Archive for » กุมภาพันธ์ 9th, 2015 «

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

head

 

ประวัติห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

่ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น หน่วยงานหนึ่งในฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ เป็นห้องสมุดของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็น ศูนย์รวมวิทยาการความรู้ทุกสาขาวิชาในรูปแบบของเอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และโสตทัศนวัสดุ สำหรับนักเรียน อาจารย์นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ประกอบการเรียนการสอน และเพื่อเป็นแหล่งหาความรู้ตามความสนใจนอกจากนี้ห้องสมุด ศูนย์วิชาการฯ ยังเป็นศูนย์รวม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การสอนของห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ และสายวิชาต่างๆของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อปี พ . ศ . 2512 โดยมีลักษณะเป็นมุมหนังสือ ต่อมาในปี พ . ศ . 2513 ได้จัดให้ เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ ตั้งอยู่บน ชั้น 3 อาคารคณะศึกษาศาสตร์ ในปี พ. ศ. 2516 ได้ย้ายที่ทำการ และเป็นห้องสมุดสมบูรณ์แบบ ขนาด2 ห้องเรียน ตั้งอยู่บนสำนัก งานธุรการโรงเรียน และในปี พ . ศ . 2522 ได้ย้ายมาอยู่ ชั้น 2 อาคารสาธิต 1 ของโรงเรียนสาธิตฯ และเปลี่ยนชื่อเป็น“ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ” จนถึงปัจจุบัน

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาดำเนิน การงานห้องสมุดเพื่อพัฒนาการให้บริการ และระบบการทำงานของบุคลากรให้ เป็นไปในระบบเดียวกันและห้องสมุดศูนย์วิชาการฯซึ่งเป็นห้องสมุดหนึ่งของ สำนักหอสมุดได้รับความช่วยเหลือจากสำนักหอสมุดโดยอนุญาตให้นำระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ มาดำเนินงานห้องสมุด และให้บริการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538ผ่านระบบเครือข่ายห้องสมุด (LibNet) โดยใช้โมเดมสามารถสิบค้นข้อมูลจากฐานของมูลหนังสือ วารสาร และ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนฐานข้อมูลเฉพาะของสำนักหอสมุด (CMUL OPAC และ ISIS OPAC) และในปี พ . ศ . 2544 ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ได้ให้บริการการยืม – คืนทรัพยากรสารนิเทศด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น
ใน ปี พ.ศ. 2550 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้อนุมัติิงบประมาณให้ห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ิเครือข่ายสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (LibNet) ผ่านระบบเครือข่ายหลักของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Backbone) และจัดหา คอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ชุดสำหรับให้บริการสืบค้นข้อมูล และพัฒนาระบบการทำงานทั้งจากสำนักหอสมุดและข้อมูลออนไลน์ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ไม่จำกัดเวลา และสถานที่

ปัจจุบันห้องสมุดศูนย์วิชาการฯ มีพื้นที่ให้บริการ ประมาณ 108 ตารางเมตร มีที่นั่งอ่าน 200 ที่นั่ง ซึ่งแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ดังนี้

1. ห้องหนังสือทั่วไป
2. ห้องหนังสือแบบเรียน
3. ห้องหนังสืออ้างอิง สิ่งพิมพ์ภาคเหนือ และสิ่งพิมพ์รัฐบาล
4. ห้องวารสารและสารสนเทศ และห้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
5. ห้องโถงด้านนอก

ห้องสมุดศูนย์วิชาการ
โรงเรียนสาธิต มช.ชั้น 2 อาคารสาธิต 1
โรงเรียนสาธิต มช.

โทรศัพท์ 0-5394-4250
โทรสาร 0-5322-1285

เวลาเปิด – ปิดบริการ วัน เวลา เปิดภาคเรียน

ุจันทร์ – ศุกร์
08.30 – 17.00 น.

เปิดภาคเรียนที่ 1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

จันทร์ – ศุกร์
08.30 – 16.30 น.

ปิดภาคเรียน

จันทร์ – ศุกร์
08.30 – 16.30 น.

หยุดวันเสาร ์วันอาทิตย์ วันนักขัตฤกษ ์และวันหยุดชดเชยตามประกาศของทางราชการ

การเดินทางมา ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

*โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ห้องสมุดศูนย์วิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  สถานที่ดังกล่าวอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำให้สะดวกต่อการเดินทางตามแผนที่

ห้องสมุดประชาชน จังหวัดเชียงใหม่

cmlib10

 

 

สถานที่  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง  ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

เบอร์โทรศัพท์  0-5322-1159

ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่

ด้านทรัพยากรสารสนเทศ

1.มีการแนะนำทรัพยากรสารสนเทศมาใหม่

2.ทรัพยากรสารสนเทศเน้นเนื้อหาทั่วไป

3.ทรัพยากรที่มีอยู่ในห้องสมุดมีจำนวนน้อย และทันไม่สมัย

ด้านพฤติกรรมผู้ใช้

1.สถิติผู้ใช้งานโดยเฉลี่ยต่อวันจำนวนประมาณ 800 คน

2.ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เข้ามาใช้บริการหนังสือพิมพ์ และวารสารล่วงเวลาจำนวนมาก

3.ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ระดับกลาง มานั่งอ่าน หรือ รอรับลูก

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้ในห้องสมุด คือ ระบบห้องสมุดที่พัฒนาโดย อาจารย์ฐิติ บุญยศ ซึ่งใช้กับห้องสมุดของ กศน. ทุกที่

2.มีบริการคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น

3.มีเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นของตนเอง (http://www.cmlib.org)

ข้อคิดที่ได้จากการมาดูงานครั้งนี้

1.การประชาสัมพันธ์ถือว่ามีความสำคัญระดับหนึ่ง ประชาสัมพันธ์ต้องดี คนจะได้รู้จักห้องสมุดมากๆ

2.ในห้องสมุดไม่ควรมีสำนักงานสำหรับบรรณารักษ์ เนื่องจากจะทำให้บรรณารักษ์ไม่สนใจงานบริการ

3.การเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้ทำได้ยาก ดังนั้นต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปห้องสมุดทุกแห่งควรมีเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อการรายงานกิจกรรมของห้องสมุด

การเดินทางมา  ห้องสมุดประชาชน จังหวัดเชียงใหม่

 

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

IMG_7565

   หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เกิดขึ้นจากดำริของฯพณฯ ท่านพลเอกเปรม
ติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 16  (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ)

ที่ต้องการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติฯ  ประจำภาคเหนือขึ้น  เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมฉลองปีรัชมังคลาภิเษก 2531

             

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคาร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2532 และได้เปิดให้บริการเมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ภารกิจหน้าที่

             หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวม สงวน รักษา จัดระบบและให้บริการมรดกทางสติปัญญา วิทยาการและวัฒนธรรมของชาติที่ปรากฎในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และข่าวสารเรื่องทันสมัยต่างๆ รวมถึงหนังสือตัวเขียน เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย โดยมีภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานดังนี้

 1) บริหารจัดการและดำเนินงานทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นคลังสิ่งพิมพ์ในภูมิภาคโดยการจัดหา

     รวบรวม จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทและทุกสาขาวิชาให้ครบถ้วน สมบูรณ์

 2) ศึกษาค้นคว้าและดำเนินงานวิชาการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตามหลัก

     มาตรฐานสากล  เพื่อการเข้าถึงสารสนเทศได้โดยง่ายและใช้เป็นคู่มือในการให้คำปรึกษา

     แนะนำ  ฝึกอบรมการปฏิบัติงานห้องสมุด  แก่บุคคลและหน่วยงานภายนอก

 3) ให้บริการสารสนเทศและส่งเสริมการอ่าน  การศึกษาค้นคว้า  วิจัย  แก่ประชาชน

     เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย

 4) ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  และดำเนินงานสำรวจ  รวบรวมเอกสารโบราณ

     และหนังสือหายาก  เพื่อการสงวนรักษามรดกทรัพย์สินภูมิปัญญาของภูมิภาค

 5) ประสานงานกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ  ในการเผยแพร่และกำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำ

     หนังสือ  (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  และข้อมูลทางบรรณานุกรม

     ของหนังสือ (CIP)

 โครงสร้างการบริหารงาน

                  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  มีโครงสร้างการบริหารงานภายใต้กำกับของ

สำนักศิลปากรที่ ๘  เชียงใหม่  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม  โดยมีหัวหน้าหอสมุดแห่งชาติ

รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  เป็นผู้บริหารหน่วยงานและได้มีการจัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงาน

ภายในหอสมุดแห่งชาติฯ เชียงใหม่ ดังนี้

 1)  กลุ่มงานบริหาร ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการและสารบรรณ การเงิน
และพัสดุ บุคลากร แผนงานและประชาสัมพันธ์ อาคารสถานที่

 2)  กลุ่มงานวิชาการ  ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

      งานวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ  จัดทำดรรชนี, บรรณานุกรม  จัดทำคู่มือ

      ปฏิบัติงานปริวรรต แปล และคัดลอกภาษาโบราณ  ฝึกอบรมงานด้านห้องสมุด  โครงการ/

      กิจกรรม  อนุรักษ์ ซ่อมแซมและเย็บเล่มหนังสือ  งานเทคโนโลยีห้องสมุด  จัดหาอุปกรณ์

      ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์  ดูแลระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์  จัดทำ/พัฒนา/ดูแลเว็บไซต์

      และฐานข้อมูล  จัดทำคู่มือระบบฐานข้อมูล/คู่มือการใช้งาน  ฝึกอบรมงานด้านเทคโนโลยี

 3)  กลุ่มงานบริการ ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการหนังสือทั่วไป

      หนังสืออ้างอิง หนังสือท้องถิ่น หนังสือเยาวชน หนังสือหายาก งานวิจัย วิทยานิพนธ์

      บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ บริการโสตทัศนวัสดุ บริการเอกสารโบราณ บริการราชกิจจานุ

      เบกษา บริการแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง/กฤตภาค/ดรรชนี บริการอินเทอร์เน็ต บริการสืบค้นข้อมูล

      บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ โครงการ/กิจกรรม

      กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน นำชมห้องสมุด

วิดิโอแนะนำ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่

การเดินทางมาหอสมุด  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่