่าน ให้ปี พ.ศ. 2552 – 2561
เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่ง
การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม

                หอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2552 จึงถือเป็นวาระที่
สอดคล้องกับความประสงค์สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และวาระแห่งชาติ
ทศวรรษแห่งการอ่าน ขอเชิญชวนผู้ปกครอง ครู บุคลากร และนักเรียน ร่วมกันสร้าง
นิสัยรักการอ่านดังพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในการเสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 37 และงาน
สัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 7 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ใจความตอนหนึ่งว่า

                  “หนังสือเป็นบ่อเกิดของวิชาความรู้ต่างๆ การอ่านหนังสือที่ดีมีประโยชน์ จะช่วย
พัฒนาทางด้านการผลิตหนังสือเจริญทันสมัย ทำให้เราอ่านหนังสือได้ง่ายและมากมาย
ผิดกับสมัยก่อนที่ตำรับตำราทำได้ด้วยการคัดลอกด้วยลายมือเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถที่
จะผลิตออกเผยแพร่เป็นจำนวนมากได้ การศึกษาแต่ก่อนจึงเป็นไปด้วยความลำบาก
คนในยุคปัจจุบันจึงนับว่าเป็นโชคดีกว่าคนในยุคก่อนมาก และหนังสือดีนอกจากจะเพิ่มพูน
สติปัญญาแล้ว การอ่านหนังสือที่มีสำนวนภาษาสละสลวยยังช่วยเสริมสร้างความสามารถ
ทางด้านการเขียนอีกด้วย” นอกจากนี้พระองค์ได้พระราชทานบทร้อยกรองให้กับสมาคม
ห้องสมุดแห่งประเทศไทย โดยทรงย้ำถึงคุณค่าของหนังสือดุจกุญแจไขสู่ความ

 ประวัติห้องสมุดประถม

 

                                              

          ปี พ.ศ. 2524 เปิดห้องอ่านสำหรับนักเรียนประถมขนาด 1 ห้องเรียนที่อาคารประถม
คือ อาคารอนุสรณ์ 100 ปี
ปี พ.ศ. 2540-2541 ได้ปรับปรุงห้องสมุดระดับประถมให้ได้มาตรฐาน และน่าใช้
มากขึ้น ห้องสมุดเป็นห้องปรับอากาศขนาด 4 ห้องเรียน มีระบบสืบค้นรายการหนังสือจาก
คอมพิวเตอร์ที่นักเรียนสามารถใช้ได้เอง  ระบบยืม-คืนเป็นแบบบาร์โค้ด มีการจัดหาระบบ
โฮมวีดีโอ และทำห้องสมุดสวนให้นักเรียนได้พักผ่อนในการอ่านหนังสือท่ามกลาง
พืชพรรณไม้
ปี พ.ศ. 2542 ทางโรงเรียนได้พัฒนางานด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาด้าน
การค้นคว้าวิชาการเพิ่มเติมจากงานห้องสมุด จัดสร้างศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตที่อาคาร
อำนวยการ ให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 30 เครื่อง ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา
ถึงมัธยมศึกษา

          โรงเรียนตั้งงบประมาณห้องสมุดเป็นอันดับต้นๆ  เนื่องจากเล็งเห็นว่าการอ่าน คือ
หนทางแห่งการพัฒนาความรู้ ความสามารถของนักเรียน นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน

          ห้องสมุดมีบริการยืมหนังสือ มีทั้งด้านวิชาการและบันเทิง เพื่อให้นักเรียนได้รู้จัก
การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้บริการแก่นักเรียนได้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิด
ประโยชน์ เพื่อให้บริการแก่นักเรียนที่สนใจในบทความต่างๆ และเพื่อนำไปประกอบ
การค้นคว้ารายงานวิชาต่างๆ

          ห้องสมุดประถม โรงเรียนดาราวิทยาลัย เชียงใหม่ มีการดำเนินงานขึ้นตรงกับ
ฝ่ายวิชาการของโรงเรียน เปิดให้บริการแก่นักเรียน ครู นักการภารโรง และผู้ปกครอง
นักเรียน จัดการบริการ และกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การศึกษา และค้นคว้าความรู้ทั่วไป
มีมุมหนังสือวิชาการ มุมหนังสืออ้างอิง มุมภาษาอังกฤษ มุมวารสาร และหนังสือพิมพ์

การเดินทางไป หอสมุดโรงเรียนดาราวิทยาลัย

 

 

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

head

 

ประวัติห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

่ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น หน่วยงานหนึ่งในฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ เป็นห้องสมุดของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็น ศูนย์รวมวิทยาการความรู้ทุกสาขาวิชาในรูปแบบของเอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และโสตทัศนวัสดุ สำหรับนักเรียน อาจารย์นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ประกอบการเรียนการสอน และเพื่อเป็นแหล่งหาความรู้ตามความสนใจนอกจากนี้ห้องสมุด ศูนย์วิชาการฯ ยังเป็นศูนย์รวม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การสอนของห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ และสายวิชาต่างๆของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อปี พ . ศ . 2512 โดยมีลักษณะเป็นมุมหนังสือ ต่อมาในปี พ . ศ . 2513 ได้จัดให้ เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ ตั้งอยู่บน ชั้น 3 อาคารคณะศึกษาศาสตร์ ในปี พ. ศ. 2516 ได้ย้ายที่ทำการ และเป็นห้องสมุดสมบูรณ์แบบ ขนาด2 ห้องเรียน ตั้งอยู่บนสำนัก งานธุรการโรงเรียน และในปี พ . ศ . 2522 ได้ย้ายมาอยู่ ชั้น 2 อาคารสาธิต 1 ของโรงเรียนสาธิตฯ และเปลี่ยนชื่อเป็น“ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ” จนถึงปัจจุบัน

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาดำเนิน การงานห้องสมุดเพื่อพัฒนาการให้บริการ และระบบการทำงานของบุคลากรให้ เป็นไปในระบบเดียวกันและห้องสมุดศูนย์วิชาการฯซึ่งเป็นห้องสมุดหนึ่งของ สำนักหอสมุดได้รับความช่วยเหลือจากสำนักหอสมุดโดยอนุญาตให้นำระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ มาดำเนินงานห้องสมุด และให้บริการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538ผ่านระบบเครือข่ายห้องสมุด (LibNet) โดยใช้โมเดมสามารถสิบค้นข้อมูลจากฐานของมูลหนังสือ วารสาร และ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนฐานข้อมูลเฉพาะของสำนักหอสมุด (CMUL OPAC และ ISIS OPAC) และในปี พ . ศ . 2544 ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ได้ให้บริการการยืม – คืนทรัพยากรสารนิเทศด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น
ใน ปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้อนุมัติิงบประมาณให้ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ิเครือข่ายสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (LibNet) ผ่านระบบเครือข่ายหลักของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Backbone) และจัดหา คอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ชุดสำหรับให้บริการสืบค้นข้อมูล และพัฒนาระบบการทำงานทั้งจากสำนักหอสมุดและข้อมูลออนไลน์ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ไม่จำกัดเวลา และสถานที่

ปัจจุบันห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ มีพื้นที่ให้บริการ ประมาณ 108 ตารางเมตร มีที่นั่งอ่าน 200 ที่นั่ง ซึ่งแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ดังนี้

1. ห้องหนังสือทั่วไป
2. ห้องหนังสือแบบเรียน
3. ห้องหนังสืออ้างอิง สิ่งพิมพ์ภาคเหนือ และสิ่งพิมพ์รัฐบาล
4. ห้องวารสารและสารสนเทศ และห้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
5. ห้องโถงด้านนอก

ห้องสมุดศูนย์วิชาการ
โรงเรียนสาธิต มช.ชั้น 2 อาคารสาธิต 1
โรงเรียนสาธิต มช.

โทรศัพท์ 0-5394-4250
โทรสาร 0-5322-1285

เวลาเปิด – ปิดบริการ วัน เวลา เปิดภาคเรียน

ุจันทร์ – ศุกร์
08.30 – 17.00 น.

เปิดภาคเรียนที่ 1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

จันทร์ – ศุกร์
08.30 – 16.30 น.

ปิดภาคเรียน

จันทร์ – ศุกร์
08.30 – 16.30 น.

หยุดวันเสาร ์วันอาทิตย์ วันนักขัตฤกษ ์และวันหยุดชดเชยตามประกาศของทางราชการ

การเดินทางมา ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

*โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  สถานที่ดังกล่าวอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำให้สะดวกต่อการเดินทางตามแผนที่

ห้องสมุดประชาชน จังหวัดเชียงใหม่

cmlib10

 

 

สถานที่  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง  ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

เบอร์โทรศัพท์  0-5322-1159

ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

ด้านทรัพยากรสารสนเทศ

1.มีการแนะนำทรัพยากรสารสนเทศมาใหม่

2.ทรัพยากรสารสนเทศเน้นเนื้อหาทั่วไป

3.ทรัพยากรที่มีอยู่ในห้องสมุดมีจำนวนน้อย และทันไม่สมัย

ด้านพฤติกรรมผู้ใช้

1.สถิติผู้ใช้งานโดยเฉลี่ยต่อวันจำนวนประมาณ 800 คน

2.ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เข้ามาใช้บริการหนังสือพิมพ์ และวารสารล่วงเวลาจำนวนมาก

3.ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ระดับกลาง มานั่งอ่าน หรือ รอรับลูก

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้ในห้องสมุด คือ ระบบห้องสมุดที่พัฒนาโดย อาจารย์ฐิติ บุญยศ ซึ่งใช้กับห้องสมุดของ กศน. ทุกที่

2.มีบริการคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น

3.มีเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นของตนเอง (http://www.cmlib.org)

ข้อคิดที่ได้จากการมาดูงานครั้งนี้

1.การประชาสัมพันธ์ถือว่ามีความสำคัญระดับหนึ่ง ประชาสัมพันธ์ต้องดี คนจะได้รู้จักห้องสมุดมากๆ

2.ในห้องสมุดไม่ควรมีสำนักงานสำหรับบรรณารักษ์ เนื่องจากจะทำให้บรรณารักษ์ไม่สนใจงานบริการ

3.การเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้ทำได้ยาก ดังนั้นต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปห้องสมุดทุกแห่งควรมีเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อการรายงานกิจกรรมของห้องสมุด

การเดินทางมา  ห้องสมุดประชาชน จังหวัดเชียงใหม่

 

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

IMG_7565

   หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เกิดขึ้นจากดำริของฯพณฯ ท่านพลเอกเปรม
ติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 16  (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ)

ที่ต้องการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติฯ  ประจำภาคเหนือขึ้น  เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมฉลองปีรัชมังคลาภิเษก 2531

             

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคาร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2532 และได้เปิดให้บริการเมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ภารกิจหน้าที่

             หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวม สงวน รักษา จัดระบบและให้บริการมรดกทางสติปัญญา วิทยาการและวัฒนธรรมของชาติที่ปรากฎในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และข่าวสารเรื่องทันสมัยต่างๆ รวมถึงหนังสือตัวเขียน เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย โดยมีภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานดังนี้

 1) บริหารจัดการและดำเนินงานทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นคลังสิ่งพิมพ์ในภูมิภาคโดยการจัดหา

     รวบรวม จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทและทุกสาขาวิชาให้ครบถ้วน สมบูรณ์

 2) ศึกษาค้นคว้าและดำเนินงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตามหลัก

     มาตรฐานสากล  เพื่อการเข้าถึงสารสนเทศได้โดยง่ายและใช้เป็นคู่มือในการให้คำปรึกษา

     แนะนำ  ฝึกอบรมการปฏิบัติงานห้องสมุด  แก่บุคคลและหน่วยงานภายนอก

 3) ให้บริการสารสนเทศและส่งเสริมการอ่าน  การศึกษาค้นคว้า  วิจัย  แก่ประชาชน

     เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย

 4) ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  และดำเนินงานสำรวจ  รวบรวมเอกสารโบราณ

     และหนังสือหายาก  เพื่อการสงวนรักษามรดกทรัพย์สินภูมิปัญญาของภูมิภาค

 5) ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  ในการเผยแพร่และกำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำ

     หนังสือ  (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  และข้อมูลทางบรรณานุกรม

     ของหนังสือ (CIP)

 โครงสร้างการบริหารงาน

                  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  มีโครงสร้างการบริหารงานภายใต้กำกับของ

สำนักศิลปากรที่ ๘  เชียงใหม่  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม  โดยมีหัวหน้าหอสมุดแห่งชาติ

รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  เป็นผู้บริหารหน่วยงานและได้มีการจัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงาน

ภายในหอสมุดแห่งชาติฯ เชียงใหม่ ดังนี้

 1)  กลุ่มงานบริหาร ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการและสารบรรณ การเงิน
และพัสดุ บุคลากร แผนงานและประชาสัมพันธ์ อาคารสถานที่

 2)  กลุ่มงานวิชาการ  ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

      งานวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ  จัดทำดรรชนี, บรรณานุกรม  จัดทำคู่มือ

      ปฏิบัติงานปริวรรต แปล และคัดลอกภาษาโบราณ  ฝึกอบรมงานด้านห้องสมุด  โครงการ/

      กิจกรรม  อนุรักษ์ ซ่อมแซมและเย็บเล่มหนังสือ  งานเทคโนโลยีห้องสมุด  จัดหาอุปกรณ์

      ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์  ดูแลระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์  จัดทำ/พัฒนา/ดูแลเว็บไซต์

      และฐานข้อมูล  จัดทำคู่มือระบบฐานข้อมูล/คู่มือการใช้งาน  ฝึกอบรมงานด้านเทคโนโลยี

 3)  กลุ่มงานบริการ ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการหนังสือทั่วไป

      หนังสืออ้างอิง หนังสือท้องถิ่น หนังสือเยาวชน หนังสือหายาก งานวิจัย วิทยานิพนธ์

      บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ บริการโสตทัศนวัสดุ บริการเอกสารโบราณ บริการราชกิจจานุ

      เบกษา บริการแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง/กฤตภาค/ดรรชนี บริการอินเทอร์เน็ต บริการสืบค้นข้อมูล

      บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ โครงการ/กิจกรรม

      กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน นำชมห้องสมุด

วิดิโอแนะนำ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่

การเดินทางมาหอสมุด  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่