พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

Chiang_mai-tribal_museum_CM

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา ตั้งอยู่ในบริเวณสวนล้านนา ร.9ถนนโชตนา อยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางด้านชาติพันธุ์วิทยา จัดเก็บรวบรวมวัตถุพยานหลักฐานวัฒนธรรมของชนเผ่าบนที่สูง หรือ ชาวเขา ประกอบด้วยกลุ่มชนจำนวน 9 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ มูเซอ ลัวะ ถิ่น ขมุ และกลุ่มชนเล็กที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งคือ มลาบรี หรือผีตองเหลือง มีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป พิพิธภัณฑ์ชาวเขาได้จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวเขา ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ จัดเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวเขาที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิภาพสังคมแห่งประเทศไทย และได้ย้ายมาตั้ง ณ จุดที่ตั้งปัจจุบันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2540 ชั้นล่างเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุดสำหรับผู้ที่มาเที่ยวชม
ชาวเขาซึ่งมีจำนวนประมาณ 970,000 คนกระจายตัวอาศัยอยู่ตามโซนต่างๆ โดยชาวม้งชอบอาศัยอยู่ในที่สูงๆ ส่วนชาวอาข่า ลีซอ และมูเซอจะอาศัยอยู่ที่ต่ำลงมา ส่วนชาวกะเหรี่ยงและชาวเหย้าชอบอาศัยอยู่ตามหุบเขา ทุกเผ่าล้วนแต่มีศาสนา (โดยมีพื้นฐานมาจากลัทธินับถือผี) พิธีกรรม ภาษา และขนบธรรมเนียมตามแบบฉบับของตนเอง อย่างไรก็ดี เนื่องจากว่าในภูมิภาคนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ และชาวเผ่าเหล่านี้ก็ค่อยๆ ผสมผสานกลมกลืนเข้ากับสังคมใหญ่มากขึ้น ดังนั้น ขนบธรรมเนียนประเพณีของชาวเผ่านเหล่านี้จึงเสี่ยงที่จะค่อยๆ ถูกกลืนจนสูญหายไปในที่สุด พิพิธภัณฑ์แห่งนี้พยายามแสดงและรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจนชนกลุ่มใหญ่เหล่านี้ไว้ โดยถ่ายทอดบรรยากาศชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ให้ได้สัมผัสผ่านทางงานฝีมือที่ชาวเขาเป็นผู้ทำขึ้น ตลอดจนมีภาพถ่ายและมีคำอธิบายที่ชัดเจนพร้อมทั้งมีเสียงเพลงพื้นบ้านและเสียงสวดมนต์ของชาวเขาเปิดคลอไปด้วย วัตถุที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ที่พักอาศัย การจับปลา การเกษตร ความเชื่อทางศาสนา และเครื่องดนตรี โดยมีข้าวของจัดแสดงหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นตะกร้า ข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม กลอง เครื่องมือทางการเกษตร อุปกรณ์ล่าสัตว์ อาวุธ เครื่องประดับเงินอันอ่อนช้อย และเครื่องแต่งกายสีสันฉูดฉาด
เนื่องจากว่าชาวเขามีความชำนาญในด้านงานศิลปะและงานฝีมือเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงมีงานฝีมือของชาวเขาจัดแสดงไว้ให้ชมมากมาย โดยมีหุ่นจำลองขนาดเท่าคนจริง พร้อมทั้งมีคำอธิบายซึ่งผ่านการค้นคว้าข้อมูลมาเป็นอย่างดีประกอบด้วย รูปแบบการแต่งกายและเครื่องประดับเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้แบ่งแยกชาวเขาเผ่าต่างๆ และใช้แบ่งแยกสถานะทางสังคมในแต่ละชนเผ่าด้วย ผู้หญิงชาวม้งมีความชำนาญในงานเย็บปักถักร้อย โดยมักจะใช้ลวดลายทรงเลขาคณิตในลายผ้าและมักจะสวมใส่เครื่องเงินประกอบด้วย มีหุ่นจำลองคู่หนึ่งแต่งกายในชุดประจำเผ่าของชาวม้งดูโดดเด่น ชาวเย้าก็มีชื่อเสียงในเรื่องความละเอียดอ่อนของงานเย็บปักถักร้อยเช่นกัน โดยทั้งชุดจะมีลวดลายปักประดับตกแต่งทั้งหมด ส่วนกะเหรี่ยงขึ้นชื่อในเรื่องของการทอผ้า ส่วนเครื่องแต่งกายของชาวมูเซอและชาวลีซอจะมีเอกลักษณ์ที่แถบผ้าสีสันฉูดฉาด เครื่องประดับศีรษะตามแบบโบราณของชาวอาข่านับว่าเป็นเครื่องประดับที่อลังการและสวยงามมากที่สุด โดยนำเครื่องเงิน ลูกปัด และเหรียญต่างๆ มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ชาวเขาส่วนหนึ่งทำงานศิลปะและงานฝีมือพื้นบ้านเหล่านี้ขึ้นเพื่อนำมาขายในตลาดให้แก่นักท่องเที่ยว

เวลาทำการของ พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

ทุกวัน เวลา 9.00-16.00 น.

การเดินทางมา พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

ใส่ความเห็น

อีเมล์ของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>